Tumgik
#กลมเกลียว
ajbomb · 3 years
Photo
Tumblr media
หวาน ขม กลมเกลียว #coffee #cake https://www.instagram.com/p/CTPC_R8BUlX/?utm_medium=tumblr
0 notes
salinya · 5 years
Photo
Tumblr media
สองยายหลาน รักกันเฉพาะ โชคดีลงมา .. ฤทัย​กะทาเคชิ ... กลมเกลียว ... https://www.instagram.com/p/B3ZFAd8Frv8ElCd2F0c42uEzdV5dKEkzuRGbZY0/?igshid=qkdrhggypjba
0 notes
vcaremkt · 5 years
Photo
Tumblr media
忍 (ยิ่ม:แต้จิ๋ว) ความอดทนอดกลั้น ขยัน วิริยะ เมตตา สามัคคี กลมเกลียว เป็นหนึ่งเดียว คู่เรียนรู้พัฒนา มีคุณธรรม ~ kNOw PaIN kNOw GaIN รู้เจ็บ รู้จำ รู้ธรรม รู้ไม่ทัม ... 😇 ~ #MyWorkLifeIDP 2019 Myself #DNA MyTEAM #CoreValues #โครงการปุ๋ยซอยล์เมตอุดรแสงเจริญกุดจับโมเดล #NewBiz #UDSCR #SoilMate #ซอยล์เมต #สูตรเป๊ะทุกถุง @ บ้านหันเทา อ.กุดจับ #UdonThani 5.0 Sabuydee SabuyJai Wisdom Society #Thailand #MhuPiGs 12.06.19 (at บ้านหันเทา อ.กุดจับ Udonthani) https://www.instagram.com/p/Byms7-uFOUJ/?igshid=wzdy8n70cb8g
0 notes
Photo
Tumblr media
สีสัน โดดเด่น เกาะเกี่ยว กลมเกลียว เกี่ยวก้อย....รวมเป็นเอกะ https://www.instagram.com/p/ByjbHwFFN8W/?igshid=oafwphijtle5
0 notes
infobansbo · 7 years
Text
กระดูกเหล็ก ก.กลมเกลียว พบ ไก่ชน ศรีพนมยิมส์ @ดูมวยย้อนหลัง
กระดูกเหล็ก ก.กลมเกลียว พบ ไก่ชน ศรีพนมยิมส์ @ดูมวยย้อนหลัง - ผลบอลเมื่อคืน
0 notes
pic001 · 7 years
Text
หลักธรรม
หลักธรรมที่ทำให้มนุษย์สัมพันธ์ยั่งยืน ศาสนาทุกศาสนามีหลักธรรมคำสอนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ของศาสนิกชน โดยทุกศาสนามี เป้าหมายเดียวกันคือ “มุ่งให้ทุกคนมีธรรมะ มีคุณธรรม และสอนให้คนเป็นคนดี” ดังนั้น ศาสนา แต่ละศาสนาจึงมีหลักธรรมคำสอนของตนเอง เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ อริยสัจ 4 คือความจริงสุดยอดซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้และ ได้ แสดงต่อจาก โอวาทปาติโมกข์ความจริงสุดยอดอันประเสริฐ มี 4 ประการ ได้แก่ - ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ทำให้เกิดปัญหาแก่ การดำเนินชีวิตแบ่งเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ สภาวทุกข์ หมายถึง ทุกข์ประจำที่เป็นไปตามธรรมชาติคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ปกิณณกทุกข์ หมายถึง ทุกข์จรที่อาจเกิดขึ้นเพราะเหตุต่าง ๆ เช่น ความเศร้าโศก น้อยใจ ตรอมใจ เจ็บป่วยไม่สบายกายการประสพกับ สิ่งที่ไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รักและความไม่สมปรารถนา - สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ ได้แก่ ตัณหา (ความอยาก) มี 3 ลักษณะคือ (1) กามตัณหา คือ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นในสิ่งที่ไม่เคยได้ไม่เคยมี และ ไม่เคยเป็น (2) ภวตัณหา หมายถึง ความอยากให้คงอยู่ เช่นเกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ คำสรรเสริญ อยากให้สิ่งเหล่านั้นดำรงอยู่กับตนเองตลอดไป (3) วิภวตัณหา หมายถึง ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็นเช่น ความไม่พอใจในสถานะ ที่ตนมีอยู่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน - นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์คือ การละตัณหา 3 ประการดังกล่าวเมื่อละต้นเหตุของทุกข์ เสียได้ ความทุกข์ย่อมไม่มี - มรรค หมายถึง วิธีดับทุกข์เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อที่จะละตัณหาซึ่งเป็นต้นเหตุของทุกข์ มี 8 ประการ ดังนี้ (1) สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) ได้แก่ การมีความเห็นที่ถูกต้อง เช่นยอมรับเรื่องบาป บุญ กรรมดี กรรมชั่ว ชาตินี้และชาติหน้าในระดับที่ละเอียดอ่อนขึ้นไปอีกคือ ความเข้าใจในอริยสัจ 4 (2) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) ได้แก่ การคิดเพื่อที่จะให้จิตใจของตนเองเป็นอิสระคือคิดปลีกตัวออกจากกาม ไม่ตกเป็นทาศของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จนเกินไปไม่คิดพยาบาท และ ประการสุดท้ายคือ ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น (3) สัมมาวาจา (วาจาชอบ) การเว้นจากวจีทุจริต 4 คือ เว้นจากการพูดเท็จ (มุสาวาจา)เว้นจากการพูดส่อเสียด (ปีสุณาวาจา) เว้นจากการพูดคำหยาบ (ผรุสวาจา) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ (สัมผัปปลาปวาจา) (4) สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) ได้แก่การงดเว้นจากกายทุจริต คือ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และไม่ประพฤติผิดในกาม (5) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) ได้แก่การประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรมและ ไม่ เบียดเบียน ผู้อื่น รวมความไปถึงการไม่อยู่เฉย ๆ โดยไร้ประโยชน์ ต้องเป็นผู้ที่ทำงานประกอบอาชีพ (6) สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) ได้แก่ การเพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น หรือเพียรขจัดความชั่วที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เพียรสร้างความดีให้เกิดขึ้นและเพียรรักษาความดีที่มีอยู่แล้วให้คงอยู่ ตลอดไป (7) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) คือ การกำหนดรู้พฤติกรรมของจิต ระลึกได้ตลอดเวลาว่าตนเองกำลังคิดอะไร ทำอะไร ไม่เป็นคนใจลอย ไม่ประสาท มีความรอบคอบ (8) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจชอบ) ได้แก่ การตั้งจิตให้มั่นคง สามารถควบคุมอารมณ์ได้จนกระทั่งสามารถบังคับจิตใจ ให้หยุดนิ่งอยู่กับอารมณ์อันเดียว สัปปุริสธรรม 7 สัปปุริสธรรม 7 คือหลักธรรมของคนดีหรือหลักธรรมของสัตตบุรุษ7 ประการ ได้แก่ รู้จักเหตุ รู้จักผลรู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักปฏิบัติ และรู้จักบุคคล 1. รู้จักเหตุหรือธัมมัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักวิเคราะห์หา สาเหตุของสิ่งต่าง ๆ 2. รู้จักผลหรืออัตถัญญุตา หมายถึงความเป็นผู้รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นจากการ กระทำ 3. รู้จักตนหรืออัตตัญญุตาหมายถึง ความเป็นผู้รู้จักตน ทั้งในด้านความรู้ คุณธรรม และความ สามารถ 4. รู้จักประมาณหรือมัตตัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักประมาณ รู้จักหลักของความพอดี การดำเนินชีวิต พอเหมาะพอควร 5. รู้จักกาลเวลาหรือกาลัญญุตา หมายถึงความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา รู้จักเวลาไหนควรทำ อะไร แล้วปฏิบัติให้เหมาะสมกับเวลานั้น ๆ 6. รู้จักปฏิบัติหรือปริสัญญุตา หมายถึงความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติ การปรับตน และแก้ไขตน ให้เหมาะสมกับสภาพของกลุ่มและชุมชน 7. รู้จักบุคคลหรือบุคคลัญญุตา หมายถึงความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันการที่บุคคลใดนำเอาหลักสัปปุริสธรรม 7 มาใช้ในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้ ชีวิตพบกับความสุขในชีวิตได้ อิทธิบาท 4 อิทธิบาท 4 คือหลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการ มี 4 ประการคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะวิมังสา 1. ฉันทะ คือ ความพอใจ ใฝ่รัก ใฝ่หาความรู้และใฝ่สร้างสรรค์ 2. วิริยะ คือ ความเพียรพยายามมีความอดทนไม่ท้อถอย 3. จิตตะ คือความเอาใจใส่และตั้งใจแน่วแน่ในการทำงาน 4. วิมังสา คือความหมั่นใช้ปัญญาและสติในการตรวจตราและคิดไตร่ตรอง กุศลกรรมบท10 กุศลกรรมบท10 เป็นหนทางแห่งการทำความดีงาม ทางแห่งกุศลซึ่งเป็นหนทางนำไปสู่ความสุข ความเจริญแบ่งออกเป็น 3 ทางคือ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 และมโนกรรม 3 1. กายกรรม 3หมายถึง ความประพฤติดีที่แสดงออกทางกาย 3 ประการ ได้แก่ (1) เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเบียดเบียนกัน เป็นผู้มีเมตตากรุณา (2) เว้นจากการลักทรัพย์ คือ ละเว้นจากการลักขโมยเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่หยิบฉวย เอาของคนอื่นมาเป็นของตน (3) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือ การไม่ล่วงละเมิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ไม่ล่วงละเมิด ประเวณีทางเพศ 2. วจีกรรม 3หมายถึงการเป็นผู้มีความประพฤติดีซึ่งแสดงออกทางวาจา 4 ประการ ได้แก่ (1) เว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่ความจริง ไม่พูดโกหก หลอกลวง (2) เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ พูดแต่ในสิ่งที่ทำให้เกิดความสามัคคี กลมเกลียว ไม่พูดจาในสิ่งที่ก่อให้เกิดความ แตกแยก แตกร้าว (3) เว้นจากการพูดคำหยาบ คือพูดแต่คำสุภาพ อ่อนหวาน อ่อนโยน กับบุคคลอื่นทั้ง ต่อหน้า และลับหลัง (4) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือพูดแต่ความจริง มีเหตุมีผลเน้นเนื้อหาสาระ ที่เป็นประโยชน์ พูดแต่สิ่งที่จำเป็นและพูดถูกกาลเทศะ 3. มโนกรรม 3หมายถึง ความประพฤติที่เกิดขึ้นในใจ 3 ประการ ได้แก่ (1) ไม่อยากได้ของของเขา คือ ไม่คิดจะโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน (2) ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือ มีจิตใจดี มีความปรารถนาดี อยากให้ผู้อื่น มีความสุขความเจริญ (3) มีความเห็นที่ถูกต้อง คือมีความเชื่อในเรื่องการทำความดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และมี ความ เชื่อว่าความพยายามเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ อกุศลกรรมบท10 อกุศลกรรมบท10 เป็นหนทางแห่งการทำความชั่ว ความไม่ดี 10 ประการ แบ่งออกเป็น 3 ทางคือ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 และมโนกรรม 3 สังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ คนอื่นที่ยังไม่เคยรักใคร่นับถือ ให้เกิดความรัก ความนับถือ สังคหวัตถุเป็นหลักธรรมที่ช่วยผูกไมตรีซึ่งกันและกันให้ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา 1. ทาน คือการให้ปันสิ่งของของตนให้แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้รับการให้เป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน อย่างดียิ่ง เป็นการสงเคราะห์สมานน้ำใจกันผูกมิตรไมตรีกันให้ยั่งยืน 2. ปิยวาจา คือการเจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน พูดชวนให้คนอื่นเกิดความรักและ นับถือคำพูดที่ดีนั้นย่อมผูกใจคน ให้แน่นแฟ้นตลอดไป หรือแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจรู้จักพูดให้เกิด ความเข้าใจดี สมานสามัคคี ย่อมทำให้เกิดไมตรี ทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน 3. อัตถจริยา คือการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน คือช่วยเหลือด้วยแรงกายและ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ให้ลุล่วงไป เป็นคนไม่ดูดายช่วยให้เกิดสติสำนึกในความผิดชอบชั่วดี หรือช่วย แนะนำให้เกิดความรู้ความสามารถในการ ประกอบอาชีพ 4. สมานัตตตา คือการวางตนเป็นปกติเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ถือตัวการวางตนให้ เหมาะสม กับฐานะของตนตามสภาพได้แก่ เป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อย หรือผู้เสมอกัน เอาใจใส่ปฏิบัติตามฐานะ ผู้น้อยคารวะนอบน้อมยำเกรงผู้ใหญ่ อบายมุข 6 คำว่าอบายมุข คือ หนทางแห่งความเสื่อม หรือหนทางแห่งความหายนะความฉิบหาย มี 6 อย่าง ได้แก่ 1. การเป็นนักเลงผู้ใหญ่ หมายถึงการเป็นคนมีจิตใจใฝ่ในเรื่องเพศ เป็นคนเจ้าชู้ ทำให้เสีย ทรัพย์สิน เงินทอง สูญเสียเวลาและเสียสุขภาพ 2. การเป็นนักเลงสุรา หมายถึงผู้ที่ดื่มสุราจนติดเป็นนิสัย การดื่มสุรานอกจากจะทำให้เสียเงิน ทองแล้วยังเสียสุขภาพ และบั่นทอนสติปัญญาอีกด้วย 3. การเป็นนักเลงการพนัน หมายถึงผู้��ี่ชอบเล่นการพนันทุกชนิด การเล่นการพนันทำให้ เสียทรัพย์สิน เสียสุขภาพการพนันไม่เคยทำให้ใครร่ำรวย มั่งมีเงินทองได้เลย 4. การคบคนชั่วเป็นมิตรหมายถึง การคบคนไม่ดีหรือคนชั่ว คนชั่วมักชักชวนให้ทำในสิ่งที่ไม่ ถูกต้องและอาจนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและครอบครัว 5. การเที่ยวดูการละเล่นหมายถึง ผู้ที่ชอบเที่ยวการละเล่นกลางคืน ทำให้เสียทรัพย์และ อาจทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว 6. เกียจคร้านทำการงาน หมายถึง ผู้ไม่ชอบทำงานขี้เกียจ ไม่ขยันขันแข็ง โลกบาลธรรมหรือธรรมคุ้มครองโลก โลกบาลหรือธรรมคุ้มครองโลกเป็นหลักธรรมที่ช่วยให้มนุษย์ทุกคนในโลก อยู่กันอย่างมี ความสุข มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อมีคุณธรรมและทำแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์ ประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการ ได้แก่หิริโอตตัปปะ 1. หิริคือ ความละอายในลักษณะ 3 ประการแล้วไม่ทำความชั่ว (บาป) คือ (1) ละอายแก่ใจหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจตนเองแล้วไม่ทำความชั่ว (2) ละอายผู้อื่นหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ แล้วไม่ทำความชั่ว (3) ละอายต่อความชั่วที่ตนจะทำนั้นแล้วไม่ทำความชั่ว 2. โอตตัปปะคือ ความเกรงกลัว หมายถึง (1) เกรงกลัวตนเองติเตียนตนเองได้ (2) เกรงกลัวผู้อื่นแล้วไม่กล้าทำความชั่ว (3) เกรงกลัวต่อผลของความชั่วที่ทำจะเกิดขึ้นแก่ตน (4) เกรงกลัวต่ออาญาของแผ่นดินแล้วไม่กล้าทำความชั่ว กตัญญูกตเวที เครื่องหมายของคนดี คำว่า “กตัญญู” แปลว่า “การรู้คุณคน” ส่วนคำว่า “กตเวที” แปลว่า การตอบแทนผู้มีบุญคุณกับเรา ดังนั้นคำว่า กตัญญูกตเวที จึงหมายถึง “การรู้คุณคนและตอบแทนผู้มีบุญคุณกับเรา” บุคคลผู้มีอุปการะคุณแก่ คนเรานั้นมีมากมาย แบ่งกว้าง ๆ ได้ 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ทางสกุล ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา เป็นต้น 2. ทางการศึกษา ได้แก่ ครูบาอาจารย์หรือบุคคลที่อบรมสั่งสอนเรา 3. ทางการปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ 4. ทางศาสนา ได้แก่องค์พระศาสดาของทุกศาสนา 5. ทางอื่น ได้แก่ ผู้มีอุปการะคุณทางอ้อม เช่นเพื่อนฝูง เพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น หลักสังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุแปลว่า วิธีสงเคราะห์ หมายถึงวิธีปฏิบัติเพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจคนอื่นที่ยังไม่เคยรักใคร่นับถือหรือที่รักใคร่นับถืออยู่แล้วให้สนิทแนบยิ่งขึ้น พูดง่าย ๆ สังคหวัตถุ ก็คือเทคนิควิธีทำให้คนรัก หรือมนต์ผูกใจคน นั่นเอง มีทั้งหมด 4 ประการ ดังนี้ 1.1 ทานคือ การให้ ได้แก่ การเสียสละการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การแบ่งปันช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของการให้ทานให้เพื่อขจัดกิเลส เช่น การบริจาคทานแก่นสมณชีพราหมณ์ ผู้ทรงศีลเพื่อขจัดความโลภหรือ ความตระหนี่ เป็นการชำระจิตใจให้สะอาด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นและ การให้เพื่อสงเคราะห์หรือเพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจคนอื่น การทำทานโดยให้สังคหวัตถุนี้ ในแง่ปฏิบัติ หมายถึง การเฉลี่ยหรือแบ่งให้จากส่วนที่ คนมีอยู่มิใช่ให้มากมายจนไม่เหลือหรือให้จนผู้รับร่ำรวยจุดประสงค์เน้นที่ การแสดงอัธยาศัยไมตรีมากกว่าความมากหรือน้อยของวัตถุที่ให้เพราะฉะนั้น คนยากจนหรือคนที่มีวัตถุสิ่งของเล็กน้อยก็สามารถแบ่งปันให้ทานผู้อื่นได้ ตามอัตภาพของตนเช่น การแบ่งปันอาหารให้เพื่อน แบ่งปันเครื่องเขียน ให้เพื่อน เป็นต้น ต้นคุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่าทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืนเมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้ 1.2 ปิยวาจาได้แก่ การพูดคำสุภาพ อ่อนหวาน เพื่อให้เกิดความสมานสามัคคีปิยวาจาทำได้ง่าย เพราะวาจานั้นมีในตัวเรา เพียงเรามีสติมีเมตตาในใจก็สามารถพูดออกมาได้ คำพูดมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ (1) คำพูดที่พูดออกไปแล้วคนฟังเกลียด เช่น คำหยาบ คำด่า คำประชด คำกระทบกระเทียบคำแดกดัน คำสบถ เป็นต้น คำพูดเหล่านี้เรียกว่า "อัปปิยวาจา" (2) คำพูดที่พูดออกไปแล้วทำให้คนฟังรัก เช่น คำอ่อนหวาน คำชมเชยจากใจจริงคำพูดที่ชวนให้เกิดความสมัครสมานไมตรี เป็นต้น 1.3 อัตถจริยา หมายถึงการบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือกันและกันในวงแคบ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในวงกว้างหลักธรรมข้อนี้มุ่งสอนให้คน พัฒนาตน 2 ด้าน ด้าน คือ การทำตนให้เป็นประโยชน์และทำในสิ่งที่เป็น ประโยชน์ การทำตนให้เป็นประโยชน์ หมายถึงทำตนให้มีคุณค่าในสังคม ที่ตนอาศัยอยู่ อย่างคำพังเพยที่ว่า "อยู่บ้านท่านอย่างนิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควาย ให้ลูกท่านเล่น" หรือ "อยู่ก็ให้เขาไว้ใจไปก็ให้เขาคิดถึง"คนที่ไม่นิ่งดูดาย มีอะไรพอจะช่วยเหลือคนอื่นและสังคมได้ก็เอาใจใส่ขวนขวายช่วยเหลือ ตามสติกำลังทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า "คนทำหมู่คณะให้งดงาม" อยู่ที่ไหนก็สร้างความเจริญที่นั้นวิธีทำตนให้เป็นประโยชน์และทำสิ่งที่เป็น ประโยชน์ อาจทำได้หลายวิธี เช่นการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ฝึกฝนอบรมตน ให้เป็นคนเจริญด้วยความรู้ ความสามารถเป็นบุตรที่ดีของบิดามารดาเป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์เป็นนักเรียนที่ดีของสถานศึกษา เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ตลอดจนเป็นศาสนิกชนที่ดีของพระพุทธศาสนา 1.4 สมานัตตตาการวางตนเสมอต้นเสมอปลาย หมายถึง การวางตนได้ เหมาะสม มีความหมาย 2 ประการ คือ (1) วางตนได้เหมาะสมกับฐานะที่ตนมีอยู่ในสังคม เช่น เป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นบิดามารดา เป็นครูอาจารย์ เป็นเพื่อนบ้าน เป็นต้นตนอยู่ในฐานะอะไร��็วางตนให้เหมาะสมกับฐานะที่เป็นอยู่ และทำได้อย่างเสมอต้นเสมดปลาย (2) ปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอต่อคนทั้งหลาย ให้ความเสมอภาคไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เสมอในสุขและทุกข์ คือ ร่วมสุขร่วมทุกข์ ร่วมรับรู้ปัญหาและร่วมแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ของสังคม คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเลรวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย หิริโอตตัปปะ หิริ หิริคือ ความละอายบาป เป็นความรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากทำบาปเห็นบาปเป็นของสกปรกจะทำให้ใจของเราเศร้าหมอง จึงไม่ยอมทำบาป • เหตุที่ทำให้เกิดหิริ 1. คำนึงถึงความเป็นคน หรือชาติตระกูล “เรานี่มีบุญอุตส่าห์ได้เกิดเป็นคนแล้ว ทำไมจึงจะมาฆ่าสัตว์ทำไมต้องมาขโมยเขากินนั่นมันเรื่องของสัตว์เดียรัจฉาน ทำไมต้องมาแย่งผัวแย่งเมียเขาไม่ใช่หมู หมา กา ไก่ ในฤดูผสมพันธุ์นี่ เรานี้มันชาติคนเป็นมนุษย์สูงกว่าสัตว์ทั้งหลายอยู่แล้ว” พอคำนึงถึงชาติตระกูล หิริก็เกิดขึ้น 2. คำนึงถึงอายุ “โธ่เอ๋ย เราก็แก่ป่านนี้แล้ว จะมานั่งเกี้ยวเด็กสาวๆคราวลูกคราวหลานอยู่ได้อย่างไร โธ่เอ๋ยเราก็แก่ป่านนี้แล้วจะมาขโมยของเด็กรุ่นลูกรุ่นหลานได้อย่างไร” พอคำนึงถึงวัย หิริก็เกิดขึ้น 3. คำนึงถึงความดีที่เคยทำ “เราก็เคยมีความองอาจกล้าหาญทำความดีมาก็มากแล้วทำไมจะต้องมาทำความชั่วเสียตอนนี้ล่ะ ไม่เอาละ ไม่ยอมทำความชั่วละ” พอคำนึงถึงความดีเก่าก่อน หิริก็เกิดขึ้น 4. คำนึงถึงความเป็นพหูสูต “ดูซิเราก็มีความรู้ขนาดนี้แล้ว รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำรู้สารพัดจะรู้แล้วจะมาทำความชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึ��ความเป็นพหูสูตหิริก็เกิดขึ้น 5. คำนึงถึงพระศาสดา “เราเองก็ลูกพระพุทธเจ้าพระองค์สู้ทนเหนื่อยยาก ตรัสรู้ธรรมแล้วทรงสั่งสอนอบรมพวกเราต่อๆ กันมาเราจะละเลยคำสอนของพระองค์ ไปทำชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงพระศาสดา หิริก็เกิดขึ้น 6. คำนึงถึงครูอาจารย์ สถานศึกษา “ ฮึ เราก็ศิษย์มีครูเหมือนกันครูอาจารย์สู้อบรมสั่งสอนมา ชื่อเสียงสถาบันของเราก็โด่งดังเป็นที่ยกย่องสรรเสริญแล้วเราจะมาทำชั่วได้อย่างไร” พอคำนึงถึงครูอาจารย์ สำนักเรียน หิริก็เกิดขึ้น โอตตัปปะ โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวบาปเป็นความรู้สึกกลัว กลัวว่าเมื่อทำไปแล้ว บาปจะส่งผลเป็นความทุกข์ทรมานแก่เราจึงไม่ยอมทำบาป สังคมทุกแห่งมีกฎหมายห้ามคนกระทำชั่วหากใครละเมิดกฎหมายก็จะได้รับโทษกฎหมายเป็นข้อห้ามที่มีไว้เพื่อให้สังคมดำเนินไปอย่างปกติสุข หน่วยย่อย ๆ ในสังคมเช่น โรงเรียน ก็มีกฎและระเบียบให้นักเรียนปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยเช่นกัน การที่คนเราไม่ทำความชั่วหรือความผิดตามกฎหมายหรือระเบียบของ ของโรงเรียนห้ามไว้นั้นอาจเป็นเพราะเหตุผล 2 กรณี คือ กลัวถูกลงโทษ และติดตะรางหรือมิฉะนั้นก็กลัวถูกคนอื่นติเตียนประการหนึ่งที่ไม่ทำความชั่วเพราะละอายต่อความชั่วและเกรงกลัวความชั่วอีกประการหนึ่ง การละอายต่อความชั่วนั้นทางพระเรียกว่า “หิริ” การละอายต่อความชั่ว คือการละเว้นความชั่วเพราะละอายแก่ใจตนเอง มีความสำนึกตัวว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งชั่วไม่ควรทำ การที่ไม่ทำความชั่วมิใช่เพราะกลัวถูกจับหรือกลัวคนเห็นคนที่มีจิตสำนึกทางจริยธรรมนั้น ที่ไม่ทำความชั่วมิใช่ เพราะกลัวการถูกลงโทษที่มาจากภายนอก แต่เพราะความรู้สึกภายในยับยั้งไว้มิใช่เพราะกลัวคนอื่นเห็น แต่เพราะตัวเองละอายที่จะเห็นตนทำเช่นนั้น ส่วนความเกรงกลัวต่อความชั่วนั้น ทางพระเรียกว่า “โอตตัปปะ” คนที่กลัวความชั่วนั้น ไม่ยอมทำผิดเพราะกลัวความชั่ว มิใช่กลัวตะรางหรือคำติเตียนเขาไม่ทำความชั่วเพราะสิ่งนั้นเป็นความชั่ว เขาเห็นความชั่วเป็นสิ่งโสโครกไม่อยากเข้าใกล้ เพราะกลัวจะเกิดความสกปรกขึ้นในจิตใจ สมมติว่ามีนักเรียน 3 คนเดินอยู่บนถนนแห่งหนึ่งถ้านักเรียนคนหนึ่งเหลือบไปเห็นกระเป๋าสตางค์อยู่บนพื้นถนน จึงหยิบขึ้นมาดูเมื่อเปิดออกก็เห็นเงินหลายพันบาทในนั้น เหตุการณ์นี้เพื่อนอีก 2 คนที่เดินไปด้วยกันก็เห็นด้วย นักเรียนคนนั้นจึงชวนเพื่อน ๆไปแจ้งความและมอบกระเป๋าเงินไว้ที่สถานีตำรวจการกระทำครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นการละเว้นความชั่วเพราะการเอาของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิ์ที่ควรได้นั้นเป็นความชั่วอย่างแน่นอน และไม่เพียงผิดศีลธรรมเท่านั้น ยังผิดกฎหมายด้วยแต่กรณีเช่นนี้ เรายังไม่รู้ความในใจของนักเรียนคนนี้ในการที่ไม่ทำความชั่วซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีคนเห็นและกลัวถูกจับจึงไม่กล้ากระทำก็ได้ สมมติว่ามีเด็กอีกคนหนึ่งเดินไปคนเดียวและพบกระเป๋าสตางค์บนถนน ขณะที่เขาหยิบกระเป๋าขึ้นมาถือไว้นั้น ไม่มีใครเห็นเขาเลย หากเขาประสงค์จะเก็บไว้เป็นของตัวก็จะไม่มีใครมาติเตียนหรือไม่มีใครไปบอกตำรวจมาจับ หากเด็กคนนี้มีจิตสำนึกดีเขาก็จะเอากระเป๋าไปมอบที่สถานีตำรวจเช่นนี้เรียกว่าเขาละอายใจตนเองที่จะถือเอาสิ่งที่ตนไม่มีสิทธิอันชอบธรรม เขาละอายต่อความชั่วมิใช่ ละอายผู้อื่นใด เพราะแถวนั้นไม่มีใครเรียกได้ว่า เขากลัวความชั่วมิใช่กลัวถูกจับหรือกลัวถูกติเตียนเพราะไม่มีใครเห็นคนที่ละอายและกลัวความชั่วนั้นจะไม่ทำชั่วไม่ว่าในที่ลับหรือที่แจ้ง ผู้ที่ละอายและเกรงกลังความชั่วนั้น คือผู้ที่เคารพตนเองคนที่ไม่กระทำผิดเพราะกลัวถูกลงโทษนั้นคือคนที่เคารพกฎหมายแต่คนที่ไม่กระทำผิดละอายแก่ใจนั้นคือคนที่เคารพตนเอง การเคารพกฎหมายเป็นสิ่งที่ดีแต่จะให้ดียิ่งขึ้นต้องเคารพตนเองกฎหมายเพียงอย่างเดียวไม่อาจทำให้สังคมเป็นปกติสุขได้คนที่ไม่มีความละอายต่อความชั่วย่อมหาทางหลีกเลี่ยงกฎหมายเสมอถ้าไม่มีคนเห็นหรือแน่ใจว่าไม่มีใครจับได้ก็จะยังคิดที่จะทำความชั่วอยู่ พรหมวิหาร 4 1. เมตตา :ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น 2. กรุณา :ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือสิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกันพระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ - ทุกข์โดยสภาวะหรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกายเช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์ - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจอันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่นเมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่าเจตสิกทุกข์ 3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึงความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยาความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของ เพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง 4. อุเบกขา : : การรู้จักวางเฉย หมายถึงการวางใจเป็นกลาง เพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อม ได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่วตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจ หรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้นเราควรมีความปรารถนาดีคือ พยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม ทศพิธราชธรรม ๑๐ คือธรรมสำหรับพระราชาในการใช้พระราชอำนาจ และการบำเพ็ญ ประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร มี ๑๐ ประการ ดังนี้ ๑. ทาน หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดินการพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติการพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์ ๒. ศีลหรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่เบญจศีลมาเสมอ ๓. บริจาค ได้แก่การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีก��่า คือ เมื่อถึงคราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพเพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์ ๔. ความซื่อตรง (อาชชวะ)ได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อพระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร ๕. ความอ่อนโยน (มัททวะ)หรือเคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่เสมอกันและต่ำกว่า ๖. ความเพียร (ตบะ)หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือการที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดีโดยปราศจากความเกียจคร้าน ๗. ความไม่โกรธ (อักโกธะ)หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับพระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใดไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้ ๘. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัยกอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครองประชาชนดังบิดาปกครองบุตร ๙. ความอดทน (ขันติ) คือการที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการพระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย ๑๐. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนะ) คือการที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตรนิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการและไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย 14. หลักธรรมทางศาสนาช่วยเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ สาราณียธรรม 6หมายถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกันหลักการอยู่ร่วมกันคือ 1. เมตตากายกรรมคือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้อยู่ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 2. เมตตาวจีกรรมคือ ช่วยบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 3. เมตตามโนกรรมคือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน 4. สาธารณโภคี ได้ของสิ่งใดมาโดยชอบธรรมก็แบ่งปัน แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน 5. สีลาสามัญญตาคือมีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ 6. ทิฏฐิสามัญญตาคือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา ธรรม 6 ประการนี้มีคุณคือเป็น สารณียะ (ทำให้ระลึกถึงกัน) เป็นปิยกรณ์(ทำให้เป็นที่รัก) เป็น ครุกรณ์(ทำให้เป็นที่เคารพ) เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์(ความกลมกลืนเข้าหากัน) เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี และเป็นเอกภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) การสร้างสัมพันธไมตรีตามหลักสาราณียธรรม 6 แก่นของสาราณียธรรม คือ ความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ซึ่งสามารถประยุกต์ให้เป็นแนวทางสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี ได้แก่ 1. เมตตากายกรรม คือ การแสดงออกซึ่งความเป็นมิตรทางกายต่อประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมื่อมิตรประเทศประสบภัยต่าง ๆ เป็นต้นว่า อุทกภัย แผ่นดินไหว ฯลฯ ประเทศไทยก็ส่งเครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค คณะแพทย์ หรือเงินไปช่วยตามกำลังความสามารถ 2. เมตตาวจีกรรม คือ มีการกระทำทางวาจาที่แสดงออกถึงความปรารถนาดีต่อมิตรประเทศ เช่น ไม่กล่าวติเตียน ให้ร้าย ต่อมิตรประเทศ ถ้ามีปัญหาข้อพิพาทเกิดขึ้นก็หาทางยุติด้วยการเจรจาทางการทูต 3. เมตตามโนกรรมมีจิตใจปรารถนาดีกับมิตรประเทศปราศจากอกุศลจิต ไม่หวาดระแวง 4.แบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยชอบธรรมแก่มิตรประเทศ หมายถึงการช่วยเหลือกันและกันระหว่างประเทศ กล่าวคือประเทศร่ำรวยควรให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ยากจนกว่า หรืออีกประการหนึ่ง แม่น้ำบางสายแม้จะมีต้นกำเนิดจากประเทศของเรา ถ้าไหลผ่านเข้าไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เราก็ควรรักษาอย่างดี ไม่สร้างมลพิษให้กลายเป็นสายน้ำเสีย 5.มีหลักความประพฤติ (ศีล)เสมอกับมิตรประเทศ และไม่ทำตนเป็นที่น่ารังเกียจของประเทศอื่น หมายถึง จะต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศให้สอดคล้องกับมติสากล หรือสอดคล้องกับหลักการของสหประชาชาติ กล่าวคือ แก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทูต ช่วยผดุงสันติภาพของโลก เคารพอธิปไตยของประเทศอื่น 6. มีความคิดเห็นตรงกับประเทศอื่นหมายถึง การอยู่ร่วมกันกับประเทศอื่น ๆ นั้น เราต้องยอมรับกฎเกณฑ์ที่กติกาที่นานาชาติกำหนดไว้ แม้ว่าบางครั้งเราจะไม่เห็นด้วยแต่ถ้าเสียงส่วนใหญ่เขาเห็นชอบเราก็ต้องปฏิบัติตาม หลักสังคหวัตถุ 4 หมายถึง ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี หลักการสงเคราะห์ ๑. ทาน การให้ คือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดจนถึงให้ความรู้และคำแนะนำสั่งสอน ๒. ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ คือกล่าวคำสุภาพอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดจนถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม ๓. อัถจริยา การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมทางจริยธรรม ๔. สมานัตตตา ความมีตนเสมอ คือ ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติตนสม่ำเสมอในชนทั้งหลาย และเสมอกันในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดจนถึงวางตนเหมาะสมแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ให้ถูกต้องตามธรรม แล้วแต่กรณี การสร้างสัมพันธไมตรีตามหลัก สังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุ 4 คือ หลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น เป็นการผูกไมตรี เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน รวมทั้งเป็นการสร้างความรักความเป็นมิตรต่อประเทศเพื่อนบ้าน หลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ๑. ทานแปลว่า การให้ หมายถึง การช่วยเหลือเจือจุนต่อกัน เช่นมิตรประเทศประสบภัยพิบัติต่าง ๆ เราก็ควรจัดส่งอาหาร เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคไปช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ การให้ในลักษณะเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตรเพิ่มพูนขึ้นทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและประชาชนของประเทศผู้รับ ๒. ปิยวาจา แปลว่า มีวาจาอันเป็นที่รักได้แก่ การเจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะ อ่อนหวาน นอบน้อม สุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะ นอกจากจะเป็นคำที่ไพเราะแล้ว ยังเป็นถ้อยคำที่เป็นประโยชน์ ไม่เพ้อเจ้อเหลวไหล ไม่หยาบคาย ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ควรนำหลักปิยวาจามาใช้เป็นอย่างยิ่ง ๓. อัตถจริยา แปลว่า การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น หมายถึงการไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประเทศต่าง ๆ ตรงกันข้ามหากมิตรประเทศได้รับความทุกข์ประสบภัยก็ให้ความช่วยเหลือ ไม่นิ่งดูดาย ๔. สมานัตตตา แปลว่า การวางตัวให้เหมาะสมกับภ���วะของตน หมายถึง ให้ความนับถือประเทศต่าง ๆ ว่ามีฐานะศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับประเทศของเรา ไม่ดูถูกดูหมิ่นว่าประเทศนั้นเล็กกว่าด้อยความเจริญกว่า
0 notes
infobansbo · 7 years
Text
กระดูกเหล็ก ก.กลมเกลียว พบ สะแกงาม จิตรเมืองนนท์ @ดูมวยย้อนหลัง
กระดูกเหล็ก ก.กลมเกลียว พบ สะแกงาม จิตรเมืองนนท์ @ดูมวยย้อนหลัง - ผลบอลเมื่อคืน
0 notes