Tumgik
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
อานาปานสติภาวนา [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจ���ข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียก ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจาก ราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า. ดูกรราหุล อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล. จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๒๕๔๑ - ๒๖๘๑. หน้าที่ ๑๑๑ - ๑๑๖. http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=2541&Z=2681&pagebreak=0
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
อวิชชาคือความไม่รู้อริยสัจสี่ หน้าที่เกี่ยวกับอริยสัจสี่ ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ นิโรธให้แจ้ง มรรคให้เจริญ -------- “พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์กล่าวว่า “อวิชชา อวิชชา” ดังนี้. ก็อวิชชานั้น เป็นอย่างไร ? และด้วยเหตุเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชา ?” แน่ะภิกษุ ! ความไม่รู้อันใด เป็นความไม่รู้ในทุกข์, เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์ และเป็นความไม่รู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ : นี้เราเรียกว่า อวิชชา ; และบุคคลชื่อว่าถึงแล้วซึ่งอวิชชา ก็เพราะเหตุไม่รู้ความจริงมีประมาณเท่านี้แล. “พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์กล่าวว่า ‘วิชชา วิชชา’ ดังนี้. ก็วิชชานั้น เป็นอย่างไร ? และด้วยเหตุเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา ?” แน่ะภิกษุ ! ความรู้อันใด เป็นความรู้ในทุกข์, เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นความรู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์ และเป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ : นี้เราเรียกว่า วิชชา ; และบุคคลชื่อว่า ถึงแล้วซึ่งวิชชา ก็เพราะเหตุรู้ความจริงมีประมาณเท่านี้แล. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์. นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด. - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๘-๕๓๙/๑๖๙๔-๑๖๙๕. --------- ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, - เหตุให้เกิดทุกข์, - ความดับไม่เหลือของทุกข์, - และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุ ท. ! ในความจริงอันประเสริฐสี่อย่างเหล่านี้, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรกำหนดรอบรู้ ก็มี, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรละเสีย ก็มี, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้แจ้ง ก็มี, และความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้เจริญ ก็มี. ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรกำหนดรอบรู้ ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรละเสีย ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้แจ้งได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์, และความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้เจริญ ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด. - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๖/๑๗๐๙. จากหนังสืออริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
" ทำไมรู้ว่าโกรธแล้วไม่หายโกรธ " . ความโกรธเกิดขึ้นเมื่อจิตเผลอ ไม่มีสติ หลง เมื่อสติเกิดขึ้น ความหลงจะหายไป ความเผลอจะหายไป เพราะความโกรธนั้นไม่มีที่ตั้ง . ปัญหาของผู้ปฏิบัติก็คือ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้น ลึกลงไปในใจมีความรู้สึก ไม่ชอบความโกรธนั้นร่วมอยู่ด้วย จึงไม่ใช่แค่ " รู้เฉยๆ " แต่มีความรู้สึกว่า อยากผลักไสความโกรธให้ออกไปด้วย จึงไม่ใช่สติที่บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ . หากจะเปรียบความโกรธเหมือนไฟ และสติเหมือนน้ำ เหตุใดน้ำนี้จึงดับไฟไม่ได้? . สาเหตุที่น้ำนี้ไม่สามารถดับไฟได้ ก็เพราะน้ำนี้ไม่บริสุทธิ์ แต่เจือด้วยน้ำมัน . น้ำมันในที่นี้ คือ ความรู้สึกลบต่อความโกรธ อยากจะให้ความโกรธหายไป มันมีทั้งตัณหา และโทสะร่วมอยู่ด้วยกัน ตัณหา คือ ความอยากให้ความโกรธหายไป โทสะ คือ ไม่ชอบความโกรธ รู้สึกลบต่อความโกรธ จึงเปรียบ���หมือนน้ำที่ไม่บริสุทธิ์ เจือด้วยน้ำมัน . หลายคนมักบ่นว่า " ทำไมรู้ว่าโกรธแล้วไม่หายโกรธ " สาเหตุก็เพราะว่าไม่ได้แค่รู้เฉยๆ ไม่ได้รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง แต่มีความรู้สึกลบต่อความโกรธร่วมอยู่ด้วย ... . สิ่งใดก็ตามที่ถูกกดข่มจะสู้ จะต่อต้าน มีคำพูดหนึ่งที่อาตมาใช้ได้ดี คือ . อะไรที่เธอผลักไสจะคงอยู่ อะไรที่เธอตระหนักรู้จะหายไป . เราจึงต้องมีสติรู้ให้เท่าทันตรงนี้ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นตัวที่ละเอียด เมื่อเราแค่รู้เฉยๆ ความโกรธจะดับไปเอง ความฟุ้งซ่านก็เช่นเดียวกัน แต่หากยิ่งพยายามกดข่มไว้ ความฟุ้งซ่านก็จะยิ่งรังควานจิตใจเรา สิ่งใดที่เรากดข่มจะไม่ยอมไปง่ายๆ ถ้าเป็นความรู้สึกผิด ยิ่งพยายามกดข่ม ยิ่งพยายามลืม ก็จะยิ่งรบกวนจิตใจหนักขึ้นไปอีก . หนทางเดียวเท่านั้นที่จะช่วยได้ก็คือ ต้องรู้มันด้วยใจที่เป็นกลาง อารมณ์เหล่านั้นก็จะไม่มีที่ตั้งอีกต่อไป . พระไพศาล วิสาโล # เจริญสติ # รู้ซื่อๆ
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
"ตามรอยโค" เมื่อถึง "ตัวโค" แล้ว "พุทโธ กับ จิต" ก็เป็น "อันหนึ่ง" อันเดียวกัน ผู้กำหนด "พุทโธ" เดินไปไหนอย่าให้เผลอคำว่า "พุทโธ" "พุทโธ" ไม่ให้ขาดวรรคขาดตอนกับ "ความรู้สึก" ระหว่าง "จิต" กับ "พุทโธ" ให้ติดต่อกันเป็นสาย "พุทโธกับความรู้" นั้นจะค่อยกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่นี่เราจะบริกรรม หรือ ไม่บริกรรม ก็ไม่เป็นปัญหา ในขณะนั้น เหลือแต่ "ความรู้ล้วนๆ" "พุทโธ" นี้เปรียบเหมือนเรา "ตามรอยเท้าของโค" เพื่อจะ "จับตัวโค" ให้ได้ โคตัวนั้นไปที่ไหน "อย่าปล่อยรอย" ให้ "ตามรอย" โคตัวนั้นไป เป็นลำดับๆ ไปที่ไหนตามไปเรื่อยๆ "จนถึง" ตัวโค เมื่อถึง "ตัวโค" แล้ว เรื่องของ "รอยโค" นั้น ก็หมดปัญหาเพราะไปถึง "ตัวโค" แล้ว "ลมหายใจ" ก็เหมือนกับ "รอยโค" อันเดียวกัน คำว่า "พุทธะ" เป็นเหมือนกับ "โคตัวนั้น" "พุทโธกับจิต" ก็จะกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วก็จะหมดปัญหาในคำว่า "พุทโธ" ใน "จิต" เมื่อตั้งตัวได้ย่อมมี "ความสงบร่มเย็น" เป็นสุขในเวลานั้นไม่สงสัย นี่ผลที่เกิดจากการ บริกรรมพุทโธ เพื่อเห็นจุด “ผู้รู้” ที่เรียกว่า “ดว��ใจ” อันแท้จริง เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙ ตามรอยแห่งธรรม หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Text
การ "ถอนตัว" ออกจาก "สมมุติ" การ "ถอนตัว" ออกจาก "สมมุติ" เพื่อให้ "จิตหลุดพ้น" ไม่ "หลง" ใน "อาการ" ด้วย "สมถะ" และ "วิปัสสนา" "สมถะ" ให้แยก "กายกับจิต" กาย เป็นที่อยู่ที่อาศัยของจิต "ทำจิต" ให้อยู่กับ "ลมหายใจ" ให้เอา "จิตมารวมอยู่ที่จิต" แล้วเอา "จิต" ให้รู้จัก "ลม" ภาวนา พุทโธ พุทโธ ปล่อยวางข้างนอกให้หมด อย่าไปเกาะกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งนั้น ให้ปล่อย ให้เป็น "อันเดียว" รวมจิตลงที่ "อันเดียว" มันไม่ "ส่งจิต" ไปทางอื่นแล้วมันจะ “รวม” อยู่ที่นั่น เมื่อพบเช่นนี้ เราก็มี "อันเดียว" เท่านั้น เหลือแต่ "ความรู้" หรือ "ผู้รู้" อันเดียว ให้ "รวมจิต" เข้ามาเป็น "หนึ่ง" หรือ "จิตหนึ่ง" นี้คือธุระหน้าที่ของเรา "วิปัสสนา" เมื่อ "จิตหนึ่ง" เกิดแล้ว (จากสมถะ) กำหนดเอา "จิตหนึ่ง" มาเดิน "วิปัสสนาปัญญา" พิจารณาใน "ปัจจุบันธรรม" ให้ยึดหลัก " ทุกข์มันไม่ได้นอนเนื่องอยู่ในใจหรอก มันเกิดเมื่อมันรู้เดี๋ยวนี้ กิเลสไม่ได้นอนเนื่องอยู่ในใจเราเหมือนกัน มันเกิดเดี๋ยวนี้ เกิดใน "ปัจจุบันธรรม" ใน"ปัจจุบันธรรม" จะมี "ผู้รู้, จิต, และ, อารมณ์" เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่ "ผู้รู้"... เป็น “ศีล สมาธิ ปัญญา” เป็นสัมมาทิฐิ “ผู้รู้” ออกมาจาก “จิต” “ผู้รู้ กับ จิต” เป็นตัวเดียวกัน "จิต"....เป็นผู้ทำงานทั่วถึงทุกทิศ ทั้งภายในภายนอก เป็นผู้นึกคิด เป็นผู้ปรุงแต่ง "อารมณ์"....อารมณ์เกิดมาทาง ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย **เมื่อ "อารมณ์มากระทบอายตนะ" มันก็มาถึง "จิต" ทันที** เมื่อ "ผู้รู้" เห็นเช่นนี้ "เกิดแล้วมันก็ดับ ดับแล้วมันก็เกิด" มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อคิดแล้วก็ไม่รู้จะไปเ��าอะไรกับมัน “จิตก็จะปล่อยวาง” อยู่กับ “ธรรมชาติ” “สุข – ทุกข์” มันก็มีแต่ "การเกิด-ดับ" อยู่เท่านั้น ก็ปล่อยไปตาม "ธรรมชาติ" ของมันเพราะ "มันไม่มีอะไร" อันนี้เป็น "อารมณ์" อันนี้มันเป็น "จิต" เมื่อรู้เท่าทัน “อารมณ์” ตามเป็น จริงแล้ว "จิต" นั้นเลยเป็น "เสรี" (จิตหนึ่ง) พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
Lovely Ole . ไม้ตีระนาดกับลูกระนาด ... ~ ผู้รู้ กับ ผู้ถูกรู้ ~ นักปฏิบัติจะได้ยินคำว่า " ผู้รู้ กับ ผู้ถูกรู้ " มาเสมอ ตอนยังไม่เข้าสู่การปฏิบัติ คนทั้งหลายจะไม่มี ผู้รู้ กับ ผู้ถูกรู้ กันหรอก เพราะในการใช้ชีวิตนั้นมันมีแต่ความรู้สึกเป็น ของกู เป็นกู ตลอดเวลา เช่นใครทำเสียงดัง เราก็โกรธ ไม่ชอบใจ อย่างนี้เป็น " เราโกรธ เพราะมีคนอื่นกระทำ " ขึ้นมา ไม่มี " ผู้รู้ ผู้ถูกรู้ " ใดๆ ... จากนั้นเริ่มมาปฏิบัติ มีสติ สัมปชัญญะ รู้จักนั่งสมาธิ เริ่มมี " ผู้รู้ " ไปสังเกต " ลมหายใจ " ลมหายใจเลยกลายเป็น " ผู้ถูกรู้ " เมื่อทำจนบ่อย จนชำนาญ จากนั้นก็เริ่มพัฒนาขึ้นสู่การใช้ชีวิตประจำวัน พอมีใครทำเสียงดัง เกิดความไม่พอใจ ตอนนั้นสติระลึกขึ้นมา จึงเกิด " ผู้รู้ " ไปสังเกตเห็น " อารมณ์โกรธ " อารมณ์โกรธ กลายเป็นผู้ถูกรู้ เมื่อเป็นอย่างนี้บ่อยๆ เริ่มเกิดเห็นลักษณะรายละเอียดของ " ผู้ถูกรู้ " มากขึ้น เช่น " ผู้ถูกรู้ " นี่เกิดขึ้นแล้วเดี๋ยวก็ดับไป บางทีก็ไปเห็นว่า เมื่อมีสิ่งมากระทบ ผู้ถูกรู้นี้ก็เกิดขึ้นตาม หรือ บางทีสิ่งกระทบเดียวกัน แต่ทำไม " ผู้ถูกรู้ " ครั้งนี้มันไม่เหมือนครั้งก่อน ฯลฯ อย่างนี้ " ผู้รู้ " เริ่มเรียนรู้ " ผู้ถูกรู้ " จนวันหนึ่งเข้าใจได้ ฟันธง! จากการเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง (ตอนนี้ศีลต้องบริบูรณ์นะ ไม่งั้นจะเห็นด้วยปัญญาเองว่า หากยังทำผิดศีล ความทุกข์ใจจะเกิดขึ้นตลอดเวลา ยากมากที่จะนำไปสู่ความสงบตั้งมั่น) " ผู้ถูกรู้ " นั้น ไม่มีตัวตน เพียงแค่ของเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย ดับไปเมื่อหมดเหตุปัจจัย ใครเห็นแจ่มแจ้งตลอดเวลาอย่างนี้ ผู้นั้นจะละความเห็นผิดในความเป็นตัวตนลงได้ในที่สุด ถึงแม้ในช่วงระหว่างการปฏิบัติ การเห็นอย่างนี้ก็เกิดขึ้นเช่นกันแม้จะยังไม่ถึงธรรมจนละความเห็นผิด ถึงแม้บางขณะจะกลับไปมีตัวตนบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะจิตยังไม่เห็นจนขาวรอบ ดังนั้นอย่าห่วง จากการปฏิบัติภาวนาไม่หยุดหย่อนมันจะต้องเห็นความจริงมากขึ้น มากขึ้น จนเบียดความเห็นผิดในความเป็นตัวตนหมด (สักกายทิฏฐิ) ไปในที่สุด นั่นจึงไม่มีมิจฉาทิฏฐิอีก ซึ่งก็แปลว่าเกิด สัมมาทิฏฐิ นั่นเอง .. ทีนี้ เมื่อ " ผู้รู้ " เฝ้าดู " ผู้ถูกรู้ " ต่อไป ความตั้งมั่นใน สัมมาสมาธิ ก็จะสูงขึ้น ทำให้เริ่มไปสังเกตเห็นว่า " ผู้รู้ " เองก็เกิดดับนี่ ในช่วงที่ผ่านมา ความที่มัวแต่สังเกต พุ่งไปที่ " ผู้ถูกรู้ " จึงทำให้ " ผู้รู้ " เองเกิดเป็นตัวตนขึ้นโดยลำดับ เริ่มรู้สึกขึ้นเรื่อยๆ ว่า " กู " เข้าใจ เกิด " ปัญญา " แล้วสิ่งที่จะตามมาเป็นอัตโนมัติโดยผู้นั้นอาจจะไม่รู้เลยคือ การยึดถือ " ปัญญา " นั่น เป็น " ของกู " ขึ้นทันทีและเหนียวแน่นขึ้นเรื่อยๆ ในชั้นที่ละเอียดมากขึ้นแม้ละความเห็นผิดในความเป็นตัวตนแล้วก็ตาม แต่อุปาทานในขันธ์ยังมีอยู่ ตราบใดที่จิตยังคงมี ... อวิชชา .. " จิตโง่ " จะยึดทุกอย่างนั่นล่ะ เพราะต้นเหตุของทุกอย่างก็เพราะจิตมันยึดถือตัวมันเอง การเจริญมรรค จะเกิดรู้แจ้งอริยสัจ๔ ขึ้นมา เมื่อเกิดรู้แจ้งอริยสัจก็จะนำไปสู่การเห็นและรู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทขึ้นตามมา เนื่องด้วยเป็นสิ่งเดียวกัน จึงนำไปสู่ความเห็นถูกในระดับที่ลึกขึ้น จนเห็นว่า วิญญาณเองก็เกิดดับ ตอนนี้จิตจะเริ่มเห็นความจริงมากขึ้น จึงเป็นที่มาสู่ความเห็นถูกมากขึ้นว่า แม้ " ผู้รู้ " ก็เกิดดับ!! หากอุปมา " ผู้รู้ " กับ " ผู้ถูกรู้ " เหมือนระนาดกับไม้ตีระนาด .. ระนาดกับไม้ตีก็อยู่กันเป็นเซ็ท แต่ไม่เหมือนกัน ทำหน้าที่ต่างกัน แต่งานนี้ไม้ตีระนาดเกิดไปเข้าใจผิดยึดว่าระนาดเป็นของมัน เสียงที่เกิดขึ้นมาจากมันเป็นคนทำ แต่เมื่อสังเกตด้วยความตั้งมั่นและเป็นกลาง ไม้ตีระนาดจึงเริ่มพบความจริงว่า " เสียงระนาดที่ดังขึ้นมานั้นมาจากมีการกระทบกันเท่านั้น ไม่ได้เป็นของไม้ตีระนาด มันเป็นเพียงการกระทบกันเพราะยังมีเหตุ " เพราะความที่ไม้ตีระนาดเข้าใจผิดไปเองว่าทั้งระนาด ทั้งเสียงระนาดเป็นของมัน นี่จึงนำมาซึ่ง " ความทุกข์ " มาตลอด สุดท้ายความเข้าใจผิดทั้งหมดในชั้นลึกที่สุด เกิดมีขึ้นมาได้ ก็จากความเป็นตัวตนของไม้ตีระนาดเอง ทุกอย่างเป็นธรรมชาติ ว่างจากความหมายแห่งความเป็นตัวตนอยู่แล้ว เพราะความเข้าใจผิดที่ยึดว่า " สติ " ก็ของเรา " ปัญญา " ก็ของเรา เรารู้แจ้งแล้ว แม้สัมมาทิฏฐิมีอยู่ แต่มันยังไม่สามารถวางสัมมาทิฏฐิได้ จนในที่สุดจากการรู้แจ้งอริยสัจจนถึงที่สุด ... สัมมาทิฏฐิ จึงเป็นเหตุ เกิดผลเป็น สัมมาญาณและสัมมาวิมุตติ ทีนี้จึงเป็นญาณ (ความรู้ ปัญญา) แท้จริงที่ปราศจากผู้ยึดถือ นี้จึงเป็นวิมุตติแท้ ว่างจากผู้วิมุตติ (หลุดพ้น) เป็นการคืนสู่ธรรมชาติโดยปราศจากตัวตนใดๆ อันก่อให้เกิดความยึดถือใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเกิดความเห็นถูก ไม้ตีระนาด ระนาด เสียงระนาด ล้วนเป็นอิสระว่างจากตัวตนกันหมด โดยความจริงก็ว่างกันอยู่แล้ว มันเพียงมีความรู้สึกที่ถูกสร���างขึ้นมาเองด้วยความไม่รู้ นี่จึงไปสร้างเหตุเกิดของขันธ์อันสืบเนื่อง ภพ ชาติอันสืบเนื่อง ไม่หยุดหย่อน วันนั้น ทั้ง " ผู้รู้ " " ผู้ถูกรู้ " ที่แท้ก็เป็นสิ่งเดียว ล้วนเป็นธรรมชาติที่ว่างจากตัวตนทั้งสิ้น เมื่อนั้นจะหมดเหตุปัจจัยใดๆในการก่อทุกข์ เพราะหมดเหตุแล้ว หยุดการก่อร่างสร้างการเกิดใดๆ นี้คือที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน ... . #อาจารย์ประเสริฐ #อุทัยเฉลิม 4 / 9 / 2556 @ 13 : 14
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
ธรรมสมโภช 80 ปี ท่านพุทธทาสภิกขุ เข้าใจพระพุทธศาสนาภายใน 10 นาที 1. พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ? อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นิโรธ คือความดับทุกข์ มรรค คือข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ 2. พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องอะไร ? ทุกข์กับการดับทุกข์ 3. ภาพรวมของพระพุทธศาสนา มีดังนี้ 3.1 ให้มองโลกตามความเป็นจริง (จริงขั้นสมมุติ=สมมุติสัจจ์, จริงแท้=ปรมัตถสัจจ์) อาทิ ตัวเรามีอยู่ แต่หาใช่ตัวตนที่แท้จริงไม่ 3.2 ให้ถือทางสายกลาง ทางตึง (ทรมานกายให้ลำบาก) ก็ดี, ทางหย่อน (ฟุ้งเฟ้อหลงใหล มัวเมา) ก็ดี, มิใช่แนวทางของพระพุทธศาสนา แต่ของพระพุทธศาสนา คือ มรรคมีองค์ 8 ทางสายกลางพอดี ๆ 3.3 ให้พึ่งตนเอง มิใช่พึ่งเทวดา โชคชะตาราศี หรือ ดวงดาว ฤกษ์ยาม 3.4 ไสยศาสตร์ การบนบานศาลกล่าว อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การดูฤกษ์ยาม การเจิม ฯลฯ มิใช่พุทธศาสนา 3.5 สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย (อิทัปปัจจยตา) มีใช่เกิดขึ้นเองลอย ๆ หรือพรหมลิขิต จะดับทุกข์ได้ต้องดับที่เหตุ 3.6 โอวาทที่เป็นหลักเป็นประธาน (โอวาทปาฏิโมกข์) คือ ให้ละชั่ว ทำกุศลให้ถึงพร้อม และทำจิตให้บริสุทธิ์ 3.7 สิ่งทั้งอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา, แม้พระนิพพาน ก็เป็นอนัตตาเช่นกัน หาใช่อัตตาตัวตนไม่ 3.8 ให้เชื่อในหลักธรรม คือ ทำดี-ได้ดี, ทำชั่ว-ได้ชั่ว. ให้��ำตนอยู่เหนือดี เหนือชั่วนั่นแหละ จึงจะพบนิพพาน (คือเหนือกรรม) 3.9 จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือนิพพาน (ได้แก่สภาวะจิตที่สงบเย็น ปราศจากทุกข์) 3.10 สรุปธรรมทั้งปวง รวมลงในเรื่องเดียว คือ “ความไม่ประมาท” 4. การศึกษาธรรมะ 2 สมัย 4.1 สมัยปัจจุบัน คือ รู้จัก กับ รู้จำ อาศัยการฟัง อ่านค้นคว้า จึงมีความรู้อยู่ในสมองและในสมุด พูดธรรมะคล่องแต่ปฏิบัติไม่ค่อยได้ จึงได้ผลน้อย 4.2 สมัยพุทธกาล คือ รู้แจ้ง โดยเมื่อฟัง – จำแล้ว ลงมือปฏิบัติ ทำจริงในขณะนั้นทันที เกิดผลเป็นความรู้แจ้งเรื่องชีวิต ดับทุกข์ในขณะนั้นทันที 5. วิธีศึกษาพระพุทธศาสนา เมื่อแรกพุทธปรินิพานนั้น สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสั่งให้ถือเอาเป็นศาสดาแทนพระองค์ มีเพียง 2 คือ ธรรมและวินัย หลังจากนั้นมา 300 ปี จึงเกิดมีพระไตรปิฎกขึ้น (สุตตันตปิฎก วินัยปิฎก และอภิธรรมปิฎก) บันนี้ล่วงกาลมาถึง 2500 กว่าปี คำสอนเดิม ขั้นปรมัตถ์ค่อย ๆ หายไป หมดไป เกิดมีคำสอนใหม่ ๆ เป็นพุทธศาสนาเนื้องอกจับใส่พระโอษฐ์ ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก ดังนั้นในการศึกษาพระพุทธศาสนาพึงอาศัยหลักดังนี้ – ด้านปริยัติ (ความรู้เนื้อหา) อ่าน ฟัง คิด วิจัย ให้เข้าใจคือให้ปฏิบัติได้จริง หากสงสัย ให้อาศัยหลักกาลามสูตรเข้าพิจารณาตัดสิน มิใช่เชื่อไปเสียหมด – ด้านปฏิบัติ การปฏิบัติทุกอย่างของพระพุทธศาสนาไม่ว่าการทำทานรักษาศีล ภาวนา พระพุทธองค์ทรงสอนให้ ทำเพื่อ “ละกิเลส” มิใช่เพื่อเอาหวังได้นั่นได้นี่ อันทำให้ยิ่งเพิ่ม โลภะ โทสะ โมหะ หาใช่พุทธศาสนาไม่ ทุกวันนี้ไหว้เพื่อเอา เพื่อขอ ทำบุญเพื่อเอาสวรรค์ นิพพาน หวังผลทั้งชาตินี้ชาติหน้า ซึ่งกลายเป็นพอกกิเลสยาวนาน – ด้านปฏิเวธ (ผล) ทำเพื่อละ จะพบนิพพาน (จิตบริสุทธิ์ มีความสะอาด สว่าง สงบ) แต่ทำเพื่อเอา จะทำเพื่อเอา จะพบกิเลสในตนพอกพูนยิ่งขึ้น ๆ ยาวนาน และยิ่งมีทุกข์มาก ดังนั้น จงมุ่งปฏิบัติเพื่อห่างไกลทุกข์โดยส่วนเดียว ให้ได้เห็นผลด้วยตนเอง (สันทิฏฐิโก) 6. จะศึกษาพุทธศาสนาได้ที่ไหน ? ให้ศึกษาในร่างกายนี้ ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และมิใช่จะต้องศึกษากับพระ และในวัดวาอารามเท่านั้น จึงศึกษาตนเอง อย่ามัวศึกษานอกตัว หรือมัวติดอยู่แค่พิธีกรรม หรือได้แต่ทำตาม ๆ เขาไป จะเสียทีที่ได้มีโอกาสเกิดมาพบพระพุทธศาสนา ได้ลิ้มรสแค่เปลือกกระพี้ มิได้ชิมรสอันเป็นเนื้อใน อันได้แก่ธรรมรสของความเย็นอกเย็นใจ (นิพพาน) 7. เหตุแห่งทุกข์และการดับทุกข์ เหตุ เกิดจากอุปทาน คือ การเข้าไปยึดถือว่า นี่คือ ตัวตนของเรา นี่ของๆ เรา การดับ โดยละอุปทานเสีย (โดยพยายามปฏิบัติให้ “เห็นอนัตตา”) เถิด จะโดยบังคับจิตเป็นสมาธิ (เจโตวิมุตติ) หรือโดยพิจารณาธรรมด้วยปัญญา (ปัญญาวิมุตติ) ก็ได้ 8. พุทธพจน์ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” คำว่า “เห็นธรรม” คือ เห็นปฏิจจสมุปบาท คือ วงจรที่ทุกข์เกิด และดับ โดยเริ่มต้นจากอวิชชา จนเกิดทุกข์ 9. จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน (สภาวะจิตที่สงบเย็น) ปราศจากกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งปวง (ชาวบ้านพูดว่า เย็นอก เย็นใจ) หาพบได้ที่ใจตัวเอง 10. สรุป ความทุกข์เกิดที่จิต พึงรักษาจิตให้เป็นประภัสสรไว้เสมอ ระวังการกระทบ (ผัสสะ) ทางตา หู ฯลฯ ให้ดี มีสติรู้ทันว่า…เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน อย่าให้เวทนา ตัณหา เกิดได้ แล้วท่านจะพบความสงบเย็นตลอดเวลา ความทุกข์เกิดที่จิต เพราะเห็นผิดเมื่อผัสสะ ความทุกข์จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่เมื่อผัสสะ ความทุกข์เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องผัสสะ จากธรรมสมโภช 80 ปี พุทธทาสภิกขุ
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
👼 รู้ด้วยตัวเอง แก้ด้วยตัวเอง 👼 . เมื่อประสบกับอารมณ์ จิตมันรู้เข้าไปที่จิต พอมันเข้าไปถึงจิตแล้ว จิตกระเพื่อมหรือเปล่า หวั่นไหวหรือเปล่า มันรัก หรือมันเกลียด พอใจ หรือไม่พอใจ นี่! ปรากฏการณ์มันเกิดขึ้นอย่างนี้ ถ้ามันรู้สึกรัก กำหนัดยินดี นั่น! ของจริงมันปรากฏให้เรารู้ . ของจริงอะไร ... ความจริงของจิตของเรา มันยังมีกิเลส เราก็รู้ว่าเรามีกิเลส เมื่อเรารู้ว่าเรามีกิเลส เราก็รู้จุดบกพร่องของเรา รู้จุดด่างของเรา เราจะแก้ไขปรับปรุงอย่างไรต่อไป ? . ถ้าสมมติว่าเราจะแก้ด้ายที่มันยุ่งๆ ถ้าเราไม่รู้ปมมัน เราก็ไม่รู้จักที่แก้ ปมยุ่งมันอยู่ที่ตรงไหน เรารู้แล้วเราก็แก้ที่ตรงนั้น จิตของเรานี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อมันประสบอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันมีกิเลสไหม . ถ้ายินดีมันก็มีกิเลส ถ้ายินร้ายมันก็มีกิเลส ถ้ายึดติดมันก็มีกิเลส นี่! ความจริงมันปรากฏให้เรารู้แล้วว่าเรามีกิเลส ต่อไปเมื่อเรารู้แล้วว่าเรามีกิเลส เราจะปฏิบัติอย่างไร กิเลสมันปรากฏ กำหนดสติรู้มัน อารมณ์มันปรากฏ กำหนดสติรู้มัน " เอาสติตัวเดียว " . พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้อย่างชัดเจน ตัณหามันเกิดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ดับที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันจะดับได้อย่างไร " ฝึ ก ส ติ " . พระอานนท์ถามว่ามันจะดับได้อย่างไร " ฝึกสติให้มันเข้มแข็ง " . เราจะฝึกสติอย่างไร ? ... การฝึกสติ ต้อง��ำจิตให้มีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก อะไรก็ได้ ในเมื่อจิตของเรายังไม่เป็นเอง เราก็ทำเอา นึกถึงสิ่งนั้น นึกถึงสิ่งนี้ นึกถึง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้คือ การฝึกจิตให้มีสิ่งรู้ . ทีนี้ถ้าจิตมันหาสิ่งรู้มาให้ตัวมันเอง มันคิดขึ้นมาเองได้ เรารู้ ความคิดนั่นแหละเป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต ทางปฏิบัติ เราเอาสติ กำหนดรู้อย่างเดียวเท่านั้น แค่นี้มันก็หมดปัญหาแล้ว จะไปยุ่งอะไร จะไปเที่ยวให้หลวงพ่อพุธแก้ให้ มันก็แก้ไม่ได้ มันต้องแก้ที่ตัวเอง . เห็นหนุ่มๆ สาวๆ นั่งดูมันรักมันชอบ ก็ให้มันรักมันชอบไป แต่ว่าสตินี่เป็นตัวสำคัญ ในขณะที่มันรักมันชอบ มันก็สร้างบาปขึ้นในใจ มันอยากจะทำอย่างนั้น มันอยากจะทำอย่างนี้ พอไปๆ มาๆ สติมันเข้มแข็ง มีปัญญา มันก็บอกกับตัวเองว่า สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา เราไม่ควรทำ แล้วในที่สุดมันก็เลิกคิด . หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
ที่เล่ามาทั้วหมดนั้น. บ่งบอกได้ว่า.ทุกๆอย่างที่เกิดนั้นมาจาก.จิต ที่ออกไปรับรู้ทั้งสิ้น. เมื่อจิตออกรู้สิ่งที่เกิดขึ้น ตะดับไปทันทีแต่สิ่งที่มันยังคิดต่อนั้น.คือ จิตที่ปรุงแต่งต่อ การภาวนานั้น หาใช่การนั่งนานๆแล้วมัวสังเกตุ.ตนเองว่าทนบุกบึนต่อเวทนาที่เจ็บปวดเมื่อยล้าได้นานแค่ไหน อันนั้รเป็นการเพาะบ่ม.มานะอัตตาว่ากูเก่ง แต่การภาวนานั้นของจีิงต้องรู้เท่าทัน จิต ที่เกิด และ ดับ ต่อสภาวะตรงหน้าแบบเริ่อยๆ.ภาวนาให้ จิตตั้งมั่น.ให้เห็นตัวจิตเองส่ามันเกิดและดับให้ได้มากที่สุด.. ความคิดต่างๆที่เกิดขณะภาวนา.คืออาหารอันโอชะของการฝึกสติ หากรู้ทันว่าจิตคิด.อาหารความคิดนี้คือ อาหารทิพย์ หากรุ้ไม่ทันว่า จิตคิด..อาหารความคิดที่เกิดมันคือ ยาพิษ เพราะมันพาจิต.ให้หลงภพ.สร้างเรื่องราวว่ามีผีป่าเจ้าที่มาลองใจ.คิดไปสารพัด.พอข้ามคืนมาได้ก้อจะสรุปว่าเราเก่ง.ที่ข้ามพ้นคืนอันน่ากลัว กลายเป็นมีกู ที่เก่งกาจ ผิดทางนะ. ขอให้พิจารณาใหม่
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
อาตมาจะสรุปหลักการปฏิบัติสั้นๆ ให้ฟังอีกครั้ง ๑. ขั้นแรกให้เราคอยจับความเคลื่อนไหวของรูปนาม การ เคลื่อนไหวของรูปกายทุกอิริยาบถ เมื่อจับได้แล้วเราจะรู้จักเรื่อง สมมติที่ตาเห็นสัมผัสได้ด้วยตาจับได้ด้วยมือ, เป็นวัตถุภายนอก. ๒ เมื่อทำได้ตามข้อ ๑. แล้ว จะมีความรู้ขึ้นเล็กน้อย, เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส, เราต้องพยายามตัดออกไป อย่าไปดีใจอยู่กับความรู้นี้ ที่มันเกิดขึ้นมาทีหลัง, เราต้องคอยดูจิตดูใจต่อไป. เมื่อเราเห็น-เรารู้- เราเข้าใจจิตใจของเราซาบซึ้งดีแล้ว มันจะทำลายความโกรธ-ความ โลภ-ความหลงลงไปได้บ้าง. ๓ เมื่อเราทำลายความโกรธ-ความโลภ-ความหลงลงไปได้ เล็กน้อยนี้ จะทำให้เกิดปีติ. เมื่อเกิดปีติ ก็ให้เรากำหนดรู้ปีติ แต่ อย่าเข้าไปในปีตินั้น, เราต้องถอนตัวออกจากปีติ คอยดูจิตใจของเรา ต่อไป. ตอนนี้มันจะเกิดญาณปัญญาปรากฏขึ้นมาทำลายความยึดมั่น ถือมั่นให้ลดน้อยลงไป. ๔ เมื่อความยึดมั่นถือมั่นลดน้อยลงไปแล้ว ก็จะเห็น-รู้-เข้าใจ ความเป็นปกติ, กายก็ปกติ วาจาก็ปกติ จิตใจก็ปกติ. ตอนปกติ นี่แหละเรียกว่า ศีล-สมาธิ-ปัญญา. ๕ เมื่อเห็น "อาการเกิดดับ" ถ้าไม่เข้าใจจะเป็นวิปลาส, ถ้ารู้สึก อยู่พร้อมกับความจบนั้นการปฏิบัติก็ถึงที่สุด. ฉะนั้น ขอเตือนให้ท่านทั้งหลายพยายามปฏิบัติไป จนได้พบได้ เห็นความคิดของตัวเอง และถอนตัวออกจากความคิด จงทุกๆ คน เทอญ. หลวงพ่อเทียน
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
คนที่เห็นความคิดแล้วทำไมยังโกรธ? ก็เพราะคนที่เห็นความคิดเอาจิตเข้าไปในความคิด จึงทำให้โกรธ ถ้าจะทำให้ไม่โกรธ ต้องเป็นเพียงผู้ดูความคิด เห็นความคิด แต่ไม่เข้าไปในความคิด เป็นเพียงผู้ดู เมื่อเราเป็นผู้ดูที่ไม่ได้เข้าไปในความคิด เราก็จะเห็นอารมณ์มันเริ่มก่อตัว เราก็หยุดสิ่งที่มันกำลังจะก่อตัว มันก็สงบ เห็น ..แต่ไม่เข้าไปเป็น . นายบุญรอด อุดมชัยสกุล
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
ไตรลักษณ์ ลักษณะ 3 อย่างของธรรมะคือ อนิจจัง คือความไม่เที่ยง มีการ เปลี่ยนแปลง ปร���นแปร  ทุกขัง คือความทนอยู่ในสภาพใดๆถาวรหรือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อนัตตา คือความไม่ใช่ตัวตน ไม่มีเจ้าของ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา คือ วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องไปเห็นไตรลักษณ์ วิปสสนาคือความรู้แจ้งความรู้จริงตามความเป็นจริง   ไตรลักษณ์นี้ เหมือนเชือกที่มี 3 เกลียว หมายความว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัมพันธ์กันใกล้ชิด เพราะเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นที่เดียวกัน คือเมื่อมีอนิจจัง หรือความไม่เที่ยงปรากฎขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ก็คือเป็นทุกข์นั่นเอง ฉะนั้นทุกข์ก็มาจากอนิจจังนั่นเอง(ทุกข์ ในที่นี้ หมายถึง ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่มีความหมายแค่ทุกขเวทนา ที่เป็นความเจ็บปวดทางร่างกาย) ส่วนอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนคือการบังคับบัญชาไม่ได้  บังคับให้ตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อบังคับไม่ได้ มันก็เป็นทุกข์    กฎไตรลักษณ์นี้ มีความสำคัญ      ในการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น เริ่มต้นพระพุทธองค์ให้ดูความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งลงท้ายน้อมเข้ามาที่กายใจ (อนิจจัง) เมื่อเห็นกายใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง นานเข้าก็ย่อมตระหนัก และเกิดความเห็นแจ้ง ประจักษ์ชัดว่ากายใจนี้ จะอยู่ในสภาพใดๆก็ตาม ย่อมทนรักษาสภาพนั้นๆไม่ได้เลย (ทุกขัง) เมื่อเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ของกายใจย่อมเกิดความรู้ ความมีสติที่จะเห็นตามจริงว่ากายใจไม่ใช่ตัวตน ไม่มีเจ้าของ ไม่มีใครบัญชาว่าจงคงสภาพอย่างนี้ตลอดไป(อนัตตา) เมื่อเห็นแจ้งก็เบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความยึดติด เพราะคลายความติด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณเห็นแจ้งว่าพ้นแล้ว ผู้เห็นแจ้งคือจิต ผู้เป็นอิสระคือจิต ผู้หลุดพ้นคือจิต ลองหาหนังสือสวดมนต์ ที่มี คำแปล อนัตตลักขณสูตร ซึ่งพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงอธิบาย ความเป็นไตรลักษณ์ของ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยละเอียด พระสูตรนี้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และทำให้จิตของพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้หลุดพ้นจากอาสวะกิเลส เข้าสู่ความเป็นอรหัตตผล
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
ไตรลักษณ์ ลักษณะ 3 อย่างของธรรมะคือ อนิจจัง คือความไม่เที่ยง มีการ เปลี่ยนแปลง ปรวนแปร  ทุกขัง คือความทนอยู่ในสภาพใดๆถาวรหรือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อนัตตา คือความไม่ใช่ตัวตน ไม่มีเจ้าของ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา คือ วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องไปเห็นไตรลักษณ์ วิปสสนาคือความรู้แจ้งความรู้จริงตามความเป็นจริง   ไตรลักษณ์นี้ เหมือนเชือกที่มี 3 เกลียว หมายความว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัมพันธ์กันใกล้ชิด เพราะเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นที่เดียวกัน คือเมื่อมีอนิจจัง หรือความไม่เที่ยงปรากฎขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ก็คือเป็นทุกข์นั่นเอง ฉะนั้นทุกข์ก็มาจากอนิจจังนั่นเอง(ทุกข์ ในที่นี้ หมายถึง ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่มีความหมายแค่ทุกขเวทนา ที่เป็นความเจ็บปวดทางร่างกาย) ส่วนอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนคือการบังคับบัญชาไม่ได้  บังคับให้ตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อบังคับไม่ได้ มันก็เป็นทุกข์    กฎไตรลักษณ์นี้ มีความสำคัญ      ในการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น เริ่มต้นพระพุทธองค์ให้ดูความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งลงท้ายน้อมเข้ามาที่กายใจ (อนิจจัง) เมื่อเห็นกายใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง นานเข้าก็ย่อมตระหนัก และเกิดความเห็นแจ้ง ประจักษ์ชัดว่ากายใจนี้ จะอยู่ในสภาพใดๆก็ตาม ย่อมทนรักษาสภาพนั้นๆไม่ได้เลย (ทุกขัง) เมื่อเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ของกายใจย่อมเกิดความรู้ ความมีสติที่จะเห็นตามจริงว่ากายใจไม่ใช่ตัวตน ไม่มีเจ้าของ ไม่มีใครบัญชาว่าจงคงสภาพอย่างนี้ตลอดไป(อนัตตา) เมื่อเห็นแจ้งก็เบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความยึดติด เพราะคลายความติด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณเห็นแจ้งว่าพ้นแล้ว ผู้เห็นแจ้งคือจิต ผู้เป็นอิสระคือจิต ผู้หลุดพ้นคือจิต ลองหาหนังสือสวดมนต์ ที่มี คำแปล อนัตตลักขณสูตร ซึ่งพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงอธิบาย ความเป็นไตรลักษณ์ของ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยละเอียด พระสูตรนี้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และทำให้จิตของพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้หลุดพ้นจากอาสวะกิเลส เข้าสู่ความเป็นอรหัตตผล
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
ผู้เดินตามมรรค
. คำถาม - คำตอบ กับอ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
คำถาม – เข้าใจว่ากายไม่ใช่ของเราและคุมไม่ได้ ถึงเข้าใจแต่ความผูกพันกับความปวดก็ไม่หาย ไม่สามารถละได้ ขอคำแนะนำด้วยค่ะว่าต้องทำอย่างไร
คำตอบ – แน่นอน เพราะว่าที่ท่านบอกว่ากายไม่ใช่เรา เข้าใจได้น่ะมันเข้าใจในระดับความคิด มันยังไม่ได้ มันต้องเกิดการประจักษ์แจ้ง แล้วมันก็ไม่ใช่ประจักษ์แจ้งทีเดียว มันต้องเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสนั่นแหละ ในภิกษุเจ็บไข้ก็เห็นเวทนาเกิดขึ้น เวทนาอันมาจากกาย ได้เห็นว่ากายไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง เวทนาก็ไม่เที่ยง กายก็ไม่เที่ยง เวทนาก็ไม่เที่ยงนะ ทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ อย่างเนี้ย ค่อยๆ เห็นไปๆ เรื่อยๆ เรื่อยๆ เพราะฉะนั้นไอ้การละความเห็นผิดเนี่ยมันก็ต้องใช้เวลานะ ใช้เวลา แล้วก็ต้องทำต่อเนื่อง มันไม่ได้เห็นจากของอย่างเดียวหรอก มันเห็นจากหลายๆ อย่าง หลายๆ อย่างแล้วมาประกอบกัน ในชีวิตประจำวันน่ะมันจะเห็นจากหลายๆ อย่าง อย่างผมเนี่ย ถ้านั่งสมาธิ ผมก็เห็นว่าอาการคันเกิดขึ้น อาการคันเกิดขึ้นแล้วเดี๋ยวก็เกิดมีความทุกข์ใจ อย่างนี้ มันก็เชื่อมโยงกันนะ ��อคันแล้วก็ทุกข์ คันแล้วก็ทุกข์ อย่างที่ผมบอกคือเอ๊ะ คันก็ยังคันอยู่นะ แต่ทำไมไม่ทุกข์แล้ว อย่างเนี้ย มันก็เริ่มเห็นความเชื่อมโยงบ้าง เห็นการดับบ้าง เห็นความไม่เกี่ยวเนื่องกันบ้าง เห็นความเกี่ยวเนื่องเป็นปัจจัยกันบ้าง
สมมติว่ายุงกัด ยุงกัด พอยุงกัดก็เจ็บจิ๊ดขึ้นมา เจ็บจิ๊ดขึ้นมาก็เอ้า! สมมติว่าเกิดโทสะขึ้นมา หรือว่าเกิดความทุกข์ขึ้นมา พอหันกลับไปมองมันก็ค่อยๆ ปูดขึ้นๆ นะ แล้วมันก็แดง แดงแล้วเกิดอาการคัน มันก็อยากเกา ก็จะเห็นเลยว่ายุงที่กัด ร่างกายก็เปลี่ยนแปลง มีการตอบสนองในแบบของเขา เชื้อของยุงก็อาจจะทำให้เกิดปฏิกริยานึง ร่างกายของเราก็ส่งเม็ดเลือดขาวบ้างอะไรบ้างออกมามันก็ทำให้เกิดความร้อน เพื่อจะฆ่าเชื้อโรคที่ปนเข้าไป คือเป็นปฏิกิริยาการทำงานของร่างกาย ซึ่งเราไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เราก็เพียงแต่ว่าไปรับ บอกว่าพอคันแล้วเราทุกข์ อย่างเนี้ย ถ้าท่านเห็นไปอย่างเนี้ย ท่านก็จะเห็นถึงความที่ไม่ได้มีตัวตนบุคคลเราเขาอะไร เขาก็ทำไปตามกระบวนการ อย่างผมนั่งรถนั่งเรือไปเกาะพะลวยอย่างเนี้ย เอ้าสมมติว่าพอผมนั่งเรือเสร็จ เอ้าผมนั่งรถนั่งเรือ โอ๊ย! เวียนหัวจัง ก็จะเห็นเลยว่า อ้อ กายเนี่ยพยายามปรับตัวเข้าหาสมดุลใหม่ คือเราอยู่บนบกเนี่ย สภาพค่อนข้างนิ่งกว่า แต่พอเราลงไปอยู่ในเรือเนี่ย มันมีการโคลงเคลงคลื่นบ้างอะไรบ้าง โคลงเคลง โคลงเคลงร่างกายก็โคลงเคลง ฉะนั้นร่างกายก็ต้องปรับสมดุลใหม่ ทีนี้ถ้ามันปรับสมุดลไม่ทัน ปรับช้า บางคนก็ เมาเรืออยากจะอาเจียน มันก็ไม่ได้เป็นเราอะไร ก็ไม่ได้ไปทุกข์อะไร จะอาเจียนมันก็อาเจียนพรวดออกมา เขาก็เป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองกันไป พอเริ่มปรับตัวได้ เออนั่ง ค่อยยังชั่วหน่อย พอถึงเกาะ เอ้าลง เวียนหัวอีกแล้ว มันปรับตัวได้แล้วน่ะ ทีนี้ไปอยู่บนพื้นเรียบๆ มันต้องปรับตัวใหม่อีก อย่างเนี้ย
เพราะฉะนั้นก็ไม่เห็นว่ามันเป็นเราตรงไหน เพราะฉะนั้นเนี่ยมันต้องเห็นกันไปตลอดต่อเนื่องอย่างเนี้ย แล้วมันก็ไม่เห็นว่าจะต้องไปทุกข์ไปสุขอะไรกับมัน กายมันก็ปรับ ปรับไม่ทันมันก็ออกอาการ ออกไปแดดร้อน พอโดนแดด เดี๋ยวเหงี่อมันก็ออก ก็เป็นการปฏิกริยาที่มันปรับสมดุลใหม่เพื่อไม่ให้ร่างกายมันโอเวอร์ฮีทเกิน อย่างเนี้ย ก็จะไปสุขไปทุกข์อะไรกับแสงแดด แล้วก็เห็นการทำงานของธาตุสี่ขันธ์ห้า มันก็ปรับกันไปอย่างเนี้ย ก็จะเห็นเลยว่าโอ้โห้ปรับไม่เคยหยุดเลยนะไอ้เนี่ย มันมีสภาพที่อย่างงี้ๆๆ ปรับไปเรื่อยๆ ไม่มีหรอกเสถียร นึกว่าจะเสถียร มันนั่งอยู่เนี่ยเดี๋ยวมันก็ไปอีก มันก็เป็นโน่น เป็นนี่ เป็นนั่นขึ้นมาอีก ไม่เคยเสถียรเลย เปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย เห็นแต่สภาพอนัตตาอย่างนี้เข้าใจไหม
ถ้าอย่างเนี้ย มันจะไปไหนเสียล่ะ มันจะเอาข้อมูลที่ไหนใส่ไปในตัวตนล่ะ ไม่มีหรอก อย่างนี้จะทำยังไงล่ะ ก็เห็นความจริงตามความเป็นจริง จิตมันต้องตั้งมั่น ไม่ใช่ โอ๊ย! ฉันร้อนจัง ยุงเยอะจริงๆ เนี่ยคันไปหมดเลย ฉันไม่ชอบเลยแบบนี้ เนี่ย มันมีแต่ฉัน ฉัน ฉัน เติมข้อมูลแบบนี้ไง เพราะฉะนั้นจิตตั้งมั่นมันก็ไม่มีสิ มันก็ไม่ใส่ข้อมูลผิด มันก็เห็นแต่สัมมาทิฏฐิเข้าไป นะ ปฏิบัติแบบนี้แหละ
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
เกิดแก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องของ สังขาร
รู้ตามเป็นจริง เป็นเรื่องของ ธรรมะ
ทิฐิมานะ จะไปสอดแทรกยึดถือเอาเป็นเจ้าของ
ปล่อยวางทิ้ง ทำให้ว่าง
ลมเข้า ลมออก อยากเห็นก็ให้เห็น
อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ต้องการเห็นก็ต้องให้เห็น
อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ
ส่งถวายคืน ในพระนิพพานคุณ ในคุณอันไม่เกิดไม่ดับ
นิพพานต้องรู้ตามเป็นจริงของพระนิพพาน
อย่าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ว่า ..
เราเป็นพระนิพพาน พระนิพพานเป็นเรา
ใจเราเป็นพระนิพพาน พระนิพพานเป็นใจเรา
ธรรมเราเป็นพระนิพพาน พระนิพพานเป็นธรรมเรา ก็ยุ่งกันใหญ่
ทีนี้ไม่มีที่แก้แล้ว …
เราเป็นศีล ศีลเป็นเรา เราเป็นสมาธิ สมาธิเป็นเรา
เหล่านี้ไอ้อุปาทานทั้งนั้น
เราเป็นอดีต อดีตเป็นเรา
เราเป็นอนาคต อนาคตเป็นเรา
เราเป็น ผู้รู้ ผู้รู้ เป็นเรา
เราเป็น ผู้ไม่รู้ ผู้ไม่รู้ นั่นแหละเป็นเรา
เราเป็นคนโง่ โง่นั่นแหละเป็นเรา
เราเป็นคนฉลาด ฉลาดนั่นแหละเป็นเรา
สิ่งเหล่านี้มีแต่หาบทั้งนั้นแหละ
มีแต่ขนใส่เกวียน ขนใส่รถไฟทั้งนั้น เต็มเลย ไม่มีรถไฟที่จะเข็นไปทีนี้
เพราะอะไร ก็ของกูทั่วโลกหมดแล้ว
ตาก็ของกู หูก็ของกู
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เห็นแต่ละวัน ละคืน ก็มีมาก ไม่มีที่จะใส่ล่ะทีนี้
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
จิตเดิม ไม่มีขั้น
มีแต่ ดีกรี ของ ความยึดถือ และ การละวาง นั่นแหละ จึงบอกว่า มีระดับของจิต ขั้นนั้น ขั้นนี้
เช่นคืนที่ พระจันทร์เต็มดวง , แสงส่องสว่าง มันก็เท่าเดิมตลอด
ต่างเพียงว่า คืนนั้น มีเมฆหมอกบังจันทร์ อยู่มากน้อยเพียงไร
คืนที่จันทร์สุกใสที่สุดนั้น , คือที่เราได้เห็นจันทร์อย่างที่เป็น ไร้เมฆหมอก บดบัง
คือมันไม่มีอะไรต้องจับต้อง ยึดถือ ไม่มีอุปาทานธรรม ไม่มีหลักการอะไร ทั้งนั้น
แต่ก้อนเมฆ หมอก ควัน ก็ยังมีอยู่ อย่างนั้นแหละ
มันเกิดมีขึ้น หนัก เบา ตามธรรมชาติ อันเกิดขึ้นแล้วเคลื่อนไป ในความสงบ อยู่เอง
แต่แสงจันทร์นวลผ่อง ในคืนวันเพ็ญ , กับ เมฆหมอก บังจันทร์ นั้น แท้จริง มันก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกันอยู่แล้ว , แต่ ต่างก็มีอยู่ ตามธรรมชาติของเขา
มันเป็นอิสระต่อกัน มานานมากแล้ว , หากก็แต่ อยู่บนฟ้าฝืนเดียวกัน นั่นเอง , เพียงแต่ เล่นอยู่ในสนามเดียวกัน
จิต ไม่มีขั้น , แต่ความไม่รู้ หรือ ความรู้สึกยึดและระดับการวางได้แค่ใหนแล้วแค่ใหน นั้นเอง ที่มีขั้น
มันมีแต่ความ รู้ ไม่รู้ และ ความหลงผิดเท่านั้น ที่มีอยู่
ดังนั้น ขอเราท่าน จงมีโอกาสได้ ดื่มด่ำ แสงจันทร์ อันนุ่มเย็น อย่างที่มันเป็น นั้นเถิด !!
..
#สังโยชน์ก็สักแต่เป็นดีกรีชี้วัดในบัญญัติเท่านั้นเอง
0 notes
61thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
เส้นทางตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า
หลักการที่พระองค์ทรงยึดเป็นหลักปฏิบัติก็คือว่า “ ทำจิตให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่งระลึก ”
พระองค์ทำลมอานาปานสติให้เป็นสิ่งรู้ของจิต แล้วเอาสติไปจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ พระองค์ทรงทำพระสติรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทำให้พระองค์ต้องรู้ ความหยาบ ความละเอียด ของลมหายใจ และรู้ความเปลี่ยนแปลงของลมหายใจ
ในขณะใดที่พระองค์ไม่ได้ดูลมหายใจ พระองค์ก็กำหนดดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิตของพระองค์ สิ่งใดเกิดขึ้น��ระองค์ก็รู้ รู้ด้วยวิธีการทำสติกำหนดจิต กำหนดคอยรู้ คอยจ้องดูอารมณ์ที่เกิดดับกับจิต ในเมื่อสติสัมปชัญญะของพระองค์มีความเข้มแข็งขึ้น สามารถที่จะประคับประคองจิตใจ ให้มีความรู้ซึ้งเห็นจริงในความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ในสภาวะที่เป็นไปตามธรรมชาติ
คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อรู้ว่าอารมณ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อารมณ์อันใด ที่จิตของพระองค์ยังยึดถืออยู่ เมื่ออารมณ์สิ่งนั้นเกิดขึ้นก็มายุแหย่ให้จิตของพระองค์ เกิดความยินดี เกิดความยินร้าย ความทุกข์ก็ปรากฏขึ้นภายในจิต
ทุกข์ที่ปรากฏขึ้นภายในจิตของพระองค์ พระองค์ก็กำหนดว่า นี่คือทุกข์อริยสัจ เป็นทุกข์จริงๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเมื่อรู้ว่า เป็นทุกข์จริงๆ พระองค์ก็สาวหาสาเหตุ ทุกข์นี่มันเกิดมาจากเหตุอะไร ทุกข์อันนี้เกิดมาจากตัณหา ตัณหาเกิดมาจากไหน เกิดมาจากความยินดี และความยินร้าย
ความยินดีเป็นกามตัณหา ความยินร้ายเป็นวิภวตัณหา ความยึดมั่นถือมั่นในความยินดียินร้ายทั้ง ๒ อย่างเป็นภวตัณหา ในเมื่อจิตมีภวตัณหา มันก็ย่อมมีความทุกข์เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงทำให้พระองค์รู้ซึ้งเห็นจริงในอริยสัจ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันนี้เป็นภูมิธรรมที่พระองค์ค้นคว้าพบ และตรัสรู้เองโดยชอบ
. สมาธิเพื่อชีวิต โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
0 notes