Tumgik
Quote
Every group is other to every other group
McEveilley, Thomas (1992). Art & Otherness: crisis in cultural identity
0 notes
Video
#wantaneesiripattananuntakul #thaicontemporaryartist #human_alienation #humanalienation #the conductor #2016 #whenshesingavoicelesssong #2015 #bangkokart (at หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
0 notes
Photo
Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media
Human AlieNation
August 4-September 3 2016
@Art Centre Silpakorn University
Artist: Wantanee Siripattananuntakul
Songs without lyrics (2016)
Three-channel video installation, color, sound
Photo credit: Tanatchai Bandasak
0 notes
Photo
Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media
Human AlieNation
August 4-September 3 2016
Artist:Chitti Kasemkitvatana
One moment into another. An atmospheric immersion. 2016
c1 One thing after another(2012)
Event #1 - La Seine un dimanche (10/06/2012) &
Event #2 - d’Une chambre blanche à l’espace vide (21/06/2012), Paris
c2 Untitled (Rebuilt) (2013)
A collaborated project with volunteers at Guangdong Times Museum, Guangzhou
c3Everyday utensils(2014)
Mixed media installation at Centre Européen d’Actions Artistiques Contemporaines – CEAAC, Strasbourg
c4 Drift away and fall (2016) An intervention at Centre Pompidou, Paris
Photo credit: Tanatchai Bandasak
0 notes
Photo
Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media
Human AlieNation
August 4-September 3, 2016
@ Art centre SIlpakorn University
Artists: Nipan Oranniwesna
IAMNOTWHATIWAS (2015-2016)
Photo credit: Tanatchai Bandasak
0 notes
Photo
Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media
Human AlieNation
August 4- September 3 2016
@ Art centre Silpakorn University
Arists: Nopchai Ungkavatanapong
Photo credit: Tanatchai Bandasak
0 notes
Video
สิ่งที่ดีที่สุดที่พบเจอในระหว่างการได้ทำนิทรรศการศิลปะ #human_alienation #contemporaryart #exhibition ก็คือ การได้เรียนรู้ สิ่งต่างๆ จากศิลปินที่ชื่อ #chittikasemkitvatana #nipanoranniwesna #nopchaiungkavatanapong และ #wantaneesiripattananuntakul 💙💙💙 #fieldnotes #fieldwork #Thai #contemporaryart (at หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
0 notes
Text
ชีวิตและผลงาน: วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร
วันทนีย์ จบการศึกษาจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ (สาขาประติมากรรม) จากนั้นไปศึกษาต่อที่ University of Arts, Bremen ประเทศเยอรมนี ผู้เคยกล่าวว่า"นับตั้งแต่ 7 ขวบที่รู้ว่าตัวเองชอบศิลปะ อยากเป็นศิลปิน ก็ไม่เคยนึกถึงตัวเองในภาพอื่นเลย"
 "สมัยปี 1 ที่สอบเข้าไปเรียนที่จิตรกรรม เราชอบแวนโกห์มาก รับรู้ได้ว่าเขาเป็นคนที่รักศิลปะจนตัวเราเองก็อยากที่จะมีจิตใจที่ซื่อสัตย์กับศิลปะได้มากขนาดนั้น อยากมีจิตใจที่จะอดทนกับมันได้มากถึงมากที่สุด อดทนกับเส้นทางที่ศิลปะจะพาไป อดทนกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอยู่ในโลกศิลปะ...เพราะโลกใบนี้เป็นโลกที่เรารักมากที่สุดแต่ในเวลาเดียวกันก็อดจะเกลียดมันไม่ได้เหมือนกัน"
Tumblr media
ความรัก ความเกลียด ความฝัน ความทะเยอทะยาน ความสงสัย ความไม่พอใจทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับชีวิตนับตั้งแต่ที่วันทนีย์เลือกที่จะเข้ามาเดินในสนามของศิลปะ ข้อความและความรู้สึกทั้งหลายล้วนอบอวลลอยอยู่ในบรรยากาศของการนำเสนองานศิลปะของวันทนีย์เต็มไปหมด สำหรับคนกลุ่มหนึ่งที่เคยดูงานศิลปะของวันทนีย์อาจจะกล่าวว่างานของเธอช่างเต็มไปด้วยมโนทัศน์ในเชิงความคิด ที่ลดทอนเรื่องราวเรื่องเล่าเสียจนยากจะสัมผัส แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะมีคนอีกกลุ่มที่สัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่เคยเต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราดเต็มไปด้วยคำถามและความสงสัย ที่ปรากฏในงานชิ้นแรกๆ (Personal space, 1998) และค่อยๆ ลดทอนลงจนมาถึงผลงานวิดีโอชิ้นล่าสุดที่จัดแสดงที่เยอรมัน We all live under the same sky, but we don’t all have the same horizon (2015) ที่เหลือแค่เพียงการสะท้อนมุมมองส่วนบุคคลที่มีต่อปรากฏการณ์ที่อยู่รอบตัว 
จากชีวิตลูกจีนในครอบครัวใหญ่ มาสู่การใช้ชีวิตอยู่ในโลกศิลปะไทย, การไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกตะวันตกที่กลายมาเป็นจุดเปลี่ยนผ่านของวัยรุ่นที่กลายมาเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว จากเดิมที่ใช้ "Wantanee Siripattananuntakoon” เป็นศูนย์กลาง สำรวจสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Wantanee คนนั้นในระหว่างปี 1999-2004 มาสู่วุฒิภาวะของ "Wantanee Siripattananuntakul"ที่แสดงให้เห็นถึงระดับของการพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2006 มาจนถึงปัจจุบัน เช่น การพยายามเข้าใจโลกศิลปะ เข้าใจกลไก (Wantanee's one man show (2006), A Wantanee Retrospective (2007) จนค้นพบรูปแบบวัฒนธรรมและสังคมที่ตนเองเติบโตมา (Wantanocchio, 2008 และ Wantanocchiobot'09, 2009) Wantanee คนใหม่ค้นพบว่า ชีวิตคงเป็นเช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง แต่กลับเต็มไปด้วยการแตกแยก การปะทุออก (rupture) ((Dis)continuity, 2012) โลกศิลปะไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่เป็นโลกที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกทางสังคมใบอื่นๆ ทั้งโลกเศรษฐกิจ (Evacuated crocs, 2012, Living with uncommon value, 2012, The price of inequality, 2015) และโลกการเมือง (III, 2014, She sings a voiceless songs 2015) ในระดับที่เรียกได้ว่าผลัดกันกำหนด ผลัดกันได้รับผลประโยชน์ แต่สำหรับ Wantaneeแล้วคงมีแค่เพียงประชาชนคนธรรมดาเท่านั้นที่ไม่เคยได้รับโอกาสและผลประโยชน์ใดๆ
0 notes
Text
ชีวิตและผลงาน: จิตติ เกษมกิจวัฒนา
จิตติ คือ ความคิด, ความตริตรอง, สติปัญญา, ความตั้งใจ, ประโยชน์, ความฉลาด และความเลื่องลือ ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับแปลไทย-ไทยของเปลื้อง ณ นคร 
จิตติ เกษมกิจวัฒนา คือ ศิลปิน, ภัณฑารักษ์อิสระ, อาจารย์พิเศษ, ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Messy Sky, เป็นศิลปินที่ทำหน้าที่เป็นเช่นนักประวัติศาสตร์คนสำคัญ ฯลฯ พื้นที่ในการแสดงงานศิลปะของเขาคือพื้นที่ของโลกศิลปะสากล 
Tumblr media
“ไม่ได้เรียนศิลปะเพื่อเป็นศิลปิน เรียนเพื่อที่จะค้นหาตัวเอง แต่ถึงอย่างนั้นก็มีเรื่องที่ย้อนแย้ง เพราะแม้จะเรียนมามากมาย อ่านหนังสือ ดูหนังฟังเพลงก็ยังมีเรื่องที่มองข้ามไป แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องของตัวเองก็ตาม" 
การทำงานศิลปะที่เปิดโอกาสให้เกิดการค้นพบตัวเองทำให้จิตติค้นพบว่าตัว��องสนใจแนวคิดปรัชญาทั้งแบบตะวันตกและตะวันออก เขาให้ความสำคัญกับเรื่องของจิต (spirit), ความว่างเปล่า (void), พื้นที่ (space) และเวลา (time) ไม่ได้สนใจเรื่องภาพ (image), (visual) และรูปทรง (forms) ตามขนบของการทำงานศิลปะเช่นศิลปินคนอื่นๆ สำหรับเขาแล้วศิลปะคือผลผลิตที่มาจาก "กระบวนการคิด การทบทวนสิ่งที่เคยเกิดขึ้น การแสดงให้เห็นการตกผลึกทางจิตใจ"และจิตใจก็ไม่ได้ถูกแบ่งออกเป็นจิตใจที่สนใจการสร้างสรรค์ หรือจิตใจที่สนใจในเรื่องอื่นๆ (Fall silent/mysterious flights, 2011, Tomorrow was yesterday, 2011) เพราะโลกความคิดอันที่จริงแล้วไม่มีเส้นแบ่ง มีแค่เพียงการพยายามตีกรอบ นิยาม แบ่งแยก จัดกลุ่ม จากผู้มีอำนาจเท่านั้น 
ในฐานะศิลปิน จิตติไม่ใช่ศิลปินที่อยู่ในกลุ่มของพวกช่างฝัน หรือแม้กระทั่งพวกขายฝัน เขาชอบกล่าวว่า การทำงานศิลปะของตนเองนั้น dry หรือแห้งแล้ง นั่นเป็นเพราะภาพที่ปรากฏ หรือ visual ในงานของจิตติเต็มไปด้วยความธรรมดา (ordinarily) ความว่างเปล่า (emptiness) และความสนใจในความว่าง (void) นี้เองที่นำมาซึ่งการค้นคว้าในเรื่องสภาวะแห่งความว่างเปล่าในรูปแบบต่างๆ ทั้งความว่างที่อยู่ในพื้นที่ ความว่างที่อยู่ในห้วงของกาลเวลา ความว่างที่อยู่ในห้วงอวกาศ ความว่างที่อยู่ในประวัติศาสตร์ ความว่างที่อยู่ในสังคม เพราะความว่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นปะปนกันไป อย่างไรก็ตามแทนที่จะมุ่งเปิดโปงชี้ให้เห็นว่าใครกันเป็นผู้สร้างให้เกิดความว่างนั้น หรือกำลังบิดเบือนสิ่งที่เคยเกิดขึ้น เขากลับพยายามเสนอสิ่งที่เขาค้นพบ ช่องว่างที่มาจากการถูกปัดรวมเข้าไปอยู่ความว่างแล้วนำเสนอสิ่งนั้นออกมาให้ปรากฏ เพื่อให้ผู้คนได้อ่าน ได้ชื่นชม ได้ค้นหาคำตอบ คนที่เคยได้สัมผัสกับงานของจิตติมาก่อนจะสามารถรับรู้ได้ว่าจิตติคาดหวังให้ผู้ชมที่อยู่ในโลกศิลปะได้อ่านได้ค้นหา เช่นเดียวกับที่เขาเคยค้นหา และเคยค้นพบมาก่อนเช่นกัน ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ส่วนตัว/เรื่องส่วนรวม, เรื่องศิลปะ/เรื่องสังคม การเมือง (one thing after another 2012 #imwtk 2014, One moment into another. A collision, 2015) 
ด้วยเหตุนี้แล้ว การลดทอนสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในตัวงานให้เหลือเพียงบรรยากาศและการปรากฏของวัตถุที่อยู่ในสถานะต่างๆ จึงเป็นการลดทอนที่ไม่ได้หวังจะตีกรอบ สร้างการรับรู้หรือความเข้าใจแบบหนึ่งแบบใด ตรงกันข้ามการลดทอนนี้กลับเป็นการลดทอนที่พยายามเปิดช่องว่างให้ผู้ชมได้เข้ามาค้นหา ลองฝึกทักษะในการค้นหา ซึ่งนี่เป็นทักษะที่หลายคนมองข้ามด้วยเพราะมักจะเคยชินกับการเชื่อตาม คิดตามสิ่งที่เคยเชื่อเคยได้ยิน เคยรับฟังมาแต่เดิมและที่สำคัญสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนก็คือ การให้ความสำคัญกับสภาวะของการรับรู้ การตระหนักรู้ และตรวจสอบการรับรู้ของตนเอง แทนที่จะกระตุ้นให้ตั้งคำถามกับสิ่งที่ปรากฏ เขาชี้ให้ผู้ชมสำรวจการรับรู้ (perception), ความรู้สึก (sensation) ของตนเองโดยเชื่อมโยงไปกับสิ่งที่ตาเห็น
0 notes
Text
ชีวิตและผลงาน:นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์
การเป็นตัวของตัวเองอาจดูเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด แต่ในทางกลับกันก็ทำให้การเปลี่ยนแปลงตัวเองกลายเป็นสิ่งที่ยากที่สุดไป นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสเคยกล่าวว่าภูมิหลังทางสังคมและการอบรมบ่มเพาะในระดับสถาบันการศึกษาคือ แหล่งที่มาสำคัญในการบ่มเพาะรสนิยมในงานศิลปะ สำหรับนิพันธ์ ช่วงระยะเวลามากกว่า 10 ปี ที่เขาเติบโตและบ่มเพาะฝีมือการสร้างสรรค์อยู่ในกรอบความเชื่อเรื่องความงามแบบอะคาเดมิคมาตลอด ปฏิบัติการที่เริ่มต้นฝึกฝนการทำงานศิลปะจากการจดจำเทคนิค เคยชินกับการทุ่มเทพลังและการสร้างสรรค์ไปกับการใส่ใจทุกรายละเอียดอยู่กับขั้นตอนการทำงานภาพพิมพ์ จนมองข้ามที่จะวิเคราะห์ต่อ คิดแย้ง หรือคิดทำลายปฏิบัติการเดิมของตนเองไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างถอนรากถอนโคน
Tumblr media
“ในช่วงปี 1993-95 เรามีปัญหากับการทำงานศิลปะของตัวเองจนต้องพยายามทำลายดีเอ็นเอที่แฝงอยู่ในตัวให้หมด แต่ก็ทำไม่ได้ คำถามที่โผล่ขึ้นมาในหัวจากการมองดูงานภาพพิมพ์ที่อยู่ตรงหน้า ใช่ มันสวย แต่สวยแล้วอย่างไรต่อ สิ่งที่ทำให้เราไปต่อได้คืออะไร และเมื่อไม่มีคำตอบใดๆ เกิดขึ้น งานหลายชิ้นที่ทำเสร็จแล้วเราต้องหาวิธีทำลายทิ้ง"
พ.ศ. 2524-2528 (1981-1986) รวมระยะเวลา 5 ปี ของการเข้ามาศึกษาที่กรุงเทพฯ ในคณะจิตรกรรมฯ สาขาวิชาภาพพิมพ์ การได้มีโอกาสเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่เพียงเป็นโอกาสในการบ่มเพาะฝีมือและความรู้ด้านเทคนิคในการทำงาน แต่ยังทำให้เกิดการบ่มเพาะแนวทางการใช้ชีวิตในฐานะศิลปินไทย ชีวิตนิพันธ์ในสถานะของนักศึกษาศิลปะไทย เขาปฏิบัติตนเช่นนักเรียนคนอื่นๆ คือส่งผลงานศิลปะของตนเองเข้าประกวดเพื่อสั่งสมชื่อเสียงและรางวัลจนได้รับรางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง จากการส่งงานภาพพิมพ์เข้าประกวดในรายการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 31 และ 32 จนมาถึงจุดหนึ่งของช่วงชีวิตที่ได้ไปศึกษาต่อด้านภาพพิมพ์ที่ญี่ปุ่น และมีโอกาสได้ออกไปดูงานศิลปินในต่างประเทศคนอื่นๆ นิพันธ์อดไม่ได้ที่จะย้อนกลับมาสู่ตัวเองแล้วพบเห็นแค่��วามงดงามที่อยู่ตรงหน้า ความงามที่ไร้เสียงและช่างเงียบงัน “เราแค่อยากหาหนทางไปต่อให้กับศิลปะ..ให้กับชีวิตที่หวังจะเป็นศิลปินของตัวเอง”
หาก"Reminiscence of earth” ในปี 1995-1996 นิทรรศการเดี่ยวที่จัดแสดงในญี่ปุ่นสะท้อนให้เห็นการทำงานในวัยหนุ่ม (young) ที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคนิค ฝีมือ สะท้อนความเชื่อ ความศรัทธา ที่มนุษย์คนหนึ่ง (ในฐานะศิลปิน) มีต่อผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง ทั้งกำเนิดโลก กำเนิดชีวิต กำเนิดความรัก จุดเปลี่ยนแปลงที่นำมาสู่การค้นพบเส้นทางที่จะทำให้เขาไปต่อก็คงเป็นเส้นทางที่มาจากการเดินทางไปพบเจอกับพื้นที่ใหม่ พื้นที่ที่ไม่ได้ถูกตีกรอบอยู่ในสตูดิโอ ในช่วงหลังค.ศ. 1998 (Nivasathan (นิวาสถาน) (2000), City of ghost (2006) DejàVu ปี 2008, Being…..at homE (2009), Speechless (2012) เป็นต้น)
ณ ทุกวันนี้ทุกครั้งที่เดินทางไม่ว่าจะไปในสถานที่ที่อยู่ไกลหรือสถานที่ที่ใกล้ กล้องถ่ายรูปขนาดเล็กและโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายรูปได้จะอยู่ในกระเป๋าติดตัวไปทุกที่เคียงข้างเขามาตลอด “การถ่ายรูปคือการฝึกฝน"“การดูหนังคือความชื่นชอบที่ส่งอิทธิพลต่อการอิมเมจในการทำงานศิลปะ"ด้วยเหตุนี้แม้นิพันธ์จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มศิลปินชื่อดังของประเทศไทยที่ผ่านประสบการณ์การทำงานศิลปะในเวทีนานาชาติมามากมาย เช่น Venice Biennale ครั้งที่ 52, Busan Biennale 2008, Biennale of Sydney ปี 2012, Singapore Biennale 2013 ทว่า ประสบการณ์ที่เขาอยากส่งผ่านไปยังลูกศิษย์มากที่สุดกลับไม่ใช่ประสบการณ์ของการเป็นศิลปินแถวหน้า แต่เป็นประสบการณ์ที่มาจากการฝึกฝนเพียงเพราะไม่เชื่อในเรื่องของพรสวรรค์ที่ถูกบ่มเพาะกันมาอยู่เสมอในสิ่งแวดล้อมของการเรียนการสอนศิลปะ
0 notes
Text
ชีวิตและผลงาน:นพไชย อังควัฒนะพงษ์
เย็นวันหนึ่งในราวปี 1980 หากคุณอยู่ร่วมในพื้นที่และเวลาเดียวกับชายวัยรุ่นชาวเอเชียลักษณะผอมสูงคนหนึ่งที่เมืองแนชวิลล์ (Nashville) สหรัฐอเมริกา คุณก็คงจะเห็นเขากำลังลากกระเป๋าเดินทางออกจากร้านอาหารที่เคยเป็นที่พักแห่งแรกในต่างแดนออกเดินทางในช่วงเวลาใกล้ค่ำไปตามถนน ก้าวขึ้นรถประจำทางอย่างทุลักทุเล ไม่มีใครรู้ได้ว่าการโยกย้ายครั้งนี้จะตามมาด้วยการโยกย้ายในอีกหลายครั้ง“ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมพอจะตั้งหลักอยู่ที่ใดที่หนึ่งก็มีเหตุทำให้ต้องโยกย้ายอยู่ตลอดเวลา ชีวิตที่ผ่านไปในแต่ละวันทำให้ชีวิตสึกหรอ และเพิ่มสัมภาระในชีวิตให้มีมากขึ้น...จำไม่ได้ว่าเก็บสัมภาระต่างๆ ใส่กระเป๋ามากี่ครั้งแต่รู้ว่าทุกครั้งที่ต้องโยกย้ายยิ่งสะท้อน 'สิ่งที่ขาดหายไป' ในชีวิต" (My first little mobile home, Moving to oxford (1987,1989), Here I go again (1983,1985,1987)) ฯลฯ
Tumblr media
เงินทอง ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย สิ่งที่ต้องการในชีวิตคืออะไร...(?) คำตอบคือ "การเป็นที่ยอมรับ" และ "การได้รับความรัก" (Ain't talking about love no.3 (1992), Looking for a little romance (1984,1985), Modern loveและนอกจากเหตุผลสองข้อดังที่กล่าวมาข้างต้น "การเติมเต็มส่วนที่ขาด" ก็เป็นอีกเหตุผลของการดิ้นรนเพื่อที่จะทำงานศิลปะ ทั้งเติมให้กับสิ่งที่ตัวเองขาด และเติมสิ่งที่ขาดให้กับสิ่งที่อยู่รอบตัว (สังคม) หลังจากไปอยู่ที่อเมริกากว่า 14 ปี การกลับมาบ้านในช่วงปี 1994 หรือราว พ.ศ. 2537ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเหตุการณ์การต่อสู้ทางการเมืองของภาคประชาชนในปี 2535 ที่นำมาสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญและการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมือง เขากลับมาพร้อมกับคำถามต่อสิ่งที่เป็นอยู่ พร้อมไปกับทบทวนในสิ่งที่เคยเชื่อ นพไชยเคยกล่าวในที่หนึ่งว่าเขาเชื่อว่า "จุดไฟให้สว่าง...แล้วโลกจะเปลี่ยนแปลง" การเริ่มที่จะนำไฟ (light) ทั้งหลอดไฟ ไฟฟ้าเข้ามาสร้างบทสนทนาร่วมกับวัสดุและวัตถุหลากหลายชิ้นจึงเริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลานั้น และกลายมาเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ในการทำงานศิลปะของนพไชยในเวลาต่อมา (Bathe (1998), Awkward (2012), I have seen a sweeter sky (2013)
ความน่าสนใจในตัวงานศิลปะของนพไชยคือ วิธีการนำเสนอการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่มาจากประสบการณ์ส่วนตน ผ่านการนำข้าวของ วัตถุต่างๆ ที่เคยแวดล้อมและอยู่ร่วมสมัยในช่วงชีวิตของตัวเขาเองมาบอกเล่า ในขณะเดียวกันก็สะท้อนการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย จากงานฝีมือของช่าง (crafts) มาสู่ผลผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม (industrial products) วัตถุและวัสดุทุกชิ้นล้วนเป็นข้าวของที่เคยอยู่ในสถานะของสินค้าอุปโภค (commodity) แต่ในปัจจุบันได้กลายเป็นข้าวของที่ตกยุคหมดสมัย สิ่งของที่นพไชยทำไม่เพียงสร้างชีวิตใหม่ให้กับข้าวของเหล่านั้นแต่ยังโยกย้ายสถานะและบริบทให้กลายมาเป็นวัตถุที่มีสถานะที่จะถูกยอมรับว่าเป็นงานศิลปะ
จากสมุดสเกตช์งานศิลปะที่ผ่านการใช้งานมาหลายสิบปี สะท้อนปฏิบัติการในการทำงานศิลปะการเป็นคนช่างคิดช่างเขียนและใส่ใจกับสิ่งที่แวดล้อมอยู่ในชีวิตประจำวัน การนำข้าวของแต่ละชิ้น เช่น จักรยานเด็ก, โทรทัศน์เครื่องเก่า, หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เก้าอี้ไม้ทำมือ ฯลฯ มาร้อยเรียงในรูปแบบของเส้นแนวนอนและเส้นแนวตั้ง เทคนิคการนำเสนอดังกล่าวนี้ไม่เพียงจะเป็นการท้าทายกับความคาดหวังของผู้ชมในการที่ชมงานศิลปะในแกลเลอรี่หรือพิพิธภัณฑ์ แต่ยังเป็นการพยายามจะลบพรมแดนอันศักดิ์สิทธ์ที่เคยแยกสนามศิลปะกับสนามของชีวิตประจำวันออกจากกัน แน่นอนว่าคนที่เคยพบเห็นงานศิลปะของนพไชยคงเคยมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าคืองานศิลปะจริงหรือ
สำหรับคนที่มีความกล้าหาญพอที่จะเดินเข้าไปถามคำถาม นพไชยก็คงจะตอบกลับมาด้วยการเล่าเรื่องนิทานที่เคยอ่านมาในช่วงวัยหนุ่มให้ฟัง เรื่องราวของลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งพยายามลองภูมิอาจารย์ด้วยการออกอุบายถามว่าสถานะของลูกไก่ที่อยู่ในมือนั้นเป็นไก่เป็นหรือไก่ตาย โดยหวังว่าหากอาจารย์ตอบว่าเป็น พวกเขาจะบีบไก่ตัวนั้นให้ตาย หากตอบว่าตายเขาจะปล่อยให้ไก่ได้มีชีวิตอยู่ต่อไป ทว่าคำพูดที่ออกจากปากอาจารย์ เขาไม่ได้ตอบว่าตายหรือเป็น กลับเป็นคำพูดประโยคสั้นๆ ที่ว่า "คำตอบทั้งหลายอยู่ในมือของพวกคุณ"
0 notes
Photo
Tumblr media
Artists as anthropologist and Anthropologist cum curator Nopchai Ungkavatanapong (left to right) Nipan Oranniwesna Kamolwan Boonphokaew (curator) Wantanee Siripattananuntakul Chitti Kasemkitvatana
0 notes
Photo
Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media Tumblr media
Learning space before installaing #space #place #site
0 notes
Photo
Tumblr media
#myfieldwork #human_alienation
0 notes
Photo
Tumblr media
Alienation? #warning #ใต้สะพาน #myfieldwork #human_alienation #photodiary #4เมษายน2559
0 notes
Text
Human AlieNation Art Exhibition: Contemporary Art and Anthropology
Human AlieNation Art Exhibition: Contemporary Art and Anthropology The fields of art and anthropology, despite their different working processes and approaches to practice, share one fundamental commonality: their ability to reflect situations and movements that are currently occurring in society. Generally, anthropologists explore small-scale groups of humans in order to offer an analytic synthesis to be compared to general society on a larger scale. Meanwhile, artists endeavor to reflect situations and how they impact individuals such that can be connected to society as well. They then transform that reflection in a creative manner through the form of either a tangible or intangible object.
This exhibition project not only presents such reflections on what people encounter in contemporary society, but also reveals the collaborative practice of its creators. Kamolwan Boonphokaew, as an anthropologist-cum-curator, joins hands with a group of artists of varied social statuses and interests to give expression to hidden aspects of cultural politics in modern-day Thailand. In this project, what has typically been hidden will be exposed, and what is normally intangible will be made tangible. This is not for the sake of word play, but is rather intended to exemplify subjects that are normally overshadowed and underexplored. In this presentation, what is visible may hide something invisible. Meanwhile, what is invisible may reveal something that should or cannot be exposed as well.
Human AlieNation utilizes a core concept of Karl Marx as a springboard to explain what is happening in the current age of domestic economic instability and insecure social and political scenarios. This alienation has originated from what has been created by humans, and reflects the characteristics and characters of people living in anxiety. As a result, these people are alienated from both society and themselves. This framework also conveys the individual as an Alien in his own Nation, which will eventually lead him to becoming a totally submissive subject to all powers.
One possible lens through which we can attempt to interpret and understand what is happening in contemporary Thai society is one created by fusing the working processes of contemporary art and anthropological survey as a special methodology. This method is unique in the way that feeling and perception will be strong focal points, and it can be well related to various multi-sensorial experiences. Through this approach, the artists effectively serve as anthropologists to undertake their own socio-cultural surveys, bringing the resultant thoughts and data to be minimized and transformed in the form of visual cultural objects. In this journey, the anthropologist has also joined and entered into the realm of arts and artists to make her own exploration. Finally, the delivered study outcomes are extended through the method of Visual Anthropology.
Therefore, the organizer expects the audiences, in viewing this exhibition, to leave all things behind in order to get back to the real matter of aisthetikos (or αἰσθητικός in Greek). The original notion of this ancient term, the origin of the term aesthetics, deals with perception through feeling. Therefore, the exhibition organizer believes that ‘feeling’ is the departure point for a journey to connect with past experiences, and it also assists in the construction of new experiences that will later evolve to become knowledge at various levels. With this utilization of feeling as a learning guide, what was once viewed as barriers blocking art will become living and studying spaces from which boundaries will become reduced and eventually vanish.
Project Objectives 1.1.To offer space for those alienated from society through the creative work and interpretations of four artists who have full freedom to express their thoughts and to choose their working approaches; 1.2.To create a learning experience for students and the general public based on the working role of the artists.
Participating Artists This exhibition features the first-time gathering of four Thai artists: Nopchai Ungkavatanapong, Nipan Oranniwesna, Chitti Kasemkitvatana, and Wantanee Siripattananuntakul. All play a significant role as pioneers in rendering works of contemporary Thai art that can be communicable with, as well as connect to, global art circles. Each has his or her own impressive set of creative output, detailed as follows:
Nopchai Ungkavatanapong completed his masters degree from the University of Cincinnati, Ohio, USA. In 2002, he participated in an artist residency program at Ecole Nationale d’Arts de Paris-Cergy Residency, Cergy, France, and, at Gresol Art, Girona, Spain, in 2003. Now, besides his international reputation and participation in several international art exhibitions overseas, he is a full-time lecturer for the project of establishing the department of mixed media at the Faculty of Painting, Sculpture, and Graphic Arts, Silpakorn University, Thailand. Noppachai’s signature as a mixed media artist is his effort to reconstruct the pre-occupied perceptions and interpretations of audiences. Among his recognized works is Colour For Guardian Spirits, displayed in both Thailand and Berlin, Germany. In 2013, he was also invited to join the Singapore Biennale.
Nipan Oranniwesna finished his printmaking study at the Tokyo National University of Fine Art and Music, Tokyo, Japan. He has joined exhibitions in both domestic and international arenas since his college years. One of his major honors is having been chosen as a Thai representative artist to join the 52nd Venice Biennale in 2007. Since then, his name has regularly appeared as a Thai artist represented in international arenas, including the 18th Biennale of Sydney and the Singapore Biennale.
Chitti Kasemkitvatana completed his education in fine art at RMIT University, Melbourne, Australia. Currently, he works as an independent artist and curator, recognized for his poetic approach and working style, and his not abiding to any particular presentation form. His past works include three-dimensional projects, installation work, books, and more. All are displayed in both physical and virtual spaces. His past exhibitions include those at Secession, Vienna; CAPC Musee d'Art Contemporain, Bordeaux; PS1, New York; Frac-Ile-de-France / Le Plateau, Paris; Level One, Paris; Times Museum, Guangzhou; and Centre Européen d’Actions Artistiques Contemporaines, Strasbourg. His recent solo show is titled One Moment into Another: A Collision, under the sponsorship of Berliner Kunstler-programm des DAAD.
Wantanee Siripattananuntakul completed her education in sculpture at the Faculty of Painting, Sculpture, and Graphic Arts, Silpakorn University, and has furthered her studies in the field of media arts at the University of the Arts Bremen, Germany. She is recognized for exploring the potential of works of art to raise many social questions and to increase awareness of social issues. In 2007, she returned to her homeland to present her exhibition in Thailand, and was chosen to be the representative of Thai artists to join the 53rd Venice Biennale. Most of her renowned past works are in the forms of video art, sculptures, and installations based on the utilization of many new forms of media. They include Wantanocchiobot'09 (2009); (Dis)continuity (2012); Living with un Common Value (2012), displayed at Kuenstler Haus, Bremen, Germany; III (2014); and, State of Ridiculous (2015).
This collaboration of the four artists is an amalgamation of various ways of approaching artistic creations aimed at reflecting the evolution of contemporary Thai art production and the connection between the contemporary Thai art scene and its surrounding context. In terms of physical appearance of their presented oeuvre, all four participants have their own idiosyncratic styles, forms of expression, and concepts of working. In terms of internal spirit, each also has his or her own distinctive ideology, beliefs, and living experiences. Nonetheless, the artistic congregation of these four members can more or less be seen as representing the spirit of the age.
Noppachai’s works and approach echo turbulent social views, while Chitti questions human beings’ ways of living, and also seeks to revise the separation of one’s body and mind so as to avoid the effect of alienation and diversification. Interestingly, Nipan’s work reflects the lives of those around himself, as well as the neglected ones, such as immigrant laborers from the province and neighboring countries. The production of his works is based on the context of bridging the relationship of those from both outside and inside areas. For Wantanee, she employs herself as a case study to reflect what results from changed regulations and social structures. All aim to depict the lives and living conditions of the general populace.
Exhibited Works This project is a mixture of various forms of visual art works, such as video installations, site-specific installations, and so on, of all four artists. All items will be displayed together with the field notes of the anthropologist who works as the exhibition curator. The field recordings are in the form of video footage, photo images, and various related documents.
Exhibition Period Installation Date: July 25th – August 3rd, 2016 Exhibition Date: August 4th – August 31st, 2016 Dismantling Date: September 1st, 2016 onwards Exhibition Site Art Gallery, Silpakorn University (Wang Tha Phra campus), on both first and second floors.
Remark All exhibited works are legal and copyright subjects of the artists themselves. To show appreciation, names of all sponsors and patrons will be featured in all PR media related to the exhibition.
Kamolwan Boonphokaew curator
0 notes
Text
นิทรรศการศิลปะ Human AlieNation: Contemporary Art and Anthropology
ศิลปะและมานุษยวิทยา แม้จะมีความแตกต่างทางปฏิบัติการและกระบวนการในการทำงาน แต่สิ่งที่ทั้งสองศาสตร์มีเป็นพื้นฐานร่วมกันก็คือต่างคนต่างสะท้อนให้เห็นสภาวการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ สิ่งที่กำลังในเกิดขึ้นในสังคม (the being) ในขณะที่มานุษยวิทยา คือการศึกษากลุ่มคนขนาดเล็กเพื่อเทียบเคียงการวิเคราะห์อธิบายสังคมขนาดใหญ่ ศิลปินก็สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับของปัจเจก เชื่อมต่อไปยังสังคม จากนั้นจึงถ่ายทอดออกมาในลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ ในรูปของสิ่งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ
การทำงานในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการนำเสนอทัศนะที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะที่ผู้คน สังคมร่วมสมัยต้องเผชิญ ยังเป็นการเปิดให้เห็นปฏิบัติการในการทำงานศิลปะและการทำงานทางมานุษยวิทยาของนักมานุษยวิทยา คือ กมลวรรณ์ บุญโพธิ์แก้ว และศิลปินร่วมสมัยที่มีจุดยืนและความสนใจในการทำงานศิลปะที่แตกต่างกันคือ นพไชย อังควัฒนะพงษ์, นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์, จิตติ เกษมกิจวัฒนา และวันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร ในการที่จะสะท้อนความเป็นการเมืองวัฒนธรรม (cultural politics) ที่แฝงฝังอยู่ในสังคมไทย โดยจะเป็นการนำเสนอสิ่งที่ไม่ถูกทำให้ปรากฏได้ปรากฏ และทำให้สิ่งที่จับต้องไม่ได้จับต้องได้มากขึ้น ซึ่งนี่ไม่ได้เป็นการเล่นคำ แต่เป็นการชี้ให้เห็นตัวอย่างของการท้อนซับ การบดบัง เพราะแม้กระทั่งสิ่งที่มองเห็นก็อาจซุกซ่อนสิ่งที่มองไม่เห็นเอาไว้ ในขณะที่สิ่งที่ไม่ถูกทำให้เห็นก็อาจเป็นการเปิดเผยสิ่งที่ไม่ควรเปิดเผย หรือไม่อาจเปิดเผยให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน
Human AlieNation หรือความกังวล ความแปลกแยกของมนุษย์ในที่นี้จึงไม่ได้เพียงเป็นการนำแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ มาเป็นจุดเริ่มต้นของการอธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในยุคของความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และความไม่มั่นคงทางสังคมและการเมือง อันมาจากความแปลกแยกจากแรงงาน ความแปลกแยกออกจากสิ่งที่ตนเองประดิษฐ์/ผลิต แต่ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นคุณสมบัติ สถานะ (characters) ของผู้คนในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความกังวลใจ ความแปลกแยกทั้งจากตนเอง และการแปลกแยกออกจากสังคม สื่อให้เห็นถึงคนที่มีสถานะเป็น Alien (คนแปลกแยก) ใน Nation (ชาติ) ที่ในท้ายที่สุดพวกเขาอาจจะถูกทำให้กลายเป็นคนที่ยอมจมอยู่ในอำนาจต่างๆ อย่างดุษณี
ดังนั้นการทำความเข้าใจต่อสิ่งที่กำลังปรากฏขึ้นจึงเป็นการดึงเอาปฏิบัติการในการทำงานของศิลปะร่วมสมัยและมานุษยวิทยามาใช้ร่วมกันซึ่งก็คือการให้ความสำคัญกับความรู้สึก การรับรู้ และเป็นการทำงานกับประสบการณ์ทางผัสสะที่หลากหลาย (multisensorial experiences)  ในขณะที่ศิลปินทำหน้าที่เป็นดังนักมานุษยวิทยา (artists as anthropologist) ลดทอนความคิด ความรู้สึกให้อยู่ในรูปของวัฒนธรรมทางสายตา นักมานุษยวิทยาก็ได้ร่วมเดินทางเข้าไปในโลกศิลปะและโลกของศิลปิน จากนั้นก็ขยายผลการศึกษาออกมาด้วยวิธีการทางมานุษยวิทยาทัศนา ด้วยเหตุนี้ฝั่งผู้จัดจึงคาดหวังว่าผู้ชมจะปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลับไปสู่เรื่องของ αἰσθητικός หรือ aisthetikos ที่หมายถึงการรับรู้ได้ด้วยผัสสะ (feeling) ในความหมายดั้งเดิมของกรีกด้วยวิธีการรับรู้ของผู้ชมเองเช่นกัน เพราะผู้จัดเชื่อมั่นว่าความรู้สึกเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมต่อกับประสบการณ์เดิม และ/หรือสร้างประสบการณ์ใหม่ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นการรับรู้ในระดับต่างๆ การเริ่มต้นโดยการใช้ความรู้สึกนำทางจะทำให้สิ่งที่เคยถูกมองว่าเป็นปัญหา เป็นเส้นแบ่งที่ขวางกั้นพื้นที่ศิลปะ พื้นที่ของชีวิต และพื้นที่ของการศึกษาออกจากกันพร่าจางลง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อเสนอพื้นที่ให้กับสภาวะความแปลกแยกที่เกิดขึ้นในสังคมผ่านชุดวิธีคิดและการตีความของศิลปิน 4 คน โดยรูปแบบของการทำงานนี้จะเป็นไปตามเสรีในการคิดและการทำตาม สิทธิ์ของศิลปินโดยทั้งหมด
2. เพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ทางสังคมให้กับนักศึกษา ประชาชน ผู้สนใจทั่วไปผ่านปฏิบัติการในการทำงานศิลปะของศิลปิน
ศิลปินผู้เข้าร่วมนิทรรศการ
นิทรรศการครั้งนี้เป็นการรวมตัวกันอย่างเป็นทางการครั้งแรกของศิลปินไทย 4 คน คือ นพไชย อังควัฒนะพงษ์, นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์, จิตติ เกษมกิจวัฒนา และวันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้บุกเบิกและสานต่อแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยที่สื่อสารกับโลกสากลด้วยรูปแบบและแนวทางของการสร้างสรรค์เฉพาะตัวของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป ดังนี้
นพไชย อังควัฒนะพงษ์ (Nopchai Ungkavatanapong) จบการศึกษาระดับปริญญาโทจาก University of Cincinnati, Ohio สหรัฐอเมริกา ในปี 2002 เคยเข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนัก (artist residencies) ที่ Ecole Nationale d’Arts de Paris-Cergy residency, Cergy, ประเทศฝรั่งเศส และ Gresol Art, Girona, ประเทศสเปนในปี 2003 ปัจจุบันนอกจากจะเป็นศิลปินที่ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ร่วมแสดงงานสร้างสรรค์ในต่างประเทศหลายครั้ง เขายังเป็นอาจารย์ประจำอยู่โครงการจัดตั้งภาควิชาสื่อผสม (mix media) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร เอกลักษณ์ในการทำงานศิลปะของนพไชยคือศิลปินสื่อผสมที่ต้องการรื้อสร้างความหมายและการรับรู้ที่มีอยู่เดิมของผู้ชมให้เกิดขึ้นใหม่ อาทิผลงาน Colour For Guardian Spirits ที่จัดแสดงทั้งในประเทศไทยและเบอร์ลิน เยอรมนี และเมื่อปี  2013 ที่ผ่านมา เขาได้เข้าร่วมการแสดงงานที่ Singapore Biennale
นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ (Nipan Oranniwesna) จบการศึกษาสาขาภาพพิมพ์จาก Tokyo National University of Fine Art & Music, Tokyo ประเทศญี่ปุ่น และเริ่มเข้าร่วมแสดงงานศิลปะและมีผลงานจัดแสดงทั้งในประเทศและต่างประเทศตั้งแต่ยังไม่จบการศึกษา ผลงานสำคัญและสร้างชื่อให้นิพันธ์ในระดับนานาชาติคือการเป็นตัวแทนศิลปินไทยเข้าร่วมเทศกาลศิลปะ Venice Biennale ครั้งที่ 52 ในปี 2007 จากนั้นชื่อของนิพันธ์ก็เป็นหนึ่งในศิลปินไทยที่เข้าร่วมแสดงงานในเวทีนานาชาติมาโดยตลอด อาทิ Biennale of Sydney ครั้งที่ 18, Singapore Biennale เป็นต้น
จิตติ เกษมกิจวัฒนา จบการศึกษาจาก RMIT University, Melbourne ปัจจุบันเป็นศิลปินและภัณฑารักษ์อิสระที่มีทำงานศิลปะโดยใช้กรอบการทำงานเชิงกวี (poetic approach) และไม่ยึดติดกับรูปแบบการนำเสนอใดเสนอหนึ่ง ผลงานการสร้างสรรค์ที่ผ่านมาของจิตติจึงมีทั้งการแสดงออกในรูปของงานสามมิติ งานจัดวาง หนังสือ ฯลฯ ในพื้นที่จริงและพื้นที่เสมือนจริง มีประวัติการจัดแสดงงานทั้งที่ Secession, Vienna; CAPC Musee d'Art Contemporain, Bordeaux; PS1, New York; Frac-Ile-de-France / Le Plateau, Paris; Level One, Paris; Times Museum, Guangzhou and Centre Européen d’Actions Artistiques Contemporaines, Strasbourg ผลงานเดี่ยวที่ผ่านมาคือ พรุ่งนี้ก็คือเมื่อวาน (Tomorrow was Yesterday), #IMTWK จัดแสดงที่กรุงเทพฯ และปีที่ผ่านมาจัดแสดงผลงานชื่อ One moment into another. A Collision ได้รับการสนับสนุนจาก Berliner Kunstler-programm des DAAD
วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร (Wantanee Siripattananuntakul) จบการศึกษาสาขาประติมากรรม จากคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร และไปเรียนต่อในสาขา Media arts ที่ University of Bremen ผลงาน วันทนีย์เป็นศิลปินที่สนใจนำศักยภาพของสื่อมาตั้งคำถามกับสังคมผ่านงานศิลปะ วันทนีย์กลับมาเมืองไทยตอนปี 2007 และมีโอกาสเป็นตัวแทนศิลปินไทยเข้าร่วมเทศกาลเวนิซ เบียนนาเล่ ครั้งที่ 53, แสดงผลงานที่ Kuenstler Haus, Bremen, Germany ผลงานที่ผ่านมาส่วนใหญ่คืองานวิดีโอ, ประติมากรรม, งานอินสตอลเลชั่น ที่มีความเกี่ยวข้องกับมีเดียต่างๆ อาทิ ผลงานชื่อ Wantanocchiobot'09 (2009), (Dis)continuity (2012) Living with un common value (2012) Kuenstler Haus, Bremen, Germany, and III (2014), State of ridiculous (2015) เป็นต้น
การมารวมตัวกันของศิลปินทั้งสี่คนดังที่กล่าวมานี้ ถือเป็นการรวบรวมความแตกต่างและหลากหลายในทางการสร้างสรรค์ที่จะสะท้อนไปสู่พัฒนาการของรูปแบบการทำงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทยและความเชื่อมโยงของศิลปะกับบริบทที่รายล้อมอยู่โดยรอบ เนื่องจากศิลปินทั้งสี่คนนี้ต่างมีเอกลักษณ์รูปแบบ (style) การนำเสนอ (form of expression) และประเด็น (concept) ในการทำงานของที่มีความแตกต่างกันในทางกายภาพของตัวงานต่างกันไป โดยที่ภายในก็ยังเต็มไปด้วยความต่างทางอุดมการณ์ (ideology) ความเชื่อ (belief) ประสบการณ์ในการใช้ชีวิต (experience) การมารวมตัวกันของพวกเขาทั้งสี่ในครั้งนี้จะเป็นตัวแทนของการสะท้อนจิตวิญญาณของยุคสมัย (the spirit of the age) ในขณะที่แนวทางการทำงานของนพไชยคือการสะท้อนมุมมองสังคมอันแปรปรวนภายใต้โครงสร้าง และภาพตัวแทน จิตติคือการตั้งคำถามกับความเป็นมนุษย์ การมีชีวิต และการทบทวนสภาวะการดำรงอยู่ของตัวตนและจิตที่ต่างก็ไม่อาจหลีกหนีจากผลกระทบของสภาวะความแปลกแยก ความผันแปร นิพันธ์คือการสะท้อนให้เห็นชีวิตของผู้คนที่อยู่รอบข้าง ผู้คนที่ถูกมองข้าม คนผลัดถิ่น คนอีสาน ผ่านการทำงานกับบริบทพื้นที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าความเป็นคนนอกและคนใน และสำหรับวันทนีย์ คือการใช้ชีวิตตัวเองเป็นกรณีศึกษาสะท้อนให้เห็นผลกระทบจากกฎเกณฑ์ โครงสร้างการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เข้ามากำหนดชีวิตผู้คน
ผลงาน
การทำงานในครั้งนี้จะเป็นการผสมผสานรูปแบบการทำงานศิลปะหลากรูปแบบ อาทิ วิดีโอ อินสตอลเลชั่น, ประติมากรรมจัดวาง ของศิลปินทั้ง 4 คน เป็นต้น นำเสนอร่วมกับบันทึกสนามของนักมานุษยวิทยาในฐานะภัณฑารักษ์ของการจัดงาน (ในส่วนของภัณฑารักษ์จะนำเสนอบันทึกสนามต่างๆ (field notes), วิดีโอ, ภาพถ่ายสะท้อนปฏิบัติการในการทำงานของศิลปิน, เอกสารต่างๆ
ระยะเวลาดำเนินงาน
วันติดตั้งงาน 25 ก.ค.-3 ส.ค. 2559
วันแสดงผลงาน 4 สิงหาคม-3 กันยายน พ.ศ. 2559
วันรื้อถอนผลงาน หลังวันที่ 2 กันยายน 2559 เป็นต้นไป
พื้นที่ดำเนินการ
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) ทั้งชั้น 1 และชั้น 2
หมายเหตุ
ผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดที่นำมาจัดแสดงภายในนิทรรศการครั้งนี้เป็นกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ของศิลปินผู้เป็นเจ้าของ โดยจะมีการลงรายละเอียดผู้สนับสนุนต่างๆ ในทุกสื่อประชาสัมพันธ์ของนิทรรศการเพื่อเป็นการขอบคุณ
นางสาวกมลวรรณ์ บุญโพธิ์แก้ว
ผู้เสนอโครงการ
0 notes