Don't wanna be here? Send us removal request.
Text
ขันธ์5
ขันธ์ 5 คืออะไรมีอะไรบ้าง ขอคำอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายด้วยค่ะ? พระพุทธเจ้าตรัสว่าขันธ์ 5เป็นของหนัก บุคคลแบกของหนักนั้นไป ย่อมเป็นทุกข์ในโลก เอ้า..ใครอยากให้ธรรมทาน เชิญตอบ ^_^ ไม่เฉพาะผู้ปฏิบัติธรรมจะได้ความรู้ นักเรียนก็ได้ความรู้เพราะเป็นข้อสอบเข้ามหาลัยค่ะ อัพเดต: ขอถามคุณมาโนชเพิ่มเติมเล็กน้อยค่ะ 1.สัญญาขันธ์ – ส่วนนี้ถ้าไม่ใช่อารมณ์สุข ทุกข์ เฉยๆ จะนับว่าเป็นสัญญาได้หรือเปล่าคะ 2.สังขารขันธ์ ข้อนี้ทำไมถึงเป็นปรุงแต่งไปในทางสุข ทุกข์และเฉยๆคะ ทำไมจึงไม่ใช่เจตสิกที่เหลือ ไม่อย่างนั้นก็ฟังคล้ายๆว่าซ้ำกับเวทนาหรือเปล่า ขอถามเพื่อความกระจ่างหน่อยค่ะ อัพเดต2: ขอแตกประเด็นเล็กๆอีกสักข้อค่ะ ความจริงยังมีเรื่องที่สงสัยอีกมาก แต่ไม่ถามดีกว่า ค่อยหาเวลาค้นเอาคราวหน้าที่ว่างกว่านี้ค่ะ คำถามคือ ถ้าจิตเป็นตัวรู้อารมณ์ ดังนั้นที่บอกว่าเจริญจิตตานุปัสสนา(การรู้ตามจิต) สิ่งที่จิตไปรู้คือเจตสิกไม่ใช่จิตใช่หรือไม่ค่ะ 3 กำลังติดตาม 4 คำตอบ รายงานการใช้ในทางที่ผิด คำตอบ คะแนน  คำตอบที่ดีที่สุด: ขันธ์ แปลว่า หมู่, พวก, กอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรูปและนามที่แยกกันเรียกว่า ขันธ์ทั้ง 5 ขันธ์ทั้ง 5 หรือ ขัน 5 ก็คือส่วนประกอบทั้ง 5 ที่รวมเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ 1.รูปขันธ์ – ส่วนที่เป็นร่างกาย 2.เวทนาขันธ์ – ส่วนที่เป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ และเฉย ๆ 3.สัญญาขันธ์ – ส่วนที่ทำให้จำอารมณ์ของ สุข ทุกข์ และเฉย ๆ ได้ 4.สังขารขันธ์ – ส่วนที่เป็นความปรุงแต่งไปในทาง สุข ทุกข์ และเฉย ๆ 5.วิญญาณขันธ์ – ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งในอารมณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยอินทรีย์ 6 เช่น - ถ้ารู้แจ้งทางตา (รูป) เรียกว่า จักษุวิญญาณ - ถ้ารู้แจ้งทางหู (เสียง) เรียกว่า โสตวิญญาณ - ถ้ารู้แจ้งทางจมูก (กลิ่น) เรียกว่า ฆานวิญญาณ - ถ้ารู้แจ้งทางลิ้น (รส) เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ - ถ้ารู้แจ้งทางกาย (สัมผัส) เรียกว่า กายวิญญาณ - ถ้ารู้แจ้งทางใจ (ความคิด) เรียกว่า มโนวิญญาณ, จิตวิญญาณ ข้อ 1 เรียกว่า "รูปขันธ์" แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับธรรมะ จะเรียกว่า "รูปธรรม" ข้อ 2-5 เรียกว่า "นามขันธ์" แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับธรรมะ จะเรียกว่า "นามธรรม" ตอบคำถามของคุณ on-ces 1.สัญญาขันธ์ – ส่วนนี้ถ้าไม่ใช่อารมณ์สุข ทุกข์ เฉยๆ จะนับว่าเป็นสัญญาได้หรือเปล่าคะ ตอบ ได้ครับ เช่น อารมณ์ 6 (เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดเหนี่ยว) ได้แก่ (1) รูป เช่น จำรูปที่เห็น, จำสีดำ สีขาว ฯลฯ (2) เสียง เช่น เสียงสูง, เสียงต่ำ ฯลฯ (3) กลิ่น เช่น กลิ่นหอม, กลิ่นเหม็น ฯลฯ (4) รส เช่น หวาน, ขม ฯลฯ (5) โผฏฐัพพะ เช่น การจับต้องทางร่างกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย ฯลฯ (6) ธรรมารมณ์ เช่น สิ่งที่ใจคิดนึก, อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ 2.สังขารขันธ์ ข้อนี้ทำไมถึงเป็นปรุงแต่งไปในทางสุข ทุกข์และเฉยๆคะ ทำไมจึงไม่ใช่เจตสิกที่เหลือ ไม่อย่างนั้นก็ฟังคล้ายๆว่าซ้ำกับเวทนาหรือเปล่า ตอบ ผมเห็นด้วยกับคุณ on-ces ขอบคุณมากครับ ถ้าหากจัดเข้าในปรมัตถธรรม 4 จะแยกเป็น - วิญญาณขันธ์ เป็น "จิต" - เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น "เจตสิก" ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้ (1) เวทนาขันธ์ เช่น - เวทนาทางกาย คือความรู้สึกว่า สุข ทุกข์ หรือ เฉย ๆ ทางกาย - เวทนาทางใจ คือความรู้สึกว่า สุข ทุกข์ หรือ เฉย ๆ ทางใจ (2) สัญญาขันธ์ เช่น - รูปสัญญา คือความหมายรู้รูปว่า ดำ แดง ฯลฯ - สัททสัญญา คือความหมายรู้เสียงว่า ดัง เบา ฯลฯ - คันธสัญญา คือความหมายรู้กลิ่นว่า หอม เหม็น ฯลฯ - รสสัญญา คือความหมายรู้รสว่า หวาน ขม ฯลฯ - โผฏฐัพพสัญญา คือความหมายรู้สัมผัสทางกายว่า ร้อน เย็น ฯลฯ - ธัมมสัญญา คือความหมายรู้อารมณ์ทางใจว่า งาม เที่ยง ฯลฯ (3) สังขารขันธ์ เช่น - กายสังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งทางกาย - วจีสังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งทางวาจา - จิตตสังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งทางใจ ขอขอบพระคุณเจ้าของคำถามอีกครั้งครับ Manoch P ตอบ : คุณ on-ces จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดในจิตของตนที่มีราคะ-ไม่มีราคะ, มีโทสะ-ไม่มีโทสะ, มีโมหะ-ไม่มีโมหะ ฯลฯ อย่างไรตามที่เป็นไปในขณะนั้น ๆ เพราะฉะนั้น การใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออกในแบบที่เป็นการเจริญจิตตานุปัสสนา เช่น - เรารู้ทั่วถึงจิต ด้วยการหายใจเข้า-หายใจออก - เราทำจิตให้ร่าเริง ด้วยการหายใจเข้า-หายใจออก - เราทำจิตให้ตั้งมั่น ด้วยการหายใจเข้า-หายใจออก - เราปล่อยเปลื้องจิต ด้วยการหายใจเข้า-หายใจออก Manoch P · 8 ปีที่ผ่านมา 2 ยกนิ้วขึ้น 0 ยกนิ้วลง รายงานการใช้ในทางที่ผิด ความคิดเห็น การให้คะแนนของผู้ถาม   ขันธ์5คือ5กอง 1รูปคือที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตาได้แก่สสารทั้งหลายที่เรามองเห็น แสง สีทั้งหลาย เสียง กลิ่น รส 2เวทนาคืออารมณ์ที่เป็นสุข อารมณ์ที่เป็นทุกข์ 3สัญญาคือความจำ จำได้บ้าง จำไม่ได้บ้าง จำได้นิดหน่อย 4สังขารคือสภาพที่ปรุงแต่งจิต สภาพที่ปรากฎแก่จิตเช่น ความโลภความโกรธ ความหลง ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ท้อถอย ความละอาย ความเกรงกลัว 5วิญญาณคือสิ่งที่รับรู้สภาพของดินฟ้าอากาศ ความร้อน ความหนาว ความหิว ความกระหาย AONG · 8 ปีที่ผ่านมา 1 ยกนิ้วขึ้น 0 ยกนิ้วลง รายงานการใช้ในทางที่ผิด ความคิดเห็น  ขันธ์ หมายถึง กลุ่มหรือกอง ขันธ์ 5 ประกอบด้วย 1.) รูปขันธ์ ได้แก่ รูปทุกรูป 2.) เวทนาขันธ์ ได้แก่ ความรู้สึก(เวทนา) 3.) สัญญาขันธ์ ได้แก่ ความจำ (สัญญา) 4.) สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิก 50 ดวง 5.) วิญญาณขันธ์ จิตทุกดวง แหล่งข้อมูล:http://buddhiststudy.tripod.com/ch2.htm eaglered · 8 ปีที่ผ่านมา 1 ยกนิ้วขึ้น 0 ยกนิ้วลง รายงานการใช้ในทางที่ผิด ความคิดเห็น  ทุกอย่างในตัวเรา ทุกข์ เวทนา สัญญาญ ฯลฯ สี่งเหล่านี้คือขันธ์ 5 นะครับ THEPOco · 8 ปีที่ผ่านมา 0 ยกนิ้วขึ้น 0 ยกนิ้วลง รายงานการใช้ในทางที่ผิด ความคิดเห็น ถามคำถาม โดยปกติจะได้รับคำตอบในไม่กี่นาที! รายละเอียด คำถามที่เกี่ยวข้อง ไตรลักษณ์ในขันธ์5คือสิ่งใด? ขันธ์ 5 คืออะไร แล้วทำไมต้องรับขันธ์5? ขันธ์ 5 ชุดที่สองมีอะไรบ้าง? คำถามเพิ่มเติม มาแรง ทำไฟในนำ้มันตะเกียงดับแบบไม่ได้ตั้งใจจะเป็นอะไรไหม? 7 คำตอบ I WANT TO LEARN THE THAI LANGUAGE? 4 คำตอบ ลาวก่อนนับถือศาสนาพุทธนับถือศาสนาอะไร? 6 คำตอบ คำถามเพิ่มเติม ข้อตกลงความเป็นส่วนตัวRSS
0 notes
Text
ข้าวต้ม
กินอย่างจีน ข้าวต้มแต้จิ๋ว สุดยอดอาหารระดับตำนาน ข้าวต้มแต้จิ๋ว สุดยอดอาหารระดับตำนาน ข้าวต้มแบบน้ำน้อย (กึกม้วย) ต้มข้าวต้มมันจะไปยุ่งยากอะไร แค่ซาวข้าว ใส่น้ำแล้วต้ม ก็แค่นั้น ใช่ครับ ดูแล้วก็ไม่เห็นว่า จะมีอะไรยุ่งยาก ทว่ามันเป็นเช่นนี้จริงหรือ จริงๆแล้ว มันเริ่มยุ่งตั้งแต่ตอนเลือกข้าวแล้วหละ บางคนชอบใช้ข้าวท่อน (คือข้าวหักเม็ด) บางคนชอบใช้ข้าวใหม่ บางคนอาจใช้ข้าวเก่าข้าวใหม่ผสมกัน ทั้งวิธีต้มก็ต่างกัน บางคนชอบต้มให้ข้าวยังเป็นเม็ดไม่บานมาก บางคนชอบต้มให้ข้าวบานมากหน่อยข้าวนิ่มหน่อย บางคนชอบน้ำมาก บางคนชอบน้ำน้อย บางคนชอบใช้ข้าวเย็นที่เหลือจากมื้อก่อนหน้าและอาจค้างข้ามคืนด้วย มาทำเป็นข้าวต้ม บางคนมักต้องเติมน้ำในระหว่างต้ม เริ่มยุ่งแล้วไหมล่ะ นี่ยังไม่พูดถึงเรื่องน้ำไฟด้วยซ้ำ ชาวจีนทั่วไปมีข้าวต้มอยู่ ๒ ชนิด คือ ข้าวต้มที่มีน้ำมากข้าวน้อย เรียกว่า ซีฟ่าน (稀饭 เสียงจีนกลาง) กับข้าวต้มที่มีข้าวมากน้ำน้อย เรียกว่า โจว (粥 เสียงจีนกลาง) ชาวกวางตุ้งเรียกโจวว่า จุก (zuk) แต่เป็นจุกที่ต่างออกไปจากโจว ด้วยเป็นข้าวต้มที่ต้องต้มจนเนื้อข้าวละลายอยู่ในน้ำ หรือพูดให้เป็นสำบัดสำนวนหน่อย คือในน้ำมีข้าว ในข้าวมีน้ำ คนไทยเราเรียกข้าวต้มแบบนี้ ว่า โจ๊ก (คำแต้จิ๋วออกเสียงว่า จ๊ก -zok- และไทยยืมเสียงคำแต้จิ๋วมาอีกที) ส่วนชาวแต้จิ๋วเรียกข้าวต้มด้วยศัพท์ของตัวเองเลยว่า ม้วย (糜) ต่างไปจากคำที่ชาวจีนทั่วไปใช้โดยสิ้น ความต่างของชื่อสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์อันเป็นสิ่งที่มีอยู่เฉพาะในข้าวต้มของชาวแต้จิ๋วได้เป็นอย่างดี ชาวจีนทั่วไปอาจทานข้าวต้มบ้างในบางครั้งบางคราว และมันก็แค่อาหารธรรมดาๆอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ชาวแต้จิ๋วทานข้าวต้มกันมาตั้งแต่เด็กจนโตยันแก่ และทานทุกวัน โดยแต่ละวัน จะต้องมีมื้อใดมื้อหนึ่งที่เป็นข้าวต้ม โดยเฉพาะมื้อเช้ากับมื้อค่ำ บางวันถึงกับทานข้าวต้มกันสามมื้อทั้งวัน เรียกว่าทานกันจน ข้าวต้มกลายเป็น ��อาหารประจำชาติ (พันธุ์)” ไปเลยก็ว่าได้ ณ จุดนี้ ข้าวต้มจึงได้กลายเป็นสุดยอดอาหารอันดับหนึ่งของชาวแต้จิ๋ว และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแต้จิ๋ว นั่นคือวัฒนธรรมอาหารแต้จิ๋ว เมื่อข้าวต้มคือหนึ่งในวัฒนธรรมอาหารแต้จิ๋ว ข้าวต้มแต้จิ๋วก็ย่อมมีเอกลักษณ์ของตนเอง อย่างที่เล่าไว้ตอนต้น ชาวแต้จิ๋วเรียกข้าวต้มว่า ม้วย (糜) นี่เป็นคำสามานยนามที่ใช้กับข้าวต้มทั่วไป เราอาจแยกข้าวต้มออกเป็นข้าวต้มเครื่องกับข้าวต้มแยกกับหรือข้าวต้มเปล่า ข้าวต้มเครื่อง เป็นข้าวต้มที่ปรุงใส่เครื่อง (หมู ไก่ กุ้ง ปลา) ไว้ในตัวข้าวต้มเสร็จสรรพ ชาวแต้จิ๋วเรียก พังม้วย (香糜) (พัง- 香-ภาษาปากของคนซัวเถา) เรื่องนี้จะมาเขียนเล่าในโอกาสหน้า ข้าวต้มเปล่าหรือข้าวต้มแยกกับ เป็นข้าวต้มที่ต้องทานคู่กับจับเกี๊ยม (杂咸-สารพัดกับข้าว) ชาวแต้จิ๋วเรียกข้าวต้มเปล่าว่า แปะม้วย/เปะม้วย (白糜) คนไทยมักเรียกข้าวต้มแยกกับที่ขายตามร้านขายข้าวต้มว่า ข้าวต้มกุ๊ย (อ่านข้ออธิบายคำว่ากุ๊ยในบทความสัปดาห์ที่แล้วได้ และขอเพิ่มเติมอีกคำ คือคำว่าเกี๋ยวกุ้ย -搅鬼-หมายถึงคนที่ชอบก่อกวนสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น) นอกจากนี้ ยังแยกตามลักษณะชองข้าวต้มได้ด้วย กล่าวคือข้าวต้มเหลวมีน้ำมาก แต่ไม่เละเหลวอย่างโจ๊ก อย่างนี้ชาวแต้จิ๋วเรียกว่า เชียะม้วย (淖糜) เชียะหรือเฉียะ (淖) คำนี้แปลว่าเหลว ของเหลว กับข้าวต้มอืดแห้งมีน้ำน้อย ลักษณะคล้ายแป้งเปียกข้นๆ ที่เรียกว่า กึกม้วย (稠糜) หรือกาม้วย (滒糜) ลักษณะข้าวต้มทั้งสองอย่างนี้ ใช้ได้ทั้งกับข้าวต้มเครื่องและข้าวต้มเปล่า แต่ส่วนมากมักจะใช้ข้าวต้มเปล่า ข้าวต้มแต้จิ๋ว สุดยอดอาหารระดับตำนาน ข้าวต้มแยกกับ (ข้าวต้มเปล่าทานกับกับข้าว) เอาละ เรามาดูวิธีต้มข้าวต้มของชาวแต้จิ๋วกัน ชาวแต้จิ๋วต้มข้าวต้มด้วย ๒ วิธี วิธีแรกคือ ซาวข้าวสาร (ใช้ข้าวเจ้า) ล้างข้าวให้สะอา��แล้วเติมน้ำ ต้มด้วยไฟแรงให้เดือดจัด จากนั้นหรี่ไฟอ่อนลงต้มต่อจนข้าวสุกบานเต็มที่ ดับไฟ ยกหม้อข้าวลงจากเตา วิธีที่สองคือ พอต้มข้าวเดือดแล้ว ให้รีบเทข้าวต้มใส่ถังไม้ปิดฝาทิ้งไว้สัก 2 ชั่วโมง ข้าวจะสุกและบานพอดี ชาวแต้จิ๋วเรียกวิธีนี้ว่า หิบ (熻) ซึ่ง “หิบ” คือการใส่อาหารที่กำลังร้อนจัดไว้ในภาชนะปิดทึบ กักความร้อนไว้ข้างใน เพื่ออบอาหารให้ร้อนหรือสุกให้เต็มที่ การต้มข้าวต้มด้วยวิธีนี้ จะได้ข้าวต้มที่หอมเข้มข้นกว่า แต่ก็ออกจะยุ่งยากกว่าสักหน่อย จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม คงนิยมต้มด้วยวิธีแรกมากกว่า และเคล็ดลับสำคัญที่สุดในการต้มข้าวต้มของชาวแต้จิ๋ว คือจะไม่เติมน้ำในระหว่างต้มเด็ดขาด ฉะนั้น จะต้องใส่น้ำให้มากพอตั้งแต่แรก คือต้มในน้ำเดียวจบ การใส่น้ำให้มากพอเพื่อต้มให้ได้ข้าวต้มในน้ำเดียวแบบนี้ น้ำข้าวที่ข้นเนียนจะหุ้มเม็ดข้าวไว้ ทำให้ข้าวต้มเนียนนุ่มน่าทาน แต่ถ้าใส่น้ำไม่มากพอ แล้วเติมน้ำในระหว่างต้ม ข้าวกับน้ำจะแยกจากกัน น้ำข้าวจะเหลวใส และเม็ดข้าวก็จะไม่เนียนนุ่มน่าทาน ห้ามเติมน้ำระหว่างต้มข้าวต้มเด็ดขาด คือข้อห้ามที่ถือเป็นเคล็ดลับสำคัญ การต้มข้าวต้มในน้ำเดียวแบบนี้ จะได้น้ำข้าวที่ข้นเหนียว เนียนนุ่ม น้ำข้าวนี้เรียกว่า อ้ำ (饮เสียงภาษาปาก) ทุกครั้งที่ต้มข้าวต้มเสร็จ อาม่าผมจะตักน้ำข้าวแยกไว้ซดต่างหากเสมอ เพราะอร่อยและน่าจะได้ประโยชน์ไม่ยิ่งหย่อนกว่าน้ำเต้าหู้ จะซดเปล่าๆ หรือแกล้มกับไช้โป๊สักชิ้นสองชิ้น ก็อร่อยเลิศ ชาวจีนเชื่อว่า มื้อเช้ากับข้าวต้มร้อนๆสักชาม ช่วยป้องกันหวัดและช่วยล้างท้องขับของเสียจากร่างกายได้ ดีต่อสุขภาพแบบที่ไม่ต้องไปหาอาหารเสริมอะไรมาทานเพิ่ม หากยังติดใจความหอมหวานและเนื้อละมุนนุ่มของข้าวต้ม หลังมื้อเช้าแล้วจะต่อด้วยมื้อเที่ยงและมื้อเย็นก็ได้ สองมื้อนี้จัดให้หนักท้องสักนิด ต้มข้าวต้มแล้วปิดฝาหม้อตั้งทิ้งไว้เลย ปล่อยให้ข้าวดูดซับน้ำให้พองอืดเต็มที่จนไม่มีน้ำข้าว จะได้ข้าวต้มแบบกึกม้วย ที่ดูคล้ายข้าวสวยแฉะมากๆ แต่นุ่มกว่าและไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้ แม้ข้าวต้มแฉะๆแบบนี้ จะดูไม่ค่อยน่าทานนัก แต่ก็เป็นข้าวต้มที่ทานง่ายย่อยง่าย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และผู้มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร ข้าวต้มแต้จิ๋วยังมีจุดเด่นที่ต้องทานคู่กับกับข้าว ซึ่งมักเป็นกับข้าวแบบง่ายๆ เช่น ผัดผัก ไข่เจียว ไข่เค็ม ผักกาดดองเค็ม หัวไช้โป๊ ปลาเข่งหรือหมูต้มจิ้มซีอิ๊วเต้าเจี้ยว เป็นต้น ชาวจีนในไทยได้ใช้จุดเด่นข้อนี้ มาเปิดร้านข้าวต้ม และสิ่งที่ดึงดูดลูกค้าได้ดี นอกจากข้าวต้มแล้ว ก็คือสารพัดกับข้าวนี่แหละ จนร้านขายข้าวต้มขยายตัวให้เราเห็นกันดาษดื่นทั่วไปในทุกวันนี้ อาหารมื้อเช้าในโรงพยาบาล มักเป็นข้าวต้มเสมอ ในแง่การโภชนาบำบัด ข้าวต้มถือเป็นอาหารอ่อนสำหรับคนไข้ ที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น คนที่เหนื่อยล้าจากงานหนักหรือเดินทางไกล ทานข้าวต้มร้อนๆสักชาม จะช่วยให้หายเหนื่อยล้า อิ่มท้อง สบายกาย สุขใจ และหากทานข้าวต้มประจำ ในระยะยาวแล้ว ยังช่วยบำรุงผิวพรรณได้ด้วย สำหรับคนแต้จิ๋ว ข้าวต้มเป็นทั้งอาหารหลักที่อยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน และยังเป็นวัฒนธรรมอาหารสำคัญอีกด้วย
1 note
·
View note
Text
อิติปิโสฯ
 Ads by Yengo Premium ลองมาดูกันซิว่า ทำไมบทสวดมนต์ "อิติปิโสฯ" ถึงได้ถูกยกย่องว่าศักดิ์สิทธิ์มาก อัพโหลดวันที่ 17 ต.ค. 2559, 09:43 น.  เชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัยว่าทำไมบทสวดมนต์อิติปิโสฯ ถึงได้ถูกยกย่องว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ลองไปอ่านทำความเข้าใจกันเลย - บทสวดมนต์อิติปิโสฯ แต่ล่ะตัวอักษรจะมีความย่อของ 1 บท เช่น อิ = 1 บท , ติ = 1 บท ดังตัวอย่างด้านล่าง "#อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ สวดเท่าอายุเกินอายุหนึ่งจบนะคับ ๑. #อิ. อิฏโฐ สัพพัญญุตัญญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง (อิ แปล จงหมั่นภาวนา ป้องกันศัสตรา ห่อนต้องอินทรีย์ ทำให้แคล้วคลาด นิราศไพรี สิริย่อมมี แก่ผู้ภาวนา) ๒. #ติ. ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง (ติ แปล ถึงบทนี้ไซร้ หมั่นภาวนาไว้ กันภัยนานา ภูตผีปีศาจ มิอาจเข้ามา ทั้งปอปทั้งห่า ไม่มาหลอกหลอน) ๓. #ปิ. ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง (ปิ แปล ภาวนานึก สติตรองตรึก อย่าทำใจร้อน สารพัดเมตตา อย่าได้อาวรณ์ ครูแต่เก่าก่อน เคยได้ใช้มา) ๔. #โส. โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะนาโม สะเทวะเก โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง (โส แปล ภาวนาทุกวัน ตามกำลังวัน ป้องกันอันตราย ทุกข์ภัยพิบัติ สารพัดเหล่าร้ายศัตรูทั้งหลาย แคล้วคลาดห่างไกล) ๕. #ภะ. ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา ภะยะสัตเต ปะหาเสนโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง (ภะ แปล จงภาวนา กันโรคโรคา ไข้เจ็บทั้งหลาย ศัตรูมุ่งมาด มิอาจทำได้ พินาศยับไปด้วยพระคาถา) ๖. #คะ. คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง (คะ แปล ถ้าหมั่นภาวนา โรคภัยโรคา ไม่มาย่ำยี จะค่อยบรรเทา หากโรคเก่ามี มิช้ากายี สิ้นทุกข์สุขา) ๗. #วา. วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง วานะ นิพพาปะ นัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง (วา แปล บทนี้ดีล้ำ ภาวนาซ้ำๆ ป้องกันศัตรู เหล่าโจรอาธรรม์ พากันหนีอู้ ไม่คิดต่อสู้ออกได้หายไป) ๘. #อะ. อะนัสสา สะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามิง นะมามิหัง (อะ แปล ให้ภาวนา กันเสือช้างมา ทำร้ายรบกวน เป็นมหาจังงัง สิ้นทั้งชบวนจระเข้ประมวล สัตว์ร้ายนานา) ๙. #ระ. ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โย สัตตะโมจะเน รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง (ระ แปล ภาวนาไว้ คุณคนคุณไสย สารพัดพาลา ใช้ป้องกันได้ มิให้เข้ามาถูกต้องกายา พินาศสูญไป) ๑๐. #หัง. หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง (หัง แปล ให้ภาวนา ในเมื่อเวลา เข้าสู่สงคราม ข้าศึกศัตรู ใจหู่ครั่นคร้ามไม่คิดพยายาม ทำร้ายเราแล) ๑๑. #สัม. สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง (สัม แปล ภาวนาตรึก ช่างดีพิลึก ท่านให้รำพัน เมื่อจะเข้าสู่ เหล่าศัตรูสรรพหมดสิ้นด้วยกัน พ่ายแพ้ฤทธิ์) ๑๒. #มา. มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง (มา แปล ภาวนาไว้ ถ้าหมั่นเสกไซร้ ทุกวันยิ่งดี แก้คนใจแข็ง มานะแรงมีใจอ่อนทันที ไม่เย่อไม่หยิ่ง) ๑๓. #สัม. สัญจะยัง ปาระมี สัมมา สัญจิตะวา สุขะมัตตะโน สังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง (สัม แปล สำหรับบทนี้ ตำรับกล่าวชี้ ว่าดีจริงจริง สำหรับเสกยา ปัญญาดียิ่งสุดจะหาสิ่ง ใดมาเปรียบปาน) ๑๔. #พุท. พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชะนัง พุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง (พุท แปล ภาวนาไป เสนียดจัญไร มิได้พ้องพาน อุปสรรคไรไร ก็ไม่คะคานแสนจะสำราญ ให้หมั่นภาวนา) ๑๕. #โธ. โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง โธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง (โธ แปล ภาวนาไว้ กันเสือช้างได้ ทั้งสุนัขหมา ใช้ป้องกันภัย สัตว์ร้ายนานาไม่อาจเข้ามาย่ำยีบาทา) ดังนั้นใครที่ไม่เห็นความสำคัญ ของบทนี้คิดใหม่ได้นะครับ ประเภท : วาไรตี้ ที่มา : pageqq.com
0 notes
Photo
กลุ่มชาวแสงทิพย์อริยธรรมได้นำ 3 พระคาถาสำคัญมาใช้ในชีวิตประจำวัน 1.นะโมพุทธายะ-ยะธาพุทโมนะ.....เป็นคาถาเปิดจิตเพื่อรับแสงทิพย์อริยธรรมจากพระบรมธรรมบิดา พระวิสุทธิพุทธรังษี ประธานในแดนทิพย์นิพพาน(แสงสีขาวใสประกายเพชร) ฉัพพรรณรังสี รัศมี 6 ประการของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พลังพระ พลังบุญ พลังเมตตาของพระมหาโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย(มีรัศมีจิต-แสงกายทิพย์ ตั้งแต่ 6 สีลงมา) พระคาถานะโมพุทธายะ-ใช้ได้ทุกด้านครอบจักรวาล ทั้งแคล้วคลาด ปลอดภัย เมตตามหานิยม รักษาโรคภัยไข้เจ็บ ใช้เป็นคำภาวนาก็ได้ ดีทั้งนั้น เวลาจะมีอุบัติเหตุเพทภัยกะทันหัน ใช้พระคาถานี้สวดว่า"นะโมพุทธายะ พลังพระช่วยลูกด้วย" 2.นะมะพะธะ-นะโมพุทธายะ....ใช้รับพระ 7 พระองค์ หรือปิดทองอัญเชิญพระ 7 พระองค์เข้าไว้ในจิต และใช้เป็นคำบริกรรมภาวนาหลักประจำในเวลาต่างๆด้วย นะมะพะธะ-เป็นบทไหว้ครู เป็นอิทธิฤทธิ์ คาถาตาทิพย์ และเป็นมโนมยิทธิด้วย นะโมพุทธายะ-เป็นบุญฤทธิ์ของพระเบื้องบน 3.คาถาเงินล้าน หรือ พระคาถาแผ่เมตตาอริยทรัพย์ทั่วไตรภพ.....ใช้ในการแผ่เมตตา อุทิศส่วนบุญกุศลของเราที่ได้บำเพ็นมาทั้งหมดจากอดีตทุกภพชาติถึงปัจจุบัน ฝากไปกับแสงทิพย์ฯไปให้ตนเอง พ่อแม่ บรรพบุรุษ ครูอาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัคว์ สรรพวิญญาณทั่วทั้งสามโลก ให้ได้รับส่วนบุญกุศลและโมทนาบุญ(เขาได้บุญทันที 80-90%ของเรา สัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิ คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ได้รับลดโทษ 50%ทันที บางส่วนยกสภาวจิตไปส฿ภพภูมิที่ดีขึ้น เช่น เป็นเทวดาได้เลย)...... นาสังสิโม.....ฯลฯ....เพ็งๆพาๆหาๆฤาๆ...... คาถาสำคัญนี้ใช้ในการจุดธูป 16 ดอก ปักนอกบ้านเพื่อบูชาเทพ พรหม แผ่เมตตาไปให้พร้อมๆกับพวกผี สัมภเวสีเร่ร่อน สรรพสัตว์ สรรพวิญญาณต่างๆ และใช้สวดเวลาเดินทางไปไหนมาไหน ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ ทางใต้ดินได้ด้วย......
0 notes
Text
เวียนว่ายตายเกิด สาธุ
🌚อวิชาคือเหตุ "เวียนว่ายตายเกิด"🌚 🔄🔄 ขออนุญาตแชร์บทความ จากผู้เผยแผ่ครับ..... อ่านจบ จะแชร์หรือไม่แชร์ ก็ได้บุญไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าแชร์ต่อ ก็เป็นธรรมทาน อันยิ่งใหญ่ครับ สาธุ....อนุโมทนาบุญกับบทความดีๆ 10 ความจริงสูงสุดที่ทุกคนควรตระหนัก!!! *********** 1. แท้จริงแล้ว สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากใครทำ ไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอก แต่เกิดจากการกระทบกันของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ปัจจัยภายนอกเป็นเพียงตัวแปร ปัจจัยภายใน ได้แก่ สติ คือสาเหตุใหญ่ ถ้าสติไม่แข็งแรง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด เป็นใครมาจากไหน ก็มีความทุกข์ได้ทั้งนั้น เมื่อสติแข็งแรง ย่อมเห็นกระบวนการทำงานของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อเห็นกระบวนการดังกล่าว จิตย่อมไม่เสวยอารมณ์ อันเป็นต้นเหตุของสุขทุกข์ สุขทุกข์จึงถูกปรับสมดุลให้อยู่ในภาวะเป็นกลาง สิ่งนี้เรียกว่า ความเบิกบาน 2. ความเป็นเรา เป็นเขา คือ กระบวนการปรุงแต่งของจิต แท้จริงแล้ว ตัวเราไม่มีอยู่ คำว่าตัวเราไม่มีอยู่นี้ ไม่ใช่คำอุปมาอุปไมย แต่เป็นสิ่งที่สามารถตรวจสอบได้เอง จากการฝึกจิต ความเป็นตัวเรานั้นเปรียบเหมือนรถยนต์หนึ่งคัน เมื่อจับล้อไว้ทางหนึ่ง เครื่องยนต์ไว้ทางหนึ่ง ประตู ตัวถังไว้ทางหนึ่ง เมื่อจับแยกส่วนได้เช่นนี้ สภาพความเป็นรถยนต์ก็หมดไป เมื่อฝึกสติจนแยกกาย ความคิด และจิต ออกจากกันได้ ความเป็นตัวเราก็หมดไปด้วย เมื่อความเป็นตัวเราหมดไป ผู้ยึดมั่นถือมั่นก็หมดไปด้วย ความทุกข์ทั้งปวงก็เป็นอันยุติ 3. เราทั้งหลาย ล้วนเกิดมาหลายล้านชาติ เป็นจำนวนที่นับไม่ได้ เคยเกิดเป็นคนรวย คนจน ราชา พระ ยาจก เป็นคนฉลาด เป็นคนโง่เขลา เป็นคนพิการ เป็นคนรูปงาม เป็นชาย เป็นหญิง เป็นกระเทย เป็นทอม เป็นนักบุญ เป็นมหาโจร เคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก เปรต เทวดา เคยเป็นมาทุกอย่าง ดังนั้น ถ้าชาตินี้เกิดมาดี ก็ไม่ได้แปลว่าชาติหน้าจะดี ชาตินี้อาจเป็นมหาเศรษฐี ชาติหน้าอาจเกิดเป็นสัตว์นรก ชาตินี้อาจเป็นสัตว์เดรัจฉาน ชาติหน้าอาจเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในตระกูลสูงก็เป็นได้ ตราบใดที่ยังเวียนว่ายตายเกิด จงอย่าลำพองใจว่า เรานั้นดีแล้ว ประเสริฐแล้ว เพราะแท้จริง ไม่มีใครเลยที่ดีกว่าใคร ทุกคนล้วนอยู่ในความสุ่มเสี่ยงทั้งสิ้น 4. จิตสุดท้ายก่อนตาย เป็นสิ่งชี้วัดว่าชาติหน้าเราจะไปเกิดเป็นอะไร ขณะที่จิตสุดท้ายเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยากที่สุด ในวินาทีสุดท้ายความเศร้า ความกลัว ความสงสัย การยึดติด และความเจ็บปวด สิ่งเหล่านี้จะดึงมนุษย์ให้ไปปฏิสนธิจิตในภูมิเบื้องต่ำ ได้แก่ นรก เปรต เดรฉาน พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่ได้เกิดเป็นมนุษย์อีกค��ั้งหลังจากตายไปแล้ว มีเท่าจำนวนเม็ดทรายที่ปลายนิ้ว ส่วนทรายที่เหลือบนปฐพี เทียบได้กับผู้ที่ตายแล้วไปจุติในอบายภูมิ ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว คงน้อยกว่า 0.000000001 เปอร์เซ็นต์ นั่นเท่ากับว่า เป็นไปได้มากเหลือเกินว่า คนทั้งหมดที่เรารู้จัก จะไม่มีใครเลยที่จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ไม่เว้นแม้กระทั้งเราเอง!!! 5. ชีวิตที่เราเห็นอยู่ เป็นชีวิตชั่วคราว เมื่อเราตาย สิ่งที่เราหามาด้วยความลำบาก สิ่งที่เราเคยมั่นหมายว่าสำคัญ ทั้งความสามารถ เกียรติภูมิ ลูก เมีย ผัว หน้าที่การงาน สมบัติพัสถาน เงินทอง บ้านช่อง ที่ดิน ความภาคภูมิใจ ทั้งหมดนี้ ไม่มีอะไรเลยที่เราสามารถนำติดตัวไปได้ คำถามสำคัญที่เราควรต้องคิด คือ "ทุกวันนี้เราใช้เวลาที่มีเพื่อสิ่งใด" แน่นอนว่า เวลาเกือบทั้งหมดของเรามุ่งไปสู่สิ่งที่เราไม่สามารถนำติดตัวไปได้ เหล่านี้ คือเรื่องอันตรายที่เราสมควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเร่งด่วน 6. บุญบาปเป็นของมีจริง ทุกการกระทำของเรา ย่อมส่งผลสะท้อนกลับ ไม่วันนี้ก็วันหน้า ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า คำพูด และการกระทำ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าที่เราคิด พูดสิ่งใด ทำสิ่งใดลงไป มิได้จารึกไว้เพียงโลกนี้ หากแต่มันจะจารึกไว้ในสังสารวัฏ ในจิตของเรา และเราจะต้องเป็นผู้รับผลแห่งการกระทำของตนเอง ตลอดการเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้น จงระวังคำพูด และการกระทำของเราไว้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ 7. ทุกคนที่เราเห็น พ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อน ผู้คน ทั้งคนที่รู้จัก และไม่รู้จัก ตลอดการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีใครเลยที่ไม่รู้จักกัน ไม่มีใครเลยที่ไม่เกี่ยวข้องกัน และตราบใดที่เรายังเวียนว่ายตายเกิด เราและเขา จะได้พบกันอีก ไม่ฐานะใดฐานะหนึ่ง ทำดีกับเขาวันนี้ จะพบกันในเส้นทางที่ดี ทำร้ายเขาในวันนี้ ก็จะต้องตามจองเวรกันต่อไปไม่สิ้นสุด ดังนั้น คำว่า "เพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย" จึงเป็นคำที่มีนัยยะสำคัญกว่าที่เราคิดไว้หลายเท่า จงมองผู้อื่นให้เหมือนครอบครัวของท่าน นั่นคือ หนทางที่ดีที่สุด 8. เมื่อการเวียนว่ายตายเกิดมีจริง การบริหารจัดการชีวิตของเรา ก็สมควรเป็นการบริหารจัดการชีวิตที่ครอบคลุมทุกมิติ ไม่เน้นหนักในชาติใดชาติหนึ่ง ชาตินี้ก็ต้องกินต้องใช้ แต่ชาติหน้าก็ต้องเผื่อเหลือเผื่อขาด กิจกรรมบางอย่าง อาจส่งผลดีสูงสุดในชาตินี้ แต่ชาติหน้าอาจทำให้ท่านไม่เหลืออะไรเลยแม้แต่อัตภาพความเป็นมนุษย์ ดังนั้น ในทุกวัน เราควรถามตนเองว่า วันนี้เราได้เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัวในชาติหน้าบ้างแล้วหรือยัง 9. เวลาที่เราเห็นตรงหน้า มีเพียงปัจจุบัน วินาทีต่อวินาที เมื่อเวลาเคลื่อนเลยไป ไม่มีใครสามารถนำช่วงเวลานั้นกลับมาใช้ซ้ำได้ อดีต ไม่มีจริง เพราะอดีต คือภาพจำที่เรานำมาคิดซ้ำในเวลาปัจจุบัน ส่วนอนาคตก็ไม่มีจริง เพราะอนาคต ก็คือการปรุงแต่งในปัจจุบันของเรา จงจำไว้เสมอ ชีวิต คือเรื่องสดใหม่ ตัวท่านมีอยู่เพียงปัจจุบัน การอยู่กับปัจจุบันจะช่วยแก้ปัญหาทุกอย่างในชีวิตของท่านได้ และนี่คือกุญแจเพียงดอกเดียวที่จะไขความลับของชีวิต จงอยู่กับปัจจุบันจนถึงที่สุด แล้วชีวิตจะเป็นของท่านอย่างแท้จริง 10. เป้าหมายของการเกิดเป็นมนุษย์คืออะไร บางคนบอกว่า ฉันเกิดมาเพื่อมีความสุข บางคนบอกว่า ฉันเกิดมาเพื่อสร้างสิ่งดีงามไว้ให้โลก บางคนบอกว่า ฉันเกิดมาเพื่อคนที่ฉันรัก นั่นก็เป็นสิ่งที่จะคิดกันไปตามภูมิปัญญา แต่ละคนก็มีเป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกันไป แต่สำหรับพระพุทธเจ้า ท่านได้ฝากเป้าหมายไว้ให้มนุษยชาติอย่างชัดเจน เป้าหมายของการเกิดเป็นมนุษย์ในทัศนะของพระพุทธเจ้า ก็คือการดับกิเลส และทำที่สุดแห่งทุกข์ให้แจ้ง คือการดับความไม่รู้ หรืออวิชา อันเป็นต้นเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ตลอด การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ขอให้เชื่อเถอะว่า เราเคยตั้งเป้าหมายชีวิตมาแล้วนับไม่ถ้วน และขอให้เชื่อเถอะว่า ทุกเป้าหมาย ทุกความปราถนา ทุกความสำเร็จ ทุกความอยากมี อยากได้ อยากเป็น เราล้วนเคยบรรลุมาแล้วก่อนหน้านี้ทั้งสิ้น คงเหลือเพียงเป้าหมายเดียวเท่านั้นที่เรายังไม่เคยบรรลุ นั่นคือเป้าหมายแห่งการไม่เกิด ไม่ตาย เช่นนั้นแล้ว ถ้าชาตินี้เรายังตั้งเป้าหมายเก่าๆ ซ้ำๆ เดิมๆ ชีวิตของเราคงไม่ต่างอะไรกับนิยายน้ำเน่าที่นำมาเล่าซ้ำ เปลี่ยนแต่เพียงชื่อแซ่ หน้าตา เสื้อผ้า หน้า ผม แต่ทุกอย่างก็ยังวนเวียนอยู่ในวังวนเก่าๆ เช่นนี้แล้ว การเกิดของเราคงเป็นการเกิดที่ไร้ค่า จงหยุดคิด พินิจ ใคร่ครวญ ด้วยสัมปชัญญะของท่าน อัตภาพความเป็นมนุษย์ คือ สิ่งล้ำค่าอันหาที่สุดมิได้ ทุกวันนี้ท่านกำลังใช้สิ่งล้ำค่าที่ว่า เพื่อแสวงหาสิ่งใดอยู่หรือ!!! ขออนุโมทนาบุญกับพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ..ทุกองค์..ทุกรูป..ในฐานะที่ท่านอยู่ในเส้นทางที่ควรจะเป็น ในการที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ *********** เขียนด้วยความความรัก และห่วงใย
0 notes
Text
หลวงตามหาบัว
พระนิพนธ์ถวายความอาลัยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดย เจ้าฟ้าหญิง จุฬาภรณ์ฯ "หลวงตามหาบัว... ท่านพ่อมหาบัวของลูก ท่านพ่อเป็นอริยบุคคลที่ลูกรักและเทิดทูนมาตลอด ถ้าจะถามกันว่าลูกรู้จักท่านพ่อมานานหรือยัง... ก็คงต้องตอบว่านานมากกว่าสี่สิบปีแล้ว ลูกก็ได้ยินชื่อเสียงของท่านพ่อว่าเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ท่านพ่อเป็นพระที่เคร่ง และเป็นสายปฏิบัติ เป็นที่นับถือของชาวอีสานและประชาชนคนไทย ตอนลูกอายุได้ ๑๗-๑๘ ปี ลูกได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถไปกราบท่านพ่อ... ตอนนั้นก็แค่ได้ขึ้นไปกราบ กราบเสร็จแล้วก็ต้องลงมารอข้างล่าง (ใต้ถุนกุฏิ เพราะในช่วงนั้นยังถือว่าเป็นเด็ก ๆ อยู่) ลูกมาได้กราบท่านพ่อและฟังธรรมจริง ๆ ก็ราว ๆ ปี ๒๕๓๘ ซึ่งตอนนั้นลูกกำลังทุกข์ทั้งทางกายและทางใจจนซึมเศร้า ต้องเข้าโรงพยาบาลวิชัยยุทธอยู่เป็นเดือน ๆ ตอนนั้นลูกไม่พูดเลย เพราะไม่อยากพูด จนแพทย์ พยาบาลวิตก ประกอบกับลูกมีอาการเบื่ออาหารและผอมลง ๆ จนน้ำหนักเหลือ ๓๗ กิโลกรัม ทุก ๆ คนที่ดูแลลูก (แพทย์ พยาบาล มิตรสหายตลอดจนข้าราชบริพาร) พากันกังวล ทุกคนก็พยายามที่จะหาทางให้ลูกสบายใจ โดยหาญาติพี่น้องมาคุยด้วย เมื่อไม่ได้ผลก็พากันนิมนต์พระหลายรูปมาแสดงธรรมให้ลูกฟัง... แต่ก็ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ จึงมีคนรู้จักท่านหนึ่งมาแนะนำกับผู้หลักผู้ใหญ่ของลูกว่า “นิมนต์หลวงตามหาบัวซิ” ก็มีแพทย์ท่านหนึ่งแย้งขึ้นมาว่า “หลวงตามหาบัวนะหรือจะมา ออกจากวัดท่านยังไม่ค่อยออกมาเลย แล้วจะให้ท่านนั่งเครื่องบินมาถึงกรุงเทพฯ คงเป็นไปไม่ได้” (ช่วงนั้นท่านพ่อมักจะอบรมพระ และอุบาสก อุบาสิกาอยู่ในวัดเป็นส่วนใหญ่) แพทย์ท่านนั้นพูดไม่ทันขาดคำเสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น และพยาบาลที่รับโทรศัพท์ก็บอกว่าทางวัดป่าบ้านตาดแจ้งมาว่า ท่านพ่อจะมาเยี่ยมลูกที่โรงพยาบาล... แค่ได้ฟังข่าวว่าท่านพ่อจะมาเยี่ยมลูก ลูกก็ปลื้มมากจนสุดจะบรรยาย คิดอยู่ในใจว่าเป็นบุญของลูกเหลือหลายที่ท่านพ่อจะมาโปรดลูก เมื่อได้กราบท่านพ่อ ลูกก็เสมือนหายป่วยไปกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ครั้นได้ฟังธรรมของท่านพ่อ ใจอันมืดมิดของลูกก็สว่างไสวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ท่านพ่อสอนลูกในตอนนั้นว่า อดีตเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขอดีตได้ เพราะฉะนั้นควรปล่อยวาง ไม่ควรเก็บไว้ให้ใจทุกข์เปล่า ๆ อนาคตก็ยังมาไม่ถึงไม่ควรคาดเดาหรือจินตนาการไปให้จิตฟุ้งซ่าน ซึ่งเมื่อจิตฟุ้งซ่านแล้วก็จะเกิดทุกข์ได้เหมือนกัน ท่านพ่อสอนว่า “จงอยู่ในปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด อนาคตย่อมจะดีตามมา” หลังจากจบการแสดงธรรมโปรดลูก ลูกรู้สึกซาบซึ้ง และศรัทธาท่านพ่ออย่างสุดจะบรรยาย จึงได้กราบขอเป็นลูกศิษย์ ซึ่งลูกก็ได้ยินท่านกล่าวว่า “รับ ด้วยความยินดี” หลังจากนั้น จิตใจลูกก็สบาย ปลอดโปร่ง อาการเจ็บป่วยก็หายวันหายคืนจนออกจากโรงพยาบาลได้ หลังจากออกจากโรงพยาบาล ลูกก็นึกอยากตามขึ้นไปกราบท่านพ่อที่วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี แต่ในช่วงแรก ๆ ที่ขึ้นไปวัดป่าบ้านตาด ลูกต้องยอมรับว่ากลัว ๆ กล้า ๆ เพราะเคยได้ยินมาว่าท่านพ่อดุ... จริง ๆ แล้ว ลูกมาทราบหลังจากที่ลูกได้กราบท่านพ่ออย่างสม่ำเสมอว่า ท่านพ่อไม่ดุเลย แต่กลับเมตตาลูกเสมือนลูกเหมือนหลานแท้ ๆ ตอนคิดว่าท่านพ่อดุ ลูกก็เลยไม่กล้าขึ้นไปคนเดียว แต่ชวน ฯพณฯ องคมนตรี เชาวน์ ณ ศีลวันต์ (ซึ่งเป็นสามีของคุณหญิงไขศรี ณ ศีลวันต์ อาจารย์คณิตศาสตร์ของลูก) ซึ่งท่านก็เป็นศิษย์ของท่านพ่ออยู่แล้ว ไปเป็นเพื่อนฟังธรรมด้วย อะไรที่ลูกไม่กล้าพูดไม่กล้าถามในตอนต้น ๆ ท่านองค์มนตรีก็ช่วยกรุณาถามนำ เพื่อให้ลูกกล้าพูดกล้าถามด้วยตนเอง ตอนลูกมาเป็นศิษย์ท่านพ่อใหม่ ๆ ท่านพ่อ... ดูแลทุกด้าน นอกจากสอนธรรมะให้ลูกแล้ว ท่านพ่อยังดูแลเอาใจใส่แม้ในด้านสุขภาพของลูก อาทิเช่น ท่านพ่อเห็นลูกผอมมากถึงเวลาท่านพ่อฉันตอนเช้า ท่านพ่อก็ให้ลูกนั่งรับประทานอยู่หลังเสาที่ท่านพ่อนั่งอยู่ (ตอนนั้นศาลาวัดป่าบ้านตาดยังมีเพียงชั้นเดียว) ท่านพ่อจะหันมาถามลูกว่า “ทานข้าวหรือเปล่า” ลูกก็ตอบไปว่า “ทานเจ้าค่ะ” ท่านพ่อก็ถามต่อว่า “ที่ว่าทานน่ะ ทานข้าวกี่เม็ดหรือกี่ช้อน” อันนี้แสดงถึงความเมตตาเอาใจใส่ลูก แม้ประเด็นเล็กประเด็นน้อย นอกจากนั้น ตอนเป็นศิษย์ท่านพ่อเดือนแรก ๆ ลูกยังงอแงอยู่มาก มีเรื่องอะไรกระทบใจเข้าก็มาร้องไห้ไปเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ท่านพ่อฟังไป ท่านพ่อก็สอนว่า “ทูลกระหม่อมลูก น้ำตาเป็นของมีค่า ควรให้ไหลออกมาด้วยความปีติ ไม่ใช่ความโศกเศร้า” (หลังจากมาเป็นศิษย์ท่านพ่อไม่นาน ท่านพ่อก็เมตตารับลูกเป็นลูกบุญธรรม) ปีแรกของการเป็นลูกศิษย์ ท่านพ่อบอกให้ลูกนอนโรงแรมซึ่งขณะนั้นชื่อโรงแรมเจริญศรี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Centara) เพราะท่านพ่อเป็นห่วงว่าลูกจะไม่คุ้นเคยกับชีวิต “ชาววัดป่า” แล้วตี ๕ กว่า ๆ ลูกก็จะเดินทางออกจากโรงแรมมาคอยใส่บาตรอยู่หน้าวัด พอใส่บาตรเสร็จก็เดินไปที่ศาลา ก่อนฉันท่านพ่อก็จะ “ให้พร” และหลังจากนั้นท่านพ่อและพระในวัดก็จะฉันพร้อมกัน ลูกก็ได้รับข้าวก้นบาตรท่านพ่อทุกครั้ง หลังจากนั้นแล้ว ท่านพ่อก็จะเทศน์โปรดญาติโยมที่มาทำบุญ ท้ายสุดท่านพ่อก็จะให้พรอีกครั้ง แล้วลูกก็จะกลับไปพักชั่วคราวที่โรงแรม และจะย้อนกลับเข้ามาที่วัดอีกทีช่วงราว ๆ บ่ายสองโมง ลูกก็จะเข้ามาสนทนาธรรมกับท่านพ่อ และเรียนที่จะภาวนา การภาวนานั้นลูกรู้สึกว่ายากมากในตอนต้น ๆ คิด ๆ แล้วลูกก็ขำตัวเอง เพราะขนาดทั้งกำหนดลมหายใจเข้า-ออกแล้ว ยังมีคำบริกรรมกำกับก็ยังไม่วาย จิตแล่นไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ ลูกเลยต้องค่อย ๆ หัด เริ่มจาก ๑๐ นาทีก่อน แต่ลูกก็ต้องซื่อสัตย์กับตัวเองโดยใน ๑๐ นาทีนั้น ลูกก็จะท่องแต่คำบริกรรม...กำหนดลมหายใจเข้า หายใจออกอย่างเคร่งครัด มาหลัง ๆ ลูกก็สามารถภาวนาติดต่อกันได้ถึง ๕๐ นาที แต่กระนั้นช่วงแรก ๆ เพราะความช่างสงสัยของลูก ลูกเคยถามท่านพ่อว่า “ทำไมลูกภาวนาแล้ว ลูกไม่เห็นสวรรค์ เห็นเทวดาฯ บ้างเลย ลูกเคยได้ยินว่าคนอื่น ๆ เขาว่าเขาเห็นกัน” จำได้เลยว่า ตอนนั้นท่านพ่อหัวเราะ และถามลูกว่า “อยากเห็นนักเหรอ” ลูกก็บอกว่า “เปล่า” และท่านพ่อก็สอนว่า ไม่เห็นน่ะดีแล้ว เพราะจุดประสงค์ของการภาวนาก็คือ ทำให้จิตรวมเกิดความสงบ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดปัญญา ท่านพ่อบอกว่า ถ้าคนภาวนาแล้วเห็นนรก สวรรค์ เทวดา ภูตผี ก็อาจจะทำให้หลงเพลิดเพลินติดไปกับสิ่งที่ตนเองเห็น ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ทางสงบได้ ปีต่อ ๆ มา ท่านพ่อให้ลูกเข้ามาอยู่ในวัด ลูกก็ไปอยู่ที่กุฏิและภาวนาตามที่ท่านพ่อสอน เป็นความรู้สึกส่วนตัวของลูกว่า ภาวนาที่วัดป่าบ้านตาดแล้ว จิตลูกรวมเร็ว สงบเร็ว นิ่งเร็วกว่าภาวนาที่บ้านหรือโรงแรม คำสอนของท่านพ่อทุกคำลูกจดจำเสมอ คำสอนที่ลูกซาบซึ้งมากที่สุด คือ ท่านพ่อสอนลูกว่า ทุกอย่างสำคัญที่ใจ ชีวิตนี้มีใจเป็นประธาน ถ้าใจเราดีแล้วทุกอย่างจะดีตาม ดังนั้นลูกจึงพยายามทำใจให้ดีอยู่เสมอ ทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ไร้ตะกอน หรือความขุ่นข้องหมองใจ นอกจากนั้น ท่านพ่อสอนให้ลูกรู้จักการให้อภัยแก่คนที่ปฏิบัติต่อลูกไม่ดี ท่านพ่อสอนว่า ทานอะไรก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่าอภัยทาน ท่านพ่อสอนลูกให้เข้มแข็งดุจหินผา ไม่ให้อะไรมากระทบใจแล้วเป็นทุกข์ แต่ในขณะเดียวกัน ท่านพ่อก็สอนให้ลูกอ่อนโยนเหมือนต้นอ้อลู่ลมกับคนที่แวดล้อม ท่านพ่อสอนให้ลูกละโทสะ (ซึ่งแต่ก่อนลูกมีมาก) และให้รู้จักปล่อยวาง ท่านพ่อยังอธิบายอีกด้วยว่า การปล่อยวาง ไม่ใช่ปล่อยวางไปเฉย ๆ โดยไม่พิจารณาความถูกต้อง ทุกอย่างต้องผ่านการพิจารณาก่อน ถ้าเราเป็นฝ่ายผิดก็ต้องปรับแก้ไขตนเองแล้วจึงปล่อยวาง ถ้าเราพิจารณาแล้วว่า สิ่งที่เราทำเป็นสิ่งที่ถูกก็ปล่อยวาง “สิ่งกระทบ” นั้นไปเลย การได้รับการอบรมช่วงนี้จากท่านพ่อ ส่งผลทำให้ลูกมีสุขภาพดีขึ้น โรคบางโรค เช่น โรคนอนไม่หลับก็หายไปเลย เพราะจิตลูกนิ่งสงบ ไม่ฟุ้งซ่านอย่างแต่ก่อน สิ่งที่ท่านพ่อเน้นสอนลูกอีกเรื่อง คือเรื่องความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่ ท่านพ่อว่า “พ่อแม่เลี้ยงเรามายากลำบากนัก เราฉี่ เราอึใส่ตักพ่อแม่ ท่านก็ยังไม่เคยว่า คอยเช็ดคอยล้างให้ แล้วแค่พ่อแม่ตักเตือนจะมีปฏิกิริยาอะไรหนักหนา ไม่ได้นะ ถ้ากตัญญูไม่ได้ก็ไปเกิดเป็นลูกแมงป่องซะ” ท่านพ่อย้ำสอนให้ลูกมีสติทุกขณะจิต เพราะท่านพ่อสอนว่า คนเราถ้าขาดสติแล้ว ก็จะทำในสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร นอกจากนั้น ท่านพ่อสอนว่า เวลาภาวนาก็ต้องใช้สติกำกับ เพื่อจะป้องกันการหลุดจากการกำหนดลมหายใจ และคำบริกรรมอีกด้วย คำสั่งสอนของท่านพ่อลูกจดจำ และพยายามปฏิบัติตามอย่างเต็มความสามารถ ทำให้ลูกของท่านพ่อในวันนี้ เป็นคนเข้มแข็งขึ้น มีความสุขขึ้น มีความอดทน อดกลั้น มีความสุขุม เยือกเย็น สามารถสู้กับโลกมนุษย์ที่มีแต่ความทุกข์ ความเศร้า การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ความอิจฉาริษยา ฯลฯ ได้อย่างไม่ทุกข์จนเกินไป ลูกเปลี่ยนไปเป็นคนละคนกับในอดีต ท่านพ่อเป็นผู้ชุบชีวิตให้ลูก ให้ลูกกลายเป็นคนที่ดีกว่าเดิมมากมายนัก เรื่องที่ลูกกล่าวมาถึงช่วงนี้ เป็นเพียงเรื่องที่ท่านพ่อเมตตาลูก ทำให้ลูกในฐานะศิษย์คนหนึ่ง แต่พระคุณของท่านพ่อนั้นครอบคลุมไปถึงการที่ท่านพ่อเป็นห่วงประเทศชาติ ในปี ๒๕๔๐ ประเทศไทยอยู่ในภาวะติดหนี้ติดสินเป็นอันมาก มองไปแล้ว ดูอนาคตของเมืองไทยจะมืดมน นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านกล่าวว่า เมืองไทยคงต้องก้มหน้าก้มตาใช้หนี้กันไปหลายสิบปี ตอนนั้นท่านพ่อมีความห่วงใยประเทศชาติและประชาชนคนไทย จึงได้จัดให้มีการทำผ้าป่าช่วยชาติ ซึ่งในการนี้ทำให้ท่านพ่อต้องเดินทางไปแทบทุกจังหวัดในประเทศไทย รับบริจาคเงินและทองคำ ต้องเทศน์โปรดประชาชนและได้สอนว่า “ทองอยู่บนตัวญาติโยม ก็ยังไม่งามสง่าเท่ากับอยู่ในคลังหลวง” ตอนที่ท่านพ่อเริ่มโครงการผ้าป่าช่วยชาติ ท่านพ่อก็อายุ ๘๐ กว่าแล้ว แต่ท่านก็ยังปฏิบัติภารกิจในการทำผ้าป่าช่วยชาติ อย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย ลูกเคยตามท่านพ่อไปในครั้งที่ท่านพ่อทำผ้าป่าช่วยชาติในภาคกลาง ลูกเองอายุยังน้อยกว่าท่านพ่อมาก ก็ยังรู้สึกเหนื่อย แต่ท่านพ่อยังคงนั่งเทศน์อบรมประชาชนทีละ ๔๕ นาทีเป็นอย่างน้อย และอย่างมากก็ชั่วโมงครึ่ง ท่านพ่อทำเช่นนี้ไปทุก ๆ ภาค ทำให้ได้ทองเข้าคลังหลวงถึง ๑๒ ตัน (ก่อนที่จะอาพาธหนัก แต่ดูจากการบริจาคทองคำถวายท่านพ่อเพื่อนำเข้าคลังหลวง ตอนท่านพ่อละสังขาร น่าจะได้ทองคำเข้าคลังหลวงรวมทั้งหมด ๑๓ ตัน) และหนี้สินที่เป็นเงินสกุล Dollar ก็รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา และนำไปใช้หนี้เรียบร้อย เท่ากับประเทศไทยได้เป็นไทแก่ตัว และทำให้คนไทยทุกคนมีศักดิ์ศรีขึ้นมา ท่านพ่อไม่เคยคิดถึงตัวเองเลย ไม่เคยหวังอยากได้โน่นได้นี่ เงินบริจาคที่ญาติโยมบริจาคก็นำไปช่วยคน เช่น นำอาหารไปให้หมู่บ้านที่ขาดแคลน ยากจน และได้สร้างโรงพยาบาลอีกด้วย ท่านพ่อบอกว่าวัดนี้ (วัดป่าบ้านตาด) อยู่อย่างพอเพียง ไม่ต้องการความหรูหราหรือฟุ้งเฟ้อ ทุกอย่างท่านพ่อทำเพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนจริง ๆ ความจริงท่านพ่อไม่ได้สงเคราะห์เฉพาะคนไทย คนในประเทศเพื่อนบ้านก็ได้ช่วยเหลือมาตลอด และที่สำคัญท่านพ่อทำทุก ๆ อย่างแบบปิดทองหลังพระอย่างแท้จริง แม้ ณ วันนี้ ท่านพ่อได้ละสังขารไปแล้ว แต่ท่านพ่อจะสถิตอยู่ในดวงใจของลูก และดวงใจของคนไทยทั้งประเทศ และลูกเชื่อว่าเมตตาบารมีของท่านพ่อจะคุ้มครองลูก คุ้มครองปวงประชาชนคนไทยตลอด จนคุ้มครองประเทศไทยให้มั่นคง และมีความร่มเย็นเป็นสุข สำหรับลูก ลูกให้สัญญากับท่านพ่อว่า จะนำคำสั่งสอนของท่านพ่อที่จารึกอยู่ในใจของลูกมาปฏิบัติ เพื่อให้ลูกเข้าสู่ทางสว่างอย่างแท้จริง “... คือ ความเย็น ชื่นฉ่ำ ของสายน้ำ คือ ร่มเงา ลึกล้ำ ของพฤกษา คือ ความสงบ แน่วนิ่ง ของวิญญาณ์ คือ ดวงแก้ว ล้ำค่า อยู่กลางใจ” ท่านพ่อจะอยู่ในดวงใจของลูกชั่วกาลนาน กราบเท้าท่านพ่อด้วยความระลึกถึงและเทิดทูนอย่างที่สุด จุฬาภรณ์ (ลูกของท่านพ่อ) Cr.ธรรมะพระรัตนตรัย
0 notes
Text
กบข
ชวนตรวจเงินออมก่อนสิ้นสมาชิกกบข. กบข.แนะสมาชิกดูยอดเงินออมล่าสุดผ่านแอพ แถมช่วยคำนวณเงินปลายทางที่จะได้รับเมื่อเกษียณให้ด้วย พร้อมข้อมูลเงินก้อนใดบ้างที่จะได้รับเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า สิทธิการรับเงินคืนจาก กบข. เกิดขึ้นเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง ซึ่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพมีหลายสาเหตุ อาทิ เกษียณอายุราชการ เสียชีวิต ไล่ออก หรือ ด้วยเหตุสูงอายุ เป็นต้น เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ สมาชิกจะได้รับเงินตามสิทธิรับบำเหน็จบำนาญที่ส่วนราชการกำหนด ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุที่ออกจากราชการ และเวลาราชการ (รวมวันทวีคูณ) ทั้งนี้ เงินที่สมาชิกจะได้รับจาก กบข. และส่วนราชการต้นสังกัดแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ 1.กรณีเลือกรับบำนาญเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ สมาชิกจะได้รับเงินสะสม เงินสะสมส่วนเพิ่ม (ถ้ามี) เงินประเดิม (ถ้ามี) เงินชดเชย เงินสมทบ และ ผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว จาก กบข. และรับบำนาญรายเดือนจากส่วนราชการต้นสังกัด 2.กรณีเลือกรับบำเหน็จเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ สมาชิกจะได้รับเงินสะสม เงินสะสมส่วนเพิ่ม (ถ้ามี) เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว และรับบำเหน็จจากส่วนราชการต้นสังกัด แต่จะไม่ได้รับเงินชดเชย เงินประเดิม และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว 3.กรณีไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญสมาชิกจะได้รับเฉพาะเงินสะสม เงินสะสมส่วนเพิ่ม (ถ้ามี) เงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวจาก กบข. เท่านั้น นายสมบัติ กล่าวต่อไปว่า ในระหว่างที่ยังคงสมาชิกภาพอยู่นั้น สมาชิกสามารถตรวจสอบยอดเงินสะสม หรือยอดเงินปัจจุบันได้ตลอดเวลา โดยตรวจสอบผ่าน GPF Web Service และ GPF Mobile App โดยเลือกเมนู “ยอดเงินปัจจุบัน” หรือจะโทรสอบถามที่หมายเลข 1179 กด 4 เพื่อสอบถามข้อมูลจากระบบเสียงอัตโนมัติ หรือ กด 6 เพื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ เพราะการตรวจสอบยอดเงินจะทำให้สมาชิกทราบสถานะเงินออมของตนและสามารถคำนวณความเพียงพอของเงินปลายทางที่จะได้รับเมื่อเกษียณได้ หากพบข้อผิดพลาดก็สามารถแก้ไขกับส่วนราชการต้นสังกัดได้ทันท่วงที
0 notes
Photo
“เรื่องเด่นประจำฉบับ” จะพาไปสนทนากับนักธุรกิจใหญ่ใจอาสา“คุณวิเชียร สวาทยานนท์” กรรมการผู้จัดการบริษัท สยามคาสท์ไนลอน จำกัด ผู้ผลิตเครื่องกรองน้ำ ไส้กรองน้ำและพลาสติกวิศวกรรมรายใหญ่ของไทย ที่โลดแล่นในวงการนานกว่า 30 ปี ซึ่งกว่าที่ประสบความสำเร็จดังเช่นปัจจุบัน เส้นทางของเจ้าสัวใหญ่ท่านนี้หาได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ..แต่อย่างใด แม้เกิดมาจน แต่สู้ทนเพื่อสร้างชีวิต “คุณวิเชียร” เป็นลูกคนที่ 6 ของครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนที่มีอาชีพเกษตรกรรมตั้งรกรากอยู่ย่านชานเมืองกรุงเทพฯ สมาชิกทุกคนอาศัยอยู่ร่วมกันใต้ชายคาบ้านไม้หลังเล็กๆ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใหญ่โตโออ่าแต่ก็อบอวลไปด้วยไออุ่นรักและผูกพัน ต่อมาคุณพ่อได้พาครอบครัวย้ายไปสร้างชีวิตใหม่อยู่ในตลาดมะลิทองย่านฝั่งธนบุรี ด้วยความที่มีลูกมากถึง 7 คน ลูกทุกคนจึงต้องทำงานสารพัดอย่างมาตั้งแต่เด็ก แต่ละคนมีโอกาสได้เรียนหนังสือถึงแค่ชั้นระดับมัธยมเท่านั้น “คุณวิเชียร” ย้อนรอยเส้นทางความสำเร็จให้กับ “ชีวิตต้องสู้”ฟังว่า “ผมโตมาจากครอบครัวเกษตรกรรมที่มีคุณพ่อคุณแม่ทำอาชีพปลูกผักเลี้ยงหมู อาศัยอยู่ในบ้านไม้หลังคามุงจาก เรียนจบแค่ชั้นมัธยม แต่ที่มาถึงวันนี้ได้ก็มาจากความพยายาม จุดเริ่มของครอบครัวที่ปลูกต้นปอสา ปอกระเจา ซึ่งแทนที่จะเอาต้นไปขาย เราก็เอามาทำเชือกปอขายก็ปรากฏว่าขายดีมากจนต้องไปซื้อปอจากมาผลิตเชือกส่งขายกันเป็นล่ำเป็นสัน และได้รู้จักกับนักธุรกิจไต้หวันที่หนีมาลงทุนผลิตเชือกพลาสติกในเมืองไทย แล้วมาชวนเราไปร่วมลงทุนด้วย ซึ่งในช่วงแรกๆ กิจการก็ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่ แต่เราก็สู้และอดทนจนในที่สุดเราก็มีโรงงานเป็นของตัวเอง” ทำธุรกิจด้วยปัญญานำพาสู่ความเจริญ เมื่อกิจการไปได้ดี “คุณวิเชียร” ในวัยยี่สิบปีเศษจึงกลายเป็นเจ้าของธุรกิจผู้ผลิตเชือกพลาสติกเจ้าแรกๆ ของเมืองไทย ต่อมาเมื่อตลาดการค้าเชือกเริ่มขยายตัวจึงทำให้มีคู่แข่งทางการค้าเพิ่มมากขึ้น คุณวิเชียรซึ่งได้รับการปลูกฝังคติทางการค้าจากบิดาว่า “ถ้าทำได้ให้ทำไป หากทำไม่ได้ให้ถอย อย่าโกงลูกค้า” เขาจึงเลือกที่จะชะลอการผลิต แล้วหันไปมองหาลู่ทางใหม่ๆ ด้วยการไปซื้อเครื่องจักรจากประเทศญี่ปุ่นมาใช้ผลิตแหอวนในอุตสาหกรรมประมงแทน จนกลายเป็นผู้ผลิตเชือกและแหอวนโพลีเอทธิลีนรายแรกของประเทศไทย ซึ่งแม้จะอุปสรรคอยู่บ้างแต่มันก็ได้เป็นตัวจุดประกายให้กระรอกน้อยได้เติบใหญ่อีกครั้ง นักธุรกิจรุ่นลายคราม ได้เล่าต่อไปว่า “ผมทำธุรกิจทอแหอวนไปได้สักพัก ก็มีปัญหาในเรื่องอะไหล่ที่ใช้กับเครื่องจักรโดยเฉพาะ “เฟือง”เมื่อเสียก็ต้องสั่งซื้ออะไหล่มาจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงมาก และต้องรอนาน ทำให้การผลิตสินค้าหยุดชะงัก ที่สำคัญคือเรื่องของราคาที่สูงจนเกินไป ทำให้ผมเกิดความรู้สึกเสียดาย ผมเลยคิดผลิตชิ้นส่วนเฟืองเหล่านี้ด้วยพลาสติกวิศวกรรมแทน เพื่อใช้เป็นอะไหล่ทดแทนการนำเข้า จากนั้นผมจึงได้สั่งนำเข้าเครื่องจักรจากเยอรมันมาผลิตอะไหล่เอง” “คุณวิเชียร” เล่าต่อไปว่า “หลังจากที่ผลิตอะไหล่ไปได้สักระยะ ก็มีเหตุบังเอิญที่เกิดความผิดพลาดในการผสมเคมีภัณฑ์ทำให้ได้เม็ดพลาสติกที่ผิดปกติ ซึ่งโดยหลักการจะต้องมีความหนาแน่นและมีความเหนียวสูงเพื่อให้ชิ้นส่วนมีความแข็งแรงทนทาน แต่พลาสติกที่ได้กลับยืดหยุ่นพองตัวคล้ายฟองน้ำ เลยได้ไอเดียคิดว่าน่าจะนำมาผลิตเป็นไส้กรองน้ำได้จึงเริ่มศึกษาพัฒนามาเรื่อยๆ จนได้เป็นไส้กรองน้ำพีอี ต่อมาผมได้ผลิตตัวบอดี้เครื่องกรองน้ำขึ้นมา จึงเป็นจุดเริ่มของการสร้างแบรนด์เครื่องกรองน้ำเพียว” จากความผิดพลาดในห้องทดลอง เมื่อนำมารวมเข้ากับเลือดนักสู้ที่มีครบเครื่องทั้งบู๊บุ๋นแพ้ไม่เป็นนี้เอง ที่ทำให้ “เครื่องกรองน้ำเพียว” เป็นผลิตภัณฑ์สร้างชื่อและเปิดศักราชใหม่ให้กับ “คุณวิเชียร” ได้กลายเป็นผู้ผลิตเจ้าแรกของเอเชียที่สามารถผลิตไส้กรองน้ำด้วยพลาสติกพีอี ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกรองน้ำได้บริสุทธิ์และเร็วกว่าไส้กรองเซรามิคหลายเท่า จากนั้นเขาได้เริ่มสร้างอาณาจักร “บ้านกรองน้ำ” ที่ส่งจำหน่ายหลายประเทศทั่วโลกอีกด้วย ด้านชีวิตส่วนตัว “คุณวิเชียร” ได้สร้างครอบครัวร่วมกับ “คุณศรีลำปาง พงษ์บริบูรณ์” ทายาทคนโตของ “วราพงษ์ พงษ์บริบูรณ์” หรือ“ลุงขาว” ตำนานหนังขายยาสอนอาชีพผู้โด่งดังในอดีตแห่งขาวละออเภสัช ทั้งคู่มีทายาทสืบสกุลหนึ่งคนคือ “คุณนที สวาทยานนท์” ลูกชายผู้สืบทอดกิจการบ้านกรองน้ำ ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ “บริษัท ฟิลเตอร์มาร์ท จำกัด” ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องกรองน้ำเพียว ธุรกิจที่สำเร็จได้ด้วยความเพียรและซื่อตรง “คุณวิเชียร” และ “คุณศรีลำปาง” ได้ชื่อว่าเป็นคู่รักนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวด จากจุดเริ่มต้นของธุรกิจในครัวเรือนที่มีคนงานเพียงหยิบมือ แต่ก็สามารถต่อยอดขยับขยายกิจการสร้างอาณาจักรทางธุรกิจของตนเองได้สำเร็จ และยังทำมาค้าขายโดยตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และในฐานะของนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จคนหนึ่งของเมืองไทย “คุณวิเชียร” สะท้อนปรัชญาชีวิตการทำงานว่า “สิ่งที่ทำให้เราประสบความสำเร็จถึงทุกวันนี้น่าจะมาจากความขยันและอดทด ตลอดระยะเวลาสามสิบกว่าปีผมทำงานตลอด ผมเป็นคนไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่ดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน เงินกำไรที่ได้มาก็ไม่เคยรั่วไหล แต่จะนำไปลงทุนเพิ่มธุรกิจทุกตัวจึงโตเร็ว สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการค้าขายก็คือการยึดคำสอนของคุณพ่อเป็นแบบอย่าง ถ้าผมจะแข่งขันในธุรกิจต้องดูศักยภาพตัวเองและมีจรรยาบรรณด้วย เราจะให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพสินค้าอย่างมาก ผมจะสอนลูกตลอดว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” คำง่ายๆ แค่นี้พูดแล้วต้องทำให้ได้ เอาของไม่ดีไปขายแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นมามันเกินจะรับผิดชอบได้ ซ้ำยังเป็นบาปกรรม” แตกหน่อธุรกิจอสังหาฯ จุดเริ่มภูผาธรรม การใช้ชีวิตร่วมเรียงเคียงบ่าบุกป่าฝ่าดงธุรกิจการค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และค้นคว้าพัฒนาสินค้าอย่างไม่หยุดนิ่งตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ส่งผลให้ “คุณวิเชียร” และ “คุณศรีลำปาง” เป็นผู้นำในการบุกเบิกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ไปโดยปริยาย ซึ่งนอกจากจะดำเนินธุรกิจผลิตเชือกและแหอวนโพลิเอทธิลีน เครื่องกรองน้ำ และพลาสติกวิศวกรรมภายใต้ชื่อ“บริษัท สยามคาสท์ไนล่อน จำกัด” แล้ว ยังได้แตกหน่อต่อยอดไปสู่ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย และหนึ่งนั้นยังมี “เดอะ ไพน์ รีสอร์ท” รวมอยู่ด้วย  เหตุที่กล่าวถึงรีสอร์ทแห่งนี้ก็เพราะว่า ส่วนหนึ่งของบริเวณผืนดินอันกว้างใหญ่ของ “เดอะ ไพน์ รีสอร์ท” ได้มีสถานที่อันสงบ ร่มรื่น สะอาด เย็นสบาย สะดวก โอ่โถง ซึ่งใช้เป็นสถานที่ในการปฏิบัติธรรมของบุคคลทุกเพศทุกวัย ที่เข้ามาใช้บริการจัดทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา ที่สำคัญคือ“ไม่มีค่าใช้จ่าย” “คุณวิเชียร” กล่าวถึงที่มาสถานปฏิบัติธรรมว่า “หลังจากที่ผมมุ่งมั่นทำธุรกิจจนกิจการของผมเจริญรุ่งเรืองไปมากมาย จากโรงงานเล็กๆ ซึ่งมีพนักงานเพียง 6-7 คน ได้เติบโตจนมีพนักงานหลายพันคนแล้ว ธุรกิจก็เริ่มอิ่มตัว ผมจึงเริ่มมองหาธุรกิจอื่นทำ โดยพุ่งเป้าไปที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผมนำเงินรายได้จากการทำธุรกิจมาซื้อที่ดินเก็บสะสมไว้ ซึ่งมีอยู่แปลงหนึ่งที่จังหวัดปทุมธานีมีพื้นที่เกือบๆ 400 ไร่ ผมก็จัดสรรขายไปเรื่อยๆ ซึ่งในช่วงแรกๆ ที่ตรงนี้ยังไม่บูมเท่าไหร่ ผมจึงเปลี่ยนมาสร้างเป็นรีสอร์ทชื่อว่า “เดอะ ไพน์ รีสอร์ท” ซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นการจัดสรรขาย ลานกิจกรรม บ้านพักที่อยู่อาศัย และแบ่งพื้นที่กว่า 100 ไร่ สร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมชื่อว่า “สวนธรรมศรีปทุม”  นักธุรกิจรุ่นใหญ่เล่าต่อไปว่า “ผมเป็นคนที่มีความเชื่อในเรื่องการทำบุญเป็นทุนอยู่แล้ว พอเริ่มมีอายุมากขึ้น ผมและภรรยาก็มักไปปฏิบัติธรรมตามวัดและสถานที่ต่างๆ มาแล้วเกือบทั่วประเทศ ซึ่งในแต่ละที่ที่เราไปนั้นยังไม่ค่อยถูกใจสักเท่าไร บางแห่งก็เคร่งกฎเกินไปไม่ก็หย่อนยานเกิน เราอยากได้สถานที่ที่เหมาะกับวัยของเรามากกว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกพอสมควร ผมคิดว่าถ้าคนจะปฏิบัติธรรมให้ได้ดีร่างกายและจิตใจต้องพร้อมที่จะรับ สังขารต้องสุขก่อนจึงจะรับธรรมะได้เต็มที่ เลยคิดว่าน่าจะสร้างสถานปฏิบัติธรรมในพื้นที่ของเราเพื่อให้เป็นกุศลกับครอบครัว และสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปด้วย” “คุณวิเชียร” เล่าต่อไปว่า “ในเบื้องต้นผมอยากสร้างสถานที่บูชาเจ้าแม่กวนอิม เพราะคุณพ่อคุณแม่ของผมให้ความนับถือมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ของผมท่านถือศีลกินเจมาสามสิบกว่าปี จนผมเชื่อว่าส่วนหนึ่งที่ผมและพี่น้องของผมทั้ง 7 คน ประสบความสำเร็จก็น่าจะมาจากบุญกุศลที่คุณพ่อคุณแม่ได้สร้างไว้ สำหรับตัวผมและภรรยาซึ่งทำงานหนักมาตลอด ก็อยากจะหาสถานที่ที่เราจะสามารถใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายได้อย่างสงบ เราเลยแบ่งที่ส่วนหนึ่งของเดอะไพน์ รีสอร์ท มาสร้างสถานปฏิบัติธรรมที่เราอยากได้ ซึ่งมีทั้งภูเขา ถ้ำ น้ำตก บ้านพัก และห้องประชุม ทุกห้องติดแอร์ทั้งหมด เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาปฏิบัติธรรม ซึ่งผมและภรรยายังหวังว่าบุญกุศลที่เราได้ร่วมกันสร้าง จะส่งผลให้ลูกหลานเจริญก้าวหน้าเหมือนที่เราได้รับมาเช่นกัน” สวนธรรมนำบุญ สร้างกุศลจรรโลงสังคม จากความตั้งใจดังกล่าว “สวนธรรมศรีปทุม” จึงเกิดขึ้นด้วยจิตอาสาและความศรัทธาอันบริสุทธิ์ของนักธุรกิจสองสามีภรรยาที่ปรารถนาจะสร้างสาธารณะกุศลคืนสู่สังคม บุคคลทั้งสองได้สละที่ดินและทรัพย์สินส่วนตัว ก่อสร้างอาคารฝึกปฏิบัติ 2 ชั้น มีทั้งห้องประชุมสำหรับจัดกิจกรรมที่สามารถรองรับได้ 200 คน มีห้องอาหาร และอาคารที่พักสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งอยู่ภายในถ้ำของภูเขาจำลองบริเวณด้านหน้าทางเข้า พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน นอกจากนี้ยังมีบ้านพักอีก 10 หลัง ไว้สำหรับวิทยากรที่เป็นภิกษุสงฆ์และฆราวาสแยกสัดส่วนจากกันชัดเจน รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัย “คุณวิเชียร” เล่าถึงสถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้ว่า “ทุกคนที่เข้ามาที่สวนธรรมฯแห่งนี้ อย่างแรกที่จะเห็นเลยก็คือวิหารเจ้าแม่กวนอิมกลางน้ำ ถัดเข้ามาก็จะเจอภูเขามีทางเข้าเป็นอุโมงค์ลอดเข้ามา ซึ่งภูเขานี้สร้างเพื่อเสริมบรรยากาศ ถ้าว่าตามหลักคนจีนก็คือสร้างให้มีฮวงจุ้ยที่ดี ข้างหน้าเป็นภูเขาข้างหลังเป็นแม่น้ำ แล้วก็มีทะเลสาบล้อมรอบ ปลูกต้นไม้เพิ่มเพื่อสร้างความสงบร่มรื่น ในภูเขาก็จะมีถ้ำที่เราปรับให้เป็นห้องพักอีกประมาณ 36 ห้อง เราใช้งบประมาณการก่อสร้างค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ได้มีผลกระ��บอะไร แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือว่า เมื่อเราจ่ายออกไปกลับมีรายได้จากทางอื่นมาชดเชย ธุรกิจเรียลเอสเตทที่เคยซบเซาก็กระเตื้องขึ้นทันตา” ด้านภรรยาคู่ชีวิต “คุณศรีลำปาง” เสริมด้วยว่า “เพราะเราไม่เคยหวังจะหารายได้จากสวนธรรมฯ เราตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อมอบสิ่งดีๆ กลับสู่สังคม โดยเราจะอำนวยความสะดวกในเรื่องสถานที่สำหรับฝึกปฏิบัติธรรมหรือการเข้าค่ายอบรมจริยธรรมให้แบบฟรีๆ มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกครบหมด ซึ่งในแต่ละคอร์สผู้จัดจะหาวิทยากรมาเอง ที่ผ่านมาก็มีทั้งภิกษุและฆราวาสที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในการฝึกอบรม ส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็มาจากเงินบริจาคตามจิตศรัทธา ขาดเหลือตรงไหนทางเราก็ควักจ่ายเพิ่มให้ คนที่มาอบรมก็ชอบและชมเป็นเสียงเดียวกันว่าที่นี่เหมาะกับการปฏิบัติธรรมมากๆ เพราะมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น อากาศบริสุทธิ์เหมือนต่างจังหวัด ไม่มีมลพิษทางเสียง ไม่ว่าจะเป็นเด็กๆ หนุ่มสาววัยทำงาน ผู้สูงอายุ หรือกลุ่มคนพิการที่มาเข้าคอร์สก็จะได้ทั้งธรรมะและสุขภาพที่ดีกลับไปด้วย” กล่อมจิตขัดเกลาใจใฝ่ทางธรรม สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสวนธรรมศรีปทุมพยายามจะผลักดันให้เกิดขึ้นก็คือ การส่งเสริมให้ผู้คนในสังคมบริโภคนิยมลดความฟุ้งเฟ้อในชีวิตและหันหน้าเข้าหาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาด้วยการฝึกปฏิบัติมากขึ้น “คุณวิเชียร” แสดงเจตจำนงว่า “ผมมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้คนใกล้ชิดกับธรรมะมากขึ้น แทนที่จะเอาเงินไปจัดงานวันเกิดในโรงแรมหรูแล้วเมากันหัวทิ่มเพียงหนึ่งคืน ผมอยากให้ลองเปลี่ยนแนวชักชวนเพื่อนฝูงมาปฏิบัติฟังเทศฟังธรรม ทำบุญเลี้ยงพระ หรือเป็นเจ้าภาพจัดคอร์สอบรมน่าจะเป็นกุศลกับชีวิตมากกว่า ก็จะเป็นการสร้างกุศลทั้งผู้ให้คือเจ้าภาพและผู้รับที่เข้าร่วมกิจกรรม เมื่อเราเปิดรับธรรมะแม้จะเพียงนิดเดียวก็เป็นประโยชน์กับชีวิตแล้ว ผมจึงอยากจะส่งเสริมในส่วนนี้เพราะถือว่าการสร้างคนดีมีคุณภาพเป็นทรัพยากรของชาติดีกว่าสร้างอนุสาวรีย์เป็นไหนๆ” ขณะที่ “คุณศรีลำปาง” บอกว่า “นับตั้งแต่เปิดสวนธรรมศรีปทุมขึ้นมาจนกระทั่งครบ 1 ปี เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา เราได้เห็นผู้คนทุกเพศทุกวัยจากหลากสาขาอาชีพ เข้ามาฝึกฝนเรียนรู้ปฏิบัติธรรมกันมากขึ้น การปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ล้วนมีประโยชน์กับชีวิตทั้งสิ้น คนหลายกลุ่มกลับมาจัดฝึกอบรม มาร่วมเข้าคอร์สซ้ำๆ หลายครั้ง เสียงสะท้อนที่รับรู้อยู่เสมอคือมาที่นี่แล้วคุ้มค่า เพราะได้ทั้งค��ามสงบ ได้แง่คิด ได้หลักปฏิบัติที่เป็นประโยชน์กับชีวิต ซึ่งสถานที่และสภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่สวนธรรมมีคนทุกชนชั้นอาชีพเข้ามาฝึกปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีที่ได้ขัดเกลาจิตใจด้วยธรรมะ” “คุณวิเชียร” พูดถึงการทำบุญในปัจจุบันว่า “มีบางคนบอกว่าเวลาไปทำบุญ จะต้องไปทำที่วัดใหญ่ๆ ดังๆ ถึงจะได้บุญ บริจาคเงินสร้างโบสถ์กันทีเป็นหลายสิบล้านก็มี อยากได้บุญเยอะๆ ก็บริจาคเยอะๆ สำหรับผมมองว่าการสร้างสวนธรรมศรีปทุมเริ่มจากความตั้งใจที่อยากสร้างกุศลต่อผู้อื่น และคนที่มาปฏิบัติธรรมเขาก็ได้สิ่งดีๆ กลับไป ผมไม่ได้บอกว่าทำบุญแบบไหนดีกว่ากัน เพียงแต่สิ่งที่เราทำสามารถเผื่อแผ่ไปยังผู้อื่นเป็นทอดๆ ทั้งเป็นผู้ให้และผู้รับต่างก็ได้บุญกุศลเหมือนกัน เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของคนหลายคน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความสุขทางใจที่ซื้อหาไม่ได้ เราคิดมาตลอดว่าถ้าทรัพย์สมบัติที่มีสามารถทำประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ ก็น่าจะดีกว่าปล่อยให้อยู่เฉยๆ เพราะตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้ ซึ่งการที่มาทำตรงนี้ก็ไม่ได้เบียดเบียนใคร สร้างขึ้นมาด้วยปัจจัยของเราที่ได้มาอย่างสุจริต ไม่ได้ไปขอเรี่ยไรบริจาค” และด้วยกระแสตอบรับจากพลังธรรมอันล้นหลามที่มีต่อสถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้ “คุณวิเชียร” และ “คุณศรีลำปาง” จึงได้สละทุนทรัพย์ส่วนตัวก่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรมแห่งใหม่พร้อมที่พักสามารถรองรับคนได้ 500 คน และยังเตรียมผุดโครงการก่อสร้างสถานดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ภายใต้บรรยากาศอันร่มและเงียบสงบ ทั้งยังจัดการดูแลในด้านการรักษาพยาบาล และกิจกรรมในการปฏิบัติธรรมอีกด้วย และนี่ก็คือเรื่องราวของสองสามีภรรยานักธุรกิจจิตอาสา “คุณวิเชียร-คุณศรีลำปาง สวาทยานนท์” ผู้แสวงหาความสงบสุขในช่วงบั้นปลายชีวิตด้วยการส่งเสริมให้ผู้คนหันมาฝึกปฏิบัติขัดเกลาจิตใจสร้างภูมิคุ้มกันให้ชีวิตด้วยหลักธรรมคำสอนของศาสนา ด้วย “สวนธรรมศรีปทุม” มูลนิธิที่ไม่แสวงกำไรที่มุ่งมาดปรารถนาให้ชาวพุทธได้ฝึกปฏิบัติวัตรจริยาในวิถีแห่งพุทธะดังที่เคยเป็นมาในอดีต และร่วมกันสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป...!!
0 notes
Text
แยกกายกับจิต
“แยกกายกับจิต” ถาม : ดิฉันเพิ่งได้รับการผ่าตัดหลังผ่าตัดมีอาการเจ็บแผล น้าดิฉันให้ภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆ แล้วบอกให้ดิฉันพยายามแยกกายกับจิตออกจากกันไปฟังธรรมได้นั่งภาวนาพุทโธ แต่แยกกายกับจิตไม่ได้ต้องทำเช่นไรคะ พระอาจารย์ : ก็ใช้การบริกรรมพุทโธนี้เป็นการแยกไปก่อน แต่เป็นการแยกชั่วคราว เวลาที่เราอยู่กับคำบริกรรมพุทโธ เราก็จะลืมเรื่องร่างกายไป ก็เหมือนกับแยกออกจากร่างกายไปชั่วคราว อันนี้ถ้าอยากจะแยกอย่างถาวรก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่าร่างกายนี้เป็นเพียงดินน้ำลมไฟไม่มีความรู้สึกในตัวของมันเอง ดินไม่รู้ น้ำไม่รู้ ลมไม่รู้ ไฟไม่รู้ อาการ ๓๒ในร่างกายเขาไม่รู้ว่าเขาเจ็บ แต่ที่ถูกผ่าเขาไม่รู้ว่าเขาเจ็บ ผู้ที่รู้ก็คือใจ แต่ใจไม่ได้เป็นผู้เจ็บ ดังนั้นขอให้รู้จักวิธีแยกแยะให้เข้าใจว่าใจนั้นมีหน้าที่รับรู้ก็รับรู้ไป แต่อย่าไปเจ็บกับร่างกาย ร่างกายเขาเจ็บก็รับรู้ว่าเขาเจ็บ ถ้าใจเจ็บก็เพราะว่าใจอยากจะให้ความเจ็บหายไป เมื่อเกิดความอยาก ใจก็จะทรมานเกิดความทุกข์ขึ้นมา อันนี้เป็นตัวที่เราสามารถที่เราจะกำจัดได้คือ ความทุกข์ทางใจ คือให้รู้เฉยๆ ให้รับสภาพกับร่างกายเหมือนกับเรารับสภาพกับสิ่งต่างๆ เช่นฝนตกแดดออกนี้เราก็รับไป เราก็รู้ว่าฝนตก รู้ว่าแดดออก แต่เราจะไม่ทุกข์กับฝน ถ้าเราไม่มีความอยากให้ฝนหยุด แต่ถ้าเราอยากให้ฝนหยุด เราก็จะทุกข์กับฝนได้เช่นเดียวกัน ร่างกายก็เป็นเหมือนฝนฟ้าอากาศ เราสามารถที่จะอยู่กับเขาได้โดยไม่ทุกข์ หรือทุกข์ก็ได้อยู่ที่เราจะเลือก ถ้าเราอยากให้เขาไม่เจ็บ อยากจะให้หายเร็วๆ เราก็จะทุกข์ ถ้าเขายังไม่หาย แต่ถ้าเราอยู่กับเขาไป เขาจะหายก็หาย ไม่หายก็เป็นเรื่องของเขา เราก็จะไม่ทุกข์ นี่คือวิธีแยกด้วยปัญญา ถ้าแยกไม่ได้ยังไม่มีกำลังแยก เพราะไม่มีสมาธิ ไม่มีใจที่เป็นอุเบกขาก็ต้องใช้พุทโธแยก และสร้างอุเบกขาขึ้นมาก่อน ถ้าเราบริกรรมพุทโธๆไป ไม่ไปสนใจกับความเจ็บของร่างกาย จิตก็จะรวมเข้าสู่ความสงบ จิตก็จะเป็นอุเบกขาแยกออกจากร่างกายชั่วคราว จิตอยู่ที่หนึ่ง ร่างกายอยู่ที่หนึ่ง ร่างกายอยู่คนละส่วนกัน เหมือนน้ำกับขวดน้ำ เราแยกกับขวดน้ำอย่างไร เราก็เทออกมาใช่ไหม เทน้ำออกจากขวด น้ำก็อยู่ที่หนึ่ง ขวดน้ำก็อยู่ที่หนึ่ง เวลาเราบริกรรมพุทโธนั่งสมาธิทำจิตให้รวมก็เหมือนกับ เราเอาจิตมารวมไว้ที่หนึ่ง ที่ในสมาธิ สมาธิเป็นเหมือนถ้วยน้ำที่เราเทเอาน้ำคือใจนี้เข้าไปในที่ถ้วยในสมาธิ สมาธิออกมาจากร่างกายมันก็เลยไม่ไปรู้สึกรับรู้ความเจ็บของร่างกาย ร่างกายจะเจ็บอย่างไร ขณะที่อยู่ในสมาธินี้ จะไม่เดือดร้อน แต่พอเอากลับมารวมกันใหม่ เทน้ำกลับเข้าไปในขวดใหม่ ก็เหมือนกับเอาจิตออกจากสมาธิ มาสู่ร่างกายมารับรู้เรื่องร่างกาย พอร่างกายเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้ ก็รู้ว่าเจ็บแล้วไม่พอ มีกิเลสอยากไม่ให้มันเจ็บขึ้นมา มันก็เลยเจ็บตรงใจขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง แต่ถ้ามีปัญญามันก็จะรู้ว่า ต้องอย่าไปอยากให้มันไม่เจ็บ อย่าไปอยากให้มันหาย อย่าให้เกิดความอยากเกี่ยวกับความเจ็บ โดยเด็ดขาดแล้วมันจะไม่เจ็บทางใจ นี่คือแยกด้วยปัญญา. ธรรมะบนเขา วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ “โอกาสหลุดพ้นจากวัฏฏะ” พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
0 notes
Photo




คุณ Liang Lianzhang (25 เมษายน 2559 21:04 น.) ปุจฉา: เรียนถามท่านอาจารย์ ขาย + ขนส่ง แต่แยกแสดงรายการให้ปฏิบัติเหมือนขายพร้อมติดตั้งหรือไม่ครับ สุเทพ พงษ์พิทักษ์ วิสัชนา: กรณีขายสินค้าพร้อมให้บริการ และบริการขนส่ง รวมทั้งกรณีให้บิริการพร้อมขนส่ง อาจสรุปเป็นแผนผังและตารางได้ตามภาพที่แนบท่าย สำหรับกรณีการขายสินค้าพร้อมให้บริการขนส่งด้วยนั้น ให้พิจารณาดังนี้ 1. หากราคาสินค้าได้รวมค่าขนส่งไว้แล้ว ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งจำนวน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า และเป็นกรณีที่ผู้ซื้อสินค้าไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 2. หากมีการแยกรายการค่าขนส่งต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นรายการในใบกำกับภาษีฉบับเดียวกับราคาสินค้าหรือแยกต่างหากกันคนละฉบับก็ตาม ให้แยกพิจารณาดังนี้ 2.1 กรณีผู้ขายสินค้ามิได้ประกอบกิจการรับจ้างขนส่งเป็นปกติธุระ ให้ถือว่าค่าขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้า ที่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ซึ่งหากแยกกันคนละฉบับผู้ขาต้องออกใบเพิ่มหนี้ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร จะออกใบกำกับภาษีซ้ำอีกไม่ได้ 2.2 กรณีผู้ขายสินค้าประกอบกิจการรับจ้างขนส่งเป็นปกติธุระอยู่แล้ว (พิจารณาจากใบอนุญาตประกอบการรับจ้างขนส่งสาธารณะ หรือพฤติกรรมการประกอบธุรกิจ) ค่าขนส่งที่แยกต่างหากจากราคาสินค้า ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้ซื้อสินค้าต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1.0 ของค่าขนส่งนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ขายสินค้าจะรับจ้างขนส่งโดยใช้ยานพาหนะของตนเองหรือไม่ก็ตาม
0 notes
Photo

Navigation LATEST STORY แก้อาการอ่อนเพลีย ด้วยการ “เดิน”  แก้อาการอ่อนเพลีย ด้วยการ “เดิน” นี่แหละอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง เรียกย่อๆว่า CFS (Chronic Fatique Syndrome) หรือที่ชาวชีวจิตคุ้นเคยกันดีว่า ไฮโปไกลซีเมีย (hypoglycemia) หมายถึง อาการน้ำตาลกลูโคส (น้ำตาลที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย) ในเลือดต่ำ ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย รวมทั้งนอนไม่หลับ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ตลอดจนระบบขับถ่ายรวนไปหมด ทำให้มีอาการอ่อนเพลียอย่างต่อเนื่อง จนไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งหากจะตรวจหาสาเหตุด้วยเครื่องมือสมัยใหม่มักไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาการดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตผิดได้แก่ กินอาหารก่อพิษ เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมหวาน น้ำอัดลม และเนื้อสัตว์ใหญ่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ได้แก่ ควันพิษจากรถยนต์ หรือการรักษาโรคด้วยยาแผนปัจจุบันบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมสมัยใหม่ที่เร่งรีบ แข่ง���ัน และความเครียดจากการเผชิญปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ อาการดังกล่าวอาจเกิดจากการขาดฮอร์โมน โรคภูมิแพ้ โรคความดันโลหิตต่ำเรื้อรัง ปฏิกิริยาจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในร่างกาย หรือในคนที่เคยป่วยเป็นโรคที่ทำให้ระบบประสาทถูกทำลาย หลายคนมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า และวิตกกังวล เป็นต้น *หมายเหตุ ปรับพฤติกรรมแก้อ่อนเพลีย วิถีชีวิตที่ผิดธรรมชาติ เป็นสาเหตุหลักของอาการอ่อนเพลีย ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จะช่วยให้อาการคุณค่อยๆ ทุเลาค่ะ ทำดีท็อกซ์เพื่อขับสารพิษ อันเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการอ่อนเพลียออกจากร่างกาย ฝึกการทำสมาธิ ด้วยการนั่งวิปัสสนา ทำโยคะ ไท้ชิ ชี่กง และอื่นๆ เพราะสมาธิสามารถบำบัดภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวล อันเป็นหนึ่งในอาการอ่อนเพลียได้ดี เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวัน และควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ทำให้เครียด ซึมเศร้า ไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจนถึงพีค เมื่อร่างกายขับเหงื่อและหลั่งสารสุขแล้ว จะส่งผลให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่าไปทั้งวัน เดิน…เพื่อลดอาการอ่อนเพลีย สำหรับคนที่อ่อนเพลียจนออกกำลังกายอื่นๆไม่ไหว สามารถเริ่มต้นออกกำลังกายง่ายๆด้วยการเดินก็ได้ค่ะ อาจจะเดินช้าๆ ชมนกชมไม้ไปเรื่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว หรืออาจจะเดินเร็วๆสัก 1/2-1 ชั่วโมงหลังตื่นนอนตอนเช้า จากนั้นค่อยๆ ปรับความเร็วในการเดินให้เหมาะกับระดับความสามารถ (แรง) และความสมบูรณ์ตามสภาพร่างกาย ถ้าเหนื่อยก็พัก แล้วค่อยเริ่มใหม่เมื่อพร้อม ยิ่งคุณเดินมาก ผลดีก็ยิ่งมากตามไปด้วย อาจจะติดแอปเปิ้ลไปสักผลเอาไว้กินตอนพักเหนื่อย หรือจะจิบน้ำสะอาดไปเดินไปก็ได้ พยายามบังคับตัวเอง เพื่อฟื้นฟูสุขภาพคุณให้กลับคืนมาดีเหมือนเดิมให้ได้ เมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวได้ และเริ่มกลับมามีกำลังวังชาแล้ว ให้ลองเปลี่ยนมาออกกำลังกายเบาๆ จะเริ่มจากบิดตัว ยืดแข้งยืดขา หมุนเอวหมุนไหล่ หรือกระโดดไปมาก็ได้ แต่ควรเป็นท่าบริหารที่ต้องหายใจลึกๆ ด้วย จากนั้นก็ค่อยๆเ ปลี่ยนไปออกกำลังกายอื่นๆ ต่อไปตามที่คุณสนใจ
0 notes
Text
อคติ 4
ฝึกบริหารจิตใจ ให้ห่างไกล อคติ 4 เมื่อจิตใจของเราปราศจากความขุ่นมัวอย่าง อคติ 4 เราก็จะสัมผัสได้ถึงความสงบและความสุขภายในจิตใจได้อย่างแท้จริง "รัก โลภ โกรธ หลง" อคติทั้ง 4 นี้เป็นความลำเอียงที่เกิดขึ้นในใจของมนุษย์ และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมนำความทุกข์มาสู่ใจเรา หลายคนหาทางแก้ไข เพื่อละหรือดับความรู้สึกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ซึ่งเว็บไซต์ สสส. มีหนทางในการดับความรัก โลภ โกรธ หลง จากพระอาจารย์ภาณุ จิตตฑฺนโต วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก มาเชิญชวนให้ทุกคนบริหารจิตใจกัน สำหรับเรื่องนี้ พระอาจารย์ภาณุ จิตตฑฺนโต วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก อธิบายให้เข้าใจด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ว่า...สิ่งที่เข้ามากระทบใจนี้ มนุษย์ได้เลือกตอบสนองด้วยความรู้สึกทั้ง 4 อย่าง คือ ○ฉันทาคติ หมายความว่า เราเลือกปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ๆ ด้วยความลำเอียง เช่น ลำเอียงเพราะรักหรือชอบสิ่งนั้น ○โทสาคติ หมายความว่า เราเกิดความลำเอียงเนื่องจากความหงุดหงิด ไม่ชอบใจ ○โมหาคติ หมายความว่า เราเกิดความลำเอียง เพราะเราไม่รู้ว่าจะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไร ○ภยาคติ หมายความว่า เราลำเอียงต่อสิ่งนั้นเพราะความกลัว หรือเกรงใจ ทั้งหมดนี้ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า "อคติ 4" ฝึกบริหารจิตใจ ให้ห่างไกล อคติ 4 ภาพจาก สสส. พระอาจารย์ภาณุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ชาวพุทธได้ดำเนินตามหลักของพระพุทธเจ้า คือเป็นผู้รู้ตื่นและเบิกบาน ดังนั้นกระทำสิ่งใดแปลว่าเราต้องรู้สิ่งนั้นชัดเจนก่อน การที่เราจะรู้ได้ต้องดูว่าแต่ละสิ่งมีที่มาที่ไปอย่างไร ด้านแรกคือ ความรัก ในทางพุทธศาสนาไม่ได้นิยามความรักเป็นคำ ๆ เดียว มีหลาย ๆ คำที่เกี่ยวกับความรัก เช่น ความพยายาม ความอยาก ความต้องการ ความผูกพัน ความใคร่ ความพอใจ และที่สูงขึ้นไปกว่าความรักที่กล่าวมา คือความปารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข มีความเมตตา และสูงกว่านั้นคือความปารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ มีความกรุณา ซึ่งอยู่ในหลักของพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เราสามารถจำแนกความรักออกมาได้ดังนี้ 1. ความรักตัวเอง ส่วนใหญ่แล้วเป็นไปในทางของตัณหา นั่นคือต้องการดึงความสุขนั้นมาเป็นของตัวเองทั้งหมด คนที่ต้องการความสุขทั้งหมด อาจทำผิดศีลธธรม ทำร้ายผู้อื่น และเบียดเบียนผู้อื่น 2. ความรักครอบครัว เป็นหน่วยย่อย ๆ ที่ขยายออกไปจากความรักตัวเอง คำภาษาบาลีคือ "เปม" (เป-มะ) เมื่อมีความรักครอบครัวจะมีการปรับตัว ลดตัวตนของตัวเองลง เพื่อปรับเข้าหาคนในครอบครัวและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 3. รักในคนรอบข้าง เนื่องจากเราอยู่ร่วมกันหลายคนเป็นชุมชน จึงต้องเรียนรู้การประนีประนอม ลดตัวตนลงไป เพื่อปรับเข้ากับคนอื่นให้ได้ ความรักประเภทนี้เป็นความดีงามที่บริสุทธิ์ใจ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน 4. ความรักไม่มีประมาณ คือไม่เจาะจงความรักต่อผู้ใดสิ่งใด ขยายความรักนั้นไปสู่ต่างชนชาติ ต่างภาษา ไม่เบียด เบียนตนเองและผู้อื่น ถือเป็นความรักขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ฝึกบริหารจิตใจ ให้ห่างไกล อคติ 4 "วัดเป็นที่ดับทุกข์ทางใจ การมาเจอพระผู้ทรงศีล ให้ทางออกจะทำให้มีสติ ถ้าได้ฟังธรรมะแล้วใจเราน้อมจะฟังก็ดีขึ้นไปอีก มีการสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ใจก็จะสงบ จะเห็นปัญหาอย่างชัดเจน ปัญหาของมนุษย์อยู่กับอคติที่ว่า ไม่สามารถมองสิ่งใดได้อย่างลึกซึ้ง ถูกต้อง มองไม่เห็นต้นตอของปัญหา การที่ใช้ความรู้สึกมาตัดสินทำให้ทางเลือกที่มีอยู่มันน้อยลงไป เมื่อเรามีสติและสงบมากขึ้น ก็จะมองเห็นปัญหาและยอมรับความจริงได้ง่าย" พระอาจารย์ภาณุ ให้ความเห็นเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากความรัก และเลือกเข้าวัดเพื่อหาหนทางสงบจิตใจ ด้านที่สอ�� ความโลภ ถือเป็นรากเหง้าของปัญหา มาจากความต้องการที่เป็นส่วนเกิน ถ้าเรามีสติ พิจารณาถึงปัจจัย 4 ที่เรามีว่าเพียงพอแล้วต่อการมีชีวิตอยู่ เราก็จะไม่ไปขวนขวายมัน เช่น เสื้อผ้าอาภรณ์ ถ้าเราเพียงพอแล้ว สามารถกันร้อนกันหนาว กันแมลง และให้เป็นไปโดยมารยาททางสังคมที่ดี เราควรพอใจกับสิ่งนั้น ข้าวปลาอาหารไม่ได้กินเกินกำลัง กินแล้วให้ดีกับสุขภาพก็พอ ที่อยู่อาศัย กันแดดกันฝน ให้ความมั่นคงทางชีวิตเราก็อยู่ได้ ยารักษาโรคประทังชีวิต เมื่อมีสำหรับเราเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็เพียงพอแล้ว "ปัจจัยสี่พื้นฐาน ถ้าเรามีปัญญาเห็นว่าชีวิตเราไม่ได้ลำบากแล้ว เราก็จะดิ้นรนน้อยลง แต่หากเราเกิดการเปรียบเทียบกับผู้อื่นจะทำให้เราดิ้นรนอยากได้ในสิ่งนั้น ๆ ถ้าศักยภาพเราไม่พอที่จะตอบสนองความต้องการของตัวเองก็เกิดปัญหาตามมา เมื่อขาดสติก็จะทำให้เราผิดศีล มนุษย์ต้องมีตัวช่วยหลายอย่าง และอาจจะต้องหาตัวอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้เรา" ฝึกบริหารจิตใจ ให้ห่างไกล อคติ 4 สำหรับ ความโกรธ ที่เสมือนไฟร้อนนั้น พระอาจารย์ภาณุ เล่าว่า ถ้าเราไม่สามารถดับไฟในใจเรา ไฟนั้นก็จะออกมาสู่ภายนอกเผาผู้อื่นด้วย ทั้งทรัพย์สิน ร่างกาย จิตใจ เมื่อใจเป็นไฟเราต้องเอาความเย็นมาดับ "การดับไฟนั้นต้องเอาศีลมาสกัดไว้ น้อมใจคิดว่าถ้าเราโต้ตอบ ทำร้ายคนอื่นด้วยกายหรือวาจา ก็จะเกิดการทำร้ายกัน ยับยั้งตัวเราเองด้วยการมีศีล ใช้ความเมตตา กรุณา และไม่เบียดเบียนด้วยศีลข้อที่ 1 ไม่ฆ่า ไม่คิดร้าย ต้องให้อภัยผู้อื่น ถ้าหากศีลยับยั้งไม่พอ ลองฝึกสมาธิหลับตา สูดลมหายใจ ให้ใจเยือกเย็น ท้ายสุดต้องใช้ปัญญา พิจารณาว่าทุกสิ่งไม่แน่นอน ความโกรธก็จะตั้งอยู่ และดับไป" พระอาจารย์ภาณุ กล่าว อคติด้านสุดท้ายคือ ความหลง หรือ โมหะ ซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งสามตัวที่กล่าวมา สิ่งนี้ทำให้เห็นผิดไปจากความจริง เช่น ความรักที่มากเกินไป ไม่ได้รักด้วยเหตุและผล เมื่อโมหะเข้าครอบงำ จะทำให้เราเบียดเบียนผู้อื่นไม่ว่าจะวิธีการใด ๆ ก็ตาม ด้านความโลภจากการเกิดโมหะจะเกิดขึ้นถ้าหากเราไม่เกิดปัญญา ความอยากได้มันเป็นส่วนเกิน เราจะขวนขวายเกินพอดี แสวงหาเกินพอดี และสุดท้ายคือความโกรธ เมื่อมีโมหะเข้าครอบงำ เราก็จะโกรธและเกลียดคนที่เราเห็นว่าไม่ดีอย่างเต็มที่ ถ้าเราพอเห็นส่วนดีบ้างท่ามกลางความไม่ดีนั้น เราก็จะให้อภัยผู้อื่น ความโกรธเกลียดก็จะเบาบางลงไป เราจะแก้โมหะได้ต่อเมื่อเรายอมรับว่าสิ่งต่าง ๆ มีหลายแง่มุม มองให้รอบด้าน ใช้สติกับสมาธิเข้าช่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์เราฝึกกันได้ไม่ยากจนเกินไป ใจที่อคติจากความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง คลายทุกข์ในใจได้ด้วยการยอมรับ ใช้ศีล สมาธิ และปัญญาที่จะน้อมนำมาให้เกิดความตื่นรู้ และความสงบในจิตใจ… ขอขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องโดย อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์ team content www.thaihealth.or.th #clubคนรักสุขภาพ ----------------------------------------------------------- ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ 💞Clubคนรักสุขภาพ ได้ที่ลิ้งด้านล่างนะจ๊ะ😙😙😙 จิ้มเบาๆนะจ๊ะ >> http://line.me/ti/p/%40clubthehealth
0 notes
Photo

อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม มักกล่าวเสมอว่า ท่านเป็นเพียง “อุปกรณ์สอนธรรม” ซึ่งมีความหมายหลายด้าน ด้านหนึ่งก็คือ เป็นเครื่องเตือนใจผู้คนให้ไม่ประมาทกับชีวิต เพราะเหตุร้ายสามารถเกิดขึ้นกับชีวิตได้ทุกเมื่อ วันนี้มีร่างกายปกติ พรุ่งนี้อาจกลายเป็นคนพิการก็ได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ท่านเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า แม้ทุกข์กาย แต่ใจไม่ทุกข์ก็ได้ ทั้งนี้ก็เพราะมีธรรมะเป็นเครื่องรักษาใจ สำหรับอาจารย์กำพล การเจริญสติทำให้ท่านเห็นความจริงอย่างแจ่มแจ้ง เป็นความจริงที่แสดงตัวมาโดยตลอด แต่มองไม่เห็นจนกระทั่งได้มาปฏิบัติธรรม นั่นก็คือ ความพิการนั้นเกิดขึ้นกับกายเท่านั้น แต่ใจไม่ได้พิการด้วย เพียงเห็นความจริงเท่านี้ ใจก็ “ลาออกจากความทุกข์”ทันที อาจารย์กำพลเป็นตัวอย่างที่สอนธรรมได้เป็นอย่างดีว่า ความทุกข์นั้นมิได้มีให้เป็น แต่มีไว้ให้เราเห็น เป็นทุกข์ กับ เห็นทุกข์นั้นต่างกัน คนส่วนใหญ่เป็นทุกข์ จึงประสบกับความทรมาน ตรงข้ามกับอาจารย์กำพล ทันทีทีท่านเห็นทุกข์ ประตูแห่งความปกติสุขก็เปิดขึ้น จะว่าไปแล้ว ทุกข์นั้นมีประโยชน์มาก เพราะเราจะพ้นทุกข์ได้ ก็ต้องรู้จักทุกข์เสียก่อน (ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า “ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้”) แต่เราจะรู้จักทุกข์ได้อย่างไร หากไม่เจอทุกข์ด้วยตนเอง สิ่งสำคัญที่เราควรใส่ใจ จึงมิใช่การหนีทุกข์ (เพราะหนีอย่างไรก็ไม่พ้นอยู่แล้ว) แต่ได้แก่การฝึกใจให้รู้วิธีเห็นทุกข์หรือรู้จักทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง แม้ชีวิตของอาจารย์จะเต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากตั้งแต่เล็ก แต่ความทุกข์เหล่านั้นมองในแง่หนึ่งก็คือสิ่งที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งอดทนให้แก่ท่าน เพื่อพร้อมรับความทุกข์ที่หนักกว่าเดิม จะว่าเป็นการตระเตรียมท่านให้พร้อมรับมือกับความพิการที่จะเกิดขึ้นก็ได้ ขณะเดียวกันก็เห็นได้ว่า ท่านสามารถพลิกความทุกข์แสนสาหัสระหว่างพิการ ให้กลายเป็นความปกติสุขได้อย่างน่าทึ่�� เป็นประจักษ์พยานว่า อะไรเกิดขึ้นกับเรา ไม่สำคัญเท่ากับว่าเรามีท่าทีกับมันอย่างไร หน้าที่ที่ควรทำทั้งส่วนที่เป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน อาจารย์กำพลได้ทำอย่างเต็มที่จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต บัดนี้ท่านได้จากเราไป คงเหลือแต่คำสอนอันทรงคุณค่าและแบบอย่างอันทรงพลัง ที่ท่านทิ้งไว้เป็นมรดกแก่เรา ขอให้เรานำมรดกนี้ไปใช้ให้เกิดทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านต่อไป โดยไม่ลืมที่จะเรียนรู้จากความทุกข์ เห็นความทุกข์เป็นอุปกรณ์สอนธรรม จนสามารถพาจิตก้าวข้ามความทุกข์ได้ในที่สุด
0 notes
Text
3 วิธีชีวิต
ข้อคิด 3 วิถีชีวิต ถ้าใช้ "เสือ" ทำงาน ต้องให้เขามีพื้นที่ แล้วปล่อยไปล่าเหยื่อมาให้ ไม่ต้องบังคับ ไม่ต้องกำหนดวิธี เพราะพวกเขาคือนักล่า ถ้าใช้ "ควาย" ทำงาน ต้องให้หญ้าเขาให้พอ ต้องบังคับแล้วใช้ไถนา พวกเขาอึด แต่ต้องจูง ถ้าใช้ "หมา" ทำงาน ต้องให้อาหาร ให้ความสนิทสนม ให้เห่าและเฝ้าบ้าน พวกเขาภักดี ประจบ และจับผิดเก่ง คนไม่เข้าใจ จะใช้เสือเยี่ยงควาย จะใช้ควายเยี่ยงหมา จะใช้หมาเยี่ยงเสือ เสือไม่เลียปากนาย ไม่ประจบ และไม่ไถนา ควายไม่เฝ้าบ้าน ไม่ล่าเหยื่อ และไม่ประจบ หมาไม่ไถนา ไม่ล่าเหยื่อ แต่ชอบเลียปากนาย ... เสือส่วนมากเมื่อเติบโต มักจะเป็นนายคน หรือเจ้าของกิจการ เพราะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ควายส่วนมากไม่เติบโต เพราะไม่คิดนอกกรอบ และไม่สร้างสรรค์ และมักถูกหมาดูหมิ่นและหลอกใช้ หมาส่วนมากเติบโตในองค์กร แต่ไม่สามารถสร้างอาณาจักรของตัวเองได้ ต้องพึ่งเสือและควายในการเติบโต เสือที่ฉลาดและมองการณ์ไกล จะเอาควายไปด้วย แต่ถ้าเป็นเสือบ้าอำนาจ มักจะเอาหมาไปด้วย
0 notes
Text
รัฐธรรมนูญ
คำอธิบายสาระสำคัญของร่าง รธน. เล่มที่ 1 http://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=440&filename=index เล่มที่ 2 http://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=441&filename=index
0 notes