Tumgik
rocknrollinthai · 5 years
Photo
Tumblr media
0 notes
rocknrollinthai · 5 years
Text
ร็อกแอนด์โรล (อังกฤษ: Rock and roll หรือ rock 'n' roll)
คือแนวเพลงประเภทหนึ่งที่ได้พัฒนาในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 40s จนมาได้รับความนิยมในต้นยุค 50s และได้แพร่ขยายความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันเราจะเรียกกันสั้นๆว่า "ร็อก" ส่วนเรื่องจังหวะจะเป็นจังหวะ บูกี้ วูกี้ บลูส์ โดยจะทำให้เด๋นโดยจังหวะแบ็ค บีท (Back Beat) ซึ่งต่อมาจะใช้กลองสแนร์ ดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงแรกจะเล่นโดยกีตาร์ไฟฟ้า หนึ่งหรือสองตัว (1 ลีด ,1 ริทึม),กีตาร์เบส (หรือดับเบิ้ลเบส),ชุดกลอง ส่วนคีย์บอร์ดจะเป็นส่วนเสริม ร็อกแอนด์โรลในช่วงต้นยุค 50s มักจะใช้แซกโซโฟนนำดนตรี ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นกีตาร์ช่วงกลางยุค 50s เปียโนก็ถูกใช้เป็นส่วนสำคัญในดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงกลางยุค 40s ความได้รับความนิยมในดนตรีร็อกแอนด์โรลเป็นอย่างมากได้แพร่กระจายสู่สังคม นอกจากทางด้านดนตรีแล้ว ยังมีผลต่อแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ ภาษา ศิลปินที่มีชื่อเสียงอย่างมากคือ เอลวิส เพรสลีย์ ที่สร้างภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ในรูปแบบของร็อกแอนด์โรล ในปี ค.ศ. 1951 อลัน ฟรีด (Alan Freed) ดีเจจากโอไฮโอ ได้ถูกยกเครดิตให้เป็นผู้คิดคำว่า ร็อกแอนด์โรลล์เป็นคนแรก ร็อกแอนด์โรล ได้ผสมผสาน เอาดนตรีของคนผิวขาวกับผิวดำเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นดนตรีแนวใหม่ที่มีจังหวะที่รุนแรงกว่าเดิม ทั้งเสียงกีตาร์ที่ดัง กลองที่รัวและเร็ว วัฒนธรรมดนตรีแบบร็อกแอนด์โรล ได้มีผลต่อวัยรุ่นในยุคนั้น ทั้งภาษาและการพูดจา ที่โจ่งแจ้ง แสดงอารมณ์อย่างชัดเจน การแต่งกายและทรงผมแปลก ๆ การเต้นรำอย่างบ้าคลั่ง ฯลฯ ที่ถือว่าเป็น การแสดง ถึงตัวตน (Identity) ของตนเองออกมา ภาษากายต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นแนวทางที่ขัดกับ สิ่งที่ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เห็นว่าดีงาม และถูกต้องทั้งสิ้น ในยุคนั้น ร็อกแอนด์โรลจึงถูกประฌามว่าเป็น ดนตรีของปีศาจ เนื่องจากความใหม่และแหวกแนวอย่างมาก สำหรับในกีฬาลีลาศ rock ‘n’ roll จะถูกพัฒนาร่วมกับแนวคิดของดนตรีแสและร็อค ทำให้เกิดเป็นจังหวะ
จังหวะ Jiveประวัติความเป็นมา ไจฟว์ เป็นจังหวะเต้นรำประเภทละตินอเมริกันที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ ลินดี้ (LINDY)อเมริกัน สวิง (AMERICAN SWING) หรือ ร็อค (ROCK) และจิตเตอร์บัค (JITTER BUG) เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะรู้จักและเรียกจังหวะไจฟว์กันในนามว่า “ ร็อค ” หรือ “ ไจฟว์ร็อค ”จังหวะไจฟว์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกว่าจะมีรูปแบบดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ กำเนิดของไจฟว์มีพัฒนาการมาจากจังหวัด จิตเตอร์บัค บูกี้ – วูกี้ (BOOGIE- WOOGIE)และ แจ๊ส (JAZZ) โดยเริ่มในสมัยค้า��าสชาวนิโกรอัฟริกันในอเมริกาเหนือซึ่งมีหลายเผ่า ได้พยายามรวบรวมจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี การดนตรี การเต้นรำ และการรื่นเริงต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในด้านการดนตรีนั้นได้มีการนำดนตรีดั้งเดิมของชาวนิโกรมาดัดแปลงให้เป็นจังหวะที่เร่งเร้า ระทึกใจ เรียกดนตรีประเภทใหม่นี้ว่า “ นิโกร แจ๊ส ” และดนตรีใหม่นี้ก็ได้รับความนิยมแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแจ๊สนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นจังหวะบลูส์และวัน – สเต็ป (BLUES AND ONE-STEP)และได้พัฒนามาเป็นจังหวะเต้นรำที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบันว่า ฟอกซ์ทร็อตการเต้นรำในจังหวะที่แต่เดิมเรียกว่า จิตเตอร์บัค ซึ่งหมายถึง แมลงเล็ก ๆ ที่มีอาการแตกตื่น ชุลมุน วุ่นวาย นั้นก็เนื่องจากท่วงทำนองเพลงที่เร้าระทึกใจ ได้กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครงไปด้วย การเต้นจึงเต็มไปด้วยการสวิง การเหวี่ยงโยน และปลดปล่อยอารมณ์อย่างเต็มที่ เมื่อมองดูแล้วจะเหมือนอาการตื่นตระหนกของพวกแมลงเล็ก ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อดังกล่าวต่อมา มิสเตอร์อเล็กซ์ มัวร์ (MR. ALEX MOORE) กับเมอร์ซิเออร์ปิแอร์ (MONSIEUR PIERRE)และ     มิสโจเซฟิน แบรดเลย์ (MISS JOSEPHINE BRADLEY) ได้ร่วมกันปรับปรุงการเต้นที่ไม่เรียบร้อย ให้ดูสุภาพเหมาะสม นุ่มนวลและสวยงาม ลีลาการเต้นถูกต้องตามหลักวิชา และลดความรุนแรง เร่งเร้าของการเต้นให้ลดน้อยลงจนในที่สุดได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของลีลาศมาตรฐานหนึ่งในห้าของการลีลาศแบบละตินอเมริกัน และเรียกชื่อจังหวะที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ว่า “ ไจฟว์ ” จากการปรับปรุงการเต้นดังกล่าวทำให้เกิดความแตกต่างในการเต้นออกเป็น 3 รูปแบบ รูปแบบการเต้นไจว์ฟ1. BOOGIE-WOOGIE หรือ SINGLE RHYTHM หรือ ร็อค 42. JITTERBUG หรือ DOUBLE RHYTHM หรือ ร็อค 63. JIVE หรือ TRIPLE RHYTHM หรือ ร็อค 8ในปัจจุบันการเต้นไจฟว์แบบ TRIPLE RHYTHM หรือ ร็อค 8 ได้รับความนิยมมากกว่าแบบอื่นทั้งยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตรฐานและจัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอ ดนตรีและการนับจังหวะ                ไจว์ฟ เป็นดนตรีประเภท 4/4  คือมี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง  ดนตรีจะมีเสียงหนักในจังหวะที่  2 และ 4  ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม อยู่ตลอดเพลง               ดนตรีของจังหวะไจฟว์บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 40 ห้องเพลงต่อนาที                นับจังหวะ 1 ,  2 ,  3 – 4 – 5, 6 – 7 - 8  หรือ เร็ว  เร็ว  เร็วและเร็ว  เร็วและเร็ว  โดย  ที่ก้าวที่ 1,  2 และ 4  มีค่าเท่ากับก้าวละ 1  จังหวะ สำหรับก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ  3/4  จังหวะ ลักษณะเฉพาะของจังหวะ- เอกลักษณ์เฉพาะ –การมีจังหวะจะโคน การออกท่าทาง เตะ และการดีดสบัด- การเคลื่อนไหว– ไม่คืบไป��้างหน้า มุ่งหน้าไปและมา จากจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว- ห้องดนตรี– 4/4- ความเร็วของดนตรี – 44 บาร์ต่อนาที ตามกฎ  IDSF- การเน้นจังหวะบนบีทที่ 2 และ 4- เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน– 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที- หลักพลศาสตร์ ฉับพลัน ตรง และการเคลื่อนไหวที่แผ่วเบาการจับคู่มีทั้งการจับคู่แบบปิดของลาตินอเมริกันโดยทั่วไป และแบบอื่นๆ โดยเฉพาะแบบเปิดจะพบบ่อย การจับแบบเปิด เป็นการจับด้วยมือข้างเดียว  คือมือซ้ายของผู้ชายจับมือขวาของผู้หญิง  ลำตัวอยู่ห่างกันในระยะพองาม  ส่วนมือที่อิสระยกขึ้นข้างลำตัวแขนงอเล็กน้อย   ในขณะเต้นผู้ชายใช้มือทั้งสองข้างนำคู่เต้นไปในทิศทางที่ต้องการ และผู้หญิงจะต้องตอบสนองต่อแรงผลักของผู้ชาย  เพื่อให้มีแรงส่งช่วยในการหมุนในบางลวดลาย  เช่น  ในลวดลายการเต้นอเมริกันสปิน  เป็นต้น ท่าทางการเต้น                การก้าวเท้า: จะให้ฝ่าเท้าลงพื้นก่อน ส้นเท้ายกให้พ้นพื้นเล็กน้อย ในบางลวดลายอาจจะมีการลดส้นเท้าราบลงพื้น  บางก้าวก็ไม่มี  น้ำหนักตัวตกค่อนไปทางข้างหน้างอเข่าเล็กน้อยตามธรรมชาติ  การเคลื่อนไหวสะโพกให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยเฉพาะการทำแชสเซ่ไปข้างๆ                แชสเซ่: กลุ่มสเต็ป  3  ก้าว  ซึ่งจะมีการใช้อยู่ตลอดเวลา  ซึ่งอาจจะมีการเต้นไปข้างหน้า ถอยหลัง  ไปทางซ้าย  ทางขวา  รวมทั้งการหมุนตัวก็จะมีการใช้แชสเซ่                ลวดลายการเต้นของจังหวะไจว์ฟ ที่จัดอยู่ในขั้นพื้นฐานที่นิยมเต้นกันโดยทั่วไป ได้แก่      1. เบสิค อิน ฟอลล์อะเวย์  (Basic In Fallaway)      2. เชนจ์  ออฟ  เพลซ  ไรท์  ทู  เลฟท์  (Chang Of Places Right To Left)      3. เชนจ์  ออฟ  เพลช  เลฟท์  ทู  ไรท์  (Chang Of Places Left To Right)      4. ลิงค์  (Link)      5. วิป  (Whip)      6. เชนจ์  ออฟ  แฮนด์  บีฮาย  แบค  (Chang Of Hand Behind Back)      7. อเริกัน  สปิน  (American Spin)      8. สตอป  แอนด์  โก  (Stop And Go)
0 notes