Tumgik
sadfdgfghc · 5 years
Photo
Tumblr media
0 notes
sadfdgfghc · 5 years
Text
แกะเปื้อนมลทิน : ภาพแทนสังคมที่ถูกแปะป้าย กับสามจังหวัดชายแดนใต้
มานุษยวิทยาว่าด้วยอมนุษย์ (Anthropology of Nonhuman) จากงานศึกษาเรื่อง ‘แกะ’ (بيريڠ – บีรี บีรี) ในสังคมมุสลิมมลายูภาคใต้ ที่ต้องการข้ามมาศึกษาเรื่องสัตว์ในฐานะผู้กระทำการ (agents) ในสังคมที่อยู่ร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์ในชุมชน/สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ และเหนือพ้นไปจาก ‘กับดักความรุนแรง’ ในบริบทพื้นที่ นอกเหนือไปจากเรื่องความไม่สงบเพียงอย่างเดียว ด้วยการสลับเปลี่ยนผู้เล่าเรื่องสังคมผ่าน ‘ตัวแสดง’ (social actor) อื่นๆ ที่ไม่ใช่เพียงผู้คนหรือมนุษย์ที่อยู่ในสังคมเท่านั้น และสะท้อนสภาพสังคมที่เกิดขึ้นในมุมมองที่ต่างออกไป
สิ่งที่ผมเลือกมาศึกษาช่วงลงพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ในปีแรก ได้แก่ ด่าน, ญิน, แกะ, และคลื่น ซึ่งต่างเป็น อมนุษย์ และอธิบายสิ่งต่างๆ เหล่านี้ภายใต้กรอบ  Anthropocene หรือที่ เกษม เพ็ญภินันท์ ใช้คำภาษาไทยว่า ‘มนุษยสมัย’
สำหรับผมแล้ว กรอบคิดนี้ช่วยให้เราเลิกมองคนเป็นศูนย์กลางในการทำความเข้าใจสังคม สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว เหมือนถ้าผมอยากเข้าใจภาพรวมของสังคมริมทะเลตะโล๊ะกาโปร์ การศึกษากลุ่มแม่ค้า ชาวบ้านที่มาท่องเที่ยว หรือคนที่ชายหาด ก็คงไม่ช่วยให้เห็นภาพรวมได้ เพราะเวลาผมไปหาดนี้ ผมเห็นแกะที่ดูสกปรกคุ้ยหาอาหารในกองขยะ ผมเห็นด่านตรวจอยู่ตลอดเส้นทาง ผมเห็นคลื่นทะเลที่คนนั่งดูเพื่อผ่อนคลาย สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสมาชิกหรือองค์ประกอบในสิ่งแวดล้อมของหาดนี้ ที่ไม่ใช่แค่ตัวคน แต่เป็นอมนุษย์ต่างๆ ด้วย
อมนุษย์ศึกษา
งานเรื่อง Sheep ของ Philip Armstrong (2016) เสนอประวัติศาสตร์ธรรมชาติของแกะจากโลกในอดีตและร่วมสมัย เพื่อสำรวจถึงบทบาทของแกะในวัฒนธรรมของมนุษย์ ความเข้าใจที่มีต่อสายพันธุ์แกะ โลกของแกะที่ Armstrong อธิบายถึงวิวัฒนาการและลักษณะพฤติกรรมของ ‘ความเป็นแกะ’ (Sheepliness) ทั้งที่ได้รับการหล่อหลอมจากน้ำมือของมนุษย์ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของสายพันธุ์แกะกับสายพันธุ์อื่นๆ
ยกตัวอย่างงานของ Piers Locke (2017) นักมานุษยวิทยาที่สนใจด้านพหุสายพันธุ์ศึกษา (multispecies studies) พูดถึง ‘ช้าง’ ในเนปาล พูดถึงความสัมพันธ์ของคนกับช้างในอุทยานแห่งชาติชิตวัน ทำให้ Locke ตั้งคำถามกับความเป็นบุคคล (personhood) ของอมนุษย์ จากความสัมพันธ์ทางสังคม ประวัติศาสตร์ นิเวศวิทยา ของมนุษย์กับสัตว์ มากไปกว่าการมองแค่ด้านพฤติกรรมศาสตร์ของสัตว์ เขามองช้างในฐานะ ‘บุคคล’ ที่ช้างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด (intimacy) มีบทบาทและการปะทะกับสังคมของคนด้วย
เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ตอนที่ผมได้มาเป็นอาจารย์พิเศษสอนมานุษยวิทยาที่ มอ.ปัตตานี ลูกศิษย์คนหนึ่งพาไปกินก๋วยเตี๋ยวที่ชุมชนรูสะมิแล ที่อยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัย ฮาซันชี้ไปที่กองขยะฝั่งตรงข้ามพร้อมกับถามผมว่า “เคยเห็นแกะจรจัดมั้ย?” ภาพที่อยู่ตรงหน้าคือฝูงแกะจำนวน 5-7 ตัว เป็นแกะที่ถ้าสกปรกอีกนิดอาจจะเรียกได้ว่าขี้เรื้อน เพราะภาพจำของทุกคนที่มีต่อแกะคือมีขนปุยขาวๆ หน้าตาน่ารัก วิ่งเล่นกินหญ้าเขียวๆ แต่ภาพนี้เป็นสิ่งตรงข้ามทั้งหมดเมื่อมาเห็นแกะที่สามจังหวัด เพราะแกะที่ผมเห็นครั้งแรกคือ ขนของมันแกะเป็นสังกะตัง เหมือนมีเศษดินเกาะตามขนตามตัว และขนหลุดเป็นขยุ้มๆ แกะกำลังคุ้ยขยะจากถังหน้าอนามัย เลยเกิดคำถามว่า แกะพวกนี้มาจากไหน ทำไ��คนที่นี่ถึงเลี้ยงแกะ เพราะผมเคยเห็นแต่แพะและวัวที่เลี้ยงตามชุมชนมุสลิมในไทย มีแต่ภาคใต้ในสามจังหวัดที่เลี้ยงแกะด้วย
0 notes