Tumgik
thcollections · 5 years
Text
“Try it once” before saying “No”
ช่วงนี้เจอคนรุ่นราวคราวเดียวกันจำนวนมากรู้สึกหลงทางในหน้าที่การงานของตัวเอง รู้สึกว่าชีวิตตัวเองไปไม่ถึงไหน หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร อยากทำหรือเหมาะที่จะทำอะไรกันแน่
เราพยายามคิดว่าทำไมคนรุ่นเราจึงมีปัญหานี้ หนึ่งในคำตอบที่เราได้ คืออาจเป็นเพราะเจเนเรชั่นของเราถูกสอนให้:
“หาตัวเองให้เจอ”
“เป็นตัวของตัวเอง”
“ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ”
(1) ส่วนตัวเราไม่เชื่อว่าการเป็น “เป็นตัวของตัวเอง”​ หรือการพยายาม “หาตัวเองให้เจอ” เป็นวิธีดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เพราะมนุษย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตัวตนที่เราเป็นตอนนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เราเป็นตั้งแต่เกิด แต่เป็นเพราะประสบการณ์ชีวิตที่เราเติบโตมา และการตัดสินใจในเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตเรา การถูกสอนให้เป็นตัวของตัวเองจึงเป็นการพยายามให้เราสร้างอัตตา สร้างอีโก้ เพื่อบอกว่า “นื่คือตัวฉัน” “ตัวฉันต้องทำสิ่งนี้ ทำแบบนี้” คนจำนวนมากปฏิเสธโอกาสที่เข้ามาในชีวิตเพียงเพราะเหตุผลว่า “นี่ไม่ใช่ตัวตนของฉัน” แต่เมื่อถึงเวลาที่ “การเป็นตัวของตัวเอง” ทำให้เราเผชิญอุปสรรค เผชิญกับความล้มเหลว เราก็ล้มไปพร้อมกับอัตตาและกลัวการเปลี่ยนแปลงเพียงเพราะคิดว่า “สิ่งนี้ไม่ใช่ตัวตนของฉัน”
(2) หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร อยากทำอะไร เพราะเราถูกบอกให้ “ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ”​ โดยไม่ได้บอกว่า ก่อนที่จะรู้ว่าชอบทำอะไร เราต้องลองทำมันก่อน หลายคนปฏิเสธโอกาสในการทำสิ่งที่ไม่เคยทำ เพราะไม่แน่ใจว่ามันจะเป็นสิ่งที่ตนชอบหรือไม่ ทั้งๆที่ยังไม่เคยทำมาก่อน นอกจากนี้ ในความเป็นจริงสิ่งที่เราชอบก็เปลี่ยนตลอดเวลา และเราก็สามารถชอบที่จะทำหลายๆสิ่งในเวลาเดียวกัน จริงๆแล้วเราจึงไม่จำเป็นต้องเลือก และไม่จำเป็นต้องปฏิเสธโอกาสที่จะได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ จะได้รู้ว่าเสียทีว่าเราชอบหรือไม่ชอบทำอะไร
(3) เมื่อมองผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือจำนวนมาก เราพบว่าพวกเขาล้วนต้องลองผิดลองถูกมาก่อน ทำหลายสิ่งหลายอย่าง มีโอกาสก็คว้าไว้ ทำสิ่งใหม่ก็เรียนรู้ให้ไว แล้วเอาประสบการณ์จากหลายๆสิ่งมาส่งเสริมซึ่งกันและกัน ไม่มีการคุยเรื่องการเป็นตัวของตัวเอง มีแต่คุยกันเรื่อง “นิสัย” ไม่มีการคุยเรื่องทำงานในสิ่งที่ชอบ มีแต่คุยกันว่ามีโอกาสทำงานแบบนี้ อยู่ที่ว่าเราควรปฏิเสธหรือควรคว้ามันไว้ มันยากเกินจะเรียนรู้ใหม่หรือไม่
การมีโอกาสได้เลือกทำแต่สิ่งที่ชอบถือเป็นเอกสิทธิ์ที่ไม่ได้มีกันทุกคน แต่ถ้าเลือกทำแต่สิ่งที่ชอบ เราก็ไม่ได้เก่งขึ้น ไม่ได้เติบโตไปมากกว่าเดิม
และการเป็นตัวของตัวเอง แล้วยังมีคนชอบคนนับถือ ก็ถือเป็นความสำเร็จประเภทหนึ่ง แต่เมื่อใดก็ตามที่เราที่เราหยุดเปลี่ยนแปลงตัวเองเพียงเพราะ “ตัวตนของฉันเป็นแบบนี้” เราก็จะกลายเป็นแค่คนที่มีอีโก้สูงเกินกว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เท่านั้นเอง
cr. Prab Laoharojanaphan
0 notes
thcollections · 5 years
Text
เสียงที่เราควรใส่ใจ
เสียงที่เราควรใส่ใจ --- ในแต่ละช่วงชีวิต มีอะไรให้เราเริ่มต้นใหม่อยู่เสมอ ช่วงแรกเริ่ม เราต่างลงมือทำด้วยความไม่มั่นใจ ระหว่างนั้น มีเสียงมากมายเกิดขึ้นรอบตัว ในจำนวนนั้นมีทั้งเสียงที่ควรรับฟังและเสียงที่ควรปล่อยผ่าน เสียงที่ปล่อยผ่านได้คือ
1. เสียงจากคนที่ไม่รู้ว่าเราทำสิ่งนั้นไปทำไม คนจำนวนมากวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นจากมุมมองและฐานคิดของตัวเอง นั่นเป็นสิทธิ์ของเขา แต่ถ้าเก็บทุกเสียงมาครุ่นคิดก็ไม่เป็นอันทำอะไร ถ้าแก้ไขเพื่อเอาใจทุกเสียงก็เละ ควรรับฟังเสียงที่รู้เป้าหมายของเรา เพราะจะวิจารณ์อย่างเข้าใจ
2. เสียงที่ไม่ปรารถนาดี ข้อวิพากษ์เดียวกัน ถ้ามีเจตนาร้ายย่อมทิ่มแทงให้เป็นแผล ถ้าเจตนาดีย่อมเหมือนยาขม ขมตอนกิน แต่มีประโยชน์ รักษาโรคได้ เจตนาดีมักมาในท่าทีที่ประคับประคองหัวใจเรา ไม่ควรเสียเวลาเจ็บปวดโดยไม่จำเป็น ใช้เวลารับฟังเสียงวิจารณ์แห่งความปรารถนา���ี เพราะต่อให้ติก็มักมาพร้อมกำลังใจ
3. เสียงที่ขอเพียงได้บ่น การแยกแยะเสียงต่างๆ สำคัญสำหรับการเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปพัฒนา มีเสียงมากมายที่ลอยออกมาตอนเราลงมือทำตามความเชื่อ แล้วก็เดินหายไป แค่บ่นออกมาให้สบายใจ เป็นอันเสร็จพิธี เสียงเช่นนี้ควรปล่อยให้ลอยผ่านไปเหมือนสายลม
4. เสียงที่เกิดจากความไม่พอใจในตนเอง บ่อยครั้งที่คนเราวิพากษ์คนอื่นโดยมีรากฐานความรู้สึกมาจากการสะสมความไม่พอใจในชีวิตหลายๆ อย่าง ทำให้ติดนิสัยในการชี้นิ้วเพื่อโทษคนอื่นและสิ่งอื่น เสียงเช่นนี้มักเจืออารมณ์โกรธ แค้น ชิงชังมาด้วย พยายามตัดอารมณ์ที่ปนมาทิ้งไป เหลือไว้แต่สาระที่จะนำมาปรับปรุง
5. เสียงของนักทำลายความฝัน ในช่วงเริ่มต้น ไม่ควรเล่าความฝันหรือรับฟังความเห็นจากคนมองโลกในแง่ร้าย เพราะเขามักโยนคำถามโหดๆ หรือคำวิจารณ์แรงๆ ใส่ความฝันที่ยังไม่แข็งแรงของเรา จนทำให้เราเสียความมั่นใจ พลันจะเลิกเอาได้ง่ายๆ รอให้แข็งแรงอีกนิด คนเช่นนี้จะเป็นผู้ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ แต่ไม่ใช่ในช่วงแรก
...
เสียงที่น่ารับฟัง
1. คนที่รู้ว่าเราทำอะไรอยู่และทำไปทำไม
2. คนที่ปรารถนาดีต่อเรา รักเราอย่างแท้จริง
3. คนที่วิจารณ์และร่วมแก้ปัญหา
4. คนที่ติเพื่อก่อ มิใช่ติเพื่อสะใจ คำแนะนำเช่นนี้มักไม่มีอารมณ์ร้ายรุนแรง
5. คนที่สนับสนุนความฝัน ฟังแล้วช่วยคิดช่วยสานต่อ อุดรูโหว่ให้ไปต่อ
...
หลายครั้งเราสั่นไหวและสับสนเพราะ 'เสียง' เหล่านั้น เราไม่มีทางทำอะไรถูกใจ 'ทุกคน' ได้ การแยกแยะเสียงที่ควรใส่ใจจึงสำคัญ
ถ้าเลือกฟังเสียงที่มีคุณค่า เราจะมีพลัง
ทุกเสียงมีพลังงาน, บางเสียงบวก บางเสียงลบ
แยกแยะ และเลือกรับ
ปล่อยพลังลบไป ไม่เก็บไว้กับตัว
สะสมพลังบวกแล้วเดินต่อไป
พลังบวกมักมาจาก--เสียงแห่งความรัก
แต่เรื่องตลกก็คือ เรามักใส่ใจเสียงที่ไม่รักเรา
ขอเป็นอีกเสียงที่มอบพลังงานดีๆ ในเช้าวันจันทร์ครับ 😊
0 notes
thcollections · 5 years
Text
Tumblr media
How to prepare before presentation
0 notes
thcollections · 5 years
Text
ไม่จำเป็นต้องทำทุกสิ่งที่ชอบ ไม่ต้องชอบทุกสิ่งที่ทำ
คือดีมากกกกกกกกกกกกก ดี
เอาข้อความส่วนที่แบบโดนมากๆ มาแปะไว้
-
การทดลองทำอาจไม่ได้ทำให้ทุกคนเจอสิ่งที่ชอบ แต่ทำให้เจอ 'ด้านที่ไม่ชอบ' ในทุกสิ่ง เมื่อเห็นเช่นนี้ ชีวิตจะง่ายขึ้น เพราะเราลดเพดานเกณฑ์ที่ตัวเองตั้งไว้
ที่เราไม่เจอสิ่งที่ชอบ อาจเป็นเพราะเราอยากชอบมัน 'ทั้งหมด'
สิ่งสำคัญคือ มีช่องว่างให้คำว่า 'บ้าง' ในชีวิต ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง
เพราะบางครั้งความทุกข์ใจนั้น ไม่ได้เกิดจากการไม่ได้ทำในสิ่งที่ชอบหรอก แต่เกิดจากการแสวงหาความสมบูรณ์แบบ
-
ไม่จำเป็นต้องทำทุกสิ่งที่ชอบ
ไม่ต้องชอบทุกสิ่งที่ทำ
แต่ชีวิตควรได้ทำในสิ่งที่ชอบบ้าง หาพื้นที่และเวลาให้สิ่งที่อยากทำ เพราะมันช่วยเพิ่มพลังชีวิต และเหตุผลในการมีชีวิตอยู่
ถ้ายังไม่มีสิ่งที่ชอบต้องทำยังไง ก็คงต้องทดลองทำหลายๆ สิ่ง แน่นอนว่า เราอาจพบว่า ทำหลายสิ่งแล้วไม่เห็นเจอสิ่งที่ชอบเลย หากยังไม่มีเวลาก็ลองไปเรื่อยๆ วันหนึ่งเราอาจพบ หรือไม่, วันหนึ่งเราอาจเปลี่ยนไป
เราอาจชอบที่ตัวเองเป็นนักลงมือทำ ไม่ใช่นักตั้งคำถามอยู่กับบ้านเฉยๆ และระหว่างลงมือทดลองทำ เราได้กลายเป็น 'ผู้กระทำ' ของชีวิต แทนที่จะถูกชีวิตกระทำ
เราอาจพบคำตอบใหม่ว่า ชีวิต���ม่จำเป็นต้องเจอสิ่งที่ชอบสุดๆ แต่เริ่มมองเห็นว่า ในสิ่งที่ไม่ชอบก็มีมุมที่เราชอบ ในหลายๆ สิ่งที่ได้ทดลองทำ เราเริ่มเห็นว่า มีแง่มุมดีๆ ที่ได้รับ
เราอาจค่อยๆ ปรับใจ ไม่ตั้งแง่กับตัวเองว่า จะต้องทำในสิ่งที่ชอบเท่านั้น และเริ่มมองเห็นบางด้านที่ชอบในสิ่งที่ทำอยู่
คล้ายเพื่อนที่คบหา เราไม่ได้ชอบทุกอย่างที่เขาเป็น แต่มีบางด้านของเขาที่เราชอบ
การทดลองทำอาจไม่ได้ทำให้ทุกคนเจอสิ่งที่ชอบ แต่ทำให้เจอ 'ด้านที่ไม่ชอบ' ในทุกสิ่ง เมื่อเห็นเช่นนี้ ชีวิตจะง่ายขึ้น เพราะเราลดเพดานเกณฑ์ที่ตัวเองตั้งไว้
มีสิ่งที่ชอบในการงานที่เราไม่ชอบ มีสิ่งที่ไม่ชอบในการงานที่เราชอบ ถ้ายุติธรรมพอ เราย่อมมองเห็นทั้งสองแง่
ที่เราไม่เจอสิ่งที่ชอบ อาจเป็นเพราะเราอยากชอบมัน 'ทั้งหมด'
ที่เราทุกข์ทรมานเพราะอยากทำสิ่งที่ชอบ อาจเป็นเพราะเราอยากทำมัน 'ทั้งหมด'
ทั้งที่จริง เราอาจทำสิ่งที่ชอบ 'บ้าง' และในสิ่งที่ทำ ก็อาจมีที่ไม่ชอบ 'บ้าง' เป็นธรรมดา
ไม่จำเป็นต้องทำทุกสิ่งที่ชอบ ไม่ต้องชอบทุกสิ่งที่ทำ
สิ่งสำคัญคือ มีช่องว่างให้คำว่า 'บ้าง' ในชีวิต ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง
เพราะบางครั้งความทุกข์ใจนั้น ไม่ได้เกิดจากการไม่ได้ทำในสิ่งที่ชอบหรอก แต่เกิดจากการแสวงหาความสมบูรณ์แบบ
ผู้คนก็เหมือนกัน ไม่ชอบ 'บ้าง' ก็อาจรักกันได้ ถ้าจะชอบ 'ทั้งหมด' อาจไม่เรียกว่ารัก แต่เรียกว่า 'จินตนาการ' และ 'ความคาดหวัง'
ยอมรับในสิ่งที่ไม่ชอบ 'บ้าง' ชีวิตกลับเป็นสุข
-
cr. Roundfinger
0 notes
thcollections · 5 years
Text
HOW TO: 7 วิธีคิดแบบนักปราชญ์ที่จะทำให้เราฉลาดขึ้น
นานแค่ไหนแล้วที่เราไม่ได้คุยกับตัวเอง?
.
หลายคนอาจจะคิดว่า การคุยกับตัวเองเหมือนคนที่เป็นโรคประสาทกินนิดหน่อย หรือดูประหลาด ๆ แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่หนึ่งที่นักปราชญ์ใช้ตามหาคำตอบของชีวิตกันเกือบทุกคน หากอยากจะเข้าใจตนเอง เข้าใจโลก และมีปัญญามากขึ้น เราไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนักปราชญ์ แต่ขอให้คิดแบบนักปราชญ์ได้ก็พอ ! และนี่คือ 7 วิธีคิด ที่จะทำให้เราเข้าใจตัวตนและโลกมากขึ้น
.
1.เร็วไม่ว่า ช้าให้เป็น
เราอยู่ในโลกที่ทุกอย่างหมุนไปไวเหลือเกิน การตัดสินใจต้องฉับไว เพื่อไปให้ทันโลก แต่วิธีคิดแบบนักปราชญ์ไม่ใช่ว่าทุกอย่างต้องรวดเร็วเสมอไป หากมีพื้นที่คิดให้ถี่ถ้วนก่อนลงมือทำอะไรบางอย่าง เราจะพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว งานที่คิดไปทำไป มักจะช้ากว่างานที่มีการวางแผนแล้วเรียบร้อย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราต้องช้าในบางขั้นตอน เพื่อทำให้ภาพรวมไปไวมากขึ้น
.
2.สนใจแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น
ต้องยอมรับว่า ไม่มีงานใดในโลกที่สำคัญทุกอย่างในช่วงเวลาเดียวกัน หากเราเลือกที่จะทำทุกอย่างแล้ว คงไม่มีสิ่งใดที่ทำได้ดีเป็นพิเศษ เราจึงต้องเลือกทำสิ่งที่ถูกต้องในช่วงเวลาที่เหมาะสม จึงจะได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจออกมาเท่านั้น
.
3.โลกนี้เป็นสีเทา
ไม่ได้หมายความว่าโลกหม่นหมอง แต่ว่าหมายถึงทางสายกลาง การเป็นคนขาวสุดหรือดำสุด อาจจะทำให้เรามองภาพบางภาพได้อย่างไม่ครบถ้วน หรือใช้อคติบางส่วนในการตัดสิน เพราะเราทุกคนล้วนแตกต่างกัน การโอบกอดความแตกต่างทำให้เราต่างอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขมากขึ้น
.
4.อ่อนน้อมถ่อมแต่ไม่อ่อนแอ
ปัญหาส่วนมากที่พบเจอ โดยส่วนมากเกิดจากที่มีคนไม่รู้จริงต่างมั่นใจในตัวเอง และคนที่รู้จริงต่างกลัวที่จะออกมาพูดว่าตนรู้อะไรบ้าง เพราะรู้สึกว่าตัวเองยังรู้ไม่มากพอ ซึ่งการที่เรายอมรับความจริงได้ว่า ตัวเองยังรู้ไม่มากพอเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเรากลัวเกินกว่าจะบอกสิ่งที่รู้ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
.
5.ตัดความคิดแรกทิ้งไป
เราหลายคนมักตกหลุมรักไอเดียสุดบรรเจิดของตัวเองตั้งแต่ความคิดแรกที่โผล่ขึ้นมา ไม่ว่าจะจากในห้องน้ำ หรือหน้าจอมือถือ และเราจะยึดติดกับความคิดนั้นไม่ไปไหน จนไม่ได้คิดถึงไอเดียอื่น ๆ ที่ตามมาอีก ทางแก้คือ เมื่อมีความคิดแรกโผล่ขึ้นมา ลองดูว่าทำไมเราถึงชอบความคิดนั้น และสามารถแตกยอดเป็นความคิดอื่น ๆ อีกได้หรือไม่
.
6.ค้นหาทุกความเป็นไปได้
อย่าด่วนตัดสินใจเร็วไปนัก การตัดสินใจที่เร็วเกินไปมักเกิดจากอารมณ์เพียงชั่ววูบ ทำให้เราไม่ได้มองเห็นถึงทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจจะดีกว่าก็ได้ การตามหาความเป็นไปได้ของทุกทางเลือกที่เกิดขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรละทิ้ง
.
7.ไม่มีสิ่งใดถูกต้องเสมอไป
หากย้อนกลับไปตั้งแต่ก่อนยุคปฏิวัติเกษตรกรรม กฎหมายที่เราใช้ในสมัยนั้นคือกฎหมายฮัมมูรามี ที่พูดถึงเรื่อง ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งในยุคสมัยนั้น นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “ความถูกต้อง” แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน “ความถูกต้อง” ก็เปลี่ยนไปตามด้วยเช่นกัน เพราะอย่างนั้นแล้วจึงไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่ถูกต้องวันนี้จะถูกต้องเสมอไป
.
ลองค่อย ๆ เอาปรับใช้กับตัวเองทีละข้อนะครับ !
cr. BrandThink
0 notes
thcollections · 5 years
Text
เราเลือกได้เสมอ
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น บอกตัวเองเสมอนะว่า
‘เราเลือกได้ ทุกเรื่องเลย เราเลือกได้ทั้งนั้นจริงๆ’
อยู่อย่างมีเกียรติ อยู่อย่างมีความสุข อยู่ในแบบที่ตัวเองจะภูมิใจเถอะ
cr. FB Pariorn Watcharasiri
0 notes
thcollections · 5 years
Text
Maker, my creativity type
Driven, focused, and dedicated to the creative process, the MAKER has mastered the art of manifesting ideas and visions in three-dimensional form. Society greatly benefits from the work of MAKER types, who develop the systems, structures, tools, and innovations that the rest of us rely on.
One of the hardest workers of all the types, the MAKER is almost always busy solving problems, making headway on personally meaningful goals, and completing projects. There are few things that bring you more satisfaction than applying your brain power to crafting things and making progress in any form. You tend to excel in design, crafts, architecture, and other fields that blend artistry with business and technology.
You’re driven by tangible results, and you know how to deliver. A quiet type, you enjoy collaboration but generally prefer to work alone so you can focus on your own creative process.
You know how to play the long game, and you’re not afraid to do the unglamorous legwork that goes into building something of value over time. Your gifts of focus and dedication can lead to achieving mastery and coming to be seen by others as an authority in your field.
Your biggest challenge? To connect more deeply with your intuition and emotions in order to bring forth ever more authentic and original work. Productivity is only half the equation of doing great work—the other half is inspiration. Creating the space to dream, imagine, and play can keep your work from becoming rote and mechanical.
Combine forces with the enterprising VISIONARY to take your creativity to new heights. The VISIONARY’s soaring imagination gives you permission to dream bigger and envision the impossible—and to fearlessly risk failure in order to make it a reality.
https://mycreativetype.com/share/maker/
0 notes
thcollections · 5 years
Text
“คือให้รู้สึกว่าเราชอบจริงๆ มันเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบ”
“คือให้รู้สึกว่าเราชอบจริงๆ มันเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบ” “ไม่ได้มาจากสังคม แล้วรู้สึกว่ามันเก๋ ก็ทำได้เลยค่ะ ไม่ต้องคิดมาก”
“ตอนนี้มองย้อนไป ไม่ต้องหาหรอก” “พี่ว่านะ ค่อยๆ ใช้ชีวิตไปตามสัญชาตญาณน่ะ”
“คือเชื่อสัญชาตญาณตัวเอง ทำให้ดีที่สุด” “แล้วก็ค่อยๆ ใช้ชีวิตไป แล้วตัวตนมันมาเรื่อยๆ อ่ะ”
“ตัวตนเมื่อเดือนที่แล้ว หรือเดือนหน้า มันไม่ค่อยเหมือนกันนะพี่ว่า” “จริงๆ มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ” . .
“มันก็อยู่ที่ว่า ถ้าเรามีเหตุผลรองรับในสิ่งที่เราทำ พี่ว่าทุกอย่างมันโอเคหมดแหล่ะ”
youtube
0 notes
thcollections · 5 years
Text
Last meeting with Dr. Ian
It’s been already about 4 months since the dissertation process started. Today, it’s my last meeting with my great supervisor ever, Dr. Ian Grant.
I cannot believe myself that I can bring myself who had no idea about the dissertation, didn’t know what SPSS was , didn’t take any statistic class before and had a very basic skill of writing, through nearly the end of my master’s journey.
There’re a lots of things I’ve learned and grew up from this long long journey.
-
Some of them are:
- It’s only “you” that can make it happens.
Doing the dissertation, no ones can help you besides yourself.
- To able to do like that, you need to begin with “your attitude” towards many obstacles you’ve faced through the journey.
If your mind think that you “can” do, the outcomes will resemble what your mind thought.
So, whatever you’re going to face with, hold on your mind and try to keep your attitude being “positive” to any sequences in a life.
- Celebrates with every small success.
Even you just wrote more 500 words,
Even you did’t start to write anything, but only have the concept to write, again says to yourself that you did a great job.
That will back to the first lesson, it’s going to be “yourself” to boost your power and motivate your progress.
- Sets up your effective commitments
Always plans first whats to do in the entire week. Writes down your commitments to make them having more power to achieve and being waring signs to limit what you should do “right now” and “not for now”.
and again, celebrates whatever you have completed the commitment or just 50% of it or even 10% - celebrates with it, but your responsibility is back to complete your remaining task to keep your final commitments.
-
Quite long status, but I just want to note to myself that these are whats I have been lessoned and some points learnt by myself of how to cope with all the dynamic situations that approached to me at the same time.
Just one chapter left, pls be nice to me like the way you(my dissertation) were. 🙂
23-07-18
#MScMarketinglife
#TeamStratclyde
#tonnxGLA1718
0 notes
thcollections · 5 years
Text
มุมที่มอง
การสนุกกับการทำงาน มันเป็นเรื่องมุมมองล้วนๆ
บางคนก็สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็สนุกกับสิ่งตรงหน้าได้ แบบนี้เรียก Mindset To Be Success ตัวจริง
และในทางกลับกันบางคนต่อให้ได้ทำงานที่สนุกที่สุดในโลก ก็จะมีมุมมองที่ไม่สนุกที่ได้ทำอยู่ดี เพราะเหตุผลที่ไม่สนุกมันลอยอยู่รอบข้างเค้าไปหมด
ลองคิดตามแล้วจะรู้ว่ามันคือเรื่องมุมมองล้วนๆ
ปัจจัยอื่นๆไม่ได้มีผลเลย
คนที่เจ๋งโครตๆ กับคนที่ธรรมดา ก็ต่างกันตรงนี้
และเราสามารถเลือกได้ ว่าอยากเป็นคนแบบไหน.
Cr. Ochawin Chinrasottikul
0 notes
thcollections · 5 years
Text
พอมันชัดเจนกับตัวเอง เราก็จะเลิกสนใจความสงสัยที่มาจากคนอื่น
ตอบตัวเองให้ได้ก่อน เราเป็นใคร ทำอะไรได้ดี อยู่กับอะไรแล้วมีความสุข ไม่ชอบตัวเองตอนไหน ความฝันที่ตั้งไว้คืออะไร หัวเราะครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ร้องไห้ดังที่สุดเมื่ออยู่กับใคร อยู่กับใครแล้วสบายใจที่สุด
สำรวจตัวเองในทุกวัน สังเกตว่าอะไรบ้างที่เปลี่ยนไป ใครบ้างที่เริ่มหายไป ใคร หรืออะไรบ้างที่เริ่มชัดเจนขึ้น
พอมันชัดเจนกับตัวเอง เราก็จะเลิกสนใจความสงสัยที่มาจากคนอื่น
ไม่มีใครเข้าใจการเป็นเราทุกคนหรอก แต่มันดีที่มีใครสักคนเข้าใจเรา และจะดียิ่งกว่า ถ้าคนๆ นั้น คือตัวเราเอง
cr. บันทึกนึกขึ้นได้
0 notes
thcollections · 5 years
Text
สำหรับปี 2018 นี้ สอนให้รู้ว่า…
Khattiya Homthong
ชื่อฟ้านะคะ สำหรับปี 2018 นี้ สอนให้รู้ว่า…
Just Run
เฮ้ย เราก็วิ่งได้นี่นา
ที่จริงฟ้าเริ่มวิ่งเพราะจะไป trekking ที่เนปาล (เมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา) ทริปดังกล่าวจบลงด้วยดี แต่หลังจากกลับมาดันได้วิ่งเยอะกว่าเดิมอีก จากคนวิ่งไม่เป็น ความพยายามทำให้เราเลยเถิดไปมาก จาก 5K ไปเป็น 10K จนถึง 21K และระยะที่ไกลที่สุดที่ทำได้ตอนนี้คือ วิ่งเทรล 30K ความชันสะสม 2,130 เมตร โดยที่ร่างกายไม่ได้บาดเจ็บเลย
การ���ิ่งพาเราไป Annapurna Base Camp, ภูสอยดาว, ตรัง, โคราช, เชียงดาว, ตะนาวศรี และบางแสน แสนภูมิในใจความพยายามและความมีวินัยของตัวเอง ที่ฝึกฝนต่อเนื่องจนมาถึงจุดนี้ได้
Continuous
ยากกว่าการเริ่มต้นก็คือการทำมันให้ได้อย่างต่อเนื่อง เลยพยายามหาเป้าหมายใหม่ๆ ให้ตัวเองเพื่อจะได้มีแรงจูงใจทำต่อ ซึ่งต้องเป็นเป้าหมายที่อยู่บนความเป็นจริงด้วย ดีใจที่ตัวเองไม่รีบร้อน ค่อยเป็นค่อยไป
Priority
ในเมื่อเวลามันก็มีเท่าเดิม แต่มีสิ่งที่อยากทำเต็มไปหมด ก็คงต้องเลือกแค่บางอย่างเท่านั้น ซึ่งคำตอบนั้นมาจากการลองทำสิ่งต่างๆ มากมาย จนรู้ว่าตัวเองต้องการอะไรหรือไม่ต้องการอะไร
Simple
ชีวิตเราเต็มไปด้วยสิ่งเกินจำเป็น ฟ้าเรียนรู้เรื่องนี้ผ่านการวิ่ง พอเราต้องฝึกฝนตัวเองก็ต้องหาเวลาฝึกซ้อม ต้องตัดบางอย่างที่เคยคิดว่าทำไม่ได้ออกไป (เล่นเกม, ดูทีวี, ช้อปปิ้ง, เล่นโซเชียล, นอนกินบ้านกินเมือง) ขอบคุณตารางซ้อมวิ่งที่ช่วยฝึกความมีวินัยให้กับเรา ไม่มีสนามแข่งไหนที่ฟ้าไปโดยไม่ซ้อมเลย เพราะฟ้าไม่มีพื้นฐานทางกี��า เลยค่อยข้างเจียมตัวมากๆ
Be Myself
ไม่ต้องไปพิสูจน์อะไรกับใครทั้งนั้น ไม่ต้องไปตามหาแรงบันดาลใจด้วย เลิกใช้ชีวิตตามแบบคนอื่นหรือแบบที่คนอื่นอยากให้เป็น ใครจะพูดยังไงก็ช่างเขาเถอะ ไม่ใช่อะไร เราไม่ได้มีเวลาเหลือเฟือจนอธิบายทุกคนได้ แค่ลงมือทำ ลองผิดลองถูกไปจนกว่าจะเจอทางของตัวเองนั่นแหละดีแล้ว ซึ่งพอทำได้แล้วมันดีต่อใจเรามาก
Friendship and Family
ได้รู้จักคนเยอะขึ้น เพราะเราออกไปทำกิจกรรมที่ได้พบเจอผู้คนมากขึ้น เลยได้เพื่อนใหม่มาตลอด เพื่อนที่เคยถามเราว่า “เอ้ย อยู่ๆ ทำไมมาวิ่ง” ตอนนี้ก็ร่วมวิ่งไปกับเราแล้ว ใครถามเราก็ชวนมาวิ่งหมด งาน Human Run นี่ป้ายยามาได้ 2 คน  ยิ่งตอนไปวิ่งเทรลนี่เป็นสังคมที่น่ารักมาก ช่วยเหลือเกื้อกูลกันดีมากๆ และที่สำคัญครอบครัวฟ้าไม่เคยตั้งคำถาม แต่กลับพร้อมสนับสนุนทุกอย่าง คงดีใจที่เราออกไปใช้ชีวิตนอกจอสี่เหลี่ยมสักที รู้สึกอบอุ่นใจทุกครั้งที่ได้กลับบ้าน
Fail
บางทีความตั้งใจมากเกินไปก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จได้ทุกครั้ง แต่นั่นแหละ ยิ่งพลาดเยอะก็ยิ่งมีภูมิคุ้มกันมาก ผิดแล้วก็เริ่มใหม่ อย่าเสียเวลาฟูมฟายเยอะ
การนอนให้พอ เป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง วันที่นอนน้อย ไม่จำเป็นต้องฝืนไปออกกำลังกาย มันไม่เท่ ร่างกายจะพังก่อน
เวลาตั้ง New Year’s Resolution แล้วมักจะทำไม่ค่อยได้ อย่างการวิ่ง ไม่ได้อยู่ในแผนของปี 2018 นี้ด้วยซ้ำ ควรจะจบตั้งแต่ตอนจบทริป แต่ด้วยความที่ถือคติ ‘ลองทำดู’ การวิ่งเลยได้ไปต่อ  
ต้องขอบคุณหัวหน้าที่ทำให้เข้าใจความหมายนี้  มันเริ่มมาจากการที่ถูกนายดุบ่อยๆ ว่า “แล้วเธอทำอะไรอยู่ ทำไม่ไม่ทำให้จบสักที” ถึงวิธีนี้จะไม่ช่วยให้ปิดโปรเจกต์ได้เยอะขึ้น แต่ปีนี้จะพยายามทำให้มันจบให้ได้ค่ะ
ยังไงก็ตามแอบตั้ง New Me Resolution ไว้ตามนี้ (ทำตั้งแต่ตุลาฯ ปีที่แล้วจนถึงตอนนี้ก็ยังทำได้อยู่ค่ะ)
– เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา
– เก็บเงินตามเป้า
– Run Half Marathon A Month
– อ่านหนังสือที่มีอยู่ให้จบ
– วางแผนอะไรไว้ก็ทำตามให้ได้
cr. https://bit.ly/2EhT24K
0 notes
thcollections · 5 years
Text
Recommendations from Behavioural Economist for 2019
คำเเนะนำของ behavioural economist สำหรับความสุขส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
1. ทำความเข้าใจ the spotlight effect. The spotlight effect ก็คือความเชื่อที่คนเรามีว่ามีคนอื่นๆที่กำลังจ้องมองเราอยู่เเละเเคร์ในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็อาจจะส่งผลทำให้เรากังวลเเละเเคร์มากจนเกินไปว่าคนอื่นจะคิดยังไงกับเรา เเต่ในความเป็นจริงเเล้วนั้น คนอื่นๆเขาไม่ได้เเคร์หรือเเยเเสอะไรกับเรามากอย่างที่เราคิด (ส่วนใหญ่เป็นเพราะว่าคนอื่นเขาก็มีสิ่งที่ต้องกังวลในชีวิตของเขาเองอยู่เเล้ว) เพราะฉะนั้นอย่าไปคิดมากว่าคนอื่นเขาจะเเคร์กับสิ่งที่เราทำหรือสิ่งที่เราเป็นมากจนเครียดเกินไป
2. ทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เราเห็นบน social media เกี่ยวกับชีวิตของคนอื่นไม่ใช่ true representation ของชีวิตของคนอื่นเขาจริงๆ สิ่งที่เราเห็นใน social media เป็นเพียงสิ่งที่ถูกคนอื่นเขาคัดกรองมาเรียบร้อยเเล้ว มันเป็นเพียงเเค่เสี้ยวหนึ่งในชีวิตของเขาที่เขาอยากจะให้คนอื่นๆเห็น (เเละบางทีมันอาจจะเป็นเพียงเเค่การสร้างภาพเพื่อประโยชน์ส่วนตัวบางอย่าง อย่างเช่นเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเอง เป็นต้น) เพราะฉะนั้นอย่าไปปักใจเชื่อเวลาที่เราเห็นโพสท์ของคนอื่นว่าชีวิตของคนอื่นเขาดีกว่าของเราเเค่ไหน ซึ่งก็อาจจะส่งผลให้เรามีความรู้สึกเเย่กับชีวิตของตัวเอง หรืออย่าไปปักใจว่าเรากำลัง missing out ในชีวิตเพียงเพราะเราอาจจะไม่ได้โพสท์ในสิ่งที่คนอื่นโพสท์
3. ระวัง focusing illusion. Focusing illusion เกิดขึ้นเกือบทุกครั้งที่เรากำลังพิจารณาว่าอะไรจะทำให้เรามีความสุข ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เรากำลังพิจารณาว่าเราควรที่จะลาออกไปทำงานใหม่ที่ให้เงินเดือนสูง เเต่อยู่ไกลบ้านเพิ่มไปอีกหนึ่งชั่วโมงดีไหม โอกาสที่เราจะไปโฟกัสกับ "เงินเดือนที่สูงขึ้น" ซึ่งเป็นคุณสมบัติของงานใหม่ที่ค่อนข้างจะเด่นชัดที่สุดก็จะสูงกว่าที่เราจะไปโฟกัสกับ "ใช้เวลาอยู่บนถนนเพิ่มวันละสองชั่วโมง" ซึ่งเป็นคุณสมบัติของงานใหม่ที่ไม่เด่นเท่า เเละปัญหาของการให้น้ำหนักของการตัดสินใจไม่เท่ากันนี้สามารถทำให้ประสบการณ์หลังที่เราเลือกงานไปเเล้วมันออกมาเเย่กว่าประสบการณ์ที่เราคิดว่ามันควรจะเป็นก่อนที่เราจะเลือกเยอะ
4. ถ้าอยากจะทำอะไรซักอย่างที่อยากทำเเต่ทำยากในปีหน้า อย่างเช่นเลิกบุหรี่ หรือไดเอท หนทางที่ดีที่สุดก็คือ make commitment ที่เอาตัวเองออกยากเสียเลย อยากเลิกบุหรี่ใช่ไหม ก็ของที่เรารักที่สุด (อย่างเช่นกีต้าร์สุดโปรด) ไปให้สามีหรือภรรยาหรือเพื่อนสนิทพร้อมๆกันกับการบอกพวกเขาว่า "ถ้าเห็นเราสูบบุหรี่เพียงเเค่ครั้งเดียวในปีที่จะถึงนี้ คุณเอาสิ่งที่ผมรักที่สุดนี้ไปทำลายเลยนะ" หรือถ้าอยากไปเที่ยวไหนปลายปีเเต่กลัวไม่ได้ไปเพราะงาน ก็จองตั๋วเเบบที่ refund ไม่ได้ไปเลยตั้งเเต่วันนี้ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าการสร้าง pre-commitment เป็นการสร้าง potential loss conditions ให้กับตัวเราเองเเทนการไม่มีอะไรจะเสียเลย (เเละคุณก็รู้ว่าคนเราเกลียดการเสียขนาดไหน)
เเละ 5. การเลือกที่จะทำในสิ่งที่อยากจะทำ ถึงเเม้ว่าทำเเล้วจะ fail นั้นดีต่อความสุขของเรามากกว่าการเลือกไม่ทำในสิ่งที่อยากจะทำ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าการหาเหตุผลมาอธิบายกับสิ่งที่ทำไปเเล้วเเต่ออกมา fail มันง่ายกว่าการหาเหตุผลมาอธิบายสิ่งที่อยากทำเเต่ไม่ได้ทำเยอะมาก
0 notes
thcollections · 5 years
Text
ถอดรหัสการอยู่รอดของนักศึกษายุคที่เรียนจบทุกอย่างก็เปลี่ยนโดยอาจารย์และนักออกแบบ
ไม่น่าเชื่อว่าการอ่านบทความนี้ จะได้อะไรมามากกว่ามุมมองของการศึกษาในด้านการออกแบบ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง - เหมือนมาตอบคำถามที่สงสัยบางอย่าง และเน้นย้ำความคิดบางเรื่องที่เคยเจอมา
.
- คือว่าคุณเอาอดีตไปตอบอนาคตไง เหมือนที่ผมเคยคุยกับพี่สุรชัย พุฒิกุลางกูร เรายังถามเด็กว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร แสดงว่าคุณเอาอดีตให้เด็กเขาเลือกไง แต่เราไม่ได้ถามว่าเขาชอบทำอะไร
- ถ้าเรียนเก่งก็ต้องเรียนสายวิทย์สิ ถ้าเรียนไม่เก่งก็ไปเรียนสายศิลป์สิ /แม่งเป็น perception ที่ผิดมากกกกกก ซึ่งเรามีเอง
- สุดท้ายคือคุณเรียนเชิงเอาตัวรอดหมดเลย คุณไม่ได้เรียนเพื่อความเป็นเลิศเลย แล้วเราก็เลยผลิตนักเอาตัวรอดเข้าสังคม แทนที่จะเป็นผู้เป็นเลิศในสิ่งที่ตัวเองทำ ซึ่งพอเป็นแบบนี้เดี๋ยวคุณก็ลืมวิชาที่เรียน เพราะว่ารอดแล้วไง /อันนี้ โคตรจริง
- วิชามันก็กลายเป็นห่วงยาง แทนที่จะเป็นทักษะการว่ายน้ำ
- ดีไซเนอร์เองก็จะต้องมีความสามารถในการที่จะเสนอว่าผลลัพธ์ของมันเป็นอะไรได้อีกบ้าง
- เราไม่ได้สอนออกแบบโลโก้ แต่เราสอนวิธีการออกแบบ
- ที่สำคัญคือเราสอนให้เขาคิดว่าในบริบทที่เขากำลังพิจารณาอยู่ งานออกแบบแบบไหนที่เป็นที่ต้องการของบริบทนั้น
- "การออกแบบคือการทำความเข้าใจกับบริบทที่เรากำลังพิจารณา"
- หน้าที่ของนักออกแบบคือ ออกแบบสิ่งที่มันจะสอดคล้องไปกับตัวบริบท แต่ผลลัพธ์จะเป็นอะไรนั่นเป็นหน้าที่ของนักออกแบบ
- ผมพยายามให้เด็กขับเคลื่อนด้วยคำถาม หมายถึงว่าพยายามให้ทุกคนเป็นนักถาม นักสงสัย สงสัยเพื่อเท่าทัน
- เราจะตอบได้ดีก็ต่อเมื่อเราตั้งคำถามได้ถูกต้อง
. หลายเรื่องที่โคตรๆ เห็นด้วย
source:: https://readthecloud.co/scoop-design-education/
0 notes
thcollections · 5 years
Text
Growth mindset
กรอบคิดติดยึดแบบเติบโต, Growth mindset, ตั้งแต่เข้ามาเรียนป.โทที่นี่ เราพบว่าเครื่องมือนึงที่ถูกเรียกมาใช้บ่อยๆ เวลาที่อะไรๆไม่เป็นอย่างที่คิด เมื่อโจทย์ที่เข้ามาท้าทายชีวิต ไม่ได้ตอบง่ายๆ พยายามแล้ว พยายามอีกก็ดูยังตันๆ ——————— คำถามที่เราจะถามตัวเองคือ “เรื่องนี้ Growth mindset จะพูดกับเราว่าอะไร?” ——————— Carol Dweck ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ทำวิจัยในเด็กประถม-มัธยม โดยให้ข้อมูลและทดสอบความเชื่อที่เด็กมีในเรื่องทักษะและสติปัญญาว่าพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ จากนั้นติดตามการพัฒนาทางการเรียนและด้านต่างๆ Carol ให้ข้อสรุปไว้ว่า ทัศนคติที่มีต่อตัวเอง และมุมมองที่ใช้ในการแปลความสถานการณ์ต่างๆของแต่ละคน มีผลต่อการประสบความสำเร็จที่แตกต่างกัน และนั่นเป็นปัจจัยทำนายที่บอกว่าคนกลุ่มหนึ่งมีโอกาสจะประสบความสำเร็จได้มากกว่าคนอีกกลุ่ม ทัศนคติ และ มุมมองนั้น รวมๆกันเป็นชุดความคิด เรียกว่า “กรอบคิดติดยึด หรือ Mindset” ———————— Carol แบ่ง Mindset แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Fixed Mindset และ Growth mindset 1.คนที่มีกรอบคิดติดยึดแบบฝังแน่น (Fixed Mindset) เชื่อว่า สติปัญญาหรือความสามารถเป็นสิ่งที่คงที่และติดตัวมา ไม่สามารถทำให้ดีขึ้นกว่านี้ได้ 2.คนที่มีกรอบคิดติดยึดชนิดเติบโต (Growth mindset) เชื่อว่าสติปัญญาและความสามารถนั้น เปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ สมองเรานั้นเหมือนกล้ามเนื้อ ยิ่งท้าทายยิ่งใช้ก็ยิ่งแข็งแรง ———————- Mindset ที่ไม่เหมือนกัน ส่งผลให้คนสองกลุ่มแตกต่างกันได้อย่างไร? ............ ความเชื่อ ........... Fixed Mindset: คนเราเกิดมาเพ��่อเก่งอะไรแค่บางอย่าง สิ่งที่เข้ามาในชีวิตมีเพียง ทำได้ กับ ทำไม่ได้ Growth mindset: คนเราพัฒนาได้ สามารถทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ ความสามารถและสติปัญญาจะเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเราใช้ความพยายาม (effort) รับความท้าทาย (challenge) ด้วยวิธีการที่เหมาะสม (Strategy) และขอคำแนะนำในเวลาที่จำเป็น (Advice) เราก็จะทำมันได้ ........... มุมมองที่มีต่อตนเอง ........... Fixed mindset ต้องการทำให้ตัวเองดูเก่งดูฉลาด Growth mindset: สนใจต้องการเรียนรู้ .......... สิ่งที่ท้าทาย (Challenge) .......... Fixed mindset: หลีกเลี่ยงความท้าทาย เพราะถ้าทำไม่ได้ จะสะท้อนว่าฉันไม่เก่ง ไม่ฉลาด Growth mindset: เข้าหาความท้าทาย เพราะความท้าทายทำให้พัฒนา .......... ความผิดพลาด ล้มเหลว (Failure) .......... Fixed mindset: มองความล้มเหลว เป็นน่าอับอาย จะถูกหัวเราะเยาะ Growth mindset: ความผิดพลาดเป็นวิธีที่จะทำให้เราได้เรียนรู้ ยิ่งผิดยิ่งดี แปลว่ายิ่งเข้าใกล้ทางที่ถูก .......... ความพยายาม (Effort) .......... Fixed mindset: ถ้าสิ่งใดต้องใช้ความพยายาม แปลว่าฉันไม่เก่ง และฉันไม่ได้เกิดมาเพื่อทำสิ่งนั้น Growth mindset: ความพยายามเป็นวิธีที่จะทำให้เราข้ามผ่านอุปสรรคได้ .......... คำแนะนำ (Feedback) .......... Fixed mindset:การถูกตำหนิ ตอกย้ำว่าฉันไม่ควรทำสิ่งนี้ตั้งแต่ต้น การวิพากษ์วิจารณ์คือการบอกว่าฉันไม่เก่ง Growth mindset: วิพากย์วิจารณ์ที่ตัวงาน ไม่ได้วิพากย์วิจารณ์ตัวคน งานเป็นเพียงส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่สิ่งที่แทนตัวเราทั้งหมด และคำแนะนำจะทำให้รู้ว่าต้องพัฒนาตรงไหนเพิ่ม .......... เมื่อเห็นคนอื่นประสบความสำเร็จ .......... Fixed mindset: ไม่พอใจ ที่จะเห็นเขาเก่งกว่า มันแปลว่าฉันด้อยกว่า Growth mindset: ยินดี ชื่นชม เพราะการที่คนรอบข้างประสบความสำเร็จ จะทำให้ฉันประสบความสำเร็จได้มากขึ้น มองคนที่ประสบความสำเร็จเป็นแรงบันดาลใจ .......... ผลลัพธ์ .......... Fixed mindset: หลีกเลี่ยงความท้าทาย ไม่ต้องการจะทำผิดพลาด ผลลัพธ์คือการพัฒนาของตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่มาก ตอกย้ำความเชื่อที่ว่าสติปัญญาและความสามารถนั้นคงที่ Growth mindset: ท้าทายตัวเอง ผิดพลาดก็เรียนรู้จากความผิดพลาดและคำแนะนำ ผลลัพธ์คือได้ทำหลายๆอย่าง ผิดพลาดหลายๆครั้ง ก็เป็นประสบการณ์ที่จะทำให้ครั้งต่อไปดียิ่งขึ้น มีการพัฒนา ——————— หากสติปัญญาสามารถพัฒนาให้เติบโตได้ Mindset ก็ไม่ตายตัว ——————- เราจะเสริมสร้าง Growth Mindset ให้ตัวเองและคนอื่นได้อย่างไร 1.พลังของคำว่า “ยัง” >> ใส่คำว่ายัง ในสิ่งที่ทำไม่ได้ หรือไม่สำเร็จ > พูดภาษาฝรั่งเศสได้ไหม? ยังไม่ได้ (แทนที่จะตอบว่า “ไม่ได้”) > วิจัยวิทยานิพนธ์เป็นยังไง ยังไม่เสร็จ (เสร็จแน่ แค่ตอนนี้ยัง) 2.ชื่นชมที่กระบวนการ/ความพยายาม >> “ตอบถูกด้วย ฉลาดมาก เก่งจัง” เปลี่ยนเป็น “ชื่นชมมากๆที่พยายามหาคำตอบให้กับคำถามนี้” > การชื่นชมที่ความสามารถ ความฉลาดทำให้ เกิดเงื่อนไข ตอบถูก = ฉลาด / ตอบผิด = โง่ > แต่ถ้าชื่นชมที่ความพยายาม เงื่อนไขจะเป็น ตอบถูก = พยายามได้ดี / ตอบผิด = พยายามอีก 3. ให้คำแนะนำแบบสร้างสรรค์ (Constructive feedback) แปรคำแนะนำให้เป็นของขวัญ โดยการใช้ I like... I wish... > I like ... เราชอบในส่วนไหนของคำตอบ ส่วนไหนของผลงาน > I wish ... ฉันปรารถนาอยากเห็นมันเป็นยังไงต่อ การให้ feedback แบบนี้จะช่วยให้คนที่ได้รับรู้สึกมีกำลังใจว่าสิ่งที่ทำก็มีส่วนที่ดี และได้ไอเดียไปพัฒนาเพิ่มเติม ———————— เวลาเจอเรื่องยากๆช่วงนี้ เราก็มักจะพูดกับตัวเองว่า “Fixed mindset กำลังบอกฉันซ้ำๆว่า....” แต่ “Growth mindset” ก็จะตอบกลับไปว่า... —————— และมันได้ผล เราเจอแง่มุมดีๆในเรื่องที่กำลังเผชิญอยู่ และ...สู้โว้ยยย
Cr. Naphat Bean Sattayut
0 notes
thcollections · 5 years
Text
ข้อ 5 / 22 และ 23
...
5. "ทำเต็มที่ แต่ไม่ซีเรียส" คำของหลวงพี่ไพศาล วิสาโล เอามาใช้ได้กับความพยายามทุกเรื่อง ทุ่มเทตอนทำ ปล่อยวางความคาดหวังกับผลลัพธ์
22. อีกฝ่ายจะถูกหรือไม่ก็ตาม แต่ข้อถกเถียงจากเขากำลังบอกกับเราว่า เรื่องนี้ยังมองได้อีกหลายแบบ
23. เราไม่เปลี่ยนความคิดก็ได้ แต่สามารถให้เกียรติวิธีคิดอื่น โดยไม่รีบประณามหยามเหยียด ไปพร้อมกับยืนยันความคิดของตัวเอง
ในความขัดแย้ง, รักษาความเบิกบานไว้ --- 1. สิ่งสำคัญที่ต้องรักษาไว้คือความเบิกบานในชีวิตและทัศนคติที่ดีต่อตัวเองและผู้อื่น 2. ความเบิกบานทำให้อยากมีชีวิตอยู่ ทัศนคติที่ดีทำให้มีความหวัง 3. ความหวัง--หมายความว่าวันนี้เราหรือเขา หรือความสัมพันธ์ระหว่างกันอาจยังไม่ดี แต่มันดีขึ้นได้ ซึ่งแผ่ลามไปถึงความหวังต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และโลกด้วย 4. "ดีขึ้นได้" และเรามีส่วนทำให้เกิดขึ้นได้ แม้เล็กน้อย แต่เราก็พอจะทำได้ 5. "ทำเต็มที่ แต่ไม่ซีเรียส" คำของหลวงพี่ไพศาล วิสาโล เอามาใช้ได้กับความพยายามทุกเรื่อง ทุ่มเทตอนทำ ปล่อยวางความคาดหวังกับผลลัพธ์ 6. ได้เท่าไรก็เท่านั้น ได้มากก็ดี ได้น้อยก็ไม่เป็นไร เขาเข้าใจก็ดี เขาไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร 7. รู้คุณค่าของสิ่งที่ทำ หากคนอื่นยังสัมผัสไม่ได้ถึงคุณค่านั้น ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำต่อไป วันหนึ่งมันจะปรากฏผลออกมา 8. อย่าเริ่มด้วยการพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่น จงเริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้คนอื่นเห็น แล้วอยากเปลี่ยนบ้าง 9. ในความขัดแย้ง พอเรานุ่มนวลลง อีกฝ่ายจะลดความแข็งกระด้าง ถ้าเราแข็งกระด้าง อีกข้างจะยิ่งแข็งกระด้างกลับมา 10. หลีกเลี่ยงความรุนแรงทุกประเภท การกระทำ ถ้อยคำ ความคิด เพราะมันไม่ได้นำไปสู่อะไรที่ดีขึ้นเลย
...
11. "ความเข้าใจ" เป็นสิ่งดี แต่ถ้าไม่เข้าใจกันจริงๆ ก็ไม่เป็นไร 12. อย่าคาดหวังว่าคนจะรักเราทั้งโลก แค่อย่าให้คนเกลียดค่อนโลกก็พอแล้ว 13. เถียงกัน เมื่อเหตุผลมาถึงทางตัน อาจต้องวางเหตุผลลงสักพัก แล้วดูแลความรู้สึกของกันและกันก่อน 14. เมื่อถึงทางตันของเห��ุผล การพยายามหาว่า "ใครถูก" รังแต่จะทำให้เกิดรอยร้าวในหัวใจ 15. การเห็นความสำคัญของอีกฝ่าย และเห็น "ความปรารถนาดี" ที่ซ่อนอยู่ในข้อถกเถียงหรือสิ่งที่ขัดแย้งเป็นเรื่องสำคัญ 16. หลายครั้งเราจะเป็นจะตายกัน ทั้งที่ทั้งสองฝ่ายก็ต่าง "หวังดี" แค่มีวิธีคนละอย่าง 17. เมื่อเถียงกันมาถึงทางตัน คำตอบโต้อาจต้องถูกพักไว้ก่อน ใช้เวลากับการรับฟังมากขึ้น 18. เมื่อไรที่รู้สึกว่าอีกฝ่ายไม่ฟังเราเลย นั่นล่ะ เวลาที่เราต้องรับฟังสิ่งที่เขาพรั่งพรูออกมาอย่างใส่ใจ 19. เมื่อเราถอย เมื่อเรารับฟัง อีกฝ่ายจะเริ่มรับฟังเราบ้างเช่นกัน 20. ในการถกเถียง รักษา "บรรยากาศที่ดี" ไว้ให้ได้ ถ้ารักษาบรรยากาศที่ดีไว้ไม่ได้ก็มีโอกาสรักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ไม่ได้เช่นกัน
...
21. เวลายืนยันว่าตัวเองถูก มุมมองนั้นมักจะแคบและมองไปทางเดียวเสมอ 22. อีกฝ่ายจะถูกหรือไม่ก็ตาม แต่ข้อถกเถียงจากเขากำลังบอกกับเราว่า เรื่องนี้ยังมองได้อีกหลายแบบ 23. เราไม่เปลี่ยนความคิดก็ได้ แต่สามารถให้เกียรติวิธีคิดอื่น โดยไม่รีบประณามหยามเหยียด ไปพร้อมกับยืนยันความคิดของตัวเอง 24. เราอาจจะแพ้ในการถกเถียง แต่ถ้ารักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ได้ ก็คุ้ม 25. รักษาหัวใจที่ยังเบิกบาน และทัศนคติที่ดีต่อตัวเองและผู้อื่นเอาไว้ได้ แปลว่ายังมีหวัง 26. หากสูญเสียความเบิกบานเสียแล้ว สิ่งสำคัญที่เราอยากยืนยันสรรค์สร้างให้เกิดขึ้นอาจจะมอดดับไปพร้อมความหวังของเรา 27. รักษาหัวใจตัวเอง ไม่เผลอทำร้ายหัวใจคนอื่น 28. ไม่ต้องเป็นฝ่ายถูกก็ได้ แต่เป็นฝ่ายที่มอบความรักให้เสมอ 29. ความรัก บางทีก็เท่ากับยอมแพ้ 30. แต่ชีวิตยังมีวันพรุ่งนี้ เขาอาจจะค่อยๆ รับฟังเรามากขึ้น เราเองก็ค่อยๆ หยิบเอาเหตุผลดีๆ ความคิดดีๆ จากเขามาผสมกัน อย่างน้อยที่สุด ถ้าความสัมพันธ์ยังดี ยังมีโอกาสร่วมมือกันในบรรยากาศที่ดี
...
สุดท้ายแล้ว เราคงไม่ได้อยากเป็นผู้ชนะมากเท่ากับอยาก "ชนะไปด้วยกัน" คือรักษาความสัมพันธ์ไว้ได้ และเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้ดีขึ้นได้ อาจไม่ได้ดั่งใจเราทั้งหมด ไม่ได้ดั่งใจเขาทั้งหมด แต่ค้นพบจุดที่ทั้งสองฝ่าย "รับได้"
สิ่งสำคัญคือ อย่ากรีดแผลลงในใจ ไม่ว่าของตัวเองหรือผู้อื่น เพราะเมื่อกรีดแล้ว แทนที่จะมองไปข้างหน้า เราจะมองแต่บาดแผลนั้น เขาจะมองแต่บาดแผลนั้น
ความสัมพันธ์จะกลายเป็นการยกบาดแผลขึ้นมาเถียงกันว่า ใครกรีดอีกฝ่ายลึกกว่ากัน ทุกครั้งที่เป็นเช่นนั้น แผลก็จะลึกลงไปอีกและอีก
เป็นความสัมพันธ์ที่หมกมุ่นกับอดีต ไร้อนาคตร่วมกัน
รักษาความเบิกบานในใจไว้ให้ได้ มิฉะนั้นก็เสี่ยงต่อการกรีดแผลให้คนอื่น และเสี่ยงต่อการถูกกรีดหัวใจโดยอีกฝ่าย
ที่ยาก อาจเป็นเพราะ เราอยากได้ทั้งหมด เราอยากเป็นฝ่ายถูกทั้งหมด เราอยากให้เขาเสียทั้งหมด เราคิดว่าเขาผิดทั้งหมด
แต่ถ้าลองคิดว่า เราอาจจะผิดบางส่วน เขาอาจจะถูกบางส่วน เราอาจเป็นฝ่ายถูกกระทำบางส่วน เขาอาจเป็นฝ่ายถูกกระทำบางส่วน เราต่างเป็นผู้ถูกกระทำซึ่งกันและกันจากความรุนแรงทั้งกาย วาจา ใจ ที่ทุ่มใส่กัน
ก็อาจพบคำตอบใหม่ว่า เราไม่ต้องได้อย่างใจทั้งหมด ให้เขาได้บ้าง แล้วเขาก็อาจจะให้เรากลับคืนมาบ้าง
มันอาจไม่ "ดีที่สุด" แต่มันก็ "ดีขึ้น"
เบิกบาน มีความหวัง คาดหวังแค่ "ดีขึ้น"
ลดความ "สุด" ลง
ค่อยๆ "ดีขึ้น" ในเรื่องที่เราต้องการ ค่อยๆ "ดีขึ้น" ในความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร รักษาหัวใจที่ดีไว้ให้ได้
เพราะ "หัวใจที่ดี" เท่านั้นที่มีโอกาสสร้างวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า นั่นคือหัวใจที่ปรารถนาดีต่อผู้อื่น รับฟัง พยายามเข้าใจ ไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่คาดหวังจะชนะเพียงผู้เดียว
สูญเสียสิ่งใดไปก็ตาม รักษา "หัวใจที่ดี" ไว้ให้ได้
มันจะพาเราไปสู่ "วันที่ดีขึ้น"
ไม่ใช่แค่ของเรา แต่ยังรวมถึงของฝ่ายตรงข้ามด้วย
cr. Roundfinger
0 notes
thcollections · 6 years
Text
“Always Produce”
สิ่งหนึ่งที่ควรระลึกไว้คือ: คุณควรสร้างงานเสมอ
.
หากคุณไม่ชอบงานประจำ เพราะคุณอยากเป็นนักเขียนนิยายมากกว่า คำถามก็คือ แล้วคุณได้เขียนนิยายบ้างไหม คุณได้ผลิตงานออกมาบ้างไหมไม่ว่ามันจะแย่แค่ไหนก็ตาม ถ้าคุณสร้างงานอยู่ คุณก็จะได้รู้ตัวว่าคุณไม่ได้กำลังแค่ฝันลมๆ แล้งๆ แล้วเอาความคิดว่าสักวันจะสร้างงานชิ้นเยี่ยมมาเป็นฝันหวานระงับทุกข์เท่านั้น เมื่อคุณลงมือเขียนจริงๆ เท่านั้นแหละ ที่คุณจะได้รู้ว่าฝันของตัวเองมีจุดบกพร่องตรงไหนบ้าง
.
"การสร้างงานเสมอ" ยังช่วยให้คุณหางานในฝันได้ด้วย เพราะการ "สร้างงานเสมอ" จะผลักให้คุณเดินออกจากสิ่งที่คุณคิดว่าต้องทำ ไปสู่สิ่งที่คุณอยากทำจริงๆ
.
"การสร้างงานเสมอ" จะช่วยให้คุณค้นพบงานแห่งชีวิต เหมือนกับที่แรงโน้มถ่วงพาน้ำไหลสู่รูรั่วบนหลังคานั่นเอง
.
ส่วนหนึ่งจากความเรียง "How to do what you love" ของ Paul Graham
.
"Another test you can use is: always produce. For example, if you have a day job you don’t take seriously because you plan to be a novelist, are you producing? Are you writing pages of fiction, however bad? As long as you’re producing, you’ll know you’re not merely using the hazy vision of the grand novel you plan to write one day as an opiate. The view of it will be obstructed by the all too palpably flawed one you’re actually writing.
.
“Always produce” is also a heuristic for finding the work you love. If you subject yourself to that constraint, it will automatically push you away from things you think you’re supposed to work on, toward things you actually like. “Always produce” will discover your life’s work the way water, with the aid of gravity, finds the hole in your roof."
.
- Paul Graham
.
อ่านฉบับเต็มก็ได้ครับ ดี http://www.paulgraham.com/love.html
-
By, P’Champ -The matter
0 notes