Tumgik
themostx5 · 3 years
Text
มะแฟน
Tumblr media
มะแฟน ชื่อวิทยาศาสตร์ Protium serratum (Wall. ex Colebr.) Engl. จัดอยู่ในวงศ์มะแฟน (BURSERACEAE)
สมุนไพรมะแฟน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆว่า แฟนส้ม (เลย), ส้มแป้น (นครราชสีมา), ค้อลิง (ชัยภูมิ), มะแทน (ราชบุรี), กะโปกหมา กะตีบ (ประจวบคีรีขันธ์), ปี (ภาคเหนือ), มะแฟน (ภาคกลาง), พี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ฟีแซ พีแซ ผี (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตะพีเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ไฮ่ม่าดี้ (ปะหล่อง), เจี้ยนต้องแหงง (เมี่ยน) เป็นต้น
Tumblr media
ลักษณะของมะแฟน
           ต้นมะแฟน จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 10-30 เมตร เรือนยอดค่อนข้างทึบ เป็นพุ่มกลมในช่วงบน ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดโต ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ทนต่อความร้อนได้ดี มักพบขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป หรือตามป่าเบญจพรรณบริเวณเขาหินปูนและป่าดิบแล้งใกล้ลำธาร ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-800 เมตร ใบมะแฟน ใบเป็นใบประกอบ เป็นช่อแบบขนนก ช่อใบติดเรียงสลับ แต่ละแขนงมีใบย่อยประมาณ 3-11 ใบ ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ยกเว้นใบยอดช่อจะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรียาว หรือรูปแกมขอบขนาน ปลายใบหยักคอดเป็นติ่งแหลม โคนใบกลมมนหรือเบี้ยว ส่วนขอบใบอ่อนหยักเป็นพันเลื่อย ส่วนใบแก่มักเรียบหรือเป็นคลื่นหาง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-13 เซนติเมตร เนื้อใบหนา ใบอ่อนมีขนขึ้นประปราย เมื่อแก่ขนจะหลุดออกเป็นใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมองเห็นเส้นใบเป็นรูปตาข่ายได้ชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
Tumblr media
            ดอกมะแฟน ออกดอกเป็นช่อกระจายอยู่ตามบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง ในแต่ละช่อจะมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศ ลักษณะของดอกมีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็นแฉกเล็ก ๆ 5 แฉก ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนด้านนอก ดอกเป็นสีขาว สีเขียวอ่อน หรือสีเหลืองอ่อน กลางดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 10 อัน และมีเกสรเพศเมีย 1 อันขนาดสั้นกว่ากลีบดอก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ผลมะแฟน ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมมน มีร่องแบ่งเป็นพูประมาณ 2-4 พู ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร เปลือกผลเป็นสีแดง สีเขียว สีเหลือง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง พอแก่แล้วเป็นสีดำ ภายในผลมีเนื้อนุ่มสีขาวและมีเมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลมแข็ง ออกผลในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม
Tumblr media
สภาพนิเวศวิทยา
           พบขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป หรือตามป่าเบญจพรรณบริเวณเขาหินปูนและป่าดิบแล้งใกล้ลำธาร ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-800 เมตร ถิ่นกำเนิด: อนุทวีปอินเดียไปจนถึงจีน (ตะวันตก-ตะวันตกเฉียงใต้-ยูนนาน) และอินโดจีน การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนตอนกลาง-ตอนใต้, หิมาลายาตะวันออก, อินเดีย, ลาว, เมียนมาร์, ไทย, เวียดนาม การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
Tumblr media
การใช้ประโยชน์
           ผลดิบ มีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ ผลสุก มีรสเปรี้ยวอมหวาน ใช้รับประทานได้ เนื้อไม้ มีความเหนียว เมื่อตัดใหม่ ๆ แก่นจะเป็นสีแดง พอทิ้งไว้นาน ๆ จะเป็นสีอิฐหรือสีน้ำตาลคล้ำ เนื้อไม้ละเอียดและสม่ำเสมอพอประมาณ เลื่อย ผ่า ไสกบ ตกแต่งได้ง่าย สามารถนำมาใช้ทำเสาอาคารบ้านเรือน กระดานพื้น ฝา ฝ้า เพดาน ประตู หน้าต่าง วงกบ กรอบรูป กรอบกระจก กรอบประตูหน้าต่าง เครื่องเรือน เครื่องใช้ทางการเกษตร ไถ หัวหมูไถ ใช้ทำฟืน ฯลฯ ชาวกะเหรี่ยงแดง ใช้ส่วนใบอ่อนมารับประทาน
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFast98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย        
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
มะเดื่อปล้อง
มะเดื่อปล้อง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus hispida L.f. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรมะเดื่อปล้อง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เดื่อสาย (เชียงใหม่), เดื่อปล้อง (นครศรีธรรมราช, สระบุรี, ภาคเหนือ), เดื่อป่อง (กรุงเทพฯ), หมากหนอด (ไทใหญ่), ตะเออน่า เอาแหน่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ดิ๊โจ่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ฮะกอสะนียา (มลายู-นราธิวาส), ไฮ่มะเดื่อปล้อง (ปะหล่อง), กระซาล (ขมุ), ลำเดื่อ ลำเดื่อปล้อง (ลั้วะ), งงหยอเจีย (เมี่ยน) เป็นต้น
Tumblr media
ลักษณะของมะเดื่อปล้อง
           ต้นมะเดื่อปล้อง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลางหรือใหญ่ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10 เมตร และอาจสูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเรียบหนาเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาปนดำ ตามลำต้นมีรอยเป็นข้อปล้องห่าง ๆ คล้ายรอยควั่นเป็นข้อ ๆ ตลอดถึงกิ่ง กิ่งก้านอ้วนสั้น กิ่งอ่อนและลำต้นอ่อนกลวง ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ชอบความชุ่มชื้น ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าละเมาะ พื้นราบ ที่ว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย เนปาล จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
Tumblr media
           ใบมะเดื่อปล้อง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียง���รงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปรียาว รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบมนมีติ่งแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบหยักถี่ ๆ ตลอดใบ โดยเฉพาะครึ่งปลายบน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 11-28 เซนติเมตร เนื้อใบคล้ายกระดาษ ผิวใบด้านบนมีขนสากคายมือ ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ใบแก่มีขนหยาบ ๆ และบนเส้นใบด้านล่าง เส้นใบข้างโค้ง 5-9 คู่ เส้นใบที่ฐานยาวประมาณ 1/5 ของใบ ก้านใบยาวประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร มีต่อมเป็นปม หูใบยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร หลุดร่วงง่าย
Tumblr media
           ดอกมะเดื่อปล้อง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อมะเดื่อ โดยจะออกตามลำต้นและกิ่ง และอาจพบออกตามโคนต้นหรือตามกิ่งที่ห้อยลงไม่มีใบ หรือพบได้บ้างที่เกิดตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กอัดกันแน่น เจริญเติบโตอยู่ในฐานรองดอกที่ห่อหุ้มไว้เพื่อที่จะเจริญเติบโตไปเป็นผล มีลักษณะคล้ายผล ภายในกลวง ที่ปลายมีช่องเปิดที่มีใบประดับปิดอยู่ มีก้านช่อดอกยาว ดอกอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนดอกแก่เป็นสีเหลือง ที่โคนมีใบประดับ 3 ใบ ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ภายในมีดอก 3 ประเภท คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มหูด ดอกเป็นแบบแยกเพศ แต่อยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศผู้มีประมาณ 1-2 แถว กลีบรวมจักเป็น 3-4 พู ที่ปลายมีขน เกสรเพศผู้มี 1 อัน ส่วนดอกเพศเมียมีหรือไม่มีก้าน กลีบรวมเชื่อมติดกันคล้ายปลอดหรือท่อสั้น ๆ และดอกปุ่มหูดไม่มีก้าน กลีบรวมปกคลุมรังไข่ ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
Tumblr media
           ผลมะเดื่อปล้อง เป็นผลแบบมะเดื่อ รูปทรงกลมออกแป้น รูปลูกข่าง แคบที่ฐาน ก้นผลมีรอยบุ๋ม มีเส้นสัน 7-9 เส้น แผ่รอบ ๆ จากยอด มีขนอ่อนนุ่ม และมีเกล็ดปกคลุมแบบห่าง ๆ ออกผลติดเป็นกลุ่มแน่นประมาณ 10-15 ผล ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ มีจุดสีขาวตลอดทั้งผล ผลสดเป็นสีเขียว พอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ก้านผลยาวประมาณ 0.6-2.5 เซนติเมตร มีกาบรูปสามเหลี่ยม 3 กาบ เป็นช่อยาวตามแนวของกิ่ง ห้อยลงจากลำต้นและกิ่งใหญ่ ติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม
Tumblr media
สรรพคุณ                   ตำรายาไทย ผล มีรสขม เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ  ฝาดสมาน แก้บิด แก้บวมอักเสบ เป็นยาพอก ใช้ล้างแผล สมานแผล ขับน้ำนม แก้โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคโลหิตจาง ริดสีดวงทวาร โรคตัวเหลือง เลือดกำเดาไหล อาการปวดกระเพาะ ไข้จับสั่น ผลแห้ง รักษาแผลในปาก ทำให้อาเจียน (กินผลดิบทำให้วิงเวียนได้) ใบ ต้มน้ำดื่ม รักษาอาการไข้หลังคลอดบุตร หนาวสั่น ปัสสาวะเหลืองหรือเป็นเลือด ใส่แผลฝี แผลในจมูก แผลหนองอักเสบ ราก ลำต้น เหง้า ต้มน้ำดื่ม กระตุ้นการหลั่งน้ำนม แก้หวัด รากและเปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน ใช้ตำทาแก้ฝี แก้เม็ดผื่นคันตามผิวหนัง กินแก้พิษในกระดูก กล่อมเสมหะ แก้ท้องเสีย แก้ประดง เปลือกต้น ผล เมล็ด มีฤทธิ์ทำให้อาเจียน 
Tumblr media
           เปลือกต้น เป็นยาทำให้อาเจียน ยาระบาย ยาพอกฝีมะม่วง ยาบำรุง แก้มาลาเรีย แก้ปวดท้องในเด็ก รักษาสิวฝ้า กระดูกแตกหัก ใช้ทำเชือกหยาบๆ ลำต้น มีรสเฝื่อนฝาด แก้เม็ดฝี และกินแก้พิษในกระดูก ช่อดอกและผลอ่อน รับประทานเป็นผักสดหรือต้มจิ้มน้ำพริก และนำมาปรุงอาหารจำพวกแกงส้ม ใบอ่อน รับประทานได้ ผลสุก ทำแยม ตำรายาพื้นบ้านล้านนาใช้ ใบ ต้มน้ำดื่ม รักษาอาการม้ามโต มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะเป็นเลือดหรือเหลืองจัด ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มูเซอใช้ ราก ลำต้น เหง้า ต้มน้ำดื่ม กระตุ้นการหลั่งน้ำนม แก้หวัด เปลือกต้น ต้มกับกล้วยน้ำว้า เอาผ้าชุบน้ำพันรอบตัว แก้อาการบวมทั้งตัว
Tumblr media
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการเว็บ Fast98 เป็น สล็อตเว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ ฝาก-ถอนระบบออโต้ มีแอดมินบริการตลอด 24 ชั่วโมง          
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
สำรอง
สำรอง ชื่อสามัญ Malva nut
สำรอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Scaphium scaphigerum (Wall. ex G. Don) G.Planch. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Sterculia scaphigera Wall. ex G. Don) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scaphium macropodum (Miq.) Beumée ex K.Heyne (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Carpophyllum macropodum Miq., Sterculia macropoda (Miq.) Hook. ex Kloppenb.) โดยจัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
สมุนไพรสำรอง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จอง หมากจอง (อุบลราชธานี), บักจอง หมากจอง (ภาคอีสาน), ท้ายเภา (ภาคใต้), พุงทะลาย, ฮวงไต้ไฮ้ (จีน), พ่างต้าห่าย (จีนกลาง) เป็นต้น ส่วนในจังหวัดจันทบุรี ตราด และทั่วไปจะเรียก "สำรอง"
Tumblr media
ลักษณะของต้นสำรอง
           ต้นสำรอง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 30-40 เมตร และอาจสูงได้ถึง 45 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้น ๆ ลำต้นเป็นสีเทาดำ เปลือกต้นหยาบ มีเส้นเป็นร่องตามแนวดิ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบเขาที่มีฝนตกชุกและมีแสงแดดส่องถึง พบได้มากในจังหวัดจันทบุรี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าอาจจะสูญพันธุ์ได้ ใบสำรอง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงแบบสลับ ลักษณะของใบมีหลากหลายรูปร่าง เช่น รูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปคล้ายรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อยเป็นรูปหัวใจ และใบมีรูปร่างเป็นแฉกเว้าลึกประมาณ 2-5 แฉก ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-20 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร เนื้อใบแข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตรใบต้นอ่อนมักเป็นหยักประมาณ 3-5 หยักและมีก้านใบยาวมาก 
Tumblr media
           ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าใบสำรองจะมีอยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ โดยจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี ลักษณะของใบจะเป็นรูปปลายแหลม ฐานโค้ง เมื่อเข้าปีที่ 2 ใบจะเริ่มเปลี่ยนรูปร่างเป็นรูปฝ่ามือ 3 แฉก เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3-4 ใบจะมีลักษณะเป็นรูปฝ่ามือ 5 แฉก และในระยะสุดท้ายหรือช่วงอายุประมาณ 4-6 ปีหรือมากกว่านั้น ใบจะมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนานดอกสำรอง ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่งและง่ามใบ โดยจะออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ ดอกเป็นแบบแยกเพศ กลีบดอกเป็นแฉกคล้ายรูปดาว ยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร กลีบดอกปลายแหลม เป็นสีเขียวอ่อน ส่วนกลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปร่างคล้ายทรงบอก มีขนปกสีแดงปกคลุม ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 10-15 ก้านและเกสรเพศเมียอีก 1 ก้าน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ลูกสำรอง หรือ ผลสำรอง ผลจะออกตามปลายกิ่ง กิ่งหนึ่งจะมีผลประมาณ 1-5 ผล
Tumblr media
           ลักษณะของผลเป็นรูปร่างคล้ายเรือหรือรูปกระสวย เมื่อแก่จะแตกออก ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดลักษณะกลมรีเล็กน้อย ลักษณะคล้ายกับลูกสมอ ผลแก่เป็นสีน้ำตาล ผิวเหี่ยวย่น แห้ง และขรุขระ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 18-25 มิลลิเมตร ส่วนเมล็ดเป็นรูปมนรี มีเยื่อหุ้มอยู่ ซึ่งเป็นสารเมือกมีอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อถูกน้ำหรือนำมาแช่ในน้ำจะพองตัวออกและขยายตัวเป็นวุ้นคล้ายกับเยลลี่สีน้ำตาล ใช้รับประทานได้[1],[2] โดยผลจะเริ่มแก่และร่วงในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน[6] เปลือกหุ้มเมล็ดชั้นนอกจะมีสารเมือก (Mucilage) ที่สามารถพองตัวได้ดีในน้ำ เพราะมีความสามารถในการดูดซับน้ำถึง 40-45 มิลลิลิตรต่อกรัม ทำให้เกิดเป็นเจล (Gel) หรือเป็นวุ้นได้โดนไม่ต้องอาศัยความร้อน
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดสำรอง 
           สำรองเป็นพันธุ์พืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วไป เช่น พม่า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว ไทย รวมถึง จีนตอนใต้อีกด้วย โดยทั่วไปแล้วมักจะพบต้นสำรองได้ตามป่าที่มีความชื้นสูง เช่น ป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้นที่มีแสงแดดส่องถึงพื้นและมีฝนตกชุก สำหรับในประเทศไทยพบได้มากทางภาคตะวันออกของประเทศ โดยเฉพาะจันทบุรีและตราด ส่วนภาคอื่น ๆ ก็พบได้บ้างแต่จะน้อยกว่าภาคตะวันออก
Tumblr media
ประโยชน์และสรรพคุณสำรอง             เมื่อนำผลสำรองมาแช่ในน้ำ เนื้อบาง ๆ ที่หุ้มเมล็ดอยู่จะดูดน้ำและพองตัวออกมา มีลักษณะเป็นแผ่นวุ้น และเมื่อแยกเมล็ด เปลือก และเส้นใย ออกก็สามารถนำแผ่นวุ้นดังกล่าวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หรือใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ใช้แทนสาหร่ายในแกงจืด ใช้รับประทานเป็นขนมหวาน ใช้รับประทานกับน้ำกะทิ หรือใช้แทนรังนก รวมถึงใช้ทำน้ำสำรองพร้อมดื่มและสำรองผง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำลูกสำรองมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากสำรองที่อยู่ในรูปของแคปซูล��ีกด้วย ส่วนเปลือกของต้นลูกสำรองใช้ฟอกย้อมแห อวนหรือตาข่าย ทำให้เกิดสีน้ำตาลแดง ช่วยให้มีความเหนียวและคงทนมากขึ้น
Tumblr media
           สำหรับเนื้อไม้ที่เป็นไม้เนื้อแข็งสามารถใช้แปรรูปเป็นไม้ก่อสร้าง ไม้แผ่น ไม้กระดาน ไม้ฝา ไม้วงกบ เป็นต้น รวมถึงแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้อีกด้วย  ในส่วนของสรรพคุณทางยาของสำรองนั้น ตามตำรายาไทยระบุถึงสรรพคุณของส่วนต่าง ของสำรองว่า ราก รสเฝื่อนเปรี้ยวเล็กน้อย แก้ไอ แก้ท้องเสีย รักษากามโรค แก้พยาธิผิวหนัง แก่นต้น รสเฝื่อน แก้โรคเรื้อน แก้กุฏฐัง แก้กามโรค ใบ รสเฝื่อน แก้��ยาธิ แก้ลม ผลและเมล็ด รสฝาดสุขุม แก้ไข้ แก้ตานซาง ตานขโมยในเด็ก แก้ท้องเสีย แก้ลมพิษ แก้ลม แก้ธาตุพิการ เปลือกต้น รสเฝื่อน แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้กามโรค เปลือกหุ้มเมล็ด รสเย็นแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ใจคอชุ่มชื้น แก้ไอ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ตาอักเสบบวมแดง
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFast98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย สล็อตแตกง่าย ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
แพร์
แพร์ หรือ ลูกแพร์ ภาษาอังกฤษ European Pear
แพร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pyrus communis จัดอยู่ในวงศ์ ROSACEAE หรือวงศ์กุหลาบ
แพร์เป็นพืชคนละสปีชีส์กับสาลี่ และจัดเป็นผลไม้เมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป
Tumblr media
           แพร์ (Pear) หรือเรียกว่า ลูกแพร์ เป็นผลไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีทรงพุ่มขนาดกลาง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะรูปไข่ ยาวรี ผิวใบเรียบ ขอบใบเรียบ มีก้านใบยาว ใบมีสีเขียว ออกดอกเดี่ยว อยู่เป็นกระจุก มีลักษณะมีห้ากลีบ กลีบดอกมีสีขาว มีเกสรเป็นเส้นยาวสีเหลือง มีก้านดอกยาว ดอกออกซอกใบและซอกกิ่ง ผลเป็นผลเดี่ยว มีลักษณะทรงกลมยาว โคนเรียวเล็ก ปลายผลกลมใหญ่ ผิวเปลือกบางผิวเรียบ มีแกนกลางแข็ง ผลดิบสีเขียว ผลสุกจะมีสีเขียวอมเหลือง สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีน้ำตาล ตามสายพันธุ์ มีเนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ สีขาวนวล มีรสชาติหวาน มีกลิ่นหอม ใช้นำมาเป็นผลไม้รับประทาน ใช้ทำอาหารได้หลายเมนู ใช้ทำเป็นเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้ แพร์มีปลูกหลายสายพันธุ์
Tumblr media
ลักษณะของต้นแพร์ 
           ต้นแพร์ สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนจะเติบโตได้ดี ชอบอากาศเย็น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ การทาบกิ่ง การติดตา หรือการตอนกิ่ง เป็นไม้ยืนต้น อายุยาวนาน ลักษณะของต้นแพร์ มีดังนี้ ลำต้นแพร์ ลักษณะกลมๆ เนื้อไม้แข็งเหนียว ลำต้นมีสีน้ำตาล เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม รากแพร์ เป็นระบบรากแก้ว รากกลมๆ แทงลงในดิน มีรากแขนงและรากฝอยเล็ก ๆ ออกตามแนวราบ มีสีน้ำตาล
Tumblr media
           ใบแพร์ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบสีเขียว ยาวรี ผิวใบเรียบ ขอบใบเรียบ มีก้านใบยาว ดอกแพร์ ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกซอกใบและซอกกิ่ง ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีขาว เกสรยาวสีเหลือง ก้านดอกยาว ผลแพร์ ลักษณะเป็นผลเดี่ยว กลมยาว โคนเรียวเล็ก ปลายผลกลมใหญ่ ผิวเปลือกบางผิวเรียบ มีแกนกลางแข็ง ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเขียวอมเหลือง เนื้อผลนุ่มฉ่ำน้ำ สีขาวนวล รสหวาน มีกลิ่นหอม เมล็ดแพร์ ลักษณะทรงกลมรี เมล็ดแข็ง สีน้ำตาล เมล็ดอยู่ในแกนกลางของผล
Tumblr media
วิตามินและแร่ธาตุ
           การรับประทานแพร์ นิยมรับประทานผลลูกแพร์ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลูกแพร์ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 58 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 13.81 กรัม กากใยอาหาร 3.1 กรัม ไขมัน 0.12 กรัม โปรตีน 0.38 กรัม วิตามินเอ 23 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.012 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.025 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.157 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.048 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.028 มิลลิกรัม วิตามินบี9 7 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.12 มิลลิกรัม วิตามินเค 4.5 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.17 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.082 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 7 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 119 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม
Tumblr media
ประโยชน์และสรรพคุณแพร์และการปลูกขยายพันธุ์แพร์
           ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา มีอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ ช่วยลดคอเรสเตอรอล ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน แก้ไข้ ช่วยลดความร้อน ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยบำรุงฟัน แก้ท้องผูก ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ ช่วยรักษาโรคเกาต์ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยป้องกันโรคหลอดสมอง แพร์สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนจะเติบโตได้ดี ชอบอากาศเย็น การปลูกทำได้ด้วย วิธีใช้เมล็ดเพาะต้นพันธุ์ ทาบกิ่ง ติดตา หรือตอนกิ่ง แล้วนำมาปลูกลงในแปลง ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 4×4 ซม.
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFast98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย สล็อตฟรีเครดิต ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย        
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
นมแมวป่า
นมแมวป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Ellipeiopsis cherrevensis (Pierre ex Finet & Gagnep.) R.E.Fr. จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)
สมุนไพรนมแมวป่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พี้เขา พีพวนน้อย (นครพนม) เป็นต้น
Tumblr media
ลักษณะของนมแมวป่า
           ต้นนมแมวป่า จัดเป็นไม้เถา มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร และอาจสูงได้ถึง 3 เมตร แตกกิ่งก้านมากใกล้กับพื้นดิน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้ม ตามกิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคใต้ โดยจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูงไม่เกิน 500 เมตร หรือที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150-400 เมตร
           ใบนมแมวป่า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบมนเว้าเล็กน้อยหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบและท้องใบมีขนขึ้นปกคลุมหนาแน่น ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
Tumblr media
           ดอกนมแมวป่า ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกประมาณ 1-3 ดอก ที่ใต้ใบบริเวณใกล้กับปลายยอด ก้านดอกยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน กลีบดอกหนามี 6 กลีบ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกชั้นใน ปลายกลีบดอกแหลมสั้นหรือมน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 3 กลีบ ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่และมีขนขึ้นปกคลุม ดอกเกสรเพศผู้มีจำนวนมาก สีส้มล้อมรอบเกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลับ คาร์เพลจำนวนมากเรียงอยู่บนฐานดอกแยกกัน ออกดอกในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม
           ผลนมแมวป่า ออกผลเป็นกลุ่ม มีผลย่อยประมาณ 8-12 ผล ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรี มีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลสดเป็นสีเขียวและมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม พอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสหวาน เมล็ดภายในผลมีลักษณะกลม
Tumblr media
สรรพคุณของนมแมว
           เนื้อไม้และรากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ[4] ไข้หวัด ไข้ทับระดู และไข้เพื่อเสมหะ (เนื้อไม้และราก รากนมแมวใช้ผสมกับรากหนามพรมและรากไส้ไก่ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ริดสีดวงจมูกได้ดีมาก (ราก) คนสมัยก่อนจะใช้ยอดใบอ่อนประมาณ 5-7 ใบผสมกับน้ำปูนขาวและน้ำ แล้วขยี้ส่วนผสมทั้งหมดจนแตกเป็นเนื้อละเอียดจนเป็นฟองสีเหลือง แล้วนำมาทาบริเวณท้อง จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อในเด็กเล็กได้ (ใบ) ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี (ราก)
Tumblr media
           รากนมแมวนำมาตำผสมกับน้ำปูนใส ใช้ทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก) ผลนำมาตำผสมกับน้ำใช้ทาแก้เม็ดผื่นคันตามร่างกาย (ผล) รากใช้เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีอันเนื่องมาจากคลอดบุตรแล้วอยู่ไฟไม่ได้ (ราก) ตามความเชื่อของคนโบราณจะใช้ยอดใบอ่อนประมาณ 5-7 ใบนำมาผสมกับน้ำปูนขาวและน้ำพอประมาณ แล้วขยี้เป็นเนื้อละเอียดแตกเป็นฟองสีเหลือง ใช้ทารอบเต้านม จะช่วยทำให้เด็กที่หย่านมยาก หย่านมได้ เพราะใบอ่อนของต้นนมแมวนั้นมีรสขม ซึ่งทำให้เด็กไม่ชอบ และทำให้หย่านมได้ง่าย (ใบ)
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFast98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย แทงหวยออนไลน์ ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย  
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
ถั่วลิสง
ถั่วลิสง ชื่อสามัญ Peanut, Groundnut, Earthnut, Goober, Pindar, Monkeynut
ถั่วลิสง ชื่อวิทยาศาสตร์ Arachis hypogaea L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
ถั่วลิสง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วคุด (ประจวบคีรีขันธ์), ถั่วดิน (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), ถั่วยิสง ถั่วยี่สง ถั่วลิง (ภาคกลาง), ถั่วใต้ดิน (ภาคใต้), เหลาะฮวยแซ (จีน-แต้จิ๋ว), ถั่วยาสง (หนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล) เป็นต้น
Tumblr media
           ถั่วลิสงมีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่ลุ่มน้ำอเมซอนไปจนถึงประเทศบราซิล โดยถั่วลิสงในสกุล Arachis สามารถแบ่งออกได้เป็น 19 ชนิด แต่สำหรับสายพันธุ์ที่ปลูกจะมีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ Hypogaea ส่วนที่เหลือทั้งหมดจะเป็นสายพันธุ์ป่า การปลูกถั่วลิสง มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่จะมีมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในสถานการณ์ปัจจุบันการผลิตถั่วลิสงนั้นยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ จึงได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
Tumblr media
ลักษณะของถั่วลิสง
           ต้นถั่วลิสง จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงตั้งแต่ 15-70 เซนติเมตร ซึ่งส่วนต่าง ๆ ของต้นถั่วลิสงโดยทั่วไปแล้วจะมีขนเกิดขึ้น เช่น ตามลำต้น กิ่งก้านใบ หูใบ ใบประดับ ริ้วประดับ และกลีบรองดอก ยกเว้นเพียงกลีบดอกเท่านั้นที่จะไม่มีขน โดยลำต้นของถั่วลิสงจะมีอยู่ 2 ประเภท อย่างแรกคือ มีลำต้นเป็นพุ่ม ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก และฝักออกเป็นกระจุกที่โคน ส่วนอีกแบบเป็นลำต้นแบบเลื้อยหรือกึ่งเลื้อย เจริญเติบโตตามแนวนอนทอดไปตามพื้นผิวดิน มีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ฝักจะกระจายตามข้อของลำต้น
Tumblr media
           รากถั่วลิสง มีรากเป็นแบบระบบรากแก้ว รากอันแรกที่เจริญเรียกว่า "รากแก้ว" ส่วนรากที่แตกออกมาจากรากแก้วจะเรียกว่า "รากแขนง" รากที่แตกออกมาจากรากแขนงคือ "รากขนอ่อน" แต่มีน้อยมาก บางสายพันธุ์อาจจะไม่มีเลย และโดยทั่วไปจะมีปมเกิดขึ้นบนรากแก้วและรากแขนง ปมมีสีน้ำตาล ภายในปมมีสีแดงเข้ม ซึ่งปมเหล่านี้เกิดจากแบคทีเรียพวกไรโซเบียม เข้าไปอาศัยอยู่ภายในราก
Tumblr media
           ใบถั่วลิสง ใบเกิดสลับกันอยู่บนข้อลำต้นหลักในลักษณะคล้ายเกลียว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ประกอบด���วยใบย่อย 2 คู่อยู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ก้านใบรวมยาว ที่โคนก้านใบรวมมีหูใบอยู่ 2 อัน มีขนาดใหญ่ปลายแหลม เห็นได้ชัดเจน ยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยจะสั้นมาก ที่โคนไม่มีหูใบ
Tumblr media
           ดอกถั่วลิสง ออกดอกเป็นช่อ ในหนึ่งช่อประกอบไปด้วยดอกย่อย 3 ดอกขึ้นไป และดอกจะเกิดตามมุมใบของลำต้นหรือกิ่ง ส่วนมากเกิดบริเวณส่วนโคนของลำต้น ในแต่ละช่อดอกจะบานไม่พร้อมกัน ดอกมีสีเหลืองส้ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.9-1.4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกมีใบประดับ 2 กลีบ มีริ้วประดับ 4 กลีบ และดอกยังมีกลีบรองดอกสีเขียว ส่วนก้านดอกจะสั้นมาก ฝักถั่วลิสง ฝักของถั่วลิสงจะเกิดอยู่ใต้ดิน ลักษณะการเกิดอาจจะแพร่กระจายหรือเกิดเป็นกระจุกก็ได้ เปลือกมีลักษณะแข็งและเปราะ มีลายเส้นชัด ฝักมีสีขาวนวลหรือสีน้ำตาลอ่อน ๆ ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-6 เมล็ด
Tumblr media
การปลูกถั่วลิสงโดยทั่วไป
           สามารถปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากนัก วิธีปลูก การเตรียมดินก่อนปลูก ในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ โดยไถ 2 ครั้ง และพรวน 2 ครั้ง ไถดินลึก 10-20 เซนติเมตร ปล่อยจนวัชพืชแห้งตาย ไถกลบเศษวัชพืชอีกครั้ง ถ้าดินค่อนข้างเป็นกรด (pH ต่ำกว่า 5.4) ให้หว่านปูนขาว (CaCo3) 100-300 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วจึงพรวนย่อยดินกลบก่อนปลูก หว่านปุ๋ยอินทรีย์ในรูปมูลสัตว์ ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยหมักจากเศษพืช จะช่วยเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงมากขึ้น ฝักค่อนข้างเต็ม แต่เปลือกฝักจะมีสีคล้ำไม่สวย การปลูกถั่วลิสงฤดูแล้ง ต้องยกร่องและแต่งสันร่องให้เสมอกัน เพื่อสะดวกในการให้น้ำ ถ้าเนื้อดินแน่นให้ร่องแคบ สันร่องกว้างประมาณ 60-100 เซนติเมตร ปลูกได้ 2 แถว ถ้าดินร่วนระบายน้ำดี สามารถขยายสันร่องได้ถึง 1.5 เมตร ปลูกได้ 3-4 แถว ต้องให้น้ำซึมถึงกลางสันร่องได้ ปลูกฤดูฝน พื้นที่ราบ แถวต้องขวางตามแนวลาดเทของพื้นที่ ทำทางระบายน้ำออกจากแถวปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลง
Tumblr media
การหยอดเมล็ดถั่วลิสง
           ควรหยอดเมล็ดลึก 5-8 เซนติเมตร หรือลึกกว่านี้ ในฤดูแล้งอาศัยความชื้นในดินใช้เมล็ดพันธุ์ 13-17 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วแต่ชนิดถั่ว ระยะปลูก 20×50 เซนติเมตร หยอด 2-3 เมล็ด ต่อหลุม จะได้ประมาณ 32,000 ต้น ผลผลิตเฉลี่ย 250 กิโลกรัม ต่อไร่ ในระยะแรกควรให้น้ำ 7 วันครั้ง หลังจากนั้น 10-15 วันครั้ง แต่ระยะ 30-60 วัน หลังถั่วลิสงงอกต้นแล้วอย่าให้ขาดน้ำ เพราะเป็นระยะที่ถั่วออกดอก ลงเข็ม สร้างฝัก และติดเมล็ด การให้น้ำทีละน้อยแต่บ่อยครั้งจะดีมาก
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFast98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย หวยรัฐบาล ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย    
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
ตูมกาขาว
ชื่อเครื่องยา : ตูมกา
ชื่ออื่น ๆ ของเครื่องยา : โกฐกะกลิ้ง ขี้กา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะติ่ง มะติ่งต้น มะติ่งหมาก (ภาคเหนือ), ตูมกาขาว (ภาคกลาง), มะตึ่ง (คนเมือง), อีโท่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), กล้อวูแซ กล้ออึ กล๊ะอึ้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะปินป่า (ปะหล่อง), ปลูเวียต (เขมร), แสงเบื่อ, แสลงใจ, ตากาต้น, ตึ่ง, ตึ่งต้น เป็นต้น
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา : แสลงใจ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strychnos nux-blanda A.W. Hill จัดอยู่ในวงศ์กันเกรา (LOGANIACEAE หรือ STRYCHNACEAE)
Tumblr media
ลักษณะของตูมกาขาว
           ต้นตูมกาขาว จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ มีความสูงของต้นได้ถึง 15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีเหลือง ไม่มีช่องอากาศ เกลี้ยง และไม่มีมือจีบ ตามง่ามใบบางครั้งมีหนาม มักพบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง และป่าหญ้าที่ค่อนข้างแห้ง ส่วนในต่างประเทศพบได้ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ใบตูมกาขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรี รูปค่อนข่างกว้างหรือกลม ปลายใบมนหรือเรียวแหลม ปลายสุกมักมีติ่งแหลม โคนใบแหลม หรือกลม หรือเว้าเป็นรูปหัวใจเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร ผิวใบมันเรียบเป็นสีเขียวเข้ม มีเส้นใบตามยาวคมชัดประมาณ 3-5 เส้น เส้นกลางใบด้านบนแบนหรือเป็นร่องตื้น ๆ ส่วนด้านล่างนูนเกลี้ยงหรือมีขนประปรายตามเส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ 5-17 มิลลิเมตร
Tumblr media
           ดอกตูมกาขาว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบแบบกระจุกแยกแ��นง โดยจะออกบริเวณยอดหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมสีเขียวถึงขาว ก้านดอกยาวไมเกิน 2.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่แคบถึงรูปใบหอก ยาวประมาณ 1.5-2.2 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนถึงเกลี้ยง ส่วนด้านในเกลี้ยง ส่วนกลีบดอกเป็นสีเขียวถึงขาว ยาวประมาณ 9.4-13.6 มิลลิเมตร โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดจะยาวกว่าแฉก 3 เท่า ด้านนอกเกลี้ยง หรือมีตุ่มเล็ก ๆ ด้านใน บริเวณด้านล่างของหลอดมีขนแบบขนแกะ แฉกมีตุ่มหนาแน่น หนาที่ปลายแฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ไม่มีก้าน ติดกันอยู่ภายในหลอดดอก ส่วนอับเรณูเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร เกลี้ยง ปลายมนหรือมีติ่งแหลม ส่วนเกสรเพศเมียยาวประมาณ 8-13 มิลลิเมตร เกลี้ยง ��อดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม
Tumblr media
           ผลตูมกาขาว ผลเป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร เปลือกผลหนาและสาก ผลเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มถึงแดง ไม่แตก ภายในมีเมล็ดประมาณ 4-15 เมล็ด เมล็ดตูมกาขาว เมล็ดมีลักษณะกลมแบนคล้ายกระดุม ยาวประมาณ 1.5-2.2 เซนติเมตร และหนาประมาณ 5-15 มิลลิเมตร ผิวเมล็ดมีขนสีอมเหลือง ตำรายาไทยจะเรียกเมล็ดแก่แห้งว่า "โกฐกะกลิ้ง"
Tumblr media
สรรพคุณ
           ทุกส่วนของต้นมีพิษ เป็นยาอันตรายมาก ทำให้ถึงตาย��ด้ การนำมาทำเป็นยาต้องฆ่าฤทธิ์ ตามกรรมวิธีในหลักเภสัชกรรมไทยเสียก่อน ตำรายาไทย: เรียกเมล็ดแก่แห้งว่า “โกฐกะกลิ้ง” ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ขับน้ำย่อย เมล็ด มีพิษมากต้องระมัดระวังในการใช้ ทางยา เมล็ดมีรสเมาเบื่อขมจัด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต แก้อิดโรย แก้ไข้เจริญอาหาร ขับน้ำย่อย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง บำรุงประสาท หูตาจมูก บำรุงเพศของบุรุษ บำรุงกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้แข็งแรง แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นไส้ แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้ลมคูถทวาร ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน แก้ไตพิการ แก้เส้นตาย แก้เหน็บชา แก้เนื้อชา แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFast98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย เกมยิงปลา ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย  
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
เดื่อหว้า
เดื่อหว้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus auriculata Lour. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรเดื่อหว้า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะเดื่อหว้า (กาญจนบุรี), มะเดื่อชุมพร (ยะลา), เดื่อหลวง (ภาคเหนือ), ไทรโพ (ภาคกลาง), ตะกื้อเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ฮากอบาเต๊าะ (มาเลย์-นราธิวาส) เป็นต้น
           เดื่อหว้า สรรพคุณและประโยชน์ของมัน  เดื่อหว้า ชื่อวิทยาศาสตร์  Ficus auriculata Lour.  จัดอยู่ในวงศ์ขนุน ( MORACEAE ) เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกไปมาก เปลือกต้นนั้นจะเป็นสีเทาปนน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว พบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร และ ต่างประเทศ กระจาย ในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน สิกขิม พม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนไทยเรานั้น สามารถ พบได้ ทุกภาค ยกเว้นทางภาคอีสาน พบได้ในป่า ป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร และ ริมลำน้ำ
Tumblr media
ประวัติเดื่อหว้า
           เดื่อหว้า หรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า จามาน หรือ จามูน ชื่อภาษาอังกฤษคือ จัมโบลาน (Jambolan) มีมากทั้งในอินเดีย พม่า ไทย มาเลเซีย ตลอดจนฟิลิปปินส์ สมัยพุทธกาลเรียกดินแดนแถบประเทศอินเดียว่า ชมพูทวีป ซึ่ง ชมพู หมายถึง ไม้หว้า ชมพูทวีปคือ ดินแดนแห่งไม้หว้า ปีไหนลูกหว้าออกลูกดก แสดงว่าปีนั้นฝนดี ปีไหนลูกหว้าไม่ดก แสดงว่าปีนั้นแล้ง คนอินเดียจึงใช้ “ต้นหว้า” ในการพยากรณ์ฝนฟ้าเรื่องการเพาะปลูกมาแต่ครั้งพุทธกาล
Tumblr media
ลักษณะของเดื่อหว้า
           ต้นเดื่อหว้า จัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร หรืออาจสูงได้ถึง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ลำต้นเห็นแผลของก้านใบที่ร่วงชัดเจน พบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ในต่างประเทศพบกระจายพันธุ์ในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน สิกขิม พม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพ��ชา เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธารหรือริมลำน้ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 0-1,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
Tumblr media
           ใบเดื่อหว้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นกระจุกที่ปลายยอด ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือหยักเป็นฟันเลื่อยห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 12-18 เซนติเมตร และยาวประมาณ 18-25 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เนื้อใบเหนียวหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง ดอกเดื่อหว้า ออกดอกเป็นช่อ เกิดภายในฐานรองดอกที่รูปร่างคล้ายผล ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ออกที่ลำต้น
Tumblr media
           ผลเดื่อหว้า ผลเป็นผลสด เกิดเป็นกระจุกตามลำต้นหรือกิ่งขนาดใหญ่ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบนและมีกลีบเลี้ยงสีน้ำตาลติดอยู่ ผิวผลเกลี้ยงหรืออาจมีขนสั้นนุ่มขึ้นปกคลุม มักมีสันตามยาวและมีรอยแผลใบประดับข้าง ผลมีขนาดตามขวางตอนสดประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแกมแดง ก้านผลยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร
Tumblr media
สรรพคุณของเดื่อหว้า
           ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ผลเดื่อหว้าประมาณครึ่งผล นำมากินเป็นยาแก้ท้องเสีย (ผล) เปลือกต้นหรือรากเดื่อหว้า ใช้ผสมกับรากเจตพังคี รากเจตมูลเพลิงแดง รากละหุ่งแดง รากมหาก่าน รากหิ่งเม่น รากหิงหายผี ต้นพิศนาด หัวกระชาย เหง้าว่านน้ำ ผลยี่หร่า เมล็ดพริกไทย เมล็ดเทียนดำหลวง วุ้นว่านหางจระเข้ และเทียนทั้งห้า อย่างละเท่ากัน แล้วนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำมะนาวและเกลือเล็กน้อย ใช้กินกับน้ำมะนาวเป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (เปลือกต้น, ราก)
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFast98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย สล็อตjoker ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย      
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
ตาเป็ดตาไก่
ชื่อสามัญ Christmas berry, Australian holly, Coral ardisia, Coral bush, Coralberry, Coralberry tree, Hen's-eyes, Hilo Holly, Spiceberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia crenata Sims
จัดอยู่ในวงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)
           สมุนไพรตาเป็ดตาไก่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้างปลาดง ตับปลา ลังกาสา (เชียงใหม่), จ้ำเครือ (ลำปาง), ลังกาสาขาว (ตราด), ตีนจำโคก (เลย), ประดงนกกด (สุราษฎร์ธานี), ตาเป็ดหิน (ชุมพร), มาตาอาแย (มลายู-ยะลา), ตาไก่ใบกว้าง (ทั่วไป), มหาเฮง (ชื่อทางการค้า), ตีนเป็ด, ตาเป็ดเขา, ตุ้มลงเดี๋ยง เป็นต้น
Tumblr media
ลักษณะของตาเป็ดตาไก่
           ต้นตาเป็ดตาไก่ จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร พบขึ้นตามพื้นที่ป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของประเทศ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำดี ใบตาเป็ดตาไก่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบหยักมนและมีต่อม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบเป็นสีเขียวสด เมื่อใบดกจะเป็นพุ่มน่าชมยิ่งนัก
Tumblr media
           ดอกตาเป็ดตาไก่ ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม โดยจะออกที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันเป็นรูประฆัง ดอกเป็นสีชมพูแกมขาว หรือสีม่วงแกมชมพู ผิวมีต่อมกระจาย ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 4-5 อัน ติดที่หลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลตาเป็ดตาไก่ ผลเป็นผลสด ผลมีลักษณะกลม เมื่อสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวแข็ง
Tumblr media
ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
           ในต่างประเทศพบว่าเป็นพืชพื้นเมืองของออสเตรเลีย ป่าฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะนิวเซาท์เวล และฮาวาย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม ในประเทศไทยพบทั่วไปในป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง การกระจายพันธุ์  กระจายพันธุ์เข้าไปในอเมริกาทางด้านทิศใต้  แถวฟลอริดา
Tumblr media
การติดตาเขียว 
           เป็นวิธีการขยายพันธุ์ยางโดยการติดตาอย่างหนึ่ง ที่มีวิธีการและเทคนิคที่ดีกว่าการติดตาแบบสีน้ำตาล (Brown Budding) สามารถทำได้รวดเร็ว ให้ผลสำเร็จสูงกว่า เพราะมีข้อดีอยู่หลายประการ คือ ทำการติดตาได้ง่าย รวดเร็ว และสะดวกให้ผลผลิตสูงถึง 90-95% เสียค่าใช้จ่ายหรือลงทุนน้อยกว่า กิ่งตาเขียวที่ได้จากต้นกิ่งตา สามารถผลิตได้รวดเร็ว และได้จำนวนมากกว่า การผลิกิ่งตาแบบสีน้ำตาลได้รับผลตอบแทนจากต้นยางได้เร็วกว่า ทั้งนี้ เพราะว่าการติดตาเขียวนั้น ต้นตอที่ใช้ติดตามีอายุประมาณ 4 ? - 5เดือน อย่างสูงไม่เกิน 8 เดือน ส่วนการติดตาสีน้ำตาลต้องใช้ต้นตอที่มีอายุประมาณ 1 – 1 ? ปี
Tumblr media
วิธีการติดตา
           การเตรียมตนตอ (Stock preparation) ใช้เศษผ้าทำความสะอาดบริเวณโคนต้นตอก่อนที่จะเปิดรอยแผลบนต้นตอ ใช้ปลายมีดกรีดเปลือกของต้นตอพอถึงเนื้อไม้ ในแนวดิ่ง 2 รอย มีความยาวประมาณ 5 ซ.ม. ห่างกันประมาณ 1 ซ.ม. แล้วใช้ปลายมีดกรีดตัดในแนวขวาง เพื่อเชื่อมปลายของรอยกรีดทั้งสองข้าง ใช้ส่วนที่เป็นด้ามงาของอีกทางหนึ่ง แงะเปลือกออกเล็กน้อยแล้วใช้มือทั้งสองค่อยๆ ดึงเปลือกออก ใช้ปลายมีดตัดเปลือกออกให้เหลือเป็นลิ้นยาวประมาณ 1 ซ.ม. เพื่อใช้เป็นที่สำหรับสอดและบังคับแผ่นตาให้อยู่บนรอยของต้นตอ เพื่อสะดวกแก่การติดตา ลิ้นควรอยู่ข้างล่างรอยแผลซึ่งเป็นส่วนโค้งของต้นตอ การเปิดรอยแผลบนต้นตอ ควรให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติการติดตาไว้สะดวก
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFast98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย สล็อตpgแตกง่าย ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย        
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
ขนุน
ขนุน ชื่อสามัญ Jackfruit, Jakfruit
ขนุน ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
ผลไม้ขนุน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขะนู (จันทบุรี), นะยวยซะ (กาญจนบุรี), เนน (นครราชสีมา), ซีคึย ปะหน่อย หมากกลาง(แม่ฮ่องสอน), นากอ (ปัตตานี), มะหนุน (ภาคเหนือ ภาคใต้), ลาน ล้าง (ภาคเหนือ), หมักหมี้ (ตะวันอองเฉียงเหนือ) และชื่ออื่น ๆ เช่น ขะเนอ, ขนู,นากอ, มะยวยซะ, Jack Fruit Tree เป็นต้น
Tumblr media
ลักษณะของขนุน
           ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-30 เมตร กิ่งและลำต้นเมื่อมีแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมา ลักษณะของใบขนุน เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปรี ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ใบหนา ผิวด้านบนของใบจะมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างจะสากมือ ใบขนุนกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ดอกขนุน ออกเป็นช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียว อัดกันแน่นและอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งเราจะเรียกว่า "ส่า" ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และลำต้น เมื่อติดผลดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกจะกลายเป็น 1 ยวง
Tumblr media
           ผลขนุน หรือ ลูกขนุน ลักษณะภายนอกจะคล้าย ๆ จำปาดะ (ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกัน) โดยลักษณะของลูกขนุน ในผลดิบเปลือกมีสีขาว หนามทู่ ถ้ากรีดจะมียางเหนียว ถ้าแก่เปลือกจะมีสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองและหนามจะป้านขึ้นด้วย ภายในผลของขนุนจะมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดจะอยู่ในยวง โดยดอกขนุนจะออกดอกปีละ 2 ครั้ง คือในช่วงเมษายน-พฤษภาคม และในช่วงธันวาคม-มกราคม
Tumblr media
           พันธุ์ขนุน มีอยู่หลายสายพันธุ์ ซึ่งสีของเนื้อก็แตกต่างกันออกไปด้วยตามแต่ละสายพันธุ์ ขนุนบางสายพันธุ์มีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่บางพันธุ์มีรสจืดไม่นิยมนำมารับประทาน โดยสายพันธุ์ขนุนที่นิยมปลูกในประเทศไทยก็ได้แก่ พันธุ์ตาบ๊วย (ผลใหญ่ เนื้อหนา สีจำปาออกเหลือง), พันธุ์ทองสุดใจ (ผลใหญ่ยาว เนื้อเหลือง), พันธุ์ฟ้าถล่ม (ผลค่อนข้างกลมและใหญ่มาก มีเนื้อสีเหลืองทอง), พันธุ์จำปากรอบ (ผลขนาดกลาง รสหวานอมเปรี้ยว เนื้อสีเหลือง) เป็นต้น
Tumblr media
ประโยชน์และสรรพคุณขนุน
           ขนุนจัดเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการรับประทานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้มาก โดยเนื้อขนุนสุกมีรสหวานหอมสามารถใช้รับประทานเป็นผลไม้หรือนำไปแปรรูปเป็นขนมต่าง ๆ เช่น ใส่ในไอศกรีม ใส่ในรวมมิตร ขนุนอบแห้ง ขนุนทอด ใส่ในลอดช่อง เป็นต้น ส่วนขนุนอ่อนก็มีการนำมาใช้ประกอบอาหารในภาคเหนือ และภาคอีสาน เช่น แกงขนุนใส่ใบชะพลู ซุบหมากมี่ ตำขนุน และยังใช้ลูกขนุนอ่อนขนาดเล็กมากินเป็นผักจิ้มน้ำพริกอีกด้วย
Tumblr media
           นอกจากนี้แก่นไม้ขนุนยังมีการนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าหรือย้อมสบง จีวรของพระภิกษุ โดยจะให้สีกรัก หรือสีน้ำตาลดำอมเหลือง สำหรับสรรพคุณทางยาของขนุนนั้นตามตำรายาแผนโบราณระบุไว้ว่า  ราก รสหวานชุ่มขม บำรุงหิต ระงับประสาท แก้กามโรค ขับพยาธิ  แก้โรคลมชัก  แก่น ช่วยสมานแผล สมานลำไส้ บำรุงโลหิต แก้กามโรค ยาง รสฝาด แก้อักเสบบวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เนื้อหุ้มเมล็ดสุก รสหวานหอม บำรุงกำลัง เป็นยาระบายอ่อนๆ  ชูหัวใจให้สดชื่น เนื้อในเมล็ด รสมัน บำรุงกำลัง บำรุงน้ำนม ฃ ใบ รสฝาด แก้ท้องเสีย แก่ลมชัก ลดน้ำตาลในเลือด ใช้โรยแผลที่มีหนองเรื้อรัง ผลอ่อน แก้อาการท้องเสีย เนื้อสุกเป็นยาระบายอ่อนๆ
Tumblr media
สนับสนุนโดย เว็บFast98 เล่นได้ทันที ไม่ต้องโหลดแอพให้ยุ่งยาก มีเกมและกีฬาให้เลือกอย่างมากมาย พนันบอล ที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในไทย สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย        
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
ไกร
ไกร ชื่อสามัญ Sea Fig, Deciduous Fig
ไกร ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus subpisocarpa Gagnep. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ficus superba var. japonica Miq.), ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า สมุนไพรชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficus superba Miq. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรไกร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ฮ่าง (ลำปาง), โพไทร (นครราชสีมา), เลียบ ไกร (กรุงเทพฯ), ไทรเลียบ (ประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น
Tumblr media
ลักษณะของไกร
           ต้นไกร จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 8-10 เมตร ทรงพุ่มเป็นรูปไข่ มียางสีขาว เปลือกต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีเทา ทุก ๆ ส่วนเกลี้ยงยกเว้นหูใบ มีรากอากาศรัดพันเล็กน้อย พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในจีน ญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง มีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยจะขึ้นอยู่บนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงที่ความสูงประมาณ 150 เมตร
Tumblr media
           ใบไกร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี แกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมเป็นติ่งหรือ���รียวแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวเข้มและเป็นมัน เส้นแขนงใบมีข้างละ 6-8 เส้น ปลายโค้งจรดกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบเล็ก ยาวได้ประมาณ 8-14 เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีแดง หูใบมี 2 อัน ประกบกันหุ้มยอดอ่อน ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ยาวได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีขนสั้น ๆ สีเหลืองอ่อน ร่วงได้ง่าย ออกเป็นคู่ตรงง่ามใบ หรือที่ตำแหน่งง่ามใบซึ่งใบร่วงไปแล้ว เมื่อยังอ่อนจะมีขนอ่อน ๆ สั้น ๆ เมื่อแก่แล้วจะเกลี้ยง มีใบประดับซึ่งร่วงง่าย 3 ใบ
Tumblr media
           ดอกไกร ดอกเป็นสีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อรูปร่างคล้ายผล คือ มีแกนกลาง ช่อดอกเจริญแผ่ขยายใหญ่เป็นกระเปาะ มีรูเปิดที่ปลายโอบดอกไว้ ดอกนั้นมีขนาดเล็กเป็นแบบแยกเพศในกระเปาะ โดยดอกเพศผู้จะมีจำนวนน้อยมาก อยู่ใกล้ ๆ กับรูเปิดของช่อดอก ก้านดอกมีขนาดเล็ก กลีบรวมมี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ สั้นกว่าเกสรเพศผู้ ก้านเกสรเพศผู้หนา ส่วนดอกเพศเมียจะมีอยู่จำนวนมาก มีกลีบรวมสั้น ๆ อยู่ 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ เกสรเพศเมียยาว จะอยู่ทางด้านข้างของรังไข่ ดอกจะออกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน
Tumblr media
           ผลไกร ผลเป็นผลสดแบบมะเดื่อ สีขาวอมชมพู ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแกมรูปไข่กลับ กลมแป้น หรือเป็นรูปหัวใจกลับ ออกเป็นคู่ที่กิ่งเหนือรอยแผลของใบ ผลมีขนาดประมาณ 1.8-2.5 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียว มีจุดสีครีมกระจายอยู่ทั่วผล เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมชมพูมีจุดสีน้ำตาล ที่ปลายมีวงแหวน นูนมีรอยบุ๋ม ภายในมีเมล็ดทรงกลมสีดำอยู่เป็นจำนวนมาก ก้านผลยาวประมาณ 0.7-1.5 เซนติเมตร จะออกผลในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน
Tumblr media
ประโยชน์ของไกร
           ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน ในประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ.1981 ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากต้นไกรในสัตว์ทดลอง ผลการทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ใบใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคัน เข้ายาทาฝี แก้ริดสีดวง แก้เมื่อยขบ (ใบ) รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคทางปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้ตับพิการ และเป็นยาระบาย (ราก) เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง (เปลือกต้น) เนื้อไม้ใช้เป็นยาสมานและคุมธาตุ (เนื้อไม้) ผลสุกใช้รับประทานได้ และเป็นอาหารของนกและสัตว์ต่าง ๆ ใบอ่อนสามารถนำมารับประทานเป็นผักได้ ใช้ปลูกเป็นไม้แคระประดับ
Tumblr media
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
กะทกรก
กะทกรก ชื่อสามัญ Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passion flower
กะทกรก ชื่อวิทยาศาสตร์ Passiflora foetida L. จัดอยู่ในวงศ์กะทกรก (PASSIFLลักษณะของกะทกรก
Tumblr media
ลักษณะทั่วไป
           ต้นกะทกรก จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบ ใบกะทกรก มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัว ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้าน และที่ขนมีน้ำยางเหนียว
Tumblr media
           ดอกกะทกรก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกมีกลีบดอก 10 กลีบ กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนกลีบด้านในเป็นสีขาว มีกระบังรอบเป็นเส้นฝอยมีสีขาวโคนม่วง ส่วนกลีบเลี้ยงของดอกเป็นเส้นฝอย ดอกมีก้านชูเกสรร่วม แยกเป็นเกสรตัวผู้ประมาณ 5-8 ก้าน ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีประมาณ 3-4 ก้าน รังไข่เกลี้ยง ผลกะทกรก หรือ ลูกกะทกรก ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมสีส้ม และมีใบประดับเส้นฝอยคลุมอยู่ ภายในผลมีเนื้อหุ้มเมล็ดใสและฉ่ำน้ำ (คล้ายกับเมล็ดแมงลักแช่น้ำ) มีรสหวานแบบปะแล่ม ๆ และจะออกดอกออกผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน
Tumblr media
คุณสมบัติและการออกฤทธิ์
           ในแพทย์พื้นบ้าน เวียดนาม ใช้ใบกะทกรก เป็นยาสงบระงับ จ่ายในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลและเครียด โดยใช้ใบแห้ง 10-15 กรัมต่อวัน นำมาต้ม นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ในรูปแบบชาชง สารสกัดเหลว หรือไซรับ และส่วนรากซึ่งใช้แก้ความดันโลหิตสูง สรรพคุณทางยาพื้นบ้าน ไทย ใช้เถาและรากสด ต้มเป็นยาแก้ปัสสาวะขุ่นข้น สำหรับการวิจัย ค้นพบว่า ใบอ่อนและผลอ่อนสีเขียวซึ่งเป็นผลที่ยังไม่สุก มีสารประกอบไซยาไนด์คือ ไซยาโนจีนิก ไกลโคไซด์ อีกรายงานพบว่าใบมีกรดไฮโดรไซยานิก ความร้อนที่นานพอ จึงจะมีผลทำลายสารประกอบไซยาไนด์ดังกล่าว ในงานวิจัยของคณาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ ใช้ส่วนลำต้นและใบ นำมาประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีโดยอ้างอิงวิธีการตามเภสัชตำรับสมุนไพรไทย นำมาสกัดด้วยวิธีการสกัดต่อเนื่องโดย เครื่องสกัดต่อเนื่อง ด้วยเอธาทอล 95% ได้ปริมาณสารสกัดเท่ากับ 23.37% โดยน้ำหนัก สารสกัดที่ได้เป็นของเหลวข้นหนืด สีน้ำตาล มีกลิ่นเฉพาะตัว
Tumblr media
           ในการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดกระทกรกต่อการทำงานของระบบประสาทในสัตว์ทดลองนั้นใช้หนูตัวผู้พันธุ์วิสตาร์น้ำหนักอยู่ในช่วง 180-220 กรัม ให้สารสกัดทางปาก เป็นเวลา 28 วัน พบว่าสารสกัดกระทกรกมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอย่างกว้างขวางสามารถระงับความวิตกกังวล ลดอาการซึมเศร้า ลดอาการความจำบกพร่องและเพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ทำให้สงบระงับได้ จะเห็นว่าฤทธิ์สารสกัดกระทกรกต่อระบบประสาทส่วนกลางที่พบในครั้งนี้ค่อนข้างครอบคลุมอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่พบมากในผู้สูงอายุ การพัฒนาสารสกัดกะทกรกด้วยเอทานอลในรูปแบบของยาเม็ดขนาด 125 มิลลิกรัมต่อเม็ด ได้ยาเม็ดที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของการผลิตยาจากสมุนไพร และสารสำคัญยังมีความคงตัวอยู่ภายหลังการผลิต การผลิตใช้กรรมวิธีการทำแกรนูลเปียก ยาเม็ดที่พัฒนาได้ ประกอบด้วยสารสกัดกะทกรก 25.28 % corn starch 55.62 %, microcrystalline cellulose 8.10 %, pregelatinized starch 8.10 %, และสารอื่น
Tumblr media
ประโยชน์ของกะทกรก
           ยอดอ่อน ผลอ่อน ผลสุก ผลแก่ รวมทั้งรกหุ้ม สามารถใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และแกงเลียง ผลสามารถนำมาปั่นเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มได้ ในด้านทางการเกษตร เนื่องจากต้นกะทกรกมีสารพิษชื่อว่า Cyanpgenetic glycosides ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นยาฆ่าและป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ โดยเฉพาะตัวด้วงถั่วเขียว ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะไปยับยั้งการเกิดเป็นตัว ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมักได้ เนื่องจากต้นกะทกรกมีกลิ่นเหม็นเขียว จึงช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เข้ามาทำลายได้
Tumblr media
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา Bulbophyllum
Tumblr media
กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาเป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ พบตามธรรมชาติประมาณ 1,000 ชนิด มากเป็นอันดับสองรองจากกล้วยไม้สกุลหวาย พบกระจายพันธุ์แถบทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเชีย แถบแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่แกะแปซิฟิก และบางส่วนกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา สำหรับประเทศไทยพบกระจัดกระจายตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศประมาณ 140 ชนิด และแต่ละชนิดมักใช้คำว่า “สิงโต” นำหน้า
Tumblr media
            กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าสกุล “บัลโบฟิลลัม” (Bulbophyllum) ซึ่งมาจากรากศัพท์ในภาษากรีซคือ bulbos แปลว่า “หัว” กับ phyllon แปลว่า “ใบ” หมาถึงลักษณะที่ก้านใบพองคล้ายหัว สำหรับในภาษาไทยที่เรียกกันว่า “สิงโตกลอกตา” นั้น เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตได้ทรงเรียบเรียงไว้ในหนังสือ “ตำราเล่นกล้วยไม้” เมื่อปี พ.ศ.2459 เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของกล้วยไม้สกุลเซอร์โรเพตาลัม (Cirrhopetalum) ซึ่งเป็นสกุลที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสกุลบัลโบฟิลลัมมาก และในปัจจุบันนี้นักพฤกษศาสตร์ได้จัดรวมไว้ในสกุลบัลโบฟิลลัม
Tumblr media
ลักษณทั่วไป
           ช่อดอก ออกที่โคนลำลูกกล้วย หนึ่งลำมีทั้งดอกเดี่ยวและหลายๆดอกในช่อเดียวกัน มีทั้งช่อดอกสั้นและยาว ในประเทศไทยช่อดอกที่มี 4-8 ช่อ พบได้เพียงชนิดเดียวคือ สิงโตทองผาภูมิ ลักษณะของช่อดอกนั้นมีหลายแบบดังนี้            ช่อดอกแบบซี่ร่ม (umbel) พบได้บ่อยอยู่ในกลุ่มสิงโตพัดหรือสิงโตร่ม มีลักษณะคือก้านของช่อดอกเรียวยาวและตรง ออกจากโคนลำลูกกล้วย ปลายช่อมีก้านดอกยื่นออกจากจุดเดียวกันตามจำนวนของดอกปลายก้านมีดอกย่อยเรียงแผ่เป็นรัศมีคล้ายกับซี่ของร่มที่กาง
Tumblr media
           ช่อดอกแบบกระจะ(raceme) พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของสิงโตรวงข้าว ช่อดอกมักจะมีสองส่วน คือ ก้านช่อดอกและแกนช่อดอก ก้านช่อดอกจะติดกับโคนของลำลูกกล้วยชูตั้งหรือห้อยลง ก้านดอกจะสั้นหรือยาวแตกต่างกัน แกนช่อดอกที่ทีดอกติดอยู่จะยาวตรงออกจากแนวของก้านช่อดอกหรือห้อยลงจากก้านช่อดอก เช่นกลุ่มสิงโตใบพาย
ใบกล้วยไม้สิงโต            โดยทั่วไป กล้วยไม้สิงโตจะมีใบโผล่ออกมาจากปลายของลำลูกกล้วย ประมาณ 1 หรือ 2 ใบเท่านั้น ส่วนมากมีแค่ใบเดียว กล้วยไม้สิงโตบางชนิด มีหัวเล็กมาก จนแทบเป็นปม ใบอวบน้ำ หนา แข็ง เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว กล้วยไม้สิงโตจะทิ้งใบ เหลือลำลูกกล้วยไว้สะสมอาหาร ลูกกล้วยรูปกลมมักเล็กขนาดผลพุทรา
Tumblr media
            บางชนิดเขื่องกว่านั้น แลบางชนิดใบยาวตั้งคืบก็ได้ มีใบลูกกล้วยละ 1 ใบสีเขียวแก่ด้านๆ ดอกลำพังตัวกลีบนอกสองข้างนั้นใหญ่ยาวเกินส่วน รวบปลายแหลมแลพับเบื้องโคนกลีบทบไปข้างหน้า ปลายกลีบซ้อนกันฤๅมาประสานติดกัน ทำนองห่มสไบคล้องคอ ปากเล็กเกือบแลไม่เห็น แลรังเกสรกระดิกได้เป็นดอกไม้ไหว ซึ่งเป็นเหตุให้เรียกกันในนี้ว่า “สิงโตกลอกตา”
           กล้วยไม้สิงโตกลอกตาเป็นกล้วยไม้ที่มีการเติบโตแบบ Sympodial เช่นเดียวกับ กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา มีเหง้าและลำลูกกล้วย ซึ่งต่างกันแล้วแต่ชนิด มีทั้งชนิดที่มีลำลูกกล้วยขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ บางชนิดลำลูกกล้วยตั้งตรง บางชนิดนอนราบไปกับเหง้า มีใบที่ปลายลำลูกกล้วยหนึ่งหรือสองใบแล้วแต่ชนิด
Tumblr media
            มีตั้งแต่ใบเล็กมากจนถึงใบค่อนข้างใหญ่ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ ก้านช่อดอกเกิดที่ฐานของลำลูกกล้วย บางชนิดเกิดที่ข้อของเหง้า ดอกมีตั้งแต่ขนาดเล็กมากจนถึงค่อนข้างใหญ่ ลักษณะดอกและสีสันสวยงามแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
สโนว์ดรอป
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dieffenbachia camilla วงศ์ : ARACEAE
Tumblr media
ลักษณะทั่ว
           สโนว์ดรอปเป็นดอกไม้ดอกแรก ๆ ที่ขึ้นให้เห็นในช่วงต่อของปลายฤดูหนาว เริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ อากาศยังหนาวเย็นและบางครั้งยังมีหิมะอยู่ประปราย เป็นพืชที่ปลูกโดยใช้หัว ลักษณะคลุมดิน ใบเรียวแหลม ความสูง 3-6 นิ้ว ดอกขนาด 1 นิ้ว กลีบสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของความไร้เดียงสา ความบริสุทธิ์ และความหวัง เนื่องจากอากาศกำลังจะเริ่มอบอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ ดอกสโนว์ดรอปมีลักษณะห้อยหัวลงมาจากก้าน คล้ายกับพร้อมที่จะหยดลงมาที่พื้นดิน เมื่อดอกบาน จึงเปิดออกให้เห็นว่ามีสามกลีบนอกและสามกลีบใน ดอกเล็ก ๆ น่าเอ็นดู เป็นสัญญานว่าฤดูใบไม้ผลิกำลังจะมาถึงแล้ว ผู้ที่อยู่เมืองหนาวจะเข้าใจดีว่าเป็นความรู้สึกสดชื่น และมีความสุขที่จะได้สัมผัสอากาศอบอุ่นในไม่ช้า
Tumblr media
           นิทานพื้นบ้านของเยอรมันเล่าว่า ในช่วงเริ่มต้นของโลก ดอกไม้ต้นไม้ต่างเลือกสีสรรค์ของตัวเอง ทุกดอกต่างก็ต้องการสีที่สดใส ไม่มีใครต้องการสีขาวของหิมะ เพราะหิมะและน้ำแข็งหมายถึงฤดูหนาวอันเยือกเย็น สโนว์ดรอปรู้สึกสงสารและเห็นใจหิมะมาก จึงตัดสินใจใช้สีขาวของหิมะเป็นสีของกลีบดอก ตั้งแต่นั้นทั้งสโนว์ดรอปและหิมะก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดมา เพื่อแสดงความขอบคุณสโนว์ดรอป หิมะและความหนาวเย็นจึงปล่อยให้ดอกสโนว์ดรอปบานก่อนดอกไม้อื่นๆในช่วงปลายฤดูหนาว โดยหิมะและน้ำแข็งมักจะมาอยู่ข้างๆ เป็นเพื่อน และช่วยป้องกันสโนว์ดรอปมาจนทุกวันนี้
Tumblr media
           สโนว์ดรอป ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dieffenbachia camilla วงศ์ : ARACEAE ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ เป็นสาวน้อยประแป้งสายพันธุ์หนึ่งที่มีลวดลายของใบที่สวยงามแตกต่างออกไป นิยมใช้ประดับภายในอาคารสำนักงานเพราะใบใหญ่สีสันและลวดลายสวยงามและเป็นพุ่มสวย ใบมีลักษณะเป็นแผ่นกว้าง มีสีเหลืองอ่อนตรงกลาง ขอบใบเป็นสีเขียวเข้ม แต่ถ้าอยู่ในที่ร่มหรือได้รับแสงไม่เพียงพอ ใบจะมีสีซีดลง สโนว์ดรอปนี้ไม่ทนแล้ง แต่สามารถอยู่ในที่กึ่งร่มได้ดี ต้องรดน้ำวันเว้นวัน และหมั่นเช็ดทำความสะอาดใบให้ชุ่มชื้นเป็นเงา เพื่อคุณสมบัติในการคายความชื้นและดูดสารพิษที่ดี ด้วยลักษณะใบที่เป็นแผ่นกว้างของสโนว์ดรอป ทำให้สโนว์ดรอปเป็นไม้ที่มีคุณสมบัติดีเยี่ยมในการขจัดมลพิษ และสิ่งปนเปื้อนจากอากาศภายในอาคารได้เป็นอย่างดี เป็นพืชที่ต้องการแสง ร่มรำไร เติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 16-27 องศาเซลเซียส เป็นต้นไม้ที่ ต้องการความชื้นสูง และ ต้องการน้ำปานกลาง
Tumblr media
การปลูกการดูแล สโนว์ดรอป
         สโนว์ดรอป นิยมขยายพันธุ์โดยการตัดลำต้นชำ คือให้ตัดต่ำกว่ายอดลงมาประมาณ 1 ฟุต เป็นไม้ประดับที่ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง และอย่ารดน้ำมากเกินไปจนทำให้แฉะ เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา และเนื่องจากเป็นไม้ประดับที่โตเร็ว ทำให้เสียรูปทรงได้ง่าย จึงควรตัดที่โคนต้นเพื่อให้แตก และงอกใหม่ ส่วนต้นที่ตัดออกก็สามารถนำไปปักชำได้อีก ในการเตรียมดินสำหรับปลูก ให้ใช้ดินร่วน 1 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ผสมให้เข้ากันรองหลุมปลูกหรือรองกระถางปลูก
Tumblr media
อาการพิษ
           ผลึกแคลเซียมออกซาเลทที่เป็นผลึกรูปเข็มนี้จะทิ่มแทงผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปากและลำคอ เมื่อรับประทานต้นสาวน้อยประแป้งเข้าไปจะรู้สึกเจ็บปวด ร้อนที่ลิ้นและในเยื่อบุช่องปาก การสัมผัสน้ำยางทำให้เกิดอาการบวมแดงได้ และนอกจากนี้ยังมีสารจำพวกโปรตีน (protoanemomine) และเอนไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีน (dumbbain) ทำให้ปาก ลิ้นและคอบวมพองเป็นตุ่มใส อีกทั้งยังทำให้กลืนลำบากอีกด้วย แล้วยังอาจทำให้การพูดผิดไปได้
           แม้ว่าอาการพิษที่เกิดจากต้นสาวน้อยประแป้งจะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ต้นสาวน้อยประแป้งจัดเป็นพืชที่หาง่ายและขึ้นอยู่ทั่วไป โอกาสที่จะเกิดการสัมผัสยางหรือรับประทานพืชต้นนี้เข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเกิดขึ้นได้ จึงควรที่จะระมัดระวัง
Tumblr media
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
เยอบีร่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gerbera jamesonii วงศ์ : Compositae ชื่อสามัญ : Gerbera ชื่ออื่น ๆ : Barberto Daisy, Transvaal Daisy, เยอบีร่า
ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
           เยอบีร่า เป็นไม้ดอกที่สวยงามขนิดหนึ่งเป็นที่รู้จักและ ปลูกกันแพร่หลายในประเทศไทยมานานหลายสิบปีแล้ว มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ ในแต่ละวันจะมีเยอบีร่าส่งขายที่ปากคลองตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลและวันสำคัญต่าง ๆ ประเทศไทยนั้น ถือว่ามีสภาพธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการปลูกเยอบีร่าเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นดิน ฟ้า อากาศ น้ำ และดิน ทำให้สามารถปลูกเยอบีร่าได้ตลอดทั้งปี
Tumblr media
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           เยอบีร่าเป็นพวกที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน จะมองไม่เห็นลำต้นชัดเจน มีอายุนานกว่าหนึ่งปี ขึ้นเป็นกอ ใบงอกจากตาใต้ดินมีสีเขียวแก่ ใบปรกเป็นพุ่ม ขอบใบเป็นแฉก แต่ละแฉกหยักลึกไม่เท่ากัน บางแฉกแคบและตื้น แผ่นใบไม่คลี่กางเต็มที่ ขอบใบทั้งสองข้างมักจะหุบเข้าหาเส้นกลางใบเล็กน้อย ทำให้ใบมีลักษณะเป็นรูปตัววีตื้น ๆ หรือลักษณะคล้ายร่องน้ำ ใต้ใบและก้านใบมีขนบาง ๆ อยู่ทั่วไป ช่อดอกมีลักษณะเป็น head ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆเป็นจำนวนมากอัดกันแน่น อยู่บนฐานรองดอก ดอกมีหลายสี เช่น ขาว เหลือง ชมพู ส้ม และแดง
Tumblr media
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
           เพราะเป็นไม้ดอกในตระกูลเดียวกันกับทานตะวันและเดซี่ ดอกเยอบีร่าจึงมีคุณสมบัติที่คล้ายกัน คือมักจะหันหน้าตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์อยู่เสมอ นอกจากนั้น ดอกเยอบีร่ายังเป็นที่มาของพวงมาลัย 7 สี 7 ศอกของไทย เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีสีสันหลากหลาย จึงมีการนำเอาดอกเยอบีร่าแต่ละสีมาร้อยสลับกับดอกรักหรือดอกพุดให้ครบทั้ง 7 สี และมีความยาว 7 ศอก เพื่อ���ำไปใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ในปัจจุบันมักเปลี่ยนมาใช้ดอกไม้พลาสติกแทนเยอบีร่า เนื่องจากดอกเยอบีร่าของจริงมีราคาสูงและหายากขึ้น
Tumblr media
ที่มาของดอกเยอบีร่า
           ดอกเยอบีร่า หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Gerbera jamesonii เป็นดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกาใต้ค่ะ แต่บางที่ก็บอกว่าสามารถเจอได้ในเอเชีย อเมริกาใต้ และแทสมาเนียเช่นกัน โดยดอกเยอบีร่าตั้งตามชื่อของ ดร.Traugott Gerber ผู้ที่เป็นคนค้นพบดอกไม้ชนิดนี้ในปี ค.ศ.1737 ก่อนจะเริ่มเป็นที่รู้จักในยุโรปปี ค.ศ.1887 ก่อนจะกระจายไปทั่วโลกจนเป็นดอกไม้สุดฮิตที่ทุกคนรู้จักอย่างในปัจจุบัน
Tumblr media
การดูแลรักษา            การให้น้ำ: ควรให้น้ำในปริมาณน้อย 2 วันต่อครั้ง ซึ่งสังเกตจากความชื้นในวัสดุปลูก โดยในช่วงแรกที่เริ่มเกิดดอกสามารถให้น้ำโดนดอกได้ แต่เมื่อดอกเริ่มบานการให้น้ำไม่ควรให้น้ำโดนดอก เพื่อลดความเสียหายจากเชื้อราที่อาจเกิดขึ้นกับดอกได้
การให้ปุ๋ย            ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น: ภายหลังจากการย้ายต้นกล้าลงกระถางปลูกได้ 1 สัปดาห์ ควรให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 + ปุ๋ยอินทรีย์ที่เร่งการเจริญเติบโตทางลำต้น (หากผสมในดินปลูกแล้ว ควรให้เฉพาะปุ๋ยเคมีอย่างเดียว)  โดยอัตราของปุ๋ยเคมีเท่ากับ 1/2 ช้อนชาต่อกระถาง และมีการให้ปุ๋ยทางใบ เพื่อบำรุงต้น 2 สัปดาห์ต่อครั้ง จำนวน 2 ครั้ง หรือจนกระทั่งดอกแรกโผล่ให้เห็น ระยะการให้ดอก:  ภายหลังการย้ายปลูกต้นเยอบีร่าลงกระถางได้ประมาณ 4-5 สัปดาห์ หรือ 9-13 สัปดาห์  หลังย้ายต้นออกจากขวด ต้นเยอบีร่าจะเริ่มโผล่ดอกแรกให้เห็น ทั้งนี้ระยะเวลาการให้ดอกขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และการดูแลรักษา  จากนั้นจึงให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 + ปุ๋ยออสโมโคท สูตร 16-16-16 อัตรา 1/2 ช้อนชาต่อกระถาง (สามารถให้ปุ๋ยอินทรีย์เร่งการให้ผลผลิตเพิ่มเติมได้) และให้ปุ๋ยทางใบบำรุงดอกอีก 1 ครั้ง
Tumblr media
           การตัดแต่งใบ: ทำการตัดแต่งใบเยอบีร่ากระถางภายหลังจากย้ายต้นกล้าลงปลูกในกระถาง และหลังจากนั้นทุก ๆ  2 สัปดาห์ โดยดึงใบที่มีขนาดแผ่นใบหรือก้านใบเล็ก ใบแก่ ต้นที่มีใบปริมาณมากเกิน ซึ่งบังแสงแดดกัน รวมทั้งใบที่ผิดปกติออก โดยให้ใบที่เหลือมีขนาดใหญ่แผ่รับแสงแดดได้เต็มที่ และควรตัดแต่งใบเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่สมดุล  ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกได้เร็วขึ้น และขนาดดอกมีคุณภาพ  การตัดแต่งใบนี้จำเป็นมากโดยเฉพาะพันธุ์ที่มีการแตกใบมาก
Tumblr media
0 notes
themostx5 · 3 years
Text
ทิวลิป
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tulipa hybrids วงศ์: Liliaceae
Tumblr media
ลักษณะทั่วไป
           ชื่อสามัญ : tulip ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tulipa spp.  L. ตระกูล   Liliaceae    ทิวลิป (Tulip) เป็นชื่อสามัญของพันธุ์ไม้หัว   ที่ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ   ถ้าเราจะกล่าวกันถึง ต้นหรือดอก “ทิวลิป” ก็จะเหมือนๆ กับการพูดถึง “กล้วยไม้” หรือ “กุหลาบ” อย่างนั้นเอง เพราะชื่อของทิวลิป กล้วยไม้ และกุหลาบ เป็นคำสามัญนามที่ไม่ได้มีจัดแยกประเภทกันว่า เป็นต้นไม้หรือดอกไม้อย่างไหน พันธุ์ไหน หรือชนิดไหน พันธุ์พืชแต่ละอย่าง หรือแต่ละ
Tumblr media
นามนี้ ต่างก็มีสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่แตกแขนงออกไปเป็นพันธุ์ (Species) เป็นชนิด (Variety) ลักษณะ ทิวลิปเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปใบเล็กเรียวยาว ปลายใบแหลม เส้นแขนงใบจะเป็นแนวขนานไปตามความยาวของใบ   และเรียวลู่ไปรวมกันที่บริเวณปลายใบ ใบแต่ละใบจะออกสลับทิศทางตรงข้ามกัน ต้นหนึ่งๆ   จะออกใบประมาณ 3-4 ใบ  
Tumblr media
           โดยปรกติทิวลิปจะมีขนาดสูงระหว่าง 12-18 นิ้ว ซึ่งก็ต้องแล้วแต่พันธุ์และชนิดของทิวลิปแต่ละอย่าง ดอกของทิวลิปก็เช่นเดียวกัน มีหลายแบบ หลายสี และหลายขนาด แต่โดยปรกติดอกทิวลิปจะเป็นดอกไม้รูปถ้วย ยามบานไม่บานแฉ่ง แต่จะบานเพียงแค่แย้มๆ กลีบออก ให้รู้ว่าเป็นดอกทิวลิปที่บานแล้ว แต่อย่างบายแฉ่งก็มีบ้าง เหมือนกัน เช่น พวกดอกทิวลิปซ้อนหลายๆ ชั้น ปรกติดอกทิวลิปจะมีกลีบดอกซ้อนกันเพียง 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ
Tumblr media
 กลีบดอกของทิวลิปมีสีสันต่าง ๆ มากมายหลายเฉดสี นับตั้งแต่สีแสด แดง ส้ม เหลืองเข้ม เหลือง เหลืองอ่อน ชมพู ขาว และสีสลับลายหลายอย่าง มีทั้งสีเดียวล้วน ๆ และสีผสมในดอกเดียว หรือที่เรียกว่า ”Broken Tulips” เกสรผู้เป็นสีเหลืองอ่อน หรือขาวเป็นแท่งรูปหัวศรมี 6 เส้น เกสรเมียมีขนาดโตกว่าเกสรผู้ อยู่กึ่งกลางเกสรผู้ เป็นลักษณะแท่งรูปสามเหลี่ยมยาว 2 - 2.5 เซนติเมตร ( ซึ่งมีขนาดยาวไล่เลี่ยกับเกสรผู้ ) ปลายเกสรเมียแต่ละเหลี่ยม งอลงเป็นสามแฉก ส่วนที่ปลายเกสรผู้บางพันธุ์อาจจะเป็นติ่งสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำก็มี
Tumblr media
ถิ่นกำเนิด
           ดอกทิวลิปมีถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยพบจากบริเวณอามาเนียจนถึง แถบเทือกเขาเทียนชาน
Tumblr media
การกระจายพันธุ์
           ดอกทิวลิปแพร่กระจายสู่ยุโรป ตะวันตกเป็นครั้งแรก จากประเทศตุรกี และแพร่ไปอีกหลายประเทศในฝั่งยุโรป โดยเฉพาะในแถบตอนบนของประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์
Tumblr media
ฤดู พื้นที่ ดิน ที่เหมาะสม
           ดอกทิวลิป สามารถปลูกได้เฉพาะพื้นที่ ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นเท่านั้น ตามปกติทิวลิปจะเจริญได้ดีใน อุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ย 18-20 องศาเซลเซียส จึงเหมาะที่จะปลูกในฤดูหนาว จากการทดลองปลูกทิวลิปที่ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยผาหม่น อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ในประเทศไทย และเนื่องจากทิวลิปเป็นไม้ดอกขนาดเล็กจึงสามารถปลูกในพื้นที่ลุ่มได้ แต่ในต่างประเทศนิยมปลูกตามภูมิประเทศที่เรียบ
Tumblr media
            ทิวลิปจะถูกนำไปปลูกในดินที่มีลักษณะเหมือนถุงซึ่งบรรจุของข้างในเต็มข้างในนั้นมีทุกสิ่งทุกอย่างที่พืชจะต้องการสำหรับเลี้ยงชีวิตรอดตลอด ฤดูหนาวภายในหน่อนี้มีชั้นที่เป็นเยื่อหนาชุ่มชื้นซ้อนกันอยู่หลายชั้นเหล่านี้จะหุ้มลำต้นแข็งแรงอยู่ ทางพฤกษศาสตร์เรียกรวมว่า บัลบ์ (Bulb.) หรือ “พืชลงหัว” หัวของทิวลิปแท้จริงแล้วก็คือ ลำต้นของพืชที่อยู่ใต้ดิน
Tumblr media
1 note · View note