60thumma-blog
60thumma-blog
ธ.ธรรมะ
43 posts
Don't wanna be here? Send us removal request.
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
สู่แดน พระนิพพาน . " กาย " เป็นที่อยู่ที่อาศัยของ " จิต " มันเป็น " รูปธรรม " เมื่อรูปธรรมมี " นามธรรม " ก็อาศัยอยู่ ความเป็นจริงมัน " กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน " ให้ภาวนาว่า " พุทโธ " ทำ " จิต " ให้อยู่กับ " ลมหายใจ " ให้เอาจิตมารวมอยู่ที่จิต แล้วเอา " จิต " ให้รู้จัก " ลม " ภาวนา พุทโธ, พุทโธ, ปล่อยวางข้างนอก ให้หมด อย่าไปเกาะกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งนั้น ให้ปล่อย ให้เป็น " อันเดียว " รวมจิต ลงที่ " อันเดียว " เมื่อมัน " ไม่ส่งจิต " ไปทางอื่นแล้ว มัน " จะรวม " อยู่ที่นั่น เมื่อพบเช่นนี้ เราก็มี " อันเดียว " เท่านั้น เหลือแต่ " ความรู้ " อันเดียว ให้ " รวมจิต " เข้ามาเป็น " หนึ่ง " นี้คือธุระหน้าที่ของเรา . พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ชาตะ 17 มิถุนายน 2461 มตะ 16 มกราคม พศ. 2535
1 note · View note
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
รู้ทันใจที่อยาก ………………….. “ทำไมจิตใจมันจึงผิดปกติขึ้นมา? เพราะว่ามันมีความอยาก พอมันมีความอยาก มันมีความโลภ อย่างอยากปฏิบัตินี่นะ พอความอยากเกิดขึ้น ก็เกิดการแทรกแซงจิตใจ ฉะนั้น มันผิดตั้งแต่อยากปฏิบัติแล้ว ตรงที่อยากทำกรรมฐานนี่ ผิดตั้งแต่ตรงนี้แล้ว ถ้าหากเราภาวนาเป็นนะ ใจมันอยาก รู้ทันมันเข้าไปเลย รู้เข้าไปตรงๆ พอเรารู้ทันใจที่อยาก ความอยากดับ รู้เนื้อรู้ตัว รู้กายรู้ใจด้วยจิตใจที่ธรรมดา ๆ ไม่มีความอยากนำหน้า (หลวงพ่อหยุดพูดชั่วขณะหนึ่ง) สังเกตไหมพอหลวงพ่อหยุดพูด พวกเราแอบไปคิด? สังเกตออกไหม จิตหนีไปคิด? ให้เรารู้ทันนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตมันโลภขึ้นมาก็รู้ทัน ทำไมมันหนีไปคิด? เพราะมันอยากรู้ มันอยากรู้เรื่อง มันก็หนีไปคิด เพราะฉะนั้น มันจะมีความอยากซ่อนอยู่ข้างหลัง จิตใจก็ทำงานไป โดยมีความอยากซ่อนอยู่นะ ถ้าเรารู้ทันใจที่มันมีความอยาก ใจมันก็จะหยุดการทำงาน(ตามความอยาก) มันก็จะมาเป็นผู้รู้ ผู้ดูสบาย ๆ ฉะนั้นใจอยากขึ้นมา รู้ทัน ความอยากก็ดับ ใจก็รู้ตื่นขึ้นมา หรือใจหนีไปคิด เพราะมันอยากก่อน แต่เราไม่เห็น มันหนีไปคิดแล้ว ถ้าเรารู้ทันว่าใจหนีไปคิด ใจก็ตื่นขึ้นมาเหมือนกัน เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงตามความเป็นจริงนะ เมื่อนั้นจิตก็จะตื่นขึ้นมา จิตจะทรงสมาธิที่ถูกต้องขึ้นมา อย่างโกรธขึ้นมา รู้ว่าโกรธนี่นะ ก็ถูกขึ้นมาแล้ว แต่ถ้าโกรธขึ้นมาแล้ว ทำอย่างไรจะหายโกรธ? จิตใจจะ��ิ้นรนต่อ อย่างนี้ไม่ถูก ฉะนั้น หัดรู้สภาวะไปอย่างสบาย ๆ ใจโลภขึ้นมาก็รู้ ใจโกรธขึ้นมาก็รู้ ใจฟุ้งซ่าน คือแอบไปคิด ก็รู้ คอยรู้ทันสภาวะไปนะ” ………………….. พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ ถอดคำ : พีเค เรียบเรียง : สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
1 note · View note
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
สำคัญที่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ………………….. “การปฏิบัติธรรมมี ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งคือ การทำในรูปแบบ อีกส่วนหนึ่งคือ การปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน ตัวที่สำคัญมากเลย คือการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ถ้าเราทำตรงนี้ไม่ได้นะ โอกาสที่จะบรรลุมรรคผลในชีวิตนี้ ยากเย็น แสนไกล เพราะอะไร? เพราะชีวิตเราส่วนใหญ่ ปกติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถ้าเราปฏิบัติธรรมได้เฉพาะ ตอนไปนั่งสมาธิเดินจงกรม วันหนึ่งจะนั่งได้เท่าไหร่? จะเดินได้เท่าไหร่? แต่ถ้าอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ แล้วเราปฏิบัติได้นะ เราปฏิบัติธรรมได้เกือบทั้งวันเลย การปฏิบัติธรรมอยู่ในชีวิตประจำวัน ใช้ใจที่ธรรมดา ไปรู้กายรู้ใจที่ธรรมดา รู้สึกไปง่าย ๆ … ตา หู จมูก ลิ้น กายกระทบอารมณ์ เกิดสุขให้รู้ เกิดทุกข์ให้รู้ จิตเป็นกุศลก็ให้รู้ จิตเป็นอกุศล โลภ โกรธ หลงขึ้นมา ก็ให้รู้ นี่ การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ส่วนใจล่ะ? พอใจมันมีความคิดเกิดขึ้น ใจมันก็จะเกิดสุข เกิดทุกข์ เกิดดี เกิดชั่วขึ้น เราก็มีสติรู้ทัน จิตใจเป็นสุขก็รู้ จิตใจเป็นทุกข์ก็รู้ จิตใจเป็นกุศลก็รู้ จิตใจเป็นอกุศลก็รู้ ตรงที่มีสุข มีทุกข์ เรารู้นี่นะ เราเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ ตรงที่มันเป็นกุศล อกุศล เรารู้นี่นะ เราเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ เจริญอยู่ที่ใจนี่เอง ฉะนั้นเราฝึกอยู่ในชีวิตประจำวันนี่ ฝึกง่าย ๆ อย่างนี้เอง แต่ถ้าดูจิตใจไม่ออก ก็ดูร่างกาย จะเหลียวซ้าย แลขวา จะเคลื่อนไหว จะหยุดอยู่กับที่ อะไรอย่างนี้ คอยรู้สึก ถ้ารู้สึกจิตใจได้ รู้สึกไปที่จิตใจเลย ถ้ารู้สึกที่จิตใจไม่ได้ ให้รู้สึกอยู่ที่ร่างกาย” ………………….. พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ ถอดคำ : พีเค เรียบเรียง : สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
3 notes · View notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
ทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ………………… “พระพุทธเจ้าสอนว่า สติปัฏฐาน เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ฉะนั้น จะเป็นพระอรหันต์ได้ ก็ต้องเจริญสติปัฏฐาน จะเป็นโสดาบันก็ต้องเจริญสติปัฏฐาน สติปัฏฐาน คือ การมีสติตามรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง สติปัฏฐาน คือ มีสติระลึกรู้กาย ระลึกรู้ใจ ไปเรื่อย ๆ ระลึกรู้ ในเบื้องต้น คือ ระลึกความมีอยู่ของกายของใจ อย่างความโกรธเกิดขึ้น ระลึกได้ว่า มีความโกรธเกิดขึ้น อันนี้เป็นการเจริญสติปัฏฐาน ในขั้นที่ทำให้เกิดสติ (ในขั้นต้นนี้)ให้เรา ตามระลึกรู้กาย ระลึกรู้ใจ เรื่อย ๆ ไปนะ ใจโกรธขึ้นมา สติก็เกิดเอง ใจโลภขึ้นมา สติก็เกิดเอง ใจหลงขึ้นมา สติก็เกิดเอง ฉะนั้น สติปัฏฐาน เป็นการตามรู้ความจริง ของกายของใจเรื่อย ๆ ไปนะ ในเบื้องต้น จะทำให้มีสติ อะไรเกิดขึ้นในร่างกาย จะรู้สึก หายใจออก มันก็รู้สึก หายใจเข้า ก็รู้สึก ยืน เดิน นั่ง นอน ก็รู้สึก จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ก็จะรู้สึก ไม่ใช่เคลื่อนไหวแล้วใจลอย หนีไปไหน แต่จะรู้สึกอยู่ หรือมีความสุข มีความทุกข์ เกิดในร่างกาย ก็รู้สึก มีความสุข ความทุกข์ ความเฉย ๆ เกิดขึ้นในใจ ก็รู้สึก มีกุศล อกุศล เกิดขึ้นในใจ ก็รู้สึก มีโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นในใจ ก็รู้สึก อะไรเกิดขึ้น แล้วเรารู้สึกได้ อย่างนี้เรียกว่า เรา “มีสติ" ทีนี้ การเจริญสติปัฏฐานในขั้นสูงต่อไป มันจะไม่หยุดอยู่แค่การมีสติ มันจะเกิด "ปัญญา" ด้วย มันจะเห็นความจริงเลยว่า ร่างกายที่หายใจออก หายใจเข้า ไม่ใช่ตัวเรา ความสุข ความทุกข์ ในร่างกาย ไม่ใช่เรา เราสั่งไม่ได้ ความสุข ความทุกข์ ความเฉย ๆ ในใจ ก็ไม่ใช่เรา เราสั่งไม่ได้ กุศล อกุศล ก็ไม่ใช่ตัวเรา เราสั่งไม่ได้ จิตใจเรา เราก็สั่งไม่ได้ ลองไปสังเกตตัวเองนะ จิตจะไปเกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือจิตจะไปคิดอะไรนี่ สั่งไม่ได้ ห้ามไม่ได้ จิตเป็นของจิตเอง ฉะนั้น จิตไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเมื่อไรเราเห็นว่า ร่างกาย ไม่ใช่เรา ความสุข ความทุกข์ ก็ไม่ใช่เรา ความดี ความชั่ว ก็ไม่ใช่เรา จิตใจที่เป็นตัวรับรู้ความรู้สึก ก็ไม่ใช่เรา เราจะได้เป็น พระโสดาบัน พระโสดาบัน รู้ความจริงแล้วว่า ตัวเราไม่มี ปัญญาที่เห็นว่าตัวเราไม่มี เรียกว่า ปัญญาเบื้องต้น เราก็เรียนรู้ความจริงของกายของใจต่อไป ปัญญามากขึ้น มีปัญญาแก่กล้าขึ้น ปัญญาขั้นกลาง คือ การเห็นความจริงว่า ร่างกาย ที่ว่าไม่ใช่ตัวเรานี้ แท้จริงแล้ว เป็นตัวทุกข์ แล้วมันจะไม่ยึดถือกาย เป็น พระอนาคามี ปัญญาขั้นสูง จะรู้ความจริงว่า ตัวจิตนั้น คือ ตัวทุกข์ ถ้ารู้ว่า จิต คือ ตัวทุกข์ ก็ไม่ยึดถือจิต พอไม่ยึดถือจิตตัวเดียว จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว เพราะ จิต เป็นสิ่งที่เราสำคัญมั่นหมาย มากที่สุดเลยว่าเป็นตัวเรา ฉะนั้น จะไม่ใช่ตัวเรา แล้วก็เป็นตัวทุกข์ พอรู้อย่างนี้ ก็จะเป็น พระอรหันต์ เพราะจิตจะปล่อยวาง ไม่ยึดถืออะไรสักอย่างเดียวในโลก เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมนะ ตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ หนีไม่พ้น การรู้กาย-รู้ใจ อย่างที่เป็น ฉะนั้นต่อไปนี้ พยายามรู้กายรู้ใจให้มาก ๆ อย่าคิดมาก ไม่ต้องไปคิดว่า ร่างกายนี้เป็นอย่างไร จิตใจนี้เป็นอย่างไร คอยรู้สึก คอยดูความจริงของร่างกาย คอยรู้สึก คอยดูความจริงของจิตใจเรื่อย ๆ ไป พอรู้สึกไปอย่างที่มันเป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ใจก็เข้าใจความเป็นจริงขึ้นมา พอเข้าใจความเป็นจริงก็ไม่ยึดถือ พอไม่ยึดถือ จิตก็ปล่อยวาง ก็หลุดพ้น เป็นพระอริยบุคคล” ………………… พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ ถอดคำ: แต้ว เรียบเรียง: สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
3 notes · View notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
แค่รู้สึกตัวพอ จะทําให้มีสติมากขึ้นไปเรื่อยๆ จะทําให้เราหักห้ามใจเอาชนะใจเราได้ในที่สุดครับ... ให้แค่รู้ แล้วอย่าเข้าไปในความคิด ถ้าเข้าไปในความคิด จะทําให้ความคิดใหญ่โตขึ้น ไอ้ความคิดที่คิดถึงหรืออารมณ์นั้นหล่ะ อะไรทําให้ความคิดใหญ่โตได้จนมีอํานาจเหนือเราก็คือความคิดนั้นเอง ความคิดถูกหล่อเลี้ยงด้วยความคิด เผลอเข้าไปในความคิด ไม่ละความคิด โดยเอาสติมาไว้กับกายใจตนเอง เสร็จ(แพ้)ทุกราย ให้ละความคิด แล้วเอากําลังของสติ+ กําลังของสมาธิ(สมถะ)มาช่วย แต่สมถะนะช่วยได้ชั่วคราว แต่สติที่เป็นทางไปสู่ปัญญาน่ะ จะช่วยให้พ้นได้ถาวร เอาสติช่วย (สติก็คือสติปัฏฐาน4) นะ โดยการเอาใจไว้ที่กายของเราแทน เช่นการรู้ลมหายใจ จะทําให้สติมีกําลังมากขึ้นไปเรื่อยๆ หรือการรู้สึกตัวผ่านกายก็เหมือนกันครับ
2 notes · View notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
ในการปฏิบัติที่มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่างกันเนื่องจากพระอาจารย์แต่ละท่านปฏิบัติจนพบเจอธรรมแก่ใจตนในวิธีที่ต่างกันไป ท่านจึงสอนในวิธีที่ท่านถนัดแล้วเข้าถึงธรรม ให้แก่ศิษย์ทั้งหลายดุจดังภูเขาลูกหนึ่งทางที่ขึ้นส��่ยอดเขาได้ย่อมมีหลายทาง ถ้าเราเดินทางถูกย่อมขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อได้มรรคผลเหมือนกัน เมื่อเราปฏิบัติจนแจ้งแก่ใจเราแล้วจะเห็นว่าไม่มีสิ่งใดผิดเลยในวิธีปฏิบัติหล่าวนี้ , จุดที่จะเดินปัญญาได้นั้นต้องปฏิบัติมาจน แยกกายแยกใจ ได้ชัดเจน จึงจะเกิดปัญญาที่เรียกกันหลายชื่อ เช่น วิปัสสนาญาณ ปัญญาญาณ ปัญญารู้ธรรม ซึ่งเวลาที่ปฏิบัติไปจนแยกกายใจได้แล้วนั้น มันไม่ได้แยกปุ๊บแล้วปัญญาชัดปั๊บ มันจะค่อยๆแยกชัดขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งนานพอสมควรเลย แต่ละคนใช้ระยะเวลาไม่เท่ากัน ซึ่งปัญญาที่เกิดจะค่อยๆเกิดทีละน้อย ไปเรื่อยๆแสงสว่างของปัญญาจะค่อยๆสว่างขึ้นจนเมื่อแยกได้ชัดเจนแล้ว จนเห็นกายไม่ใช่เรา ปัญญานั้นจะค่อยๆสว่างต่อไปเรื่อยๆ จนเห็นจิตไม่ใช่เรา ถึงได้ตรงนี้เส้นทางเดินแห่งมรรคผลก็ชัดแจ้งแก่ใจตนเองโดยไม่ต้องไปฟังธรรมอะไรที่ไหนแล้ว มันเป็นการรู้จากกายจากใจตนเอง แต่คนที่เพึ่งแยกกายใจได้แรกๆ จะยังไม่รู้ตัวว่าแยกได้ ผมเองตอนที่แยกได้ก็ไม่รู้ ยังมองไม่ออกว่าเกิดปัญญาขึ้นบ้างแล้ว เพราะเพึ่งแยกกายใจได้ยังแยกไม่ชัด และปัญญาที่เกิดแรกๆก็ยังน้อย และยังปนกับความคิดจากสมองอยู่เยอะ(จุดนี้หล่ะที่บอกว่าปฏิบัติแล้วอย่าสงสัยมาก พอมันไปคิดแล้ว ปัญญารู้มันไม่เกิด) ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงยังแยกไม่ออก ระหว่างรู้ที่เกิดจากปัญญารู้กับรู้ที่เกิดจากสมองคิด เพราะมันปนกันอยู่ จนเมื่อแยกชัดขึ้นไปถึงจุดหนึ่ง ก็จะรู้ได้ด้วยตนเอง หรือไม่ก็มีผู้ปฏิบัติที่ได้สภาวะเหนือกว่าบอกให้ ว่าได้ปัญญาแล้ว
0 notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
แค่รู้สึกตัวพอ จะทําให้มีสติมากขึ้นไปเรื่อยๆ จะทําให้เราหักห้ามใจเอาชนะใจเราได้ในที่สุดครับ... ให้แค่รู้ แล้วอย่าเข้าไปในความคิด ถ้าเข้าไปในความคิด จะทําให้ความคิดใหญ่โตขึ้น ไอ้ความคิดที่คิดถึงหรืออารมณ์นั้นหล่ะ อะไรทําให้ความคิดใหญ่โตได้จนมีอํานาจเหนือเราก็คือความคิดนั้นเอง ความคิดถูกหล่อเลี้ยงด้วยความคิด เผลอเข้าไปในความคิด ไม่ละความคิด โดยเอาสติมาไว้กับกายใจตนเอง เสร็จ(แพ้)ทุกราย ให้ละความคิด แล้วเอากําลังของสติ+ กําลังของสมาธิ(สมถะ)มาช่วย แต่สมถะนะช่วยได้ชั่วคราว แต่สติที่เป็นทางไปสู่ปัญญาน่ะ จะช่วยให้พ้นได้ถาวร เอาสติช่วย (สติก็คือสติปัฏฐาน4) นะ โดยการเอาใจไว้ที่กายของเราแทน เช่นการรู้ลมหายใจ จะทําให้สติมีกําลังมากขึ้นไปเรื่อยๆ หรือการรู้สึกตัวผ่านกายก็เหมือนกันครับ
2 notes · View notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
ในการปฏิบัติที่มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่างกันเนื่องจากพระอาจารย์แต่ละท่านปฏิบัติจนพบเจอธรรมแก่ใจตนในวิธีที่ต่างกันไป ท่านจึงสอนในวิธีที่ท่านถนัดแล้วเข้าถึงธรรม ให้แก่ศิษย์ทั้งหลายดุจดังภูเขาลูกหนึ่งทางที่ขึ้นสู่ยอดเขาได้ย่อมมีหลายทาง ถ้าเราเดินทางถูกย่อมขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อได้มรรคผลเหมือนกัน เมื่อเราปฏิบัติจนแจ้งแก่ใจเราแล้วจะเห็นว่าไม่มีสิ่งใดผิดเลยในวิธีปฏิบัติหล่าวนี้ , จุดที่จะเดินปัญญาได้นั้นต้องปฏิบัติมาจน แยกกายแยกใจ ได้ชัดเจน จึงจะเกิด��ัญญาที่เรียกกันหลายชื่อ เช่น วิปัสสนาญาณ ปัญญาญาณ ปัญญารู้ธรรม ซึ่งเวลาที่ปฏิบัติไปจนแยกกายใจได้แล้วนั้น มันไม่ได้แยกปุ๊บแล้วปัญญาชัดปั๊บ มันจะค่อยๆแยกชัดขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งนานพอสมควรเลย แต่ละคนใช้ระยะเวลาไม่เท่ากัน ซึ่งปัญญาที่เกิดจะค่อยๆเกิดทีละน้อย ไปเรื่อยๆแสงสว่างของปัญญาจะค่อยๆสว่างขึ้นจนเมื่อแยกได้ชัดเจนแล้ว จนเห็นกายไม่ใช่เรา ปัญญานั้นจะค่อยๆสว่างต่อไปเรื่อยๆ จนเห็นจิตไม่ใช่เรา ถึงได้ตรงนี้เส้นทางเดินแห่งมรรคผลก็ชัดแจ้งแก่ใจตนเองโดยไม่ต้องไปฟังธรรมอะไรที่ไหนแล้ว มันเป็นการรู้จากกายจากใจตนเอง แต่คนที่เพึ่งแยกกายใจได้แรกๆ จะยังไม่รู้ตัวว่าแยกได้ ผมเองตอนที่แยกได้ก็ไม่รู้ ยังมองไม่ออกว่าเกิดปัญญาขึ้นบ้างแล้ว เพราะเพึ่งแยกกายใจได้ยังแยกไม่ชัด และปัญญาที่เกิดแรกๆก็ยังน้อย และยังปนกับความคิดจากสมองอยู่เยอะ(จุดนี้หล่ะที่บอกว่าปฏิบัติแล้วอย่าสงสัยมาก พอมันไปคิดแล้ว ปัญญารู้มันไม่เกิด) ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงยังแยกไม่ออก ระหว่างรู้ที่เกิดจากปัญญารู้กับรู้ที่เกิดจากสมองคิด เพราะมันปนกันอยู่ จนเมื่อแยกชัดขึ้นไปถึงจุดหนึ่ง ก็จะรู้ได้ด้วยตนเอง หรือไม่ก็มีผู้ปฏิบัติที่ได้สภาวะเหนือกว่าบอกให้ ว่าได้ปัญญาแล้ว
0 notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
รู้แต่ไม่รู้อะไรเลย การเจริญสตินั้น แม้เราจะเดินจงกรม แต่ไม่ควรเอาจิตไปปักไว้ที่ฝ่าเท้า หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ผมแนะนำให้เอาการเคลื่อนไหว อาการเคลื่อนไหว ซึ่งไม่ใช่แข้ง ไม่ใช่ขา แต่การเคลื่อนไหวของแข้งและขา แยกให้ออก มือกับการเคลื่อนไหวแห่งมือ การเคลื่อนไหวแห่งมือนี้ อย่าไปใส่ใจที่มือ แต่ให้ใส่ใจที่การเคลื่อนไหว ... กายเคลื่อนไหว ใจรู้ คือเรียกว่ารู้ตัวก็ได้ ส่วนการเคลื่อนไหวนั้นเป็นฐาน เป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้ติดคิด แต่ไม่เหลือวิสัย บางคนบอกว่าไม่สามารถจับอารมณ์ได้ เพราะเมื่อจิตไปดูสัมปชัญญะ ไปดูการเคลื่อนไหว มันจับไม่อยู่ มันหลวม ๆ ก็ถูกต้องแล้ว เพราะว่าเราเคยชินกับการจ้องจับอะไรที่ชัด ๆ ถ้าให้เรากำหนดจิตที่หนึ่งที่ใดเราทำได้ง่าย แต่พอเราพรากจากฐานอันนั้นมาสู่การเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นธรรมดาที่มันจะไม่ชัด แต่ในความไม่ชัดนั้นเองมันจะสลายการรวมศูนย์ กลายเป็นการรู้ตัวทั่วพร้อมกว้าง ๆ เพราะว่าการเคลื่อนไหวนั้นเป็นกึ่งรูปกึ่งนาม ก่อนหน้านี้เราชินกับการกำหนดรูป จะให้นั่งดู เพ่งดู สิ่งใด เราก็ดูได้ เกิดภาวะดวลกันระหว่างผู้ดูและสิ่งที่ถูกดู นี่คือโลกของจิตสำนึกธรรมดา ซึ่งขึ้นกับวัตถุ ขึ้นกับวัตถุเป็นที่ตั้ง ให้เราดูผู้หญิง เราก็ดูได้ง่าย เราก็เห็นได้ชัด ดูผู้ชาย ดูวัว ดูควาย ดูต้นไม้ เราเห็นได้ชัด แต่หันมาดูความคิดใด ๆ นี่มันไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นเป็นธรรมดา ถ้ามาดูการเคลื่อนไหว ดูยาก ดูไม่ชัด แต่ในความไม่ชัดนั่นแหละคือความชัด ถ้าไปชัดเป็นรูปธรรมขึ้นมาเป็นความยึดติด ดังนั้นเองให้เคลื่อนไหวไว้ให้ต่อเนื่องด้วยสัมปชัญญะ ไม่ใช่ดูด้วยตาเนื้อ ตาเนื้อก็เบิกไว้ ลืมตาเข้าไว้ แต่ไม่ดูอะไรโดยจำเพาะ เห็นทุกอย่าง แต่ไม่เห็นอะไรเลย รู้ตัวโดยไม่รู้อะไร ถ้าเข้าใจศิลปะแห่งการเห็นเช่นนี้ก็จะรื่นรมณ์ มีสุนทรียภาพอยู่ในการเห็น โดย เขมานันทะ
2 notes · View notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
ในการปฏิบัติ ความรู้สึกตัว เราต้องมี ทั้ง กลวิธีจำเพาะ และ ความเข้���ใจในการปฏิบัติที่ถูกต้อง กลวิธี : กลวิธี คือ การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ, คลึงนิ้วมือ, เดินมา-เดินไป. กลวิธีนี้ทำให้ร่างกายเราไม่อยู่นิ่ง; เราจะสามารถทำความรู้สึกตัวได้อย่างต่อเนื่องและชัดเจนเมื่อร่างกายมีการเคลื่อนไหว. ความเข้าใจ : ก) เราควรเข้าใจว่า ความรู้สึกตัว คือ รู้สึก หรือ รู้ เฉย ๆ , ไม่มีอะไรมากกว่านั้น, ไม่มีอะไรเพิ่มเติมจากนั้น. (เราไม่ต้องทำความรู้สึกตัวว่า เรากำลังเดิน, กำลังหายใจเข้า, กำลังหายใจออก: อย่างนั้นผิด. แค่รู้สึกเฉย ๆ : แค่นั้นพอ, ไม่ต้องมีอะไรอีก.) ให้เราทำความรู้สึกตัวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจ. เมื่อความคิดขึ้นมา, รู้; เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว, รู้สึก ข) เราควรเข้าใจว่า ไม่ว่าการเคลื่อนไหวใด ๆ เกิดขึ้น: แค่ รู้สึก หรือ รู้ เฉย ๆ แล้วก็ปล่อยไป. ไม่ต้องรู้ว่ามันเป็น ความโลภ หรือ ความโกรธ: มันไม่จำเป็น. เราแค่รู้สึก แล้วก็ปล่อยไป. ตัวอย่างเช่น เมื่อมีลมพัดมาเราแค่รู้สึก, ไม่ต้องรู้ชื่อของมัน; แม้แต่รู้ว่ามันเป็นลมก็ยังมากเกินไป. เราแค่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (เมื่อไม่มีลม) แค่นั้นพอ. เราไม่ต้องตั้งชื่อให้มัน, ไม่งั้นเราจะเกิดความสับสนขึ้นได้ ในการทำความรู้สึกตัวจากการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ, เราไม่ควรตั้งใจกับความรู้สึกมากนัก; ทำสบาย ๆ , อย่าจริงจังจนเกินไป. จากที่กล่าวมา ทั้งกลวิธีจำเพาะและความเข้าใจในการปฏิบัติที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็น. เพราะ ถ้าเรารู้แต่กลวิธีแต่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติ, ก็จะไม่เกิดผล. และ ถ้าเราเข้าใจในการปฏิบัติดีมาก, แต่ไม่มีกลวิธี, ก็จะไม่เกิดผลเช่นกัน. ดังนั้นในการปฏิบัติเราต้องมีทั้งกลวิธีจำเพาะและความเข้าใจในการปฏิบัติที่ดี สรุป: ๑. เราต้องทำมัน (ทำความรู้สึกตัว) ด้วยตัวเอง จนกระทั่งเรา รู้มัน, เห็นมัน, เข้าใจมัน, และเผยมันออก ภายในกาย-จิตของเรา. ๒. ต้องมีทั้งกลวิธีจำเพาะและความเข้าใจในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ๓. อย่าอยู่นิ่ง; เราควรเคลื่อนไหวตลอดเวลา ๔. ปฏิบัติให้มาก ๆ ด้วยกลวิธีดังกล่าว โดยปราศจาก การบังคับ หรือ การคาดหวัง ใด ๆ ทั้งสิ้น. ผลจากการปฏิบัติจะเกิดขึ้นเอง. โดย เขมานันทะ
2 notes · View notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
เราเพิ่งมาฝึกจิตของเราเดือนหนึ่ง ๑๐ วัน ๕ วัน โดยมากมันก็ยังไม่สงบ ถ้ามันไม่สงบนั้น ไม่ต้องน้อยใจ มันเป็นเรื่องธรรมดาของมัน เรื่องจิตอันนี้ มันจะอยู่นิ่งๆ ในที่ของมันไม่ได้หรอก บางทีมันก็มีอาการคิดอย่างโน้น คิดอย่างนี้ ในขณะอยู่ในที่สงบอันนั้นแหละ บางคนจิตไม่สงบ จิตก็ฟุ้งซ่าน ใจก็ไม่สบาย ใจเขาก็ไม่ดี เพราะว่าจิตไม่สงบ อันนี้เราต้องพิจารณาด้วยปัญญาของเรา เรื่องไม่สงบอันนั้น เพราะเราไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันเท่านั้นเอง ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว อันนั้นสักแต่ว่าอาการของจิต จริงๆ แล้วจิตมันไม่ฟุ้งไปอย่างนั้น เช่นว่า เรารู้ความคิดแล้วว่า บัดนี้ เราคิดอิจฉาคน นี้เป็นอาการของจิต แต่เป็นของไม่จริง มันไม่เป็นความจริง เรียกอาการของจิต มันมีตลอดเวลา ถ้าหากว่าคนไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ก็น้อยใจว่าจิตเราไม่อยู่นิ่ง จิตเราไม่สงบ อันนี้เราต้องใช้การพิจารณาอีกทีหนึ่งให้มันเข้าใจ เรื่องของจิตนั้นนะ มันเป็นเรื่องของอาการของมัน แต่ที่สำคัญคือ มันรู้ รู้ดีมันก็รู้ รู้ชั่วมันก็รู้ รู้สงบมันก็รู้ รู้ไม่สงบมันก็รู้ อันนี้คือตัวรู้ พระพุทธเจ้าของเราท่านให้ตามรู้ ตามดูจิตของเรา.. หลวงปู่ชา สุภัทโท
0 notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
หลวงพ่อปราโมทย์ – กรรมฐานเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไปสังเกตเอา ทำยังไงจิตจะสงบ ทำยังไงจิตจะตั้งมั่น ทำยังไงจิตจะเห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ไปดูตัวเอง จำได้มั้ย? สามคำถาม ทำยังไงจิตจะสงบ เวลาเราฟุ้งมากๆ ทำยังไงจะสงบ เราไปดูตัวเอง คนนี้พุธโธแล้วสงบ คนนี้คิดถึงการทำบุญใส่บาตรแล้วสงบ อะไรอย่างนี้ แต่ละคนไม่เหมือนกัน ไปดูตัวเอง ทำยังไงจิตจะตั้งมั่น เคยฝึกแบบไหน? เคยรู้ทันจิต ทุกคนต้องรู้ทันจิตนั่นแหละ จิตถึงจะตั้งมั่น แต่ว่าใช้กรรมฐานอะไร บางคนรู้ลมหายใจ จิตเคลื่อนแล้วรู้ บางคนดูท้องพองยุบ จิตเคลื่อนแล้วรู้ อะไรอย่างนี้ บางคนก็พุธโธๆ จิตเคลื่อนไปแล้วรู้ ไปดูเอา ว่าทำยังไงเราจะรู้ทันจิตที่เคลื่อนได้ไวๆ แล้วจิตจะตั้งมั่น จะเจริญปัญญา ของเราเนี่ยเหมาะกับอะไร? เหมาะที่จะเห็นกายแสดงไตรลักษณ์ หรือเหมาะเห็นใจแสดงไตรลักษณ์ พวกคิดมากก็ไปดูจิตใจ พวกรักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม ก็ดูกายให้มากหน่อย เนี่ยเราต้องดูตัวเอง ไม่ไปเรียนแบบคนอื่นนะ กรรมฐานเนี่ย เป็นเรื่องเฉพาะตัว ทางใครทางมัน ลองไปตอบคำถามตัวเองนะ ทำยังไงจะสงบ? ทำยังไงจะตั้งมั่น? ทำยังไงจะเห็นไตรลักษณ์? ลองไปดูนะ บางคนดูกายแล้วเห็นไตรลักษณ์ชัด บางคนดูจิต เห็นไตรลักษณ์ชัด ไตรลักษณ์ก็ไม่ต้องเห็นทั้ง 3 อย่าง เห็นอันเดียวก็พอแล้ว เห็นอนิจจังก็ได้ เห็นทุกขังก็ได้ เห็นอนัตตาก็ได้ ไม่ต้องเห็น 3 อย่าง หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา 30 มค. 2558
0 notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
รู้ทันใจที่อยาก ………………….. “ทำไมจิตใจมันจึงผิดปกติขึ้นมา? เพราะว่ามันมีความอยาก พอมันมีความอยาก มันมีความโลภ อย่างอยากปฏิบัตินี่นะ พอความอยากเกิดขึ้น ก็เกิดการแทรกแซงจิตใจ ฉะนั้น มันผิดตั้งแต่อยากปฏิบัติแล้ว ตรงที่อยากทำกรรมฐานนี่ ผิดตั้งแต่ตรงนี้แล้ว ถ้าหากเราภาวนาเป็นนะ ใจมันอยาก รู้ทันมันเข้าไปเลย รู้เข้าไปตรงๆ พอเรารู้ทันใจที่อยาก ความอยากดับ รู้เนื้อรู้ตัว รู้กายรู้ใจด้วยจิตใจที่ธรรมดา ๆ ไม่มีความอยากนำหน้า (หลวงพ่อหยุดพูดชั่วขณะหนึ่ง) สังเกตไหมพอหลวงพ่อหยุดพูด พวกเราแอบไปคิด? สังเกตออกไหม จิตหนีไปคิด? ให้เรารู้ทันนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตมันโลภขึ้นมาก็รู้ทัน ทำไมมันหนีไปคิด? เพราะมันอยากรู้ มันอยากรู้เรื่อง มันก็หนีไปคิด เพราะฉะนั้น มันจะมีความอยากซ่อนอยู่ข้างหลัง จิตใจก็ทำงานไป โดยมีความอยากซ่อนอยู่นะ ถ้าเรารู้ทันใจที่มันมีความอยาก ใจมันก็จะหยุดการทำงาน(ตามความอยาก) มันก็จะมาเป็นผู้รู้ ผู้ดูสบาย ๆ ฉะนั้นใจอยากขึ้นมา รู้ทัน ความอยากก็ดับ ใจก็รู้ตื่นขึ้นมา หรือใจหนีไปคิด เพราะมันอยากก่อน แต่เราไม่เห็น มันหนีไปคิดแล้ว ถ้าเรารู้ทันว่าใจหนีไปคิด ใจก็ตื่นขึ้นมาเหมือนกัน เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงตามความเป็นจริงนะ เมื่อนั้นจิตก็จะตื่นขึ้นมา จิตจะทรงสมาธิที่ถูกต้องขึ้นมา อย่างโกรธขึ้นมา รู้ว่าโกรธนี่นะ ก็ถูกขึ้นมาแล้ว แต่ถ้าโกรธขึ้นมาแล้ว ทำอย่างไรจะหายโกรธ? จิตใจจะดิ้นรนต่อ อย่างนี้ไม่ถูก ฉะนั้น หัดรู้สภาวะไปอย่างสบาย ๆ ใจโลภขึ้นมาก็รู้ ใจโกรธขึ้นมาก็รู้ ใจฟุ้งซ่าน คือแอบไปคิด ก็รู้ คอยรู้ทันสภาวะไปนะ” ………………….. พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ ถอดคำ : พีเค เรียบเรียง : สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
2 notes · View notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
พระเจษฎา คุตฺตจิตฺโต . บางครั้งจิตมีลักษณะมัวๆ รู้อะไรไม่ชัด บางครั้งจิตมีลักษณะแข็งๆ ทื่อๆ วิธีการแก้ คือไม่ต้องไปกระทำการแก้อะไร เพียงแค่รู้ รู้สึกถึงความมีอยู่ของภาวะนั้นๆ ไม่ผลักไส ยอมรับตามที่มันเป็น รู้เท่าความไม่ชอบที่เกิดขึ้น เห็นเพียงว่าภาวะนั้นๆ เป็นสิ่งที่ถูกรู้สึกอยู่ ไม่ใช่จิต ไม่คาดหวังให้คลายออก มีขันติต่อความปรุงแต่ง ที่จะทำอะไรกับมันซักอย่าง เมื่อรู้สึกตามที่มันเป็นจริงๆ แล้ว ทั้งไม่ดึงดูด ไม่ผลักไส ตัณหา ซึ่งหล่อเลี้ยงภาวะนั้นอยู่คือ " วิภาวตัณหา " ( ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ) ย่อมขาดลงไป เมื่อหมดตัวหล่อเลี้ยงตัวที่คอยยื้อแล้ว ภาวะนั้นๆ ย่อมดับเคลื่อนผ่านไปเอง
0 notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
เคล็ด ( ไม่ ) ลับ ทำอย่างไรให้จิตหลุดพ้น การปฏิบัติธรรมที่สุดบางครั้งต้องยอมเมื่อเจอทุกข์บีบคั้น อย่าไปเอาชนะ การเอาชนะเป็นการพ่ายแพ้อย่างหนึ่ง มันจะคับแค้นตามมาเป็นความพ่ายแพ้ แพ้ใจตัวเอง แพ้กิเลสตัวเอง เราเอาชนะคนอื่นมากมายเป็นหมื่นเป็นแสนก็สู้เอาชนะกิเลสในใจตัวเองไม่ได้ ชนะคนอื่นก็มีเวรมีภัยตามมา แต่ถ้าชนะกิเลสในใจตัวเองมันเป็นความสุขสันติภาพที่แท้จริง เวลากำหนดเห็นทุกข์ในสังขารอย่าไปเอาชนะต้องยอม ทำใจให้ยอมรับ จิตที่ยอมรับได้คือจิตที่มีความสามารถสูง เมื่อมีทุกข์ก็สามารถวางเฉย ยอมรับไม่ดิ้นรน ไม่กระวนกระวาย ไม่ขัดขืน ไม่ฝืนสภาวะยอมโดยดุษณีภาพและจำไว้เวลาที่เราปฏิบัติเราเจอบทที่ทุกข์สาหัส บางครั้งเจอทุกข์ทรมานอย่างหนัก คนที่เห็นรูปนามเกิดดับมากๆ บางคนวางใจไม่ถูกเป็นทุกข์ บางคนไม่อยากเห็นทุกข์มาก คนที่ไม่เจอก็ไม่รู้ทุกข์ที่เกิดจากรูปนาม เกิดดับทุกข์ขนาดไหน ฉะนั้นยิ่งเขาวางใจไม่ได้เขาก็ยิ่งทุกข์ ต้องหัดวางเฉย ทำใจให้ยอม พอใจมันยอมลงก็ปลงใจได้ วางเป็นก็เย็นได้ ยอมสนิทจิตใจชนะ จิตก็ถึงความเป็นอิสระหลุดพ้น . โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. ( สุรศักดิ์ เขมรํสี ) ขอบคุณข้อมูลจาก facebook ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ย.พ.ส.)
0 notes
60thumma-blog · 8 years ago
Text
สำคัญที่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ………………….. “การปฏิบัติธรรมมี ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งคือ การทำในรูปแบบ อีกส่วนหนึ่งคือ การปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน ตัวที่สำคัญมากเลย คือการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ถ้าเราทำตรงนี้ไม่ได้นะ โอกาสที่จะบรรลุมรรคผลในชีวิตนี้ ยากเย็น แสนไกล เพราะอะไร? เพราะชีวิตเราส่วนใหญ่ ปกติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถ้าเราปฏิบัติธรรมได้เฉพาะ ตอนไปนั่งสมาธิเดินจงกรม วันหนึ่งจะนั่งได้เท่าไหร่? จะเดินได้เท่าไหร่? แต่ถ้าอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ แล้วเราปฏิบัติได้นะ เราปฏิบัติธรรมได้เกือบทั้งวันเลย การปฏิบัติธรรมอยู่ในชีวิตประจำวัน ใช้ใจที่ธรรมดา ไปรู้กายรู้ใจที่ธรรมดา รู้สึกไปง่าย ๆ … ตา หู จมูก ลิ้น กายกระทบอารมณ์ เกิดสุขให้รู้ เกิดทุกข์ให้รู้ จิตเป็นกุศลก็ให้รู้ จิตเป็นอกุศล โลภ โกรธ หลงขึ้นมา ก็ให้รู้ นี่ การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ส่วนใจล่ะ? พอใจมันมีความคิดเกิดขึ้น ใจมันก็จะเกิดสุข เกิดทุกข์ เกิดดี เกิดชั่วขึ้น เราก็มีสติรู้ทัน จิตใจเป็นสุขก็รู้ จิตใจเป็นทุกข์ก็รู้ จิตใจเป็นกุศลก็รู้ จิตใจเป็นอกุศลก็รู้ ตรงที่มีสุข มีทุกข์ เรารู้นี่นะ เราเจริญเวทนา���ุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ ตรงที่มันเป็นกุศล อกุศล เรารู้นี่นะ เราเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ เจริญอยู่ที่ใจนี่เอง ฉะนั้นเราฝึกอยู่ในชีวิตประจำวันนี่ ฝึกง่าย ๆ อย่างนี้เอง แต่ถ้าดูจิตใจไม่ออก ก็ดูร่างกาย จะเหลียวซ้าย แลขวา จะเคลื่อนไหว จะหยุดอยู่กับที่ อะไรอย่างนี้ คอยรู้สึก ถ้ารู้สึกจิตใจได้ รู้สึกไปที่จิตใจเลย ถ้ารู้สึกที่จิตใจไม่ได้ ให้รู้สึกอยู่ที่ร่างกาย” ………………….. พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ ถอดคำ : พีเค เรียบเรียง : สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
0 notes
60thumma-blog · 8 years ago
Photo
Tumblr media
เรื่อง "รับประทานมังสวิรัติผิดกับคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือ?" ปัญหานี้เป็นปัญหาโลกแตก จะต้องอธิบายกันมากจึงจะเข้าใจ ส่วนฆราวาสนั้นก็ปล่อยเขาตามเรื่อง ถ้าหากรับประทานมังสาวิรัตเฉพาะตน เพื่อทรมานตน เพราะจิตใจของตนมันชอบการทรมานอย่างนั้นก็สมควรอยู่ ถ้าอ้างว่ามังสาวิรัตเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ผู้เขียนก็ขอร้องเถิด มันจะกลายเป็นวังคศาสนาไป มิใช่สัตถุศาสนาคำสอนของพระพุทธเจ้าแท้จริง (วิสัชนาธรรมโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) อุบาสิกาคนหนึ่งมีวัยประมาณ ๖๐ กว่าปีแล้ว แกไปปฏิบัติอยู่วัดหินหมากเป้งเสมอๆ อยู่มาแกสมาทานมังสาวิรัต แล้วชักชวนผู้เขียน (หลวงปู่เทสก์) ทำอย่างแกบ้าง ผู้เขียนบอกว่า เมื่อผู้เขียนทำอย่างนั้นแล้วเขาต้องตามปฏิบัติผู้เขียนนะ เพราะผู้เขียนหากินเองอย่างเขาไม่ได้ เขาได้ถามปัญหาว่า ถาม : รับประทานมังสวิรัติผิดกับคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือ? ตอบ : ปัญหานี้เป็นปัญหาโลกแตก จะต้องอธิบายกันมากจึงจะเข้าใจ คนเกิดมาในโลกนี้ทั้งหมดล้วนแล้วแต่กินเลือดเนื้อของผู้อื่นทั้งสิ้น เดิมแต่อยู่ในครรภ์ของมารดาก็กินอาหารของมารดา ที่ซึมซาบเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายจึงเติบโตขึ้นมาได้ คลอดออกมาแล้วจนเป็นหนุ่มเป็นสาวก็เช่นนั้นเหมือนกัน พึ่งมาปฏิวัติรับประทานมังสาวิรัตเมื่อโตขึ้นมานี่เอง เรื่องนี้จึงเป็นความฝ่าฝืนความรู้สึกของคนส่วนมาก เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าของเรายังมีพระชนม์ชีพอยู่ พระเทวทัตก็เคยเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาให้พระพุทธองค์ได้ทรงอนุมัติแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อพระองค์ไม่ทรงอนุญาตจึงได้ประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระสงฆ์องค์ใดเห็นดีกับเราก็ไปกับเรา ภิกษุที่บวชใหม่ยังไม่รู้ธรรมวินัยจึงได้ติดตามพระเทวทัตไป นั่นก็โลกแตกครั้งหนึ่งล่ะ ผลที่สุดพระเทวทัตถึงแก่มรณภาพไป พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นเห็นความอาฆาตของพระเทวทัตซึ่งมีต่อพระพุทธเจ้า จึงกลับเข้ามาหาพระพุทธเจ้าอีก ฉะนั้น พระภิกษุสงฆ์และพุทธบริษัททั้งหลาย จึงไม่ควรยกเอาคำนี้ขึ้นมากล่าวอ้างว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า มันจะเป็นเหตุให้สงฆ์แตกแยกกัน ส่วนฆราวาสนั้นก็ปล่อยเขาตามเรื่อง ถ้าหากรับประทานมังสาวิรัตเฉพาะตน เพื่อทรมานตน เพราะจิตใจของตนมันชอบการทรมานอย่างนั้นก็สมควรอยู่ ถ้าอ้างว่ามังสาวิรัตเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ผู้เขียนก็ขอร้องเถิด มันจะกลายเป็นวังคศาสนาไป มิใช่สัตถุศาสนาคำสอนของพระพุทธเจ้าแท้จริง มังสาวิรัตนี้ พระพุทธเจ้าของเราท่านก็รู้ดีเหมือนกันว่าคนในสมัยนั้นเขานิยมกันขนาดไหน และเขาปฏิบัติกันได้ มากน้อยเพียงใด พระองค์จึงทรงบัญญัติให้ภิกษุฉันเนื้อได้โดยปราศจากโทษ ๓ ประการ ๑. โดยไม่ได้ใช้ให้เขาฆ่ามาเพื่อตน ๒. โดยไม่ได้เห็นได้ยินเขาฆ่าเพื่อตน ๓. โดยไม่สงสัยเขาจะฆ่าเพื่อให้ตน เมื่อพ้นจากโทษ ๓ ประการนี้แล้วฉันได้ ถึงเราจะกินและไม่กิน ทั้งโลกนี้โดยส่วนมากเขาก็ฆ่ากันอยู่อย่างนั้น พระยังชีพเนื่องด้วยคนอื่น ถ้าไปในถิ่นที่เขารับประทานเนื้อ พระที่ฉันมังสาวิรัตก็จะอยู่ด้วยกับเขามิได้ และคนที่จะฟังคำสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่มีแต่พวกมังสาวิรัต มีทั้งมังสาวิรัตและรับประทานเนื้อด้วย คนเหล่านั้นถ้าหากฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้าใจดี แล้วก็จะไม่เป็นอุปสรรคแก่กันและกัน สำหรับพระภิกษุพระวินัยสิกขาบทของพระยังมีมากที่ยังปฏิบัติไม่ครบถ้วน ไม่ควรเอาเรื่องเล็กๆ น้อยๆ มายกโทษซึ่งกันและกัน ผู้เขียนจะยกเรื่องพระคณาจารย์ฉันมังสาวิรัตองค์หนึ่งมาเล่าสู่ให้ฟัง เมื่อราว ๔๐ กว่าปีมานี้เอง ทีแรกท่านก็ฉันตามธรรมดาๆ อย่างเราท่านทั้งหลายฉันกันอยู่อย่างนี้แหละ เมื่อพระโลกนารถเข้ามาเมืองไทย มีคุณนายคนหนึ่งไปเรียนกินเจกับพระโลกนารถแล้วทำถวายท่าน ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากหลาย ลูกศิษย์เหล่านั้นก็เลยทำตามพระองค์นั้น ต่อมาท่านชักชวนหมู่เพื่อนให้ทำตาม เมื่อหมู่เพื่อนไม่ทำตามก็หาว่าย่อหย่อนต่อการปฏิบัติ ท่านก็เลยดีคนเดียว หมู่เพื่อนคบค้าสมาคมไม่ได้ ลูกศิษย์ลูกหาค่อยๆ หายไปๆ จะไปรุกขมูลทางไหนต้องให้พระล่วงหน้าไปก่อน บอกชาวบ้านว่าท่านอาจารย์ท่านฉันเจ ต้องจัดหาอาหารอย่างนั้นๆ เว้นอย่างนั้นๆ ท่านถึงจะฉันได้ เวลาเข้าไปบิณฑบาตในบ้านที่เขาไม่รู้ เขาเอาห่อเนื้อมาใส่บาตรให้ ท่านก็จับเอาของเขาปาทิ้งเสีย ทีหลังเขาเลยพากันไม่ใส่บาตร เห็นท่านเดินมาเขาพากันมองหน้าท่านเป็นแถวเลย อย่างนี้เขาเรียกว่า ทำเกินควร ไม่สมแก่สมณะสารูปผู้สำรวมเลย เมื่อท่านมรณภาพไปแล้วก็ไม่มีใครปฏิบัติต่อ พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า ธรรมอย่างยิ่งทั้ง ๔ อย่างนี้เราได้ทำมาแล้ว ซึ่งไม่มีใครจะทำได้เหมือนเรา แต่ก็ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ได้ ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน ธรรม ๔อย่าง คือ เกลียดอย่างยิ่ง ๑ กลัวอย่างยิ่ง ๑ ระวังอย่างยิ่ง ๑ ตบะอย่างยิ่ง ๑ เกลียดอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ เห็นร่างกายของตนและของคนอื่นเป็นของน่าเกลียด และทุกข์ทั้งหลายในโลกนี้เป็นของน่าเบื่อหน่ายแทบจะอยู่ไม่ได้เสียเลย นั่นเรียกว่า เห็นหน้าเดียว คนทั้งโลกพร้อมด้วยตัวของเราทำไม่จึงอยู่มาได้จนบัดนี้ เขาโง่หรือตัวเราโง่ ท่านผู้รู้ทั้งหลายเห็นสภาพตามความเป็นจริงแล้วเกิดสลดสังเวชเบื่อหน่าย ถอนความยินดีในโลกด้วยอุบายแยบคายอันชอบแล้ว กลัวอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ กลัวบาปอกุศลแม้แต่อาบัติเล็กๆ น้อยๆ ก็กลัว เป็นต้นว่าจะยกย่างเดินเหิรไปมาที่ไหนก็กลัวจะไปเหยียบมดและตัวแมลงต่างๆ ให้ตายเป็นอาบัติ นั่นเรียกว่า ระวังส่งออกไปนอก พระวินัยท่านสอนให้ระวังที่ใจถ้าไม่มีเจตนาแกล้งทำให้ล่วงเกินก็ไม่เป็นอาบัติ ระวังอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ สังวรกาย วาจา ใจ ไม่ให้เกิดกิเลสบาปอกุศลทั้งหลาย ซึ่งมันล่องลอยมาตามอายตนะทั้ง ๖ นี้ ระวังจนไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยินสิ่งต่างๆ จนเข้าไปอยู่ในป่าคนเดียว เวลาเข้าไปบิณฑบาตในบ้านก็เอาตาลปัตรบังหน้าไว้ กลัวมันจะเห็นคน อย่างนี้เขาเรียกว่า ลิงหลอกเจ้า กิเลสมันไม่ได้เกิดขึ้นที่อายตนะ แต่มันจะเกิดที่ใจต่างหาก ขอโทษเถิด คนตายแล้วให้ผู้หญิงคนสวยๆ ไปนอนด้วย มันก็นิ่งเฉย ผู้หญิงที่ไปนอนกลับกลัวเสียอีก ตบะอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ นักพรตที่ทำความเพียรเร่งบำเพ็ญตบะธรรมที่จะให้พ้นจากทุกข์ในเดี๋ยวนั้น ทำความเพียรตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ไม่คิดถึงชีวิตชีวาเลย เหมือนกับกิเลสมันเป็นตัวเป็นตนวิ่งจับผูกเอามาได้ฉะนั้น แท้จริงกิเลสมันวิ่งเข้ามาซุกอยู่ในความเพียร (คือ ความอยากพ้นจากทุกข์) นั่นเอง ไม่รู้ตัวมัน ความอยาก ทำให้ใจขุ่นมัว น้ำขุ่นทำให้ไม่เห็นตัวปลา ถึงแม้น้ำใสแต่ยังกระเพื่อมอยู่ก็ไม่เห็นตัวปลาเหมือนกัน ความเกลียด ความกลัว ความระวัง และตบะ อย่างยิ่งทั้ง ๔ อย่างนี้ พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้ว พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เป็นไปเพื่อพ้นจากทุกข์ทั้งปวง จึงละเสีย แล้วทรงปฏิบัติทางสายกลางจึงทรงสำเร็จพระโพธิญาณ จากหนังสือ “ปุจฉาวิสัชนาในประเทศ” โดย พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี)
0 notes