Tumgik
#ความรู้สึกตัว
ateaaroundatree · 6 years
Photo
Tumblr media
ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งที่อยู่กับเรา เป็นสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว แต่เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยเท่าไหร่ เพราะมันมาแบบประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็หายไป หายไปเพราะอะไร เพราะใจลอย เพราะลืมตัว ลืมตัวเมื่อไหร่ก็ไม่รู้สึกตัวเมื่อนั้น ลืมตัวเพราะใจมันหลงเข้าไปในความคิดเกี่ยวกับอดีตบ้าง เกี่ยวกับอนาคตบ้าง ลองสังเกตนะ พอเราใจลอย ทำอะไรก็ไม่รู้หรอกว่ากำลังทำสิ่งนั้น แม้กำลังถูฟันอยู่ แต่ชั่วขณะที่ใจลอย ความรู้สึกตัวมันไปแล้ว ตอนนั้นไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำว่ามือกำลังถูฟัน หรือขณะที่อาบน้ำก็ไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำว่ามือกำลังลูบไปที่ตัวเพื่อถูตัว แต่เมื่อไรก็ตามที่ตั้งใจว่าเราจะทำอะไรด้วยความรู้สึกตัว ความลืมตัวก็จะน้อยลง เพราะเราจะมีสติ มีความรู้สึกตัว เช่น ถ้าเราเอามือถูตัวขณะอาบน้ำ เราก็จะรู้สึกถึงสัมผัสที่มือ รู้สึกว่ามือกำลังเคลื่อน กำลังลูบไล้ไปตามลำตัว เวลากวาดบ้าน ถ้าเราทำอย่างมีสติ ทำด้วยความรู้สึกตัว เราจะรู้สึกว่ามือนั้นเคลื่อนขณะที่กวาด เวลาเดิน ถ้าเราเดินด้วยความรู้สึกตัว เราจะรู้สึกว่าตัวกำลังเดิน เท้ากำลังขยับ หลักปฏิบัติง่ายๆ อย่างหนึ่งคือ ‘เวลากายทำอะไร ก็ให้รู้สึกว่ากำลังทำสิ่งนั้น’ เราใช้กายทำโน่นทำนี่หลายอย่างตลอดทั้งวัน อย่างเวลากินข้าว เราตักอาหารใส่ปากก็รู้สึกว่ามือนั้นเคลื่อน แต่ไม่ต้องไปจ้องมัน ให้รู้สึกรวมๆ รู้สึกเบาๆ ความรู้สึกว่ากายกำลังทำอะไร เป็นเครื่องชี้วัดว่าตอนนั้นเรารู้สึกตัวอยู่ เพราะใจมันอยู่กับเนื้อกับตัว เพราะเราทำด้วยสติ ทำอย่างมีสติ ‘กายทำอะไร ใจก็รู้สึก’ แต่ถ้าใจลอยเมื่อไหร่ มันไม่รู้สึกหรอกว่ากายทำอะไร #ปลุกสติออนไลน์ #พุทธิกา #ธรรมะเปลี่ยนชีวิต #ชีวิตเปลี่ยนสังคม
0 notes
louisvuillton · 2 years
Text
Tumblr media
ความรู้สึกตัว...ที่เกิดขึ้นมาทีละนิด
ขณะนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับหยดน้ำ
ที่เรากำลังสะสมทีละหยด..ทีละหยด
#วิศวกรอรุณวัชร์
#ว่าที่ร้อยเอกอรุณวัชร์
#ผู้ช่วยผู้ตรวจการอรุณวัชร์
0 notes
60thumma-blog · 7 years
Photo
Tumblr media
ในการปฏิบัติ ความรู้สึกตัว เราต้องมี ทั้ง กลวิธีจำเพาะ และ ความเข้าใจในการปฏิบัติที่ถูกต้อง กลวิธี : กลวิธี คือ การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ, คลึงนิ้วมือ, เดินมา-เดินไป. กลวิธีนี้ทำให้ร่างกายเราไม่อยู่นิ่ง; เราจะสามารถทำความรู้สึกตัวได้อย่างต่อเนื่องและชัดเจนเมื่อร่างกายมีการเคลื่อนไหว. ความเข้าใจ : ก) เราควรเข้าใจว่า ความรู้สึกตัว คือ รู้สึก หรือ รู้ เฉย ๆ , ไม่มีอะไรมากกว่านั้น, ไม่มีอะไรเพิ่มเติมจากนั้น. (เราไม่ต้องทำความรู้สึกตัวว่า เรากำลังเดิน, กำลังหายใจเข้า, กำลังหายใจออก: อย่างนั้นผิด. แค่รู้สึกเฉย ๆ : แค่นั้นพอ, ไม่ต้องมีอะไรอีก.) ให้เราทำความรู้สึกตัวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจ. เมื่อความคิดขึ้นมา, รู้; เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว, รู้สึก ข) เราควรเข้าใจว่า ไม่ว่าการเคลื่อนไหวใด ๆ เกิดขึ้น: แค่ รู้สึก หรือ รู้ เฉย ๆ แล้วก็ปล่อยไป. ไม่ต้องรู้ว่ามันเป็น ความโลภ หรือ ความโกรธ: มันไม่จำเป็น. เราแค่รู้สึก แล้วก็ปล่อยไป. ตัวอย่างเช่น เมื่อมีลมพัดมาเราแค่รู้สึก, ไม่ต้องรู้ชื่อของมัน; แม้แต่รู้ว่ามันเป็นลมก็ยังมากเกินไป. เราแค่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (เมื่อไม่มีลม) แค่นั้นพอ. เราไม่ต้องตั้งชื่อให้มัน, ไม่งั้นเราจะเกิดความสับสนขึ้นได้ ในการทำความรู้สึกตัวจากการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ, เราไม่ควรตั้งใจกับความรู้สึกมากนัก; ทำสบาย ๆ , อย่าจริงจังจนเกินไป. จากที่กล่าวมา ทั้งกลวิธีจำเพาะและความเข้าใจในการปฏิบัติที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็น. เพราะ ถ้าเรารู้แต่กลวิธีแต่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติ, ก็จะไม่เกิดผล. และ ถ้าเราเข้าใจในการปฏิบัติดีมาก, แต่ไม่มีกลวิธี, ก็จะไม่เกิดผลเช่นกัน. ดังนั้นในการปฏิบัติเราต้องมีทั้งกลวิธีจำเพาะและความเข้าใจในการปฏิบัติที่ดี สรุป: ๑. เราต้องทำมัน (ทำความรู้สึกตัว) ด้วยตัวเอง จนกระทั่งเรา รู้มัน, เห็นมัน, เข้าใจมัน, และเผยมันออก ภายในกาย-จิตของเรา. ๒. ต้องมีทั้งกลวิธีจำเพาะและความเข้าใจในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ๓. อย่าอยู่นิ่ง; เราควรเคลื่อนไหวตลอดเวลา ๔. ปฏิบัติให้มาก ๆ ด้วยกลวิธีดังกล่าว โดยปราศจาก การบังคับ หรือ การคาดหวัง ใด ๆ ทั้งสิ้น. ผลจากการปฏิบัติจะเกิดขึ้นเอง. โดย เขมานันทะ
2 notes · View notes
thammasukhopreview · 7 years
Photo
Tumblr media
สั่งซื้อหนังสือเรื่อง ดูจิตเพื่อรู้แจ้ง ได้ที่:
https://thammasukho.bentoweb.com/th/product/358734/product-358734
ดูจิตเพื่อรู้แจ้งผู้เขียน : หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช,สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา เนื้อหาโดยย่อ :หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมธรรมเทศนา 5 กัณฑ์ ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในเรื่อง "ดูจิตเพื่อรู้แจ้ง" ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการหัดดูสภาวธรรมตามความเป็นจริง การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด อิสรภาพใจ จิตตื่น ความรู้สึกตัว เเละกุญเเจของการปฏิบัติ ถ่ายทอดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย พร้อมทั้งข้อคิดดีๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้���นการดำเนินชีวิต เพื่อที่จะได้ไม่อยู่บนความไม่ประมาท มีคุณธรรมประจำใจ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยแท้จริงรายละเอียดหนังสือ :
ขนาด : 14.5 x 21 x 0.7 ซ.ม.
เนื้อกระดาษ : กระดาษถนอมสายตา
จำนวนหน้า : 120 หน้า
น้ำหนัก : 177 กรัม
0 notes
ateaaroundatree · 6 years
Photo
Tumblr media
พบกันอีกครั้งยามเย็นสำหรับการ “ปลุกสติ ออนไลน์” สัปดาห์ที่สอง ไม่ได้พบกันสามวัน ก็หวังว่าสามวันที่ผ่านมา ทุกท่านก็ยังพยายามเจริญสติในชีวิตประจำวัน ด้วยการทำความรู้สึกตัว ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาไม่ว่าทำกิจกรรมน้อยใหญ่ โดยเฉพาะกิจกรรมที่เราเคยทำเป็นกิจวัตร ก็ลองเติมความใส่ใจ เติมความรู้สึกตัวลงไป อย่าทำเป็นแบบอัตโนมัติหรือว่าปล่อยใจลอยคิดโน่นคิดนี่ เวลาอาบน้ำ ถูฟัน กินข้าว ก็เติมใจใส่ลงไป “ตัวอยู่ไหน ใจอยู่นั่น” ที่ผ่านมาสามวัน บางท่านก็อาจเผลอไปบ้าง ลืมไปบ้าง ธรรมดามากเลยนะที่เราจะลืมตัวในเวลาเราทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว ยิ่งงานที่ต้องใช้ความคิดด้วยก็ง่ายมากที่ใจเราจะหลงลอยไปกับความคิด ซึ่งบางทีไม่ได้คิดเรื่องที่เรากำลังวางแผนอยู่ แต่คิดไปไหนไม่รู้ เช่น ทีแรกคิดเรื่องงาน แล้วก็พลอยไปคิดเรื่องลูก เรื่องครอบครัว เรื่องไปเที่ยว “รู้ตัวเมื่อไหร่ กลับมา” จริงอยู่ว่าถ้าเราปฏิบัติในรูปแบบ เช่น ไปเข้าวัด ไปเข้าคอร์ส เราจะทำได้ดีกว่า เห็นผลได้ชัดเจนกว่า เพราะเราได้ปฏิบัติต่อเนื่อง ไม่ต้องหมกมุ่นครุ่นคิดกับงานการ แล้วก็ไม่มีงานให้ทำด้วย เพราะฉะนั้นการที่เราเจริญสติทำสมาธิ มันก็ไปได้ดี แต่ในเมื่อเรายังไม่มีเวลาที่จะไปเข้าคอร์ส ไปปฏิบัติธรรมในรูปแบบ เราก็ใช้ชีวิตประจำวันของเรานี่แหละ วันหนึ่งเราตื่นมา 17-18 ชั่วโมง ถ้าเราทำความรู้สึกตัวเจริญสติแม้แค่ 1 เปอร์เซ็นต์ก็ถือว่ามีประโยชน์แล้ว ดีกว่าปล่อยใจลอยไปเปล่าๆ หรือต่อไปเราขยายจากความรู้สึกตัวเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 2 เป็น 5 หรือเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ก็คือตื่นมา 18 ชั่วโมงเราก็รู้สึกตัวประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ หรือเกือบ 2 ชั่วโมง ก็ยังถือว่ามีประโยชน์ ดีกว่าทำอะไรไปเปล่าๆ โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เช่นเคยนะ วันนี้ก็มีคำถามที่หลายคนถามมา บางคำถามก็เป็นคำถามตกค้าง ซึ่งบางทีอาตมาตอบไปแล้ว แต่บางท่านอาจจะยังเข้าใจไม่ชัด . ตอบคำถามข้อสงสัยจากการปฏิบัติ 1) การเจริญสติแบบยกมือสร้างจังหวะ เราสามารถนับเลขไปด้วย และกำหนดลมหายใจไปด้วยได้ไหม เพราะเคยทำแล้วเกิดปิติซาบซ่านไปทั่วกายบ่อยๆ ทำให้ใจติดกับความสุขแบบนั้น มันก็ได้นะ แต่เราจะไม่ค่อยได้ความรู้สึกตัวที่ชัดเจน อาจจะได้สมาธิคือจิตนิ่ง แต่ “สมาธิ” กับ “ความรู้สึกตัว” มันเป็นคุณสมบัติของจิตคนละชนิด การเจริญสติยกมือสร้างจังหวะนั้นทำเพื่อสร้างสติ-ความรู้สึกตัว เพราะฉะนั้น ไม่ควรนับเลข ไม่ควรกำหนดลมหายใจ แต่ให้ใจรู้สึกว่ามือกำลังเขยื้อนขยับ “รู้ไปทั้งตัว” ไม่ใช่รู้เฉพาะมือ อย่างนี้จะช่วยทำให้เกิดความรู้สึกตัวได้ดีขึ้น . 2) นั่งสมาธิจับลมหายใจอยู่ สักพักก็รับรู้ถึงเสียงหัวใจเต้น สักพักก็ได้ยินชีพจรที่ข้อมือเต้น บางครั้งก็รู้สึกหน้าอกเคลื่อนไหวไปมา เราควรจับตัวใดตัวหนึ่งใช่ไหม โดยไม่จำเป็นต้องมาจับลมหายใจเสมอไป ที่จริงคือให้มัน “รู้รวมๆ” อย่าไปกำหนดหรือจดจ่อที่ตัวใดตัวหนึ่ง รู้รวมๆ คือให้ “รู้ไปทั้งตัว” ส่วนไหนที่เคลื่อนไหว เราก็รู้ชัดหน่อย แต่ไม่ใช่ไปจดจ่อตรงนั้น แต่ถ้าเราต้องการเน้นสมาธิ ก็จะใช้อีกวิธีหนึ่งคือ การไปจดจ่อกำหนดที่จุดใดจุดหนึ่ง อันนี้การปฏิบัติจะมีจุดมุ่งหมายคนละแบบ ที่อาตมาแนะนำตลอดตั้งแต่วันแรก คือ “รู้สึกตัว” ซึ่งจะนำไปสู่สมาธิในที่สุด . 3) รู้สึกตัวได้ดีเฉพาะเวลานั่งคลึงนิ้ว นั่งสมาธิในรูปแบบ และเดินไปมา แต่ในเวลาอื่นจะทำไม่ค่อยได้ เหมือนความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถอื่นๆ จะหลุดหายไปเลย บางทีนานมากกว่าจะกลับมาได้ เราควรปรับปรุงอย่างไร อันนี้ธรรมดานะ ก็ให้ทำอย่างที่อาตมาแนะนำไปตอนต้น โดยทำไปเรื่อยๆ ทำอย่างต่อเนื่อง อย่าไปหงุดหงิดที่ความรู้สึกตัวมันหายไป มันเป็นธรรมดา เราก็ทำไปเรื่อยๆ ต่อไปความรู้สึกตัวจะกลับมาเร็วเข้า ความระลึกรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่จะกลับมาเร็วเข้า ข้อสำคัญ คือ ให้รู้ว่าเรากำลังปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้สึกตัว อันนี้จะช่วยให้เรามีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติมากขึ้น . 4) ตอนที่พยายามให้ใจอยู่กับตัว ก็มักจะนึกถึงอิริยาบทต่อไป เช่น คอยนึกว่าเดี๋ยวจะทำอะไรต่อ จะยกแขนขวา ไปหยิบแก้วน้ำ จะก้าวเท้าไปข้างหน้า มันจะมีเสียงพากย์ล่วงหน้าเสมอ บางทีก็น่ารำคาญมากๆ บางทีแค่นึกล่วงหน้าแต่ไม่มีเสียง ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไร อย่าไปสนใจนะ เพราะถ้าเรายิ่งไปสนใจให้มันหายไป เรายิ่งรำคาญ ยิ่งอยากให้มันหาย พอมันยังอยู่เราก็หงุดหงิด อย่าไปสนใจมัน พอเราไม่สนใจเดี๋ยวมันก็ค่อยหายไปเอง ให้ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่มันจะมีเสียงพากย์ในใจ ซึ่งอาจเป็นเพราะมีความตั้งใจมาก หรือแต่ก่อนเราเคยทำในลักษณะนั้น ก็ไม่เป็นไรนะ เราก็ทำของเราต่อไปเรื่อยๆ . 5) หลังจากที่ต้องฝึกปฏิบัติเองโดยไม่ได้ฟังคำบรรยายแนะนำ รู้สึกว่าถูกความเครียดครอบงำจนสลัดไม่ออก แม้พยายามคิดให้อยู่กับปัจจุบัน ความเครียดก็ไม่หายเสียที เมื่อพิจารณาดูต้นเหตุก็พบว่ามีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงจนสางไม่ไหว จึงอยากขอคำชี้แนะ เข้าใจว่าผู้ถามคงจะเป็นคนที่มีความกังวลมาก เวลาทำอะไรก็ตาม ใจจะนึกถึงสิ่งต่างๆ ล่วงหน้าตลอดเวลา อาจจะนึกถึงงานการที่ยังค้างคาอยู่ พยายามเตือนใจให้ระลึกอยู่เสมอว่า “ให้เรากลับมาอยู่กับปัจจุบัน” อะไรที่ยังไม่เกิดขึ้นก็อย่าไปกังวลมาก เพราะมันอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เรานึกก็ได้ ให้ลองปล่อยวางสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น . 6) การทำงานที่ใช้ความคิด พอทำไปสักระยะจิตจะหลงไปกับความคิด บางครั้งก็ยาวนานจนมีความโลภและความอยากแทรกเข้ามา หรือบางครั้งก็คิดลบจนใจห่อเหี่ยว กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็รู้สึกเหนื่อยหมดแรง แบบนี้ควรแก้ไขอย่างไร อันนี้สะท้อนว่าผู้ถามเป็นคนขี้กังวลมาก จึงมักคิดเรื่องอนาคต คิดเรื่องการงานต่างๆ ทำให้เกิดความเครียด เกิดความอยาก เกิดความห่อเหี่ยว ฯลฯ ให้พยายามกลับมาอยู่กับปัจจุบันให้ได้ นอกจากนี้ ผู้ถามอาจจะพยายามไปกดข่ม บังคับจิต หรือจับจ้องความคิดมาก จึงรู้สึกว่าพอทำงานเสร็จก็เหนื่อยหมดแรง อันนี้สะท้อนว่าเป็นเพราะมีความเค��ียด ซึ่งอาจเป็นเพราะไปกดข่มบังคับจิตมากเกินไป . 7) การปฏิบัติแบบนี้ คือ การมีสมาธิมากไปจนไม่มีสติหรือไม่ อยากขอคำแนะนำ • เวลาขับรถก็จดจ่ออยู่กับการขับ มือจับพวงมาลัย เท้าเหยีบคันเร่ง แต่เพราะมัวจดจ่ออยู่กับการขับ ตาเห็นสิ่งกระทบแต่ไม่รับรู้ความหมาย เห็นรถคันข้างหน้าหยุด เห็นสิ่งกระทบคือไฟท้ายของรถคันหน้า แต่สัญญาไม่ทำงาน สมองไม่รับรู้ความหมายในทันที เพิ่งมาตีความได้เมื่อรถกระชั้นมากแล้ว จึงค่อยปล่อยคันเร่งแล้วมาเหยียบเบรค • เวลาขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงานก็จดจ่อกับการยืน รู้อาการของร่างกายที่ตั้งตรง ถ่ายน้ำหนักไปที่เท้าซ้ายขวาเพื่อทรงตัว พอมีเสียงบอกสถานีมากระทบหู หูได้ยินแต่สัญญาไม่ทำงาน เหมือนได้ยินเสียงผ่านมาแล้วก็ปล่อยไป มารู้ตัวเมื่อจิตหลุดจากการจดจ่อกับการยืน ถึงได้ทราบว่าผ่านสถานีที่ต้องการลงไปแล้ว เข้าใจว่าผู้ถามไปจ้องหรือเพ่งมากไป ไม่ได้ขับรถด้วยความรู้สึกตัว เพราะถ้าขับรถด้วยความรู้สึกตัว สัญญาต่างๆ มันจะทำงานของมันเอง เช่นเดียวกับตอนขึ้นรถไฟฟ้า ก็คงจะเพ่งมากไป โดยบังคับจิตหรือไปจดจ่ออยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอย่างที่เล่ามา จึงให้ทำแบบสบายๆ ให้ใจมันอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องจดจ่ออยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่ให้ “รู้รวมๆ” . 8) เวลายกมือสร้างจังหวะ เราควรรู้สึกถึงมือที่เคลื่อน หรือรู้รวมๆ ทั้งมือและแขนที่เคลื่อน รวมทั้งบางทีตั้งใจรู้มากเกินไป จนทำให้รู้สึกเครียด ควรแก้ไขอย่างไร ให้รู้รวมๆ นะ หมายความว่าแม้จะไม่ใช่มือหรือแขน เช่น ถ้ากระพริบตาหรือกลืนน้ำลาย ก็ให้รับรู้ด้วย ถ้าตั้งใจมากเกินไปแล้วเครียด ก็อย่าไปตั้งใจให้มาก บางทีทำด้วยความอยากมันก็เลยมีความตั้งใจสูง ให้ลองทำโดยวางความอยากลง ส่วนใหญ่ผู้ถามหลายคนจะมีความอยากให้สงบ อยากให้จิตไม่ฟุ้ง ก็ให้วางความอยากนี้ เพราะธรรมดาของจิตมันก็จะคิด มันก็จะฟุ้ง ถ้าเราอยากให้จิตมันหยุดคิดหยุดฟุ้ง พอมันฟุ้งขึ้นมาเราก็หงุดหงิด พอหงุดหงิดเราก็จะบังคับจิตให้มันหยุดคิด แล้วเราก็เลยเครียด . 9) ใช้เวลากับ Facebook หรือ Line นานๆ ทั้งแบบทำงานและเพื่อผ่อนคลาย ระหว่างนั้นรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง เช่น เปิดดูแล้วกด likeไปเรื่อยๆ จนเพลินไปเลย ทำอย่างไรดี ไม่รู้ตัวเพราะไม่มีสติ และที่จริง Line กับ Facebook เขาดีไซน์มาเพื่อให้เราจดจ่ออยู่กับเขาจนเพลิน อันนี้เราต้องเข้าใจนะว่า app ต่างๆ เขามี gimmick มีลูกเล่น มี feature ที่จะดึงให้เราจดจ่ออยู่กับ app ของเขาให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ไม่ว่าจะเป็นปุ่ม like ปุ่ม share ปุ่ม feed พวกนี้เขาดีไซน์มาเพื่อให้เราให้เวลากับ app ของเขาให้นานๆ ฉะนั้น เราก็อย่าไปปล่อยใจลอยมากเกินไป อย่าเผลอ “ให้มีสติ” โดยอาจกำหนดเวลาว่าจะใช้ Line ใช้ Facebook ใช้ app พวกนี้นานเท่าไหร่ หรือบางทีอาจต้องมีระฆังแห่งสติคอยเตือนทุก 3 หรือ 5 นาที ก็ไปโหลดได้นะ มันมีโปรแกรม มี app เกี่ยวกับระฆังแห่งสติอยู่ บางทีอาจช่วยได้ . 10) การทำหลายอย่างพร้อมกัน เช่น ขณะอาบน้ำก็คิดวางแผนงานไปด้วย ขณะวิ่งก็คิดแก้ปัญหางานไปด้วย หากทำเช่นนี้ไปนานๆ จะก่อให้เกิดผลเสียอย่างไรกับตัวเองบ้าง เพราะถ้าดูระยะสั้นก็เหมือนจะมีประโยชน์ ระยะสั้นมีประโยชน์ แต่ระยะยาวมันทำให้ใจเราฟุ้งง่าย ใจลอยง่าย ถ้าเราคิดอยู่เรื่อยๆ ต่อไปมันจะคิดไม่หยุด แล้วเมื่อคิดไม่หยุด ถึงเวลาจะวางความคิดมันก็หยุดคิดไม่ได้ ถึงเวลาจะนอนก็ยังคิดอยู่ ถึงเวลาจะทำอะไรก็ไม่มีสมาธิ เพราะมันจะคิดเรื่อยเปื่อย ถ้าไม่อยากให้ความคิดมาเป็นนายเรา ก็ต้องคิดเป็นเรื่องๆ คิดทีละอย่าง อย่าทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น ทำกิจวัตรไปด้วยแล้วคิดงานไปด้วย มันจะทําให้ใจเราฟุ้งง่าย ไม่มีสมาธิเวลาจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ แล้วต่อไปความคิดมันจะใช้เรา ไม่ใช่เราใช้ความคิด เพราะความคิดมันจะกลายเป็นนายเรา . 11) ได้ฟังคำแนะนำให้ “ทำทีละอย่าง” ก็มีความเข้าใจอยู่ แต่เวลาทำงานก็ทำไม่ทันจริงๆ หากเวลาทำงาน เราพยายามทำให้ได้ผลสูงสุด แล้วค่อยกลับมาฝึกสติในรูปแบบ เช่น เดินจงกรมตอนก่อนนอนไปเลย จะพอได้ไหม ก็พอได้ ยังดีกว่าไม่ทำ แต่อาตมาก็อยากแนะนำว่า เวลาทำอะไร ถ้าเป็นไปได้ก็ทำทีละอย่าง อย่าทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน ถ้าทำไม่ทันจริงๆ ก็อาจจะต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน แต่ว่าอย่าให้มันเกิดขึ้นบ่อย ประเด็นนี้มันอยู่ที่การวางแผนงานด้วย ถ้าวางแผนงานดีๆ บริหารงานดีๆ การทำไม่ทันก็จะน้อยลง ถ้าเราวางแผนทำงานแต่เนิ่นๆ การกระหืดหระหอบทำให้เสร็จเพื่อให้ทัน deadline ก็จะลดน้อยลง มีหลายคนที่เขาเคยมีงานเยอะๆ แล้วตอนหลังเขาเริ่มที่จะทำทีละอย่าง เริ่มตั้งแต่กินข้าวก็เคี้ยวช้าๆ แล้วเขาก็เริ่มมีสติกับการทำงาน ปรากฏว่าเขาสามารถมีเวลาว่างมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะเขาบริหารงานกระจายงานให้คนอื่นทำ รวมทั้งเวลาตั้งใจจะคิด เขาก็คิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะใช้เวลาคิดนานก็ใช้เวลาไม่นาน นอกจากนี้เวลาที่ทำอะไรแล้ว “ทำอย่างมีสติ” มันจะไม่เหนื่อยง่าย เมื่อไม่เหนื่อยง่ายก็ทำให้งานได้ผลดี กลายเป็นว่าการทำทีละอย่างกลับทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข” . 12) มีอาชีพเป็นเซลล์ ทำงานใช้คอมพิวเตอร์และต้องขายให้ลูกค้าทางโทรศัพท์ ขณะที่คุยโทรศัพท์กับลูกค้า มือก็พิมพ์ใบเสนอราคาไปด้วย อย่างนี้เหมาะสมไหม เพราะเหมือนจะไม่ใช่การทำทีละอย่าง (ปกติเป็นคนทำอะไรเร็ว แต่ไม่ได้ลนลาน) กรณีอย่างนี้อาจเรียกว่าจำเป็น เพราะเป็นสถานการณ์ที่ต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน แต่ช่วงเวลาที่เราไม่ได้อยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ก็ให้ทำละอย่าง ทำด้วยความรู้สึกตัว ไม่ต้องรีบไม่ต้องรน ของแบบนี้เราสามารถอาศัยเวลาในชีวิตประจำวันของเรา ที่ไม่ใช่รีบไม่ใช่รน ในการเจริญสติทำความรู้สึกตัวได้ และต่อไปเวลาสติเราไวขึ้น ความรู้สึกตัวเราดีขึ้น ถึงเวลาจะต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน หรือว่าเร่งรีบ มันก็ทำได้ด้วยใจไม่ฟุ้ง เหมือนกับรถไฟที่แล่นด้วยความเร็วสูง อย่างรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่น เร็วมากเลยนะ แต่ถ้าไปนั่งข้างในรถจะรู้สึกเลยว่ามันนิ่ง "ข้างนอกดูมันเร็ว แต่ข้างในมันสงบและนิ่ง" ผู้ที่เจริญสติมาจนกระทั่งอยู่ตัว แม้ทำอะไรเร็วๆ ในบางครั้งบางคราว แต่ข้างในนิ่ง เรียกว่า "ข้างนอกรีบ แต่ข้างในเย็น นิ่ง" อันนี้เป็นผลของการปฏิบัติ การเจริญสมาธิ และโดยเฉพาะการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง . อาตมาก็ขอวิสัชนาเพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่อีกครั้งวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม เวลาสี่โมงเย็นเช่นเคย หวังว่าจากนี้ไปจนถึงวันอาทิตย์ เราจะยังคงปฏิบัติทำความรู้สึกตัว “ตัวอยู่ไหนใจอยู่นั่น” และ “ทำทีละอย่าง” ไปเรื่อยๆ ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่เป็นไร ขอให้ทำไปเรื่อยๆ เท่าที่เราจะทำได้ ก็ขอยุติแต่เพียงเท่านี้ #ปลุกสติออนไลน์ #พุทธิกา #ธรรมะเปลี่ยนชีวิต #ชีวิตเปลี่ยนสังคม
0 notes
ateaaroundatree · 6 years
Photo
Tumblr media
พบกันอีกครั้งยามเย็น วันนี้หลายคนอาจจะทำงานตั้งแต่เช้า มาจนถึงตอนนี้ มีความเครียดบ้างไหม มีความวิตกกังวลบ้างหรือเปล่า ลองสังเกตนะ เห็นความเครียด เห็นความวิตกกังวล ถ้าเราลองสังเกตบ่อยๆ จะช่วยให้ความรู้สึกตัวกลับมาเร็วขึ้น พอเราเห็นความเครียดความวิตกกังวล ธรรมชาติของอารมณ์เหล่านี้จะค่อยๆ สงบลง ยิ่งสติมีกำลังแรงมากเท่าไร ความเครียดความวิตกกังวลหรืออารมณ์อื่นๆ ก็จะดับไปเร็วเข้า เพราะว่า ‘ความหลง’ มันแพ้ ‘ตัวรู้’ สตินี่คือตัวรู้ ต่อไปเป็นการตอบคำถามข้อสงสัยจากการปฏิบัติ . 1) ในขณะที่เราไม่คิดอะไร ก็จะมีเสียงเพลงแทรกเข้ามาในหัวเอง เราควรจัดการกับเสียงที่เข้ามาในหัวนั้นอย่างไร ก็ให้เฉยๆ อย่าไปทำอะไรกับเสียงนั้น เพราะถ้าคุณยิ่งไปผลักไส ยิ่งไปกดข่ม เสียงนั้นมันจะยิ่งรบกวน ยิ่งรังควาญมากขึ้น นี่เป็นธรรมชาติของทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจ รวมทั้งเสียงแว่วด้วย ยิ่งไปผลักไส มันยิ่งคงอยู่ เราแค่ ‘รู้เฉยๆ’ แล้วก็ไม่ต้องไปสนใจ ช่วงแรกๆ เสียงนั้นจะยังอยู่ แต่พอทำไปเรื่อยๆ รับรู้เฉยๆ มันจะค่อยๆ หายไปเอง เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปยุ่งกับมัน . 2) ทำอย่างให้เกิดความสมดุล ระหว่างการฝึกสติอย่างตั้งใจจนกลายเป็น ‘เพ่ง’ กับการเผลอมากไปจน ‘เลื่อนลอย’ หรือ ‘เผลอหลับ’ ปัญหาของนักปฏิบัติจำนวนมากคือ ตั้งใจมาก มันก็เลยเพ่ง ที่ตั้งใจมากเพราะอยากให้สงบ พออยากสงบก็เลยพยายามไปกดข่มความคิด หรือไปเพ่งที่จุดใดจุดหนึ่งของร่างกายเพื่อจะได้ไม่คิด เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากเครียด ก็ให้วางความอยากลง ให้มองว่ามันจะฟุ้งก็ไม่เป็นไร มันจะมีความคิดผุดขึ้นมาก็ไม่เป็นไร มองในแง่ดีคือมันเป็นคู่ซ้อมให้กับสติ ถ้าไม่มีความคิดแบบนี้เกิดขึ้น สติก็ไม่มีคู่ซ้อม เมื่อสติไม่มีคู่ซ้อมก็จะเหมือนนักมวยที่จะอ่อนแอเพราะไม่มีคู่ชกด้วย เพราะฉะนั้น อย่าไปรังเกียจความฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านไม่ใช่ปัญหา ใจที่ไม่ชอบความฟุ้งซ่านต่างหากคือปัญหา เพราะมันทำให้ทุกข์ ทำให้เครียด ทำให้หงุดหงิดเวลามีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น แล้วก็จะทำให้มีการไปกดข่มบังคับจิต หรือการไปจ้องเฝ้าดูความคิด ซึ่งจะทำให้เครียดได้ง่าย คราวนี้ถ้าเกิดว่าทำไปๆ เกิดจิตมันหย่อนเกินไป เราก็ตั้งหลักให้ดี แล้วก็เพิ่มความตั้งใจเข้าไปอีกนิด มันเป็นเรื่องของความพอดี ความตั้งใจที่พอดีๆ จะทำให้เกิดสติความรู้สึกตัวได้ไว ตั้งใจน้อยไปก็หย่อนกลายเป็นง่วง ตั้งใจมากไปก็เพ่งกลายเป็นเครียด พยายามค่อยๆ ปรับใจของตัวเอง ทำไปเรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ปรับมาสู่ความพอดี คือ ไม่น้อยไป ไม่มากไป เหมือนกับขับรถจักรยาน ใหม่ๆ ขับไม่เป็นก็ล้ม เพราะทรงตัวไม่ถูก แต่พอเราหัดขับไปเรื่อยๆ เราจะทรงตัวได้ถูก ร่างกายจะไม่ตึงเกินไป จะไม่เกร็งเกินไป และจะไม่หย่อนเกินไป พอร่างกายทรงตัวพอดีๆ การขับรถจักรยานก็จะไปได้ดี ทรงตัวได้ต่อเนื่อง . 3) เมื่อมีความง่วงเกิดขึ้น แสดงว่าเราไม่มีสติอยู่กับตัวใช่ไหม แล้วจะแก้อย่างไร รวมถึงทำอย่างไรจะมีความเพียรในการปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ ความง่วงเกิดขึ้นแปลว่าเรา ‘หลง’ ไปแล้ว ซึ่งอาจจะเกิดจากความเพลียของร่างกาย หรือความเบื่อของใจ วิธีแก้คือเปลี่ยนอิริยาบถ ถ้าเรานั่งอยู่ก็ลุกมาเดิน หรือขยับแข้งขยับขา ถ้าหากอยู่ในห้องก็ลองออกไปเดิน ไปเห็นท้องฟ้ากว้างๆ ออกไปเจอที่โล่งๆ หรือมิฉะนั้นก็เอาน้ำลูบหน้า หรือไปอาบน้ำเลยก็ได้ อาตมาใช้วิธีนี้บ่อย เป็นวิธีที่ช่วยทำให้ความง่วงลดน้อยถอยลง มันเป็นธรรมดานะ อยากจะบอกว่าความง่วงนี้เป็นด่านแรกๆ เท่านั้นแหละ พอทำไปเรื่อยๆ เราจะผ่านด่านของความง่วงได้ และจะไปเจอด่านอื่นอีก ขอให้ตั้งใจทำไปเรื่อยๆ นะ อย่าท้อถอย . 4) การที่เราจะ ‘เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง’ ด้วยสภาพชีวิตคนเมืองปัจจุบันนั้นทำได้ยากมาก (เช่น เวลาทานข้าว ตักข้าวเข้าปากเราก็รู้ตัว ตักคำหนึ่งแล้วก็หันมาตอบแชท) จริงๆ ไม่ยากอะไร เราก็อย่าเพิ่งไปตอบแชท อย่าเพิ่งไปสนใจโทรศัพท์มือถือ อาจจะปิดเสียงเลยก็ได้ หรือออฟไลน์ไปเลยเวลากินข้าว การออฟไลน์นี่มันต้องใช้ความกล้านะ แต่ถ้าเราลองทำบ่อยๆ มันจะไม่ใช่เรื่องยาก กินข้าวก็ดี ทำงานก็ดี เราลองออฟไลน์หรือปิดเสียงไปเลย มันทำได้ไม่ยากนะ ขอให้มีความตั้งใจ . 5) เวลาขับรถไปก็รู้ตัว แต่ก็ทานขนมไปด้วย จังหวะที่หยิบขนมก็รู้ตัว แบบนี้ทำได้ไหม ทำได้ แต่ว่าลองขับรถโดยไม่ทานขนมดูก็ดีนะ ให้ใจเราอยู่กับการขับรถ มันไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่อถ้าใจเรามีสติ แต่ถ้าจะทานขนมหรือดื่มน้ำเพื่อปลุกร่างกายให้ตื่น อันนี้ก็ทำได้ ขอให้ทำด้วยความรู้สึกตัวในขณะที่เราหยิบขนมหรือหยิบน้ำขึ้นมาดื่ม . 6) เวลาทำงานหรือขับรถ แล้วเราบริกรรม ‘พุทโธ’ อย่างนี้ถือว่าทำสองอย่างในเวลาเดียวกันไหม ตอบว่าไม่ใช่ เพราะการบริกรรม ‘พุทโธ’ คือการเสริมให้จิตอยู่กับการขับรถหรือทำงาน การบริกรรมเป็นเครื่องมือในการผูกจิตให้อยู่กับการกระทำ ซึ่งทำให้เกิดการกำหนดหรือตะล่อมจิตให้สงบ แต่ความรู้สึกตัวอาจจะไม่เต็มที่เท่ากับการที่เราทิ้งคำบริกรรม แล้วก็ให้ใจมารับรู้อยู่กับการทำงานนั้นๆ โดยไม่ต้องมีคำบริกรรมมาเป็นตัวแทรกหรือผูกจิตเอาไว้ ลองทำดูนะ ลองไม่ใช้คำบริกรรมดู แล้วจะพบว่าความรู้สึกตัวก็เกิดขึ้นได้ขณะที่เราทำงานต่างๆ . 7) ขณะทำงานอยู่มีคนชื่นชมและมีคนตำหนิเรา แต่ก็รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้ดีใจหรือเสียใจ ความรู้สึกแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่จะเกิดเฉพาะช่วงที่ร่างกายแข็งแรงและสมองโล่ง แบบนี้เรียกว่าอะไร เรียกว่าเรามีสติ เมื่อเรามีสติ ใจเราก็ไม่กระเพื่อมขึ้น ไม่กระเพื่อมลง ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เพราะจิตใจเรามั่นคง แต่หากตอนนั้นร่างกายล้าหรือใจเครียดอยู่ สติเราจะอ่อน และใจก็กระเพื่อมได้ง่าย เวลาร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เหนื่อย สมองตื้อ ก็ให้ลองสังเกตว่าใจนี่มันมีความยินร้าย มีความไม่พึงพอใจอย่างไรบ้าง ถ้าเรามีสติเห็นอาการอย่างนั้นของใจ จะช่วยทำให้ใจเรากลับมามั่นคง และสามารถเผชิญกับสิ่งที่มากระทบได้ ไม่ว่าจะเป็นคำชื่นชมหรือคำตำหนิก็ตาม . 8) ขณะที่นั่งดูและฟังคำสอนอยู่นั้น สายตาก็เห็นวิวด้านหลังว่ามีฝูงนกบินขึ้นไป ตาจึงเหลือบมองฝูงนกที่บินนั้นแทน อย่างนี้ถือว่า ‘สติหลง’ ไหม สติไม่หลง แต่ว่าใจมันหลง เรียกว่าเผลอไป ถ้าเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วครู่ก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นธรรมดา พอเผลอไปสักพัก สติก็จะมาเตือนให้เรากลับมาฟังคำบรรยายต่อ . 9) การคลึงนิ้วคืออะไร ทำเพื่ออะไร คลึงนิ้วก็เพื่อช่วยให้ใจมันมีงานทำเวลาอยู่นิ่งๆ เวลาอยู่นิ่งๆ ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย ใจก็จะลอยออกไปโน่นไปนี่ ไหลไปอดีตบ้าง ลอยไปอนาคตบ้าง การที่เราคลึงนี้วก็เพื่อให้ใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว ความรู้สึกขณะที่คลึงนิ้วเป็นความรู้สึกเบาๆ ถ้าทำบ่อยๆ มันจะสามารถดึงจิตให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว ให้กลับมารู้สึกตัวได้ เราพยายามทำให้กายเป็นบ้านของใจ การคลึงนี้วเป็นวิธีการที่จะดึงจิตให้กลับมาอยู่กับกาย ให้ถือว่ากายเป็นบ้าน แต่เราจะไม่ใช้วิธีการเพ่ง แค่ทำเบาๆ รู้สึกเบาๆ มันก็ไม่ต่างจากการตามลมหายใจ หรือการรับรู้ลมหายใจที่เข้าออก แต่ลมหายใจมันเบากว่าการคลึงนิ้ว การคลึงนิ้วจะช่วยทำให้เรามีสติรู้ตัว แม้กระทั่งเวลาอยู่ท่ามกลางผู้คนเยอะๆ อยู่ริมถนนหรือในห้างสรรพสินค้า เราคลึงนิ้วเบาๆ ใจก็อยู่กับเนื้อกับตัวได้ . 10) เวลาเจริญสติแบบเคลื่อนไหว 14 จังหวะ ใจเราจะตามมือที่เคลื่อนไป ทำแบบนี้ถูกไหม อย่างนี้เรียกว่าเพ่งแล้ว ใจเราไม่ต้องตามมือที่เคลื่อน แค่ให้รู้รวมๆ ว่ามือกำลังเคลื่อน รู้สึกว่ามือกำลังเคลื่อน แต่ไม่ใช่ใจไปอยู่กับมือ แบบนี้จะเรียกว่าเพ่ง ทำไปนานๆ ก็จะเครียด ให้ถอนออกมาหน่อย ให้ใจออกมาห่างสักหน่อย แล้วใจก็จะอยู่กับเนื้อกับตัว จนเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม . 11) นั่งสมาธินานแล้วเบื่อ เราควรทำอย่างไรดี ให้ลองสังเกตเห็นความเบื่อดู ว่า ความเบื่อมันเกิดขึ้นอย่างไร พร้อมกับลองสังเกตดูว่า ความเบื่อนี้มันไม่ใช่มาแล้วอยู่แบบปักหลัก แต่มันมาแล้วก็ไป มาแล้วก็ไป ถ้าเราทำสมาธิเพื่อเอาความสงบ ความเบื่อจะไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าเราทำกรรมฐานเพื่อที่จะรู้จักกายและใจของตัวเอง ความเบื่อจะมีประโยชน์ เพราะมันทำให้เราได้เห็นว่าความเบื่อก็ไม่เที่ยง ‘มาแล้วก็ไป มาแล้วก็ไป’ เราจะเห็นอนิจจังจากความเบื่อ ทำให้เกิดปัญญา (นอกจากความเบื่อแล้วอารมณ์อื่นก็เช่นกัน) ฉะนั้นอย่าไปรังเกียจความเบื่อ หน้าที่เราก็แค่ ‘รับรู้’ เพราะถึงที่สุดแล้ว เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเบื่อ เป็นมิตรกับความเบื่อให้ได้ ถ้าเราเป็นมิตรกับความเบื่อได้ เราจะเป็นมิตรกับอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงกว่านั้นได้ เช่น ความเจ็บความปวด เราจะไม่ผลักไสมัน เราจะอยู่กับมันโดยใจไม่ทุกข์ และเราจะเป็นมิตรกับมันได้ในที่สุด . 12) จะแนะนำให้ผู้ป่วยระยะท้ายเจริญสติด้วยวิธีง่ายๆ อย่างไรได้บ้าง กรณีผู้ป่วยไม่เคยทำกรรมฐานวิธีใดมาก่อน ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้ปกติ ก็อาจใช้ลมหายใจเข้า-ออก โดยอาจมีการบริกรรมมาช่วยด้วยก็ได้ เช่น หายใจเข้า (พุท) หายใจออก (โธ) หรือหายใจเข้า (หนึ่ง) หายใจออก (สอง) สลับไปจนถึงสิบ หากทำแล้วรู้สึกว่ายากเกินไป ก็ลองเปลี่ยนมาใช้การกำมือ-แบมือ โดยใช้คำบริกรรม ‘พุทโธ’ หรือคำอื่นๆ ก็ได้เช่น กำมือ (สบาย) แบมือ (ผ่อนคลาย) ในการกำมือแล้วแบ เราจะใช้เพื่อสร้าง ‘สมาธิ’ ให้จิตอยู่กับมือจะได้ไม่ไปจมอยู่กับความปวด หรือจะใช้เพื่อสร้าง ‘ความรู้สึกตัว’ ก็ได้เช่น กำมือ (รู้ตัว) แบมือ (มีสติ) อย่างนี้เป็นต้น ถ้าให้ดี เราก็ทำไปกับเขาด้วย เขาจะรู้สึกมีเพื่อนและปฏิบัติได้นาน . 13) เวลาเจ็บป่วยมากๆ เกิดทุกขเวทนา (เช่น ปวดท้องรุนแรง) เราควรกำหนดจิตอย่างไร ให้รู้สึกเจ็บปวดน้อยลง แนะนำให้สังเกตใจ เวลามันเจ็บปวด ใจมันเป็นยังไง เห็นความไม่พอใจ เห็นโทสะที่เกิดขึ้นในใจไหม เห็นใจที่มันบ่นโวยวายว่า ‘ไม่ไหวแล้วๆ’ ไหม เวลาปวดท้อง ใจอย่าไปอยู่ที่ท้อง ให้ใจมาอยู่ที่ ‘ความรู้สึก’ หรือ ‘อารมณ์’ ที่เกิดขึ้นว่าตอนนั้นรู้สึกอย่างไร (เช่น ความไม่พอใจ โทสะ ความท้อ) อารมณ์เหล่านี้ คือสิ่งที่ทำให้ทุกข์ยิ่งกว่าความเจ็บปวดทางกาย คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักว่า ความทุกข์ใจมันร้ายกว่าความทุกข์กาย และความทุกข์ใจมันแสดงออกในหลายลักษณะ เช่น บ่น โวยวาย ตีโพยตีพาย (ไม่ไหวแล้ว ทำไม่ต้องเป็นฉัน) หรือมีโทสะ ถ้ามีสติเห็น ความทุกข์ใจจะเพลาลง และถ้าหากมันดับไปเลย คราวนี้ก็เหลือแต่ความทุกข์กาย ซึ่งมันแค่ 1 ใน 3 ของความทุกข์เดิมที่เกิดขึ้น . 14) เวลาปกติก็พอจะมีสติอยู่กับปัจจุบันได้ แต่เวลามีเรื่องเครียดเข้ามาทำให้จิตใจไม่สบาย สติก็ไม่สามารถจดจ่อในปัจจุบันเพราะมีเรื่องต้องคิด เราควรวางใจอย่างไร ก็ให้สติมารู้ทันความเครียด จะเครียดหรือหงุดหงิด ก็มีสติเห็น อันนี้เรียกว่า ‘รู้ใจคิดนึก’ อย่างที่เมื่อเช้านี้ได้พูดไปเรื่อง ‘รู้กายเคลื่อนไหว เห็นใจคิดนึก’ เห็นใจที่มันบ่น ใจที่มันเครียด ให้ลองสังเกตตรงนี้ แล้วก็อย่าไปทำอะไรความเครียดนั้น ไม่ต้องไปผลักไสหรือกดข่ม แค่รู้เฉยๆ เดี๋ยวมันไปเอง ขณะเดียวกัน เวลาเราจะกลับมาสู่เรื่องที่คิด ก็ให้ลองสังเกตว่า เราคิดในสิ่งที่เป็นปัจจุบันไหม หรือคิดถึงเรื่องอนาคตข้างหน้าจนกระทั่งไปไกลเลยหรือเปล่า กลับมาอยู่กับปัจจุบันให้ได้ และถ้าเครียดก็รู้ว่าเครียด กังวลก็รู้ว่ากังวล . 15) เราสามารถดูลมหายใจ สลับกับรู้สึกตัวแบบทำทีละอย่างได้ไหม อาตมาเห็นว่า ถ้าจะดูลมหายใจก็ดูไปอย่างต่อเนื่องเลยนะ ถ้าจะรู้สึกตัวก็ทำไป อันที่จริงการดูลมหายใจแบบที่ทำให้เกิดความรู้สึกตัวก็ทำได้นะ คือดูห่างๆ ไม่ใช่เอาจิตไปแนบอยู่กับลมหายใจ เมื่อหายใจก็รับรู้กายไปด้วยว่า เมื่อหายใจเข้า-หน้าอกพอง-ท้องก็ขยาย เมื่อหายใจออก-หน้าอกหด-ท้องก็ยุบ คือเห็นภาพรวมของกายขณะที่หายใจเข้า-หายใจออก แบบนี้ก็ทำให้เกิดความรู้สึกตัวได้ เพราะทำให้เห็นรวมๆ แต่ถ้าจิตไปเพ่งที่ลมหายใจ มันจะไปจดจ่อเฉพาะจุด ซึ่งให้ผลที่แตกต่างจากการทำให้เกิดความรู้สึกตัว . 16) บางทีเกิดอาการเผลอไม่มีสติไปยาวๆ จึงเริ่มต้นใหม่ด้วยการตามรู้ลมหายใจก่อน แล้วค่อยตามอิริยาบถ ไม่ทราบว่าทำถูกไหม ก็ได้นะ ใช้ลมหายใจเป็นตัวเริ่ม เป็นตัวดึงให้จิตกลับมา แล้วค่อยมาทำความรู้สึกตัว เย็นนี้ก็ตอบคำถามเท่านี้���่อน แล้วพรุ่งนี้เช้าเราค่อยมาพบกันใหม่ตอน 6 โมงเช้า #ปลุกสติออนไลน์ #พุทธิกา #ธรรมะเปลี่ยนชีวิต #ชีวิตเปลี่ยนสังคม
0 notes
ateaaroundatree · 6 years
Photo
Tumblr media
“สติ ความรู้สึกตัว” จะสามารถช่วยบรรเทาความทุกข์ ความเครียด ความวิตกกังวลในจิตใจได้ ช่วยให้ทำงานอย่างสดชื่นเบิกบานมากขึ้น - พระไพศาล วิสาโล - #ปลุกสติออนไลน์ #พุทธิกา #ธรรมะเปลี่ยนชีวิต #ชีวิตเปลี่ยนสังคม
0 notes
louisvuillton · 6 years
Photo
Tumblr media
ความรู้สึกตัว...ที่เกิดขึ้นมาทีละนิด ขณะนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับหยดน้ำ ที่เรากำลังสะสมทีละหยด..ทีละหยด #LouisArunwach
0 notes
60thumma-blog · 7 years
Video
undefined
tumblr
ความรู้สึกตัว หรือ สติ
0 notes