chutikanjida-blog
chutikanjida-blog
Untitled
13 posts
Don't wanna be here? Send us removal request.
chutikanjida-blog · 5 years ago
Text
วิตามินดี ดีสำหรับเด็กอย่างไร ลูกของคุณกำลังขาดวิตามินดีอยู่หรือไม่ เช็คด่วน!
Tumblr media
    การที่ลูกมีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันไม่เจ็บป่วยง่าย ย่อมเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องการ เมื่อลูกๆ เริ่มโตขึ้น เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจดูแล นั่นคือเรื่องของอาหารการกิน ต้องให้แน่ใจว่า ลูกได��รับสารอาหาร แร่ธาตุ อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะวิตามิน ที่เป็นเหมือนเกราะคุ้มกัน เสริมภูมิต้านทาน เพื่อให้ร่างกายเติบโต แข็งแรง มีสุขภาพที่ดีที่สุด     โดยส่วนใหญ่พ่อแม่มักให้ความสำคัญกับวิตามินที่คุ้นเคย เช่น วิตามินซี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน วิตามินบีช่วยในเรื่องสมองและความจำ แต่ใครจะคิดว่ามีอีกหนึ่งวิตามินที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยนึกถึงนั่นก็คือ วิตามินดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของกระดูกและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ควรเสริมให้ลูกได้รับทานอาหารที่มีวิตามินดี อย่างเต็มที่ ครบถ้วนเพราะอาหารที่มีปริมาณของวิตามินดีนั้นมีน้อยชนิดมาก ส่วนมากของอาหารไทยจะไม่มีวิตามินดี พบมากในปลาทะเล บริเวณส่วนเนื้อที่มีไขมัน และเห็ดแต่ก็มีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องได้รับเสริมจากแหล่งอื่นในทุกช่วงอายุ     - ในเด็กแรกเกิด ที่กินนมแม่อย่างเดียว จะพบว่ามีปริมาณวิตามินดีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงจำเป็นต้องเสริมวิตามินดีสำหรับเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว     - ในเด็กวัยเรียน ต้องได้รับวิตามินดีเสริมในรูปของนมหรืออาหารที่ผ่านกระบวนการผสมวิตามินดี ที่เรียกว่า Fortified Milk ซึ่งนมกล่อง ในลักษณะนมวัวแท้ๆ จะไม่มีปริมาณของวิตามินดีและธาตุเหล็กเพียงพอสำหรับเด็กในวัยนี้ ทำให้เด็กขาดวิตามินดี ทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรง
Tumblr media
ลักษณะการขาดวิตามินดี อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
Tumblr media
การวินิจฉัย สามารถเจาะเลือด เพื่อตรวจหาปริมาณวิตามินดีในร่างกาย และตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก     การออกกำลังกายกลางแจ้ง ในสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ แสงแดดกลางแจ้ง ในช่วงเวลา 10.00 - 15.00 น. นาน 15 - 30 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างถูกต้อง และในเด็ก ให้กินนมที่มีส่วนผสมของวิตามินดีและธาตุเหล็ก พักผ่อนให้เพียงพอ มีความรู้ มีความระมัดระวังในการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย
Tumblr media
    วิตามินดี ดีสำหรับเด็ก เด็กทุกคนควรได้รับวิตามินดีในปริมาณที่เพียงพอ เหมาะสม รวมไปถึงการได้รับสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ แข็งแรงตามวัย เสริมสร้างพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก     ศูนย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนนทเวช พร้อมให้บริการดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ด้วยทีมกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาต่างๆ และพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทางในการดูแลเด็กตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ยาและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ มีการแยกพื้นให้บริการสำหรับเด็กแรกเกิดที่มาพบแพทย์และเด็กรับวัคซีน ออกจากเด็กป่วยที่มาพบแพทย์อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ปครองและผู้ป่วยเด็กได้รับบริการภายใต้มาตรฐานคุณภาพอย่างดีสูงสุด
Tumblr media
นพ.วีระกิจ หิรัญวิวัฒน์กุล ศูนย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนนทเวช 27 พฤษภาคม 2563 ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/vitamin-d.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Text
“มะเร็งรังไข่” มะเร็งทางนรีเวช ภัยร้ายในสตรี! ควรใส่ใจตรวจภายในทุกปี
    มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี รองจากมะเร็งปากมดลูก ประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรังไข่รายใหม่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี ในผู้หญิงหลายช่วงวัยทั้งในวัยเด็กและวัยเจริญพันธุ์ กว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ มะเร็งรังไข่ก็ลุกลามเข้าขั้นระยะที่ 3-4 ฟังแล้วชวนน่ากลัวไม่น้อย     วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ โดยนายแพทย์ศุภชัย เรืองแก้วมณี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งทางนรีเวช และการผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลนนทเวช เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันตัวเองจากภัยเงียบของมะเร็งรังไข่อย่างถูกต้อง เพราะการตรวจพบได้ตั้งแต่แรก ย่อมรักษาได้เร็วกว่า และปลอดภัยกว่า
Tumblr media
    “มะเร็งรังไข่” เป็นมะเร็งทางนรีเวชชนิดร้ายแรง และสร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยมากที่สุดก็ว่าได้ ปัจจุบัน “มะเร็งรังไข่” ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีความเกี่ยวข้อง เช่น - มีประวัติคนในครอบครัวโดยเฉพาะมารดา พี่สาว/น้องสาว หรือลูกสาวเคยเป็นมะเร็งรังไข่ - อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป - มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี - หมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี - ยังไม่เคยตั้งครรภ์/ คลอดบุตร - มีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้     อาการแสดงของ “มะเร็งรังไข่” ในระยะแรกมักจะไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจน แต่หากคุณผู้หญิงมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม - รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง - ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือปวดท้อง - คลื่นไส้ เบื่ออาหาร - ท้องเสีย ท้องผูก - ปัสสาวะบ่อย - น้ำหนักเพิ่มหรือลดลงผิดปกติ - ท้องโตผิดปกติ การเข้ารับการตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งจะสามารถทำให้เราลดความเสี่ยงของการเกิด “มะเร็งรังไข่” ได้     การตรวจวินิจฉัย “มะเร็งรังไข่” การตรวจภายในและการตรวจอัลตร้าซาวด์ จะทำให้สามารถบอกถึงลักษณะความผิดปกติของรังไข่ได้ตั้งแต่ระยะต้น สำหรับการตรวจค่าบ่งชี้มะเร็ง ได้แก่ การตรวจค่าเลือด CA125, HE4 ส่วนมากใช้ในการตรวจติดตามตัวโรคระหว่างการรักษาและหลังการรักษา ไม่ได้นำมาใช้ในการวินิจฉัย     การรักษา “มะเร็งรังไข่” แพทย์จะเป็นผู้ประเมินแนวทางการรักษาอย่างเหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย การรักษาหลักสามารถทำได้โดย - การผ่าตัด สามารถทำได้ทั้งทางหน้าท้องและการผ่าตัดผ่านกล้อง แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะของโรค และผ่าตัดนำเอาก้อนมะเร็งและอวัยวะข้างเคียงบางส่วนๆ ออกด้วย - การใช้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง เคมีบำบัดมีอยู่หลายรูปแบบ แพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย     มะเร็งรังไข่ อีกหนึ่งภัยเงียบของคุณผู้หญิงที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดของโรคอย่างชัดเจน อีกทั��งมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการจนเมื่อเข้าสู่ระยะรุนแรง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ การหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตนเองอยู่เสมอ อย่าเขินอายการตรวจภายในหรือทำอัลตราซาวนด์ช่องท้อง และที่สำคัญควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อการดูแลรักษาด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้อย่างทันท่วงที     โรงพยาบาลนนทเวช พร้อมให้การดูแลรักษา “มะเร็งทางนรีเวช” เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสูตินรีเวช พร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งทางนรีเวช และการผ่าตัดผ่านกล้อง โดยได้นำเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง มาใช้ในการรักษาทำให้ไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง แผลผ่าตัดจึงมีขนาดเล็ก ไร้ปัญหาหน้าท้องมีแผลยาวไม่สวยงาม ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับไปทำงานและทำกิจวัตรประจำวันตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบเดิม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลนนทเวช
Tumblr media
ขอบคุณข้อมูล : นายแพทย์ศุภชัย เรืองแก้วมณี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็งทางนรีเวช และการผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลนนทเวช ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/ovarian-cancer-1.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Text
“เนื้องอกมดลูก” เรื่องสำคัญที่ผู้หญิงต้องรู้ คุณอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว
Tumblr media
“เนื้องอกมดลูก” เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้......     เนื้องอกมดลูก เชื่อว่าหลายท่านตกใจหรือกังวลอยู่ไม่น้อยเมื่อได้ยินชื่อนี้ บางท่านกังวลถึงขั้นว่าเนื้องอกนั้นจะกลายเป็นมะเร็ง ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกับโรคเนื้องอกมดลูก ภัยเงียบสำหรับคุณผู้หญิง เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันตัวเองจากภัยเงียบนี้อย่างถูกต้อง เพราะการตรวจพบได้ตั้งแต่แรก ย่อมรักษาได้เร็วกว่า และปลอดภัยกว่า เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก Leiomyoma     เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกเป็นรอยโรคทางนรีเวชที่พบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุของการผ่าตัดมากที่สุดในโรคทางนรีเวช โดยจะพบได้��ระมาณ 50% ของสตรี ส่วนมากไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการจะขึ้นกับชนิดของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกซึ่งแบ่งตามตำแหน่งของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก     - ชนิดแรก เนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูก (Subserous myoma) กลุ่มนี้มักจะไม่มีอาการ ขนาดมักจะใหญ่ อาการที่เกิดมักเกิดจากขนาดของก้อนไปกดเบียดอวัยวะอื่น เช่น กดกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย กดลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดอาการท้องผูก หรือ กดท่อไตทำให้ท่อไตบวม การทำงานของไตแย่ลงอาจถึงภาวะไตวาย     - ชนิดที่สอง เนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก (Intramural myoma) เนื้องอกภายในกล้ามเนื้อของมดลูก ขัดขวางการบีบรัดตัวของมดลูก หรือขนาดใหญ่หรือใกล้โพรงมดลูก เป็นผลทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนมามาก ในบางรายขนาดเนื้องอกใหญ่มากอาจทำให้มดลูกโตและไปเบียดอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดความผิดปกติ     - ชนิดที่สาม เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก (Submucous myoma) เนื้องอกชนิดนี้อยู่ในกล้ามเนื้อใต้เยื่อบุโพรงมดลูกทำให้พื้นผิวในโพรงมดลูกไม่เรียบ ซึ่งจะทำให้มีเลือดออกผิดปกติ ประจำเดือนกระปริดประปรอยระหว่างรอบเดือน ปวดท้องประจำเดือน และเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก     เนื้องอกอาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อน เนื้องอกส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากภายในที่เป็นชั้นของกล้ามเนื้อของมดลูกมีการเจริญเติบโตต่อไป เนื้องอกอาจจะเจริญเติบโตออกไปทางด้านนอกของมดลูกหรือจะเจริญเติบโตต่อเข้าไปด้านในเบียดโพรงมดลูก ทำให้มีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น เลือดออกผิดปกติ,ปวดท้องน้อย, รวมถึงการเบียดอวัยวะอื่นๆได้ ซึ่งผลที่ตามมาอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง, การขาดธาตุเหล็ก, ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกชนิดนี้เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง โอกาสกลายเป็นมะเร็งต่ำประมาณ 1 : 1,000 แนวทางการรักษา     - กรณีไม่มีอาการ ไม่ต้องทำการรักษาใดๆ แนะนำให้ตรวจติดตามต่อเนื่องเพื่อติดตามขนาด และตำแหน่งของก้อนเนื้องอกมดลูก     - กรณีมีอาการ การรักษาหลัก คือ การลดขนาดของเนื้องอกมดลูก, ตัดเนื้องอกมดลูก หรือตัดมดลูก โดยมีทางเลือกในการรักษา โดยการใช้ยา หรือการเข้ารับการผ่าต���ด     - การรักษาโดยใช้ยา ปัจจุบันการรักษาโดยใช้ยาที่มีหลักฐานการวิจัยยืนยัน ได้แก่ การฉีดยา GnRH agonist. เพื่อลดขนาดของก้อนเพื่อเข้ารับการผ่าตัด     - การใช้ยากลุ่มอื่น เช่น การทานยาคุมกำเนิด, การฉีดยาคุมกำเนิด สามารถช่วยได้ในเรื่องของการมีประจำเดือนมามาก แต่บางการศึกษาพบว่า เป็นการกระตุ้นให้ก้อนเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกโตขึ้นได้     - การรักษาโดยการผ่าตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ในปัจจุบันสามารถผ่าตัดได้โดยการผ่าตัดผ่านกล้องแบ่งเป็นสองชนิด 1.การส่องกล้องทางโพรงมดลูก hysteroscopy สามารถใช้ในการผ่าตัดรักษาเนื้องอกมดลูกที่อยู่ในโพรงมดลูก หรือที่มีการเบียดโพรงมดลูก วิธีการผ่าตัดนี้ จะไม่มีแผลผ่าตัด จะสอดกล้องผ่านช่องคลอด ปากมดลูกเข้าสู่โพรงมดลูก และใช้ลวดไฟฟ้าในการตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้สามารถฟื้นตัวได้เร็ว ข้อจำกัดของการส่องกล้องทางโพรงมดลูก ได้แก่ขนาดของเนื้องอกมดลูก ในกรณีที่ขนาดใหญ่ ดังนั้นการตรวจพบแต่เนิ่นๆ จะทำให้สามารถรักษาได้ง่ายขึ้น 2.การส่องกล้องทางช่องท้อง Laparoscopy การส่องกล้องทางหน้าท้องสามารถผ่าตัดรักษาเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกได้เทียบเคียงกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง โดยจะมีแผลผ่าตัด ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร 3-4 แผล ขึ้นกับความยากง่ายของการผ่าตัด ส่วนสำคัญคือการนำเนื้องอกออกจากช่องท้องหลังจากผ่าตัดแล้ว โดยเฉพาะก้อนที่มีขนาดใหญ่ ปัจจุบันการใช้เครื่องปั่นชิ้นเนื้อต้องทำในถุงชนิดพิเศษเท่านั้น เพื่อป้องกันการกระจายของเนื้องอกไปฝังตัวในช่องท้องตำแหน่งอื่น การผ่าตัดส่องกล้องจะช่วยให้ผู้ป่วยใช้เวลาฟื้นตัวน้อยกว่า เจ็บแผลน้อย ทำให้กลับสู่ชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็ว     การเข้ารับการตรวจภายในร่วมกับการตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้องส่วนล่างเป็นประจำทุกปี จะช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคทางนรีเวชได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้สามารถมีทางเลือกในการรักษา และโอกาสหายได้มากกว่า     เนื้องอกมดลูก แม้ไม่ทราบสาเหตุการเกิดของโรคอย่างชัดเจน ผู้ป่วยโรคเนื้องอกมดลูกส่วนมากมักไม่มีอาการจนเมื่อเข้าสู่ระยะรุนแรง แต่ทั้งนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ ถ้าตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตนเองอยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที และที่สำคัญควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อการดูแลรักษาด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้อย่างทันท่วงที     โรงพยาบาลนนทเวช พร้อมให้การดูแลรักษา “เนื้องอกมดลูก” ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสูตินรีเวช พร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและมะเร็งทางนรีเวช ทีมีประสบบการณ์มากกว่า 15 ปี ภายใต้มาตรฐาน JCI ที่ทั่วโลกยอมรับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลนนทเวช
Tumblr media
ขอบคุณข้อมูล : นายแพทย์ศุภชัย เรืองแก้วมณี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็งทางนรีเวช และการผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลนนทเวช ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/Leiomyoma.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Text
ป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี ตรวจก่อน รู้เร็ว รักษาทัน
เมื่อเกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด หลายคนจะเข้าใจว่าเป็นอาการของโรคกระเพาะอาหาร หรือโรคกรดไหลย้อน แต่อาการปวดท้องอาจจะไม่ได้บ่งบอกถึงโรคเหล่านี้เสมอไป แต่อาจเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยง “นิ่วในถุงน้ำดี” ทั้งนี้กรมการแพทย์ระบุโรคนิ่วในถุงน้ำดีมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 1-2 เท่า ชี้กลุ่มเสี่ยงคือ ผู้��ี่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง ผู้หญิงที่มีบุตรแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ธาลัสซีเมีย โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก แนะนำป้องกันโรค “นิ่วในถุงน้ำดี” ได้ด้วยการลดกินอาหารมีไขมันและการออกกำลังกายเป็นประจำ เช็คสัญญาณเสี่ยง “นิ่วในถุงน้ำดี”
Tumblr media
นิ่วในถุง��้ำดี เกิดจากอะไร ? นิ่วที่ในถุงน้ำดี เกิดจากการตกผลึกของหินปูน (แคลเซียม) คอเลสเตอรอล และบิลิรูบิน (สารเคมีชนิดหนึ่งที่ให้สีเหลืองออกน้ำตาล เกิดจากการแตกตัวหรือการตายของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด) ที่มีอยู่ในน้ำดี ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกผลึกของสารเหล่านี้ เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อของทางเดินน้ำดี และความไม่สมดุลของส่วนประกอบคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี  การตกผลึกของสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็กๆ หลายๆ ก้อน นิ่วในถุงน้ำดี...ใครบ้างที่เสี่ยง ? - ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป - พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 1-2 เท่า - ผู้หญิงที่มีบุตรแล้ว - ผู้ที่มีระดับคลอเรสเตอรอลสูง - ผู้ที่เป็นเบาหวาน, ธาลัสซีเมีย, โลหิตจาง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่ว - ความอ้วน คนอ้วนจะเกิดนิ่วที่มีคอเลสเตอรอล เนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง - การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการรับประทานหรือตั้งครรภ์ ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง - การได้ยาลดไขมันบางชนิด ทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดี - ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากๆ - การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป อาการ “นิ่วในถุงน้ำดี” - ท้องอืด - แน่นท้อง อาหารไม่ย่อยหลังทานอาหารไขมันสูง เป็นๆ หายๆ เรื้อรัง - ปวดใต้ลิ้นปี่/ชายโครงด้านขวา - ปวดร้าวที่ไหล่/หลังขวา - คลื่นไส้อาเจียน  มีไข้หนาวสั่น - ดีซ่าน/ตัว-ตาเหลือง วิธีการรักษา วิธีการรักษา “นิ่วในถุงน้ำดี” ที่ดีในปัจจุบัน คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านทางช่องท้อง  เป็นการผ่าตัดแบบโดยการเจาะรูเล็กๆ ที่หน้าท้อง ถ้าผู้ป่วยไม่มีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านทางช่องท้องสามารถทำได้สำเร็จถึงร้อยละ 95 วิธีการป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี - รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง - ควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอล - ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย ครั้งละ 20-30 นาที     ป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ได้แก่ ของทอด ของหวาน ระวังไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน     ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เฉพาะทันที เพื่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที หรือสามารถเข้ามารับคำปรึกษาที่โรงพยาบาลนนทเวชได้เช่นเดียวกัน โดยโรงพยาบาลของเรามีแพทย์เฉพาะทาง พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยให้แนะนำค่ะ ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข : https://www.nonthavej.co.th/gallstones.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Text
ผู้หญิงกับปัญหาสุขภาพทางนรีเวช รักษาง่ายได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
    ในอดีตหากพูดถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด หลายคนคงรู้สึกวิตกกังวลเรื่องอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด จึงไม่แปลกที่คนไข้หลายรายจะปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีนี้แล้วหันไปพึ่งวิธีอื่นแทน โดยเฉพาะคุณผู้หญิงหากต้องประสบปัญหาโรคทางนรีเวช เช่น โรคซีสต์ ช๊อกโกแลคซีสต์ เนื้องอกในโพรงมดลูก เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกและรังไข่ เนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก เป็นต้น เชื่อว่าต้องมีความกังวลเกิดขึ้นไม่ว่าจะกลัวเจ็บ แผลผ่าตัดจะมีขนาดใหญ่ แผลไม่สวย หรือต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน     แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะตอบโจทย์คุณผู้หญิง เป็นวิธีที่กระทบกระเทือนต่ออวัยวะภายในน้อยและแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็ว หมดปัญหาหน้าท้องมีแผลยาวไม่สวยงาม สามารถกลับไปทำงานและทำกิจวัตรประจำวันตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบเดิม
Tumblr media
การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง แผลเล็ก I เจ็บน้อย I ฟื้นตัวเร็ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้หญิงเมื่อต้องได้รับการผ่าตัดทางนรีเวช เช่น การผ่าตัดมดลูก โดยมีสาเหตุจาก - เนื้องอกมดลูก - เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ - เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ - ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด     หลากหลายความกังวลที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะกลัวเจ็บ แผลผ่าตัดจะมีขนาดใหญ่ แผลไม่สวย พักฟื้นนาน แต่ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการรักษา แพทย์สามารถผ่าตัดมดลูกออกได้ โดยมีรอยแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องขนาดเล็กประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร การผ่าตัดแบบนี้ คือ การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง (Laparoscopic Hysterectomy)
Tumblr media
    การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง (Laparoscopic Hysterectomy) เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้องขนาดเล็กซึ่งเป็นเครื่องมือผ่าตัดชนิดพิเศษ สอดเข้าไปผ่านแผลเปิดที่หน้าท้องขนาด 0.5-1.0 เซนติเมตร ซึ่งแพทย์จะมองภาพได้ละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งมีเทคโนโลยี 3 มิติ จึงมีความปลอดภัยมากขึ้นในการผ่าตัด ภายหลังการผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง คุณผู้หญิงจะมีรอยแผลขนาดเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 รอย และพักฟื้นในโรงพยาบาล 24-48 ชั่วโมง เท่านั้น     สำหรับข้อดีของการผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดมดลูกแบบธรรมดา แน่นอนว่าแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กเพียง 0.5 – 1.0 เซนติเมตร ทำให้การความเจ็บปวดจากแผลที่ผ่าตัดน้อยกว่า ใช้เวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดไม่นาน ลดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ จากแผลผ่าตัดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น แผลอักแสบ แผลแยก แผลเป็นหนอง และที่สำคัญคุณผู้หญิงสามารถกลับสู่กิจวัตรประจำวันตามปกติได้ในระยะเวลาอันสั้น     โรงพยาบาลนนทเวช พร้อมให้การดูแลรักษาการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและ��ะเร็งทางนรีเวช ทีมีประสบบการณ์มากกว่า 15 ปี ภายใต้มาตรฐาน JCI ที่ทั่วโลกยอมรับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่โรงพยาบาลนนทเวช ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/women-health.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Text
ปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยอย่างไร…ถือว่าผิดปกติ
Tumblr media
    สาวๆ หลายคน อาจละเลยกับอาการปวดท้องในช่วงเวลาวันนั้นของเดือน เพราะคิดว่าเป็นเพียงแค่ ”อาการการปวดท้อง” เล็กๆ น้อยๆ ปวดแป๊บเดียว กินยาเดี๋ยวก็หาย แต่ความจริงแล้วอาการปวดท้องอาจนำไปสู่โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงได้มากมายเลยทีเดียว ไขข้อข้องใจ ปวดประจำเดือนปวดท้องน้อย อย่างไร...ถือว่าผิดปกติ     ผู้หญิงหลายคนอาจคิดว่า การปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนเป็นเรื่องปกติของผู้หญิง หรือฟังจากญาติพี่น้องว่าก็ปวดอย่างนี้ทุกคน แต่บางคนถึงขั้นต้องลางานเวลาถึงวันนั้นของเดือน หลายคนเลือกที่จะซื้อหายามารับประทานเอง โดยไม่คิดว่าอาการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนนั้นอาจมาจากสาเหตุที่ต้องได้รับการดูแลและแก้ไขจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไขความจริง “ปวดประจำเดือนอย่างไร” ถือว่าผิดปกติ     จริงๆ แล้วอาการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน จะมีอาการปวดได้ในระดับหนึ่ง บางครั้งรับประทานยาแก้ปวดก็จะดีขึ้น แต่มีหลายรายที่อาการปวดท้องประจำเดือนจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดไปหลัง ไปเอว ไปก้นกบ ปวดร้าวไปที่หน้าขา มีอาการท้องอืดท้องบวม ท้องใหญ่ขึ้น เวลามีระดูจะถ่ายอุจจาระเหลวหรือท้องเสีย บางรายถ่ายอุจจาระจะปวดเบ่งปวดถ่ายมากกว่าช่วงไม่มีประจำเดือน บางคนเวลามีประจำเดือนจะปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น ปัสสาวะขัด หรือเวลามีเพศสัมพันธ์จะเจ็บท้องน้อย เจ็บมดลูก ซึ่งปกติแล้วไม่ควรมี     อาการปวดประจำเดือนดังกล่าวอาจจะมีสาเหตุหรือโรคบางอย่างที่ทำให้เกิดขึ้น ที่พบได้บ่อยคือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( Endometriosis ) ซึ่งในระยะแรกจะเป็นตุ่มเล็กๆ ฝังตัวอยู่ในอุ้งเชิงกราน ทุกเดือนที่มีเลือดประจำเดือนออกทางช่องคลอด ตุ่มเล็กๆ ที่ฝังตัวในอุ้งเชิงกรานก็จะมีเลือดออกเช่นกันทุกเดือน จะฝังตัวมากขึ้น เมื่อเป็นมากจะมีพังผืดเกิดขึ้นไปพันรัดกับอวัยวะข้างเคียงทำให้มีอาการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ การมีเพศสัมพันธ์ แม้กระทั่งทำให้มีบุตรยาก เนื่องจากท่อนำไข่ไม่สามารถจับไข่ได้ ไข่ก็ไม่สามารถผ่านท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับตัวอสุจิ หากเข้าข่ายปวดประจำเดือนแบบผิดปกติควรทำอย่างไร     อาการดังกล่าวควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อการวินิจฉัยโรค สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนมากหรืออาการปวดท้องน้อย เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกแทรกในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis), เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myoma uteri), พังผืดในอุ้งเชิงกราน, การอักเสบติดเชื้อ, ตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น     หลายครั้งที่ไปพบแพทย์แล้วบอกว่าไม่พบความผิดปกติ ซึ่งอาการของโรคดังกล่าวจากการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน อัลตร้าซาวด์อาจไม่พบ การตรวจค้นหาสาเหตุต่อไปคือการส่องกล้องเข้าไปในช่องท้องดูเพื่อตรวจว่าภายในอุ้งเชิงกรานมีพังผืด มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ ซึ่งสามารถผ่าตัดผ่านกล้องรักษาได้ในเวลาเดียวกัน อะไรที่แอบแฝงอยู่ ตรวจหลายครั้งยังมีอาการปวดอยู่ ปวดมากบางครั้งเป็นลม จนคนข้างๆ คิดว่ามารยาหรือคิดมาก คิดไปเองหรือเป็นโรคประสาท หลายคนอาจจะหลงไปอยู่ที่คลินิกจิตเวชก็เป็นได้ Check list คุณเข้าข่ายปวดประจำเดือนแบบผิดปกติหรือไม่     ลองเช็คอาการเหล่าดู หากยังไม่แน่ใจว่าคุณควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ เพราะการตรวจเช็คสุขภาพภายในของสตรี เพื่อสืบค้นรอยโรคซ่อนเร้น เป็นสิ่งที่จำเป็นแม้ว่ายังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เพราะหากตรวจวินิจฉัยพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรกจะสามารถรักษาให้หายได้
Tumblr media
    หากตอบว่า “ใช่” ในข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่านั้นควรได้รับคำปรึกษาจากสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการตรวจภายในและอัลตร้าซาวด์เพื่อค้นหารอยโรคที่แฝงอยู่     คุณผู้หญิงทุกคนควรสังเกตอาการปวดท้องประจำเดือนของตัวเอง กรณีพบว่าตนเองมีความผิดปกติ ควรได้รับคำปรึกษาจากสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการตรวจภายในและอัลตร้าซาวด์เพื่อค้นหารอยโรคที่แฝงอยู่ ทั้งนี้สามารถเข้ามาปรึกษาที่โรงพยาบาลนนทเวชได้ โดยโรงพยาบาลนนทเวชพร้อมด้วยทีมสูตินรีแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยให้แนะนำค่ะ ขอบคุณข้อมูล : https://www.nonthavej.co.th/Menstrual-Cramps.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Text
เตือน!! ระวัง “ไข้หวัดใหญ่” โรคที่ไม่ควรมองข้าม
    ปฏิเสธไม่ได้นะคะว่า “ไข้หวัดใหญ่” เป็นโรคที่พบบ่อย ติดต่อถึงกันได้ง่าย และระบาดได้รวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น ยิ่งในในช่วงฤดูฝน อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนี้ เป็นสาเหตุทำให้โรคสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว     ทั้งนี้ไข้หวัดใหญ่ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แถมยังป่วยได้ตลอดทั้งปี มีสถิติผู้ป่วยต่อปีจำนวนไม่น้อย ซึ่งไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายผ่านการหายใจ หรือสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อไวรัสติดอยู่ โดยไข้หวัดใหญ่มักแสดงอาการที่อาจทำให้ท่านสับสนกับไข้หวัดทั่วไป โดยอาการที่แสดงเด่น ๆ คือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ท้องเสีย โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที ไข้หวัดใหญ่ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือสายพันธุ์ A และ B แม้ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกัน แต่ความรุนแรงค่อนข้างแตกต่างกันอยู่มาก วันนี้เรามาดูข้อมูลเชิงลึก อาการ การรักษา และการป้องกันไข้หวัดใหญ่กันดีกว่าค่ะ
ไข้หวัดใหญ่...ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน
Tumblr media
��   ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว พบได้ตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza Virus มีหลายสายพันธุ์ แบ่งออกได้เป็นประเภท  A และ B ซึ่งมีความรุนแรงของโรคใกล้เคียงกัน และเป็นลักษณะภูมิต้านทานแต่ละประเภทเฉพาะตัว ไม่สามารถป้องกันข้ามสายพันธุ์ได้ ลักษณะการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่     เนื่องจากมีระยะฟักตัวสั้น หมายความว่ารับเชื้อแล้วเป็นเร็ว ทำให้ติดต่อง่ายและรวดเร็ว มีระยะฟักตัว 1-2 วัน แต่ผู้รับเชื้ออาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ และมีความรุนแรงมากต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างเห็นได้ชัด โดยมีไข้สูง 39 – 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ อ่อนเพลียมาก ปวดเมื่อยตามร่างกาย เบื่ออาหาร ซึม ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง จนอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง การแพร่เชื้อ     ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดต่อง่ายโดยการหายใจเอาเชื้อไวรัสจากสิ่งคัดหลั่ง เช่น น้ำมูกหรือเสมหะ หรือการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อน และนำเข้าระบบทางเดินหายใจ อาการ     ของไข้หวัดใหญ่จะปรากฏแล้วหลังจากรับเชื้อประมาณ 1-3 วัน ผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา ไม่ควรซื้อยากินเองเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและแพร่กระจายเชื้อไวรัสให้กับคนใกล้ชิด การรักษา     ถ้าหากมีอาการรุนแรงมากและอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรรักษาในโรงพยาบาลและให้ยาฆ่าเชื้อไวรัส ปัจจุบันมียาฆ่าเชื้อไวรัสที่ได้ผลดี เช่น Oseltamivir (Tamiflu) แต่ควรใช้โดยการกำกับดูแลของแพทย์ และกินยาให้ครบตามแพทย์สั่ง ปกติจะกินจนครบ 5 วัน ทุกอายุ ทุกเพศ ทุกสายพันธุ์ การป้องกัน     สามารถป้องกันได้โดยสุขอนามัยพื้นฐาน เช่น ล้างมือ ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกในกรณีผู้ป่วย หากอยู่ในภาวะเสี่ยงก็สามารถป้องกันโดยการฉีดวัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนครอบคลุมได้ 4 สายพันธุ์ ซึ่งสามารถป้องกันโรคได้ดียิ่งขึ้น และต้องได้รับวัคซีนทุกปี     ปัจจุบันทางองค์กรอนามัยโลก (WHO) มีการประกาศใช้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2 ชนิด คือ แบบ Northern และ Soulthern ซึ่งบางทีพบว่าเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง ทำให้การฉีดวัคซีนอาจจะไม่สามารถป้องกันได้ครบทุกสายพันธุ์ และในคนที่มีความเสี่ยงสูง หรือ คนที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ เช่น ในคนที่อายุมากกว่า 65 ปี อาจจะมีความจำเป็นต้องได้รีบวัคซีนมากกว่า 1 เข็มต่อปี โดยจะพิจารณาให้วัคซีนปีละ 2 ครั้ง ทั้ง Northern และ Soulthern คือ ประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน และ ตุลาคม-พฤศจิกายน เพื่อให้ระดับภูมิต้านทานสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ครบครอบคลุมสายพันธุ์และตลอดปี บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีดังต่อไปนี้ 1.ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 2.ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก 3.หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป 4.เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน โดยเฉพาะเด็กในวัยเรียน 5.บุคลากรที่ต้องสัมผัสกับบุคคลข้างต้น เช่น ผู้เลี้ยงดูผู้สูงอายุ ผู้เลี้ยงดูเด็ก บุคลากรทางการแพทย์ ครูที่มีหน้าที่สอนนักเรียน     เนื่องจากเชื้อไข้หวัดมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ในแต่ละปี โดยไม่สามารถมีการป้องกันข้ามสายพันธุ์ได้ จึงจำเป็นต้องฉีดยาทุกปี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ แนะนำให้ฉีดวัคซีนในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรัง เบาหวาน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือข้อมูลสุขภาพด้านอื่น ๆ สามารถสอบถามได้ที่โรงพยาบาลนนทเวช โดยเรามีแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำตลอดเวลา ขอบคุณข้อมูล : https://www.nonthavej.co.th/healthy24.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Text
ทำความเข้าใจโรคสุกใส โรคที่เกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
โรคสุกใสป้องกันได้ด้วยวัคซีน     โรคสุกใส หรือที่เราเรียกว่าโรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน หลายๆ คนคงจะเคยเป็นกันมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างเช่นกันในคนที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน และมักจะมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนมากกว่า โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ มักพบการระบาดในตอนปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน (มกราคมถึงเมษายน) เช่นเดียวกับหัด แต่ก็พบได้ประปรายตลอดทั้งปี     โรคสุกใสสามารถติดต่อกันได้ โดยการหายใจร่วมกัน หรือสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำบนผิวหนังของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ปัจจุบันมีการใช้ วัคซีนป้องกันสุกใส กันมากขึ้น เพราะเป็นการทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อสุกใสขึ้นในร่างกายเหมือนกับการฉีดวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน และคางทูม หากไปสัมผัสโรคก็จะป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น     ถ้าไม่อยากเป็นสุกใสต้องทำอย่างไร และใครบ้างที่ควรได้รับวัคซีนสุกใส วันนี้เรามาดูข้อมูล และทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้ละเอียดกันดีกว่าค่ะ
Tumblr media
โรคสุกใส (Chickenpox)     โรคสุกใส คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella virus ติดต่อได้โดยผ่านทางลมหายใจและสารคัดหลั่ง เช่น ไอ จาม การสัมผัสผู้ป่วยและการใช้สิ่งของร่วมกัน โรคนี้สามารถเป็นได้ในทุกวัย แต่มักพบมากในวัยเด็ก เมื่อเป็นแล้วมักมีภูมิต้านทานไปตลอดชีวิตและไม่เป็นซ้ำอีก แต่อาจจะเป็นโรคงูสวัดได้ ถ้าหากร่างกายอ่อนแอหรือภูมิต้านทานต่ำ อาการของโรคสุกใส     โรคสุกใสมีระยะฟักตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรืออาจพบถึง 3-4 สัปดาห์ได้ ในระยะแรกจะมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยและมีตุ่มใสขึ้นตามร่างกาย ลักษณะคล้ายตามชื่อโรค มักขึ้นที่บริเวณไรผม ใบหน้าและลำตัว และมักมีอาการคันร่วมด้วย ตุ่มใสมักแตกภายในเวลา 48 ชั่วโมง ซึ่งเป็นระยะที่แพร่เชื้อได้สูงสุด และตุ่มจะค่อยๆ แห้งเองภายในเวลา 10 วัน และหายเป็นปกติโดยไม่มีแผลเป็น ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง วิธีรักษา     โรคสุกใสเป็นโรคที่สามารถหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์โดยไม่ต้องรักษา การรักษาจึงเป็นการรักษาประคับประคอง และแยกผู้ป่วยไม่ให้ติดต่อกับผู้อื่น แต่ปัจจุบันมียาที่สามารถรักษาโรคสุกใสได้โดยตรง ยานี้จะสามารถช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาของโรคลงได้ ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคสุกใส 1.ควรแยกผู้ป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากเริ่มทีตุ่มขึ้นหรือจนกระทั่งตุ่มตกสะเก็ด 2.ควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย เพื่อให้แผลไม่ติดเชื้อ 3.ถ้ามีไข้ให้เช็ดตัว และใช้ยาลดไข้เฉพาะ Paracetamol เท่านั้น ห้ามใช้ยาลดไข้ที่มีส่วนผสมของ Aspirin เนื่องจากอาจจะทำให้มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ 4.ไม่ควรใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของ Steroid ในการทาแผล รวมทั้งไม่ควรใช้ยาเขียวหรือสมุนไพรใดๆ ในการรักษา 5.ควรตัดเล็บให้สั้นและหลีกเลี่ยงการแกะเกาตุ่มที่คัน เนื่องจากอาจจะทำให้ติดเชื้อได้ ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง     หากมีอาการไข้สูงมาก ซึม หายใจไม่สะดวก เหนื่อยหอบ ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรงหรือชัก ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เนื่องจากอาจเป็นอาการของโรคปอดบวม โรคสมองอักเสบ หรือ Ryne syndrome ซึ่งอาจเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงได้ การป้องกัน     การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุกใสสามารถช่วยป้องกันโรคได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็น สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยในวัยเด็กแนะนำให้ฉีด 2 ครั้ง คือ 1 ขวบ และ 4 ขวบ แต่ในผู้ใหญ่และเด็กโตแนะนำให้ฉีด 2 เข็มติดต่อกัน โดยเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ ผู้ที่ห้ามฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุกใส มีดังนี้ 1.ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่กินยากดภูมิต้านทานหรือผู้ป่วยที่กำลังใช้ยาเคมีบำบัด 2.หญิงมีครรภ์ 3.ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีน 4.ผู้ป่วยที่กินยา Steroid หรือ Aspirin 5.ผู้ที่ได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือดในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน ผู้ที่ได้รับวัคซีนสุกใส จะสามารถป้องกันการเป็นงูสวัดได้     โรงพยาบาลนนทเวชมีความพร้อมในการรักษา การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุกใสและการให้คำปรึกษา หากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมสามารถขอคำแนะนำได้ที่ศูนย์เด็กและวัยรุ่น รพ.นนทเวช ขอบคุณข้อมูล : https://www.nonthavej.co.th/Chickenpox.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Link
Tumblr media
    อาการปวดข้อเข่า ข้อเข่าเสื่อม เริ่มจากเข่าหลวมเวลาเดิน ขึ้น-ลงบันได หรือนั่งพับเข่า จะมีเสียงดัง เพราะกระดูกและลูกสะบ้าสีกัน ต่อไปจะเริ่มเสียวเดินไม่ปกติจนเกิดกระเผลก ทำให้ขาอีกข้างหนึ่งต้องทำงานหนักแทนและอาจทำเป็นทั้งสองข้าง จนบวมและเจ็บมาก พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่มักมีกลุ่มเสี่ยงเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และนักกีฬาที่ต้องใช้กำลังขาและเข่ามาก     ทั้งนี้อาการปวดเข่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ��วด ดังนั้น หากเกิดอาการปวด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่ตรงจุด วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จากโรงพยาบาลนนทเวชเกี่ยวกับอาการปวดข้อปวดเข่ามาฝากค่ะ ปวดเข่า เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ 1. ปวดรอบเข่า หน้าขา มักมีสาเหตุมาจากหลัง ปวดร้าวลงมา (ต้องแก้ปัญหาเรื่องหลังอาการจะหายไปเอง) 2. ปวดที่ข้อเข่า มักจะเป็นด้านในของเข่าก่อน ต่อไปจะมีอาการบวมร่วมด้วยเสมอ ปวดที่ข้อเข่า (ข้อเข่าเสื่อม) เริ่มจากเข่าหลวมเวลาเดิน นั่ง ขึ้น-ลงบันได จะมีเสียงดังเพราะกระดูกและลูกสะบ้าสีกัน ต่อไปจะเริ่มเสียวเดินไม่ปกติจนเกิดกระเผลก (ซึ่งทำให้ขาอีกข้างหนึ่งต้องทำงานหนักแทน และอาจทำให้เป็นทั้งสองข้าง) เกิดบวมเจ็บมาก เข่าจะยิ่งหลวมและโค้งออกข้างๆ (เข่าค้อม)
Tumblr media
พบใน - วัยสูงอายุ - วัยหนุ่มสาวที่ใส่ส้นสูงนานๆ เดิน-ยืนมากๆ - น้ำหนักตัวมากยกของหนักเป็นประจำ ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ - เคยได้รับอุบัติเหตุหกล้มเข่ากระแทก มีปัญหาจากหลังนานๆ - โรคข้อต่างๆ รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ การป้องกันและดูแลตัวเอง - คุมน้ำหนักตัวให้เหมาะกับอายุและอาชีพ - อายุยิ่งมากกระดูกก็ยิ่งบาง ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม - ขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น ผู้สูงอายุไม่ควรขึ้น-ลงบันได - นอนเตียงแทนการนอนพื้นเพื่อไม่ต้องงอเข่ามาก - นั่งเก้าอี้ที่สูงพอเข่าตั้งฉากเท้าถึงพื้น (ไม่ควรนั่งโซฟานิ่มๆ) ไม่นั่งกับพื้นนานๆ - หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ - การเดิน ขึ้น-ลงบันได ให้ก้าวขาดีขึ้นแล้วตามด้วยขาที่เจ็บและตอนลงให้ก้าว ขาเจ็บลงแล้วตามด้วยขาดี (บนบันไดขั้นเดียวกัน)
Tumblr media
ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น (ยังไม่ยุบบวมหรือยังเจ็บอยู่)     ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป ถ้าทิ้งไว้นานๆ กระดูกจะสึกหรอมากขึ้นกว่าเข่าค้อม (โก่งออกด้านข้าง) จะทำให้ขาสั้นเดินกระเผลกมากขึ้นและปวดหลังได้ ซึ่งจะต้องถึงขั้นผ่าตัด หรือใส่ข้อเข่าเทียมถ้าทุเลาปวด ยุบบวมให้เริ่มบริหารเข่า ถ้าเดินเจ็บเสียวมาก - ให้ใส่ปลอกเข่าหรือ ผ้าพันพยุงเข่าไว้ และควรถือไม้เท้าด้านตรงข้ามกับเข่าข้างเจ็บ เพื่อแบ่งน้ำหนักตัวไปลงที่ไม้เท้า ช่วยลดน้ำหนักที่จะลงเข่า - ใช้ความร้อนประคบ ทายา นอนพัก ใช้หมอนรองใต้เข่าเพื่อให้ช่องว่างในเข่าเผยอออก เยื่อบุเข่าจะไม่ถูกบีบมากการอักเสบก็จะดีขึ้น - การนอน ควรใช้หมอนรองเข่า ถ้าเวลาพลิกตัวมีอาการปวดมากขึ้น ก็ควรใช้ผ้าพันเข่าเพื่อช่วยผยุงไว้ (ไม่ควรพันให้แน่นเกินไปเพราะอาจทำให้ข้อเท้าบวมได้) ถ้าทุเลาปวด ยุบบวม ให้เริ่มบริหารเข่า บริหารไม่ต้านน้ำหนัก (ถ้ามีปลอกเข่าก็สวมด้วย) 1. บริหารอยู่กับที่ (ควรทำในท่านอน) - นอนหงาย วางเข่า 2 ข้างบนหมอน ส้นเท้าวางลงพื้น เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา (กดขาพับลงบนหมอนส้นเท้าวางกับพื้น) - นับ 1-10 พัก (นับ 1-10 = 1ครั้ง ) ทำทั้งหมด 10 ครั้ง ถ้าขณะที่บริหารมีอาการปวด ให้หยุดบริหาร
Tumblr media
- ท่านั่ง นั่งเก้าอี้ ก้นชิดและพิงผนัง ควรมี��้วนผ้ารองใต้ขาเหนือเข่า (ใกล้ขอบเก้าอี้ที่นั่ง) จะทำให้ตัวไม่แอ่นหรือหลังโก่งเหยียดเข่าตรง เกร็ง นับ 1-10 พัก (เวลาพักควรวางเท้าบนไม้รองเท้าเตี้ยๆ) แล้วนับ 1-10 ต่อทำจนครบ 10 ครั้งแล้วสลับข้าง
Tumblr media
2. บริหารแบบเคลื่อนไหวที่เข่า (ทำในลักษณะต้านทางแรงดึงดูดของโลก) ทำได้ทั้งท่านอนและท่านั่ง ให้เริ่มตั้งแต่น้อยครั้งแล้วค่อยๆ เพิ่มจนครบ 10 ครั้ง 2.1 ท่าเหยียดเข่า - ท่านอนหงาย นอนหงาย วางเขาลงบนหมอนข้าง (รองใต้ขาพับ) เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา เข่าเหยียดตรง (ส้นเท้าลอยจากพื้น ต้นขาอยู่กับที่ นับ 1-10 ทำจนครบ 10 ครั้ง)
Tumblr media
2.2 ท่างอเข่า นอนคว่ำ หมอนรองที่หน้าท้องบริเวณบั้นเอวก้นและหลัง (ถ้านอนคว่ำไม่ได้ให้นอนตะแคง) ถ้าเข่ามีเสียงดังให้งอแค่ตั้งฉาก ถ้าไม่มีเสียงให้งอเต็มที่ การบริหารท่านี้ หากงอเข่าแม้เพียงเล็กน้อยก็มีอาการปวดให้หยุดทำ ต้องรักษาให้หายอักเสบก่อน
Tumblr media
    อาการปวดเข่าส่วนใหญ่มักไม่ใช่อาการที่รุนแรง แต่อาการปวดเข่าที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยบางอย่าง เช่น โรคข้อเสื่อม หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รีบรักษา อาการอาจรุนแรงขึ้นและทำให้พิการได้ นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่เคยมีอาการบาดเจ็บที่เข่า แม้จะเป็นเพียงการบาดเจ็บเล็กน้อย อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดการบาดเจ็บคล้ายเดิมขึ้นอีกในอนาคต หากท่านใดเริ่มมีอาการปวดข้อปวดเข่า ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่ตรงจุด หรือมีปัญหาในเรื่องสุขภาพ ไม่ว่าจะด้านใด สามารถขอคำปรึกษากับคุณหมอได้ที่โรงพยาบาลนนทเวช ขอบคุณข้อมูล : https://www.nonthavej.co.th/Knee-Pain-Symptoms.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Link
    “มะเร็ง” โรคร้ายที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเสี่ยง แถมอัตราการเกิดมะเร็งนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่อายุมากขึ้น “มะเร็งปากมดลูก” ก็เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตของคนไทยไปไม่น้อย จากสถิติพบว่าหญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยปีละ 6,000 ราย นับว่าเป็นอัตราที่สูงมาก วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกมาฝาก เราไปดูข้อมูลกันเลยค่ะ
Tumblr media
Q : มะเร็งปากมดลูก เกิดจากสาเหตุอะไร ? A : เป็นมะเร็งที่ทราบสาเหตุการเกิดอย่างชัดเจน เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) สายพันธุ์เสี่ยงสูง ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทางการสัมผัส หรือการมีเพศสัมพันธ์ บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้ ได้แก่ สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย มีคู่นอนหลายคน เป็นต้น Q : อาการแสดงของโรค ? A : จะมีอาการผิดปกติในมะเร็งระยะลุกลามเท่านั้น เช่น มีตกขาวผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อค้นหาสตรีที่มีความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกในระยะก่อนมะเร็ง หรือ มะเร็งในระยะต้น ปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกถือว่ามีความแม่นยำสูงได้แก่ การตรวจทางเซลล์วิทยา (Pap smear,Liquid base cytology) และการตรวจหาไวรัส HPV Q : การรักษามะเร็งปากมดลูก ? A : ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการรักษามะเร็งปากมดลูก สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องได้ ซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินในเรื่องของแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวได้ไว การผ่าตัดผ่านกล้องทำให้สามารถมองเห็นรอยโรคได้อย่างชัดเจนเห็นอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนทำให้การผ่าตัดปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น Q : การป้องกันมะเร็งปากมดลูก ? A : มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดแรกที่มีการนำวัคซีนมาใช้ในการป้องกันโรค ได้แก่ วัคซีนป้องกันไวรัส HPV โดยวัคซีนชนิดนี้จะป้องกันการติดเชื้อ ไวรัส HPV สายพันธุ์ที่  16,18  ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึง 70%  ดังนั้น จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ และการรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความไม่ประมาทแนะนำให้สตรีไทยที่มีอายุมากกว่า 21 ปี เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง     เห็นไหมคะสาว ๆ ว่ามะเร็งชนิดนี้ใกล้ตัวขนาดไหน ไม่ควรมองข้าม หลายคนอาจจะคิดว่าตัวเองนั้นร่างกายแข็งแรง ไม่เคยเปลี่ยนคู่นอน หรือสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเ���ศสัมพันธ์ อย่าชะล่าใจนะคะ ป้องกันไว้ก่อนจะสาย หรือหากใครสงสัยว่าตัวเองอาจจะเป็นมะเร็งชนิดนี้ สามารถสอบถาม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ที่โรงพยาบาลนนทเวช ขอบคุณข้อมูล : https://www.nonthavej.co.th/cervical-cancer-1.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Link
Tumblr media
    โรคมะเร็งตับ ถือเป็นโรคร้ายที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของคนไทย และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคนี้สามารถพบได้กับผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และจะพบได้สูงในผู้ป่วยที่���ีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายอยู่เป็นประจำด้วยแล้ว ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคมะเร็งก็มีอาการผิดปกติปรากฏขึ้นแล้ว     คุณรู้หรือไม่ว่า “มะเร็งตับ” สามารถรักษาได้ หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก”ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มความเสี่ยงดังต่อไปนี้ - เพศชายอายุ 30 ปีขึ้นไป - ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี - ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ - ผู้ที่ได้รับสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารเป็นประจำ - โรคทางพันธุกรรม - เป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับ - การได้รับสารไนโตรซามีน - ท่อน้ำดีในดับอักเสบเรื้อรัง - การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิดเป็นเวลานาน     เพราะระบบทางเดินอาหารมีการทำงานที่ซับซ้อน จึงต้องการการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทั้งนี้โรคที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันมีค่อนข้างเยอะ ซึ่งมีทั้งโรคที่พบเจอได้บ่อย และ โรคที่เจอได้ค่อนข้างน้อย     โรคมะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ1ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ ชนิดของมะเร็งตับ 1.มะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ เกิดจากเนื้อเยื่อของตับโดยตรง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ - มะเร็งเซลล์เนื้อเยื่อตับ - มะเร็งท่อน้ำดีของเนื้อตับ 2.มะเร็งตับชนิดทุติยภูมิ เกิดจากการแพร่กระจายมาจากโรคมะเร็งชนิดอื่น เช่น โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเต้านม สาเหตุของมะเร็งตับ, มะเร็งเซลล์ตับ - ไวรัสตับอักเสบบีและซี - เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - สารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) หรือเชื้อราที่อยู่ในถั่วลิสงที่อับชื้น, พริกแห้ง, กระเทียม และหัวหอมเป็นต้น - ไขมันพอกตับ มะเร็งท่อน้ำดีของเนื้อตับ สาเหตุที่พบเจอได้บ่อย เกิดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ     ซึ่งเป็นพยาธิที่มีการปนเปื้อนอยู่ในอาหารประเภท ของหมักดอง ปลาร้า ปลาดิบ เนื้อดิบ อาหารสุกๆ ดิบๆ โดยพยาธิที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารจะอาศัยและชอนไชไปตามท่อน้ำดีที่อยู่ในเนื้อตับ เนื่องจากในท่อน้ำดีจะมีสารอาหารซึ่งเป็นที่ต้องการของพยาธิใบไม้ บางครั้งพบว่าพยาธิใบไม้มักจะไปอุดตันในท่อน้ำดี ก่อให้เกิดอาการตัวเหลืองหรือตาเหลือง     การได้รับสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารพิษที่พบได้ในอาหารจำพวก ปลาร้า ปลาส้ม หรือแหนม เป็นต้น หรืออาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินประสิว เช่น ไส้กรอก, กุนเชียง, เนื้อเค็ม และปลาเค็ม เป็นต้น และอาหารรมควัน เช่น ไส้กรอกรมควัน ปลารมควัน     จากสาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น สาเหตุอันดับต้นๆ ที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งตับในประเทศไทย คือ “การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี” ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากติดต่อจากแม่มาสู่ลูก แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ คือ “การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” มะเร็งตับจากการดื่มแอลกอฮอล์     การดื่มแอลกอฮอล์จัดจะนำไปสู่ภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง และโรคมะเร็งตับตามมา แต่กรณีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีจะไม่นำไปสู่ภาวะตับแข็ง แต่จะนำไปสู่มะเร็งตับได้เลย ดังนั้นจึงการตรวจคัดกรองมะเร็งตับจึงเป็นเรื่องสำคัญ อาการและอาการแสดง - ระยะแรก - ไม่แสดงอาการใด ๆ - อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง - จุกเสียดท้อง ท้องอืด - อาการปวดชายโครงด้านขวา - ตัวเหลือง ตาเหลือง - ท้องโตขึ้น มีน้ำในช่องท้อง - ขาบวม มีน้ำในเยื่อหุ้มปอด - อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ - การซักประวัติ และการตรวจร่างกาย - การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง - ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ “แอลฟาฟีโตโปรตีน (AFP)” - การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือบางครั้งอาจใช้การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อช่วยในการวินิจฉัย - การตรวจชิ้นเนื้อตรงตำแหน่งก้อนเนื้อ (Biopsy) การรักษาโรคมะเร็งตับ     หลักการรักษามะเร็งตับ คือ ถ้าอยู่ในระยะที่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดหรือการปลูกถ่ายตับ แต่ถ้าอยู่ในระยะโรคที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากหรือมีหลายๆ ก้อน เช่น 3-5 ก้อนขึ้นไป อาจจะต้องใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีฉีดยาเคมีบำบัดเข้าทางเส้นเลือดหรือการรับประทานเคมีบำบัด หรือการรักษาตามอาการในผู้ป่วยระยะท้ายๆ แต่ปัญหาที่มักเจอได้บ่อยๆ คือ คนทั่วไปมักจะไม่ให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรอง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตมาก มีน้ำในช่องท้อง ซึ่งอาการดังกล่าวจะอยู่ในระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคระบบทางเดินอาหารและตับเป็นสิ่งที่จำเป็น หากพบความผิดปกติเพียงเล็กน้อย เช่น เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย จุกชายโครงขวา ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจคัดกรอง การป้องกันโรคมะเร็งตับ - ลดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เป็นโรคตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับได้ - ผู้ที่เป็นพาหะหรือสงสัยว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดและตรวจหามะเร็งตับระยะแรกทุกๆ 6 เดือน - หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เช่น ถั่วลิสงบด, หัวหอม, พริกแห้ง และกระเทียมที่มีราขึ้น เพราะสารพิษชนิดนี้มีความทนทานต่อความร้อนสูง  ไม่สามารถทำลายได้แม้จะนำไปประกอบอาหารผ่านความร้อน - หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) เช่น อาหารจำพวกโปรตีนหมัก เช่น ปลาร้า, ปลาส้ม, หมูส้ม และแหนมเป็นต้น  อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินประสิว เช่น ไส้กรอก, กุนเชียง, เนื้อเค็ม, และปลาเค็มเป็นต้น - ไม่รับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ - ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับ - ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับสูงทุกราย **ผู้ป่วยโรคตับแข็ง จากสาเหตุใดๆ ก็ตาม **ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสชนิดบีหรือซี  หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี - ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ Alpha-fetoprotein (AFP) และตรวจอัลตราซาวนด์ตับเป็นทุกๆ 3-6 เดือน     ดังนั้นควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำในทุก ๆ ปี วางแผนรับมือได้อย่างรอบครอบ ตามที่แพทย์แนะนำ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงนั้นในปัจจุบันการตรวจสุขภาพเป็นเรื่องที่ง่าย และใช้เวลาไม่นาน อีกทั้งยังสามารถทราบผลที่ได้อย่างรวดเร็ว เพราะ “สุขภาพดี ควรเริ่มต้นที่ตัวเรา” ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/Liver-cancer.php
1 note · View note
chutikanjida-blog · 5 years ago
Link
Tumblr media
หากพูดถึงโรคร้ายที่ผู้หญิงทุกคนต่างกลัวและไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ก็คงไม่พ้นโรคร้ายอย่าง มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันได้มีผลวิจัยออกมาแล้ว��บว่าอายุที่มากขึ้น เป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อในทรวงอก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออัตราการเกิดมะเร็งเต้านม ข้อมูลเพิ่มเติมจากสถาบันสุขภาพระดับชาติจากประเทศสหรัฐอเมริกา ยังระบุอีกว่า ผู้หญิงในวัย 35 - 40 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมถึง 1 ใน 235 ในขณะที่เมื่ออายุก้าวสู่วัย 50 ปี ความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 54 และเมื่ออายุ 60 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 23 เลยทีเดียว มะเร็งเต้านม รู้เร็ว รีบรักษา มีโอกาสหายสูง     มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลก และเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย แต่เนื่องจากปัจจุบันผู้หญิงยุคใหม่มีความตื่นตัวในการตรวจสุขภาพมากขึ้น ทำให้เราสามารถพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ ได้เร็วขึ้น เปอร์เซ็นต์การตรวจพบเจอในระยะเริ่มต้นมีมากขึ้น การรักษาให้หายจึงมีมากขึ้นตามลำดับ สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมจริง ๆ แล้ว มะเร็งเต้านมยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้เราไม่ทราบวิธีที่จะป้องกัน ยกเว้นกรณีที่เป็นกรรมพันธ์ ทราบสาเหตุแน่ชัด ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ กลุ่มเสี่ยง 1.ผู้ที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคมะเร็งเต้านม 2.ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป 3.ผู้ที่ใช้ยาฮอร์โมนนานติดต่อกันมากกว่า 5 ปี     วิธีการการป้องกันที่ดีที่สุด...คือการตรวจพบเจอให้เร็วที่สุด ร้อยละ 90 ของเนื้องอกในเต้านมของสตรีถูกพบครั้งแรกด้วยตนเ��ง เพราะฉะนั้นการตรวจเต้านมด้วยตนเองจึงเป็นเรื่องจำเป็น ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ หลังหมดระดูได้ 7- 10 วัน เพราะเป็นระยะที่เต้านมไม่บวมและนิ่มทำให้ตรวจได้ง่าย และสำหรับสตรีที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดระดูหรือได้รับการตัดมดลูกไปแล้ว ควรทำการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้ง การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง (Breast self-examination) 3 วิธีที่คุณเองก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง 1.ยืนหน้ากระจก - ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย เปรียบเทียบเต้านมทั้งสองข้างว่ามีการบิดเบี้ยวของหัวนมหรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่ - ประสานมือทั้งสองข้างเหนือศีรษะแล้วกลับมาอยู่ในท่าเท้าสะเอวพร้อมสำรวจหาสิ่งผิดปกติ - ให้โค้งตัวมาข้างหน้าโดยใช้มือทั้งสองข้างวางบนเข่าหรือเก้าอี้  ในท่านี้เต้านมจะห้อยลงไปตรงๆ หากมีสิ่งผิดปกติก็จะเห็นได้ชัดมากขึ้น 2.นอนราบ - นอนในท่าสบายและสอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ซ้าย - ยกแขนเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านซ้ายแผ่ราบ ซึ่งจะทำให้คลำพบก้อนเนื้อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกซึ่งมีเนื้อมากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งมากที่สุด - ให้ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางคลำทั่วทั้งเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือ ห้ามบีบเนื้อเต้านมเพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่ 3.ขณะอาบน้ำ - สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการจะตรวจบนศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างคลำในทิศทางเดียวกับที่คุณใช้ในท่านอน - สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ให้ใช้มือทั้งสองข้างนั้นประคองและตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งให้ตรวจคลำจากด้านบน ขณะอาบน้ำให้ถูสบู่ด้วยจะทำให้คลำง่ายขึ้น
สิ่งสำคัญที่สุด คือ การตรวจสุขภาพเพื่อค้นหารอยโรคซ่อนเร้น รวมทั้งเป็นคนช่างสังเกตดูว่าเรามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เมื่อพบสิ่งผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที ** ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหารอยโรคซ่อนเร้น เพื่อนำไปสู่การรักษาได้อย่างทันท่วงที ** ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 35 ปี ควรหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ หลังหมดระดูได้ 7- 10 วัน เพราะเป็นระยะที่เต้านมไม่บวมและนิ่มทำให้ตรวจได้ง่าย     สำหรับผู้หญิงที่มีแนวโน้มจะเป็น มะเร็งเต้านม นอกจากจะเกิดจากพันธุกรรมได้แล้ว ยังสามารถเกิดขึ้นจากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากมีโอกาสเป็นมะเร็งมากเช่นกัน เพราะโรคร้ายไม่เข้าใครออกใครหมั่นสังเกตตนเอง ด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่เป็นประจำก่อน หากคลำพบก้อนเนื้อที่มีลักษณะแข็งและขรุขระ โดยอาจเป็นก้อนเรียบหรืออาจพบผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือมีรูปร่างของเต้านมผิดไปจากเดิม หากพบสิ่งผิดปกติลักษณะนี้ควรรีบไปพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจให้ชัดเจนว่าไม่เป็นมะเร็งเต้านม หรือหากเป็นก็จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/healthy16.php
0 notes
chutikanjida-blog · 5 years ago
Link
    “ปวดประจำเดือนอย่างไรถือว่าผิดปกติ” หลายครั้งที่ไปพบแพทย์แล้วบอกว่าไม่พบความผิดปกติ ซึ่งอาการของโรคดังกล่าวจากการตรวจร่างกายตรวจภายในอัลตร้าซาวด์อาจไม่พบ การตรวจค้นหาสาเหตุต่อไปคือการส่องกล้องเข้าไปในช่องท้อง     ผู้หญิงหลายคนอาจคิดว่า การปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนเป็นเรื่องปกติของผู้หญิง หรือฟังจากญาติพี่น้องว่ามันก็ปวดอย่างนี้ทุกคน แต่บางคนถึงขั้นลางานเวลาถึงวันนั้นของเดือน หลายคนเลือกที่จะหายามารับประทานเอง โดยไม่คิดว่าอาการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนนั้นอาจมาจากสาเหตุที่ต้องได้รับการดูแลและแก้ไขจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Tumblr media
ช็อกโกแลตซีสต์หรือ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ Endometriosis
    โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่หรือช็อกโกแลตซีสต์ เป็นโรคที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ สาเหตุหนึ่งที่เชื่อว่าทำให้เกิดโรคนี้ คือ ในช่วงที่มีระดู ตามธรรมชาติ ถ้าไม่มีไข่ที่ปฏิสนธินั้นมาฝังตัวก็ไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดออกมาและมีเล���อดประจำเดือนออกจากช่องคลอด เมื่อเลือดระดูหมด เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาตัวขึ้นอีกเพื่อรองรับไข่ที่จะมาฝังในรอบต่อไป ในโรคนี้เชื่อว่าในบางเดือนที่ผ่านมาเลือดประจำเดือนไหลออกมาผ่านปากมดลูกไม่ทัน เลือดส่วนหนึ่งจะเอ่อล้นท่วมไปที่ท่อนำไข่เหมือนน้ำท่วมเขื่อนแล้วล้นออกไป เลือดที่ไหลออกส่วนหนึ่งจะย้อนออกไปที่ท่อนำไข่และตกลงในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุโพรงมดลูกที่ลอกหลุดออกมาด้วยจะตกลงในอุ้งเชิงกรานด้านหลังมดลูก ซึ่งต่อมาจะฝังตัวลงบนเยื่อบุช่องท้องและเจริญต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับเมล็ดพืชที่ลงดินจะฝังรากงอกเจริญต่อไป เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่เหล่านี้ เป็นเนื้อเยื่อที่ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตจากรังไข่ ซึ่งเปรียบเหมือนกับปุ๋ยที่ให้กับต้นไม้ ต้นไม้ก็เจริญไปเรื่อยๆ โรคนี้เมื่อถึงวัยหมดระดู อาการต่างๆ จะลดน้อยลงจนหายไป เนื่องจากไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่มาเลี้ยงเหมือนต้นไม้ที่ขาดปุ๋ย ต้นไม้ก็เหี่ยวเฉาตายไป     โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อาจฝังตัวในที่ต่างๆ ในช่องท้อง เช่น ที่รังไข่ ท่อนำไข่ ลำไส้กระเพาะปัสสาวะ เยื่อบุช่องท้อง ตับ กะบังลม หรือนอกช่องท้อง เช่น ไปที่ปอด ที่แผลผ่าตัดคลอดบุตรที่หน้าท้องหรือที่สะดือ ช่วงแรกจะเป็นตุ่มเล็ก เมื่อฝังตัวมากขึ้นจะเกิดปฏิกิริยาอักเสบทำให้เกิดเป็นพังผืดขึ้น ถ้าฝังตัวลึกที่รังไข่ เลือดที่ออกจะขังอยู่ไปไหนไม่ได้ จะสะสมโตขึ้นเป็นซีสต์ เลือดที่สะสมนานเข้าจะข้น สีเหมือนช็อกโกแลต จึงเรียกว่า "ช็อกโกแลตซีสต์" อาการและความรุนแรงของ ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ Endometriosis     ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ฝังตัว ได้แก่ อาการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องกินยาแก้ปวด กินยามากขึ้น ขาดเรียน ขาดงานบ่อย หรือมีอาการปวดอย่างอื่นร่วมอยู่ด้วยเวลามีประจำเดือน เช่น มีอาการปวดไปหลัง ไปเอว ไปก้นกบ ไปหน้าขา มีอาการท้องอืด ท้องบวม ท้องใหญ่ขึ้น อาจมีถ่ายเหลว ท้องเสีย หรือช่วงมีระดูจะปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระมากกว่าปกติ อาจมีปัสสาวะบ่อยมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน บางรายอาจมีอาการปวดหรือเจ็บที่มดลูกหรือท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือมาด้วยภาวะมีบุตรยาก แต่งงานหลายปีไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ การวินิจฉัยโดยการที่แพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน เพื่อดูว่ามีตุ่มฝังตัวอยู่หรือไม่โดยเฉพาะด้านหลังมดลูก ในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่มีเพศสัมพันธ์ ยังโสด จะตรวจโดยใช้นิ้วคลำทางทวารหนักเพื่อหาตุ่มที่ฝังตัว ในกรณีที่มีอาการปวดเหมือนโรคนี้แต่ตรวจคลำไม่พบว่ามีตุ่มฝังอยู่ จะนัดผู้ป่วยมาตรวจอีกครั้งในช่วงที่มีประจำเดือน เพราะในช่วงมีระดูตุ่มพวกนี้จะมีเลือดออกทำให้ตุ่มเหล่านี้ตึงโตขึ้นพร้อมกับมีอาการอักเสบเกิดขึ้นจึงตรวจพบได้ดียิ่งขึ้น การตรวจเพิ่มเติมด้วยอัลตราซาวด์ชนิดหัวตรวจทางช่องคลอดจะสามารถดูว่ามีช็อกโกแลตซีสต์หรือมีความผิดปกติอื่นๆ ของมดลูก รังไข่ ปีกมดลูกหรือไม่ เมื่อรอยโรคเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้มีพังผืดไปพันรัดท่อนำไข่ รังไข่ มดลูก ลำไส้ ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น รุนแรง เรื้อรัง ทำให้สูญเสียการเจริญพันธุ์ มีบุตรยากได้     การรักษาช็อกโกแลตซีสต์ หรือ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ Endometriosis เมื่อมีอาการและการตรวจพบบ่งถึงโรคนี้ จะพิจารณาการผ่าตัดผ่านกล้องในช่องท้องเพื่อส่องดูว่าโรคเป็นมากน้อยแค่ไหน ตุ่มที่ฝังตรงตำแหน่งใดบ้าง พังผืดมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะมีการให้คะแนนเพื่อแบ่งความรุนแรงของโรค โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ระดับ 4 เป็นระดับที่รุนแรงมากที่สุด ขณะเดียวกันสามารถผ่าตัดเลาะพังผืด เลาะซีสต์ และจี้ทำลายตุ่มที่ฝังตัวอยู่ ในกรณีที่มีตุ่มฝังตัวอยู่มาก หรือฝังตัวตามลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ หลังผ่าตัดจะพิจารณาให้ยารักษาต่อเพื่อให้ตุ่มเล็กๆ ที่ฝังตัวอยู่ฝ่อลงไป     ในกรณีที่ไม่ผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาให้ยารักษาต่อไป ซึ่งโรคนี้เป็น progressive disease จะเจริญฝังตัวมากขึ้นเรื่อยๆ การรักษาด้วยยาจะทำให้ตุ่มเหล่านี้ฝ่อได้แต่พังผืดจะไม่หาย อาการปวดจะลดน้อยลง     ในกรณีที่มีบุตรยาก ควรได้รับการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา ประเมินความรุนแรงของโรคว่าอยู่ระดับไหน พังผืดพันรัดส่วนไหนบ้าง ท่อนำไข่คดงอตีบตันหรือเปล่า ฉีดสีประเมินดูท่อนำไข่ ผ่าตัดแก้ไข เลาะพังผืด เลาะและจี้ทำลายเยื่อบุที่ฝังตัวและวางแผนการรักษาการมีบุตรต่อไป     หลายครั้งที่ไปพบแพทย์แล้วบอกว่าไม่มีความผิดปกติไม่เป็นอะไร ซึ่งอาการของโรคดังกล่าวจากการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน ตรวจอัลตราซาวด์อาจจะไม่พบอะไรที่แอบแฝงอยู่ ตรวจหลายครั้งยังมีอาการปวดอยู่ ปวดมากจนบางครั้งเป็นลม จนคนรอบข้างคิดว่ามารยา หรือคิดมาก คิดไปเอง หรือคล้ายคนเป็นโรคประสาท หลายคนอาจหลงไปอยู่คลินิกจิตเวชก็เป็นได้ การตรวจหาสาเหตุต่อไปคือการส่องกล้องเข้าไปในช่องท้องดูว่าภายในอุ้งเชิงกราน จะมีพังผืด มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่     สาวๆหลายคนที่ยังไม่แต่งงานหรือยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ อาจกลัวแพทย์ จนกระทั่งรอยโรคเป็นมาก ทำให้ปวดท้องน้อยเรื้อรังหรือเป็นมากจนอาจต้องตัดมดลูกรังไข่ออก หรืออาจทำให้สูญเสียการเจริญพันธุ์ มีบุตรไม่ได้ สาวๆทั้งหลายไม่ต้องเป็นห่วง เพราะเรามีวิธีการเทคนิคในการตรวจ ซึ่งไม่ต้องกังวลในเรื่องดังกล่าว     โรคนี้หลังจากการผ่าตัด การักษาด้วยยา รอยโรคและอาการปวดจะดีขึ้น โรคนี้อาจเกิดเป็นซ้ำได้อีก โดยเฉพาะในรายที่เป็นมาก ควรได้รับการติดตามเป็นระยะๆ เมื่อถึงวัยทองโรคนี้จะหายเพราะไม่มีฮอร์โมนจากรังไข่ คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ตุ่มต่างๆที่ฝังตัวฝ่อลงไป     ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาไปมาก การตรวจภายในไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป และสามารถรักษาโรคได้ในเวลาอันสั้น ดังนั้นเมื่อร่างกายส่งสัญญาณเตือนว่าเกิดความผิดปกติขึ้นอย่างอาการปวดท้องน้อยที่เป็นมาก ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจให้ชัดเจน และรักษาก่อนที่จะสายเกินไป ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/healthy10.php
1 note · View note